ปัณณพร แซ่แพ

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

8 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ สิทธิพรหม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัย รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ 5 มหาวิทยาลัย ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งเป้าสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูล สารสนเทศ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย […]

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

8 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café: อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น พูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 และการรับมือ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและชีวฟิสิกส์ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักแปล และบรรณาธิการหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักชีวฟิสิกส์ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมแปลหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ผ่านทาง Facebook live และทาง Mahidol Channel โดยมีผู้รับชมกว่า 1,000 คนดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ได้ปูความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการระบาดใหญ่ (Pandemic)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565

18 มีนาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ และ คุณคำรณ โชธนะโชติ กรรมการสภามหาวิทยาลัย จากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่มิใช่คณาจารย์ประจำ เข้าร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565 หัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงรอบด้าน” การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการสัมมนา และเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “มุมมองของสภามหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย” โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมรองอธิการบดีทุกฝ่าย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานสภาคณาจารย์ และผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรม

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก

21 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), Mr. Ludovic Garnier, Group Chief Financial Officer จาก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), Mr. Jean Lebreton, Senior Vice President จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ Mr. Bart Bellers, CEO จาก Xpdite ร่วมงานเปิดตัว SPACE-F Batch

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง

8 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ (อาจารย์ใหญ่) ให้นักเรียนจากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 35 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม” จัดขึ้นโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน รวมถึงเป็นแรงจูงใจให้ศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ระดับสูงในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 15 มีนาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง Read More »

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านพร้อมสนับสนุน SPACEF Batch 3

7 กุมภาพันธ์ 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, Xpdite ต้อนรับ Startup ผู้เข้าร่วม “SPACE-F Batch 3” หรือ โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting โดย ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม (Group Director, Global Innovation) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 3 ก่อนจะมีการแนะนำบทบาทขององค์กรพันธมิตรที่มีส่วนร่วมปั้น FoodTech startup หน้าใหม่สู่วงการอุตสาหกรรมอาหารโลก โดยสนับสนุนและให้คำแนะนำในการสร้างสรรค์ผลงานของ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านพร้อมสนับสนุน SPACEF Batch 3 Read More »

Activity Photo

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!”

10 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด-19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Covid-19 testing: Current and alternative (future) methods ในรูปแบบ online ผ่านทาง Zoom meeting และ Facebook live ให้ข้อมูลทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 ในยุคโอมิครอน โดย 4 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจโควิด – 19 ในไทยและต่างประเทศ พร้อมอัปเดตเทคโนโลยีการตรวจโควิด – 19 สุดล้ำ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมกว่า 97 คนในการเสวนาในครั้งนี้วิทยากร ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ Mr. William Whittington, Chief Operations Officer (COO) จากบริษัท Tiger Tech

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Read More »

Activity Photo

9 คณาจารย์-อาจารย์เกษียณ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 – 2565

2 กุมภาพันธ์ 2565 9 คณาจารย์-อาจารย์เกษียณคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 และ 2565 จาก นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในงานวันนักประดิษฐ์ 2564-2565 Thailand Inventors’ Day 2021-2022 ภายใต้แนวคิด “วิถีใหม่ ใส่ใจชีวิต สู่สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 23 เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย”หรือ”กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

9 คณาจารย์-อาจารย์เกษียณ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 – 2565 Read More »

Activity photo

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบปะประชาคม สรุปการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานปี 2565

27 มกราคม 2565 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี สรุปการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานของผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2565 ผ่านกิจกรรม Meet the Dean ในรูปแบบ Hybrid โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข และระบบประชุมออนไลน์ Webex Meeting กว่า 300 คนในปี 2564 ที่ผ่านมา ท่ามกลางการระบาดของโควิด – 19 คณะวิทยาศาสตร์ ไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด – 19 จากในพื้นที่ โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคอย่างจริงจัง ดูแลบุคลากรโดยจัดทำประกันสุขภาพแบบกลุ่ม ประกันสุขภาพโควิด – 19 จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ให้กับบุคลากรและนักศึกษา ปรับลดค่าเทอมให้กับนักศึกษา สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับเรียนออนไลน์ พร้อมช่วยเหลือร้านค้าภายในคณะวิทยาศาสตร์ ส่งอาหารจากครัวคณะวิทยาศาสตร์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบปะประชาคม สรุปการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานปี 2565 Read More »

นักฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ”

25 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ” กับ ดร.วิภารัตน์ว ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ 3 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์   โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด ได้แบ่งปันประสบการณ์และมุมมองในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับ รังสีคอสมิก อนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ ที่ตนกำลังศึกษาอยู่ว่า ผู้คนอาจจะคิดว่าการวิจัยเกี่ยวกับอวกาศเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วเทคโนโลยีที่อยู่ในมือของเราอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ ก็มีการรับส่งสัญญาณจากดาวเทียมในอวกาศ ซึ่งดาวเทียมในอวกาศและยานอวกาศ หรือแม้กระทั่งหม้อแปลงไฟฟ้าบนโลกนั้นก็อาจเสียหายจากพายุสุริยะและรังสีคอสมิกได้ ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจตามมามหาศาล และรังสีคอสมิกยังคุกคามต่อสุขภาพของนักบินอวกาศอีกด้วย การศึกษารังสีคอสมิกซึ่งถือเป็นงานวิจัยพื้นฐานจึงมีความสำคัญอย่างมาก จึงอยากให้หน่วยงานให้ความสำคัญกับงานวิจัยพื้นฐานมากขึ้น

นักฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

Activity Photo

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ)

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธีฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณาจารย์ และนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2, 3, และ 4 จาก 4 สถาบัน ได้แก่ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และนักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมญาติและครอบครัวของผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ) จำนวน 54 ร่าง ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ ศาลาทักษิณาประดิษฐ์ เมรุ 1 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานครโดยพิธีในวันที่ 11

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ) Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) สวทช. สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้าวิจัยผลกระทบของอวกาศต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และพัฒนาการของไม้ต้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ และนักศึกษาจาก Plant Biology and Astroculture Laboratory (PBA Lab) ของกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. คุณปราณปริยา วงค์ษา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายองค์ความรู้ สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร พร้อมรับมอบเมล็ดพันธุ์ราชพฤกษ์อวกาศซึ่งเดินทางกลับสู่พื้นโลกด้วยยาน SpaceX Cargo Dragon

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 Read More »

Activity Photo

ประชุมการรับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

7 ธันวาคม 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารคณะฯ ให้การต้อนรับ และนำเสนอผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2565 ผ่านระบบออนไลน์โดยอธิการบดี ได้กล่าวถึงการดำเนินงานในภาพรวมของมหาวิทยาลัย นำเสนอผลงานวิจัยที่โดดเด่น การสนับสนุนผลงานวิจัย และการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แต่ละด้านของมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น คณบดีจึงนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตาม MU-KPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตาม 5 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของคณะฯ พร้อมทั้งนำเสนอแผนการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 ความพร้อมในการต้อนรับนักศึกษา และการเปิดสถานศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ การปรับตัวสู่อนาคต Digital Education /Digital Transformation เพื่อขับเคลื่อนความเป็น คณะวิทยาศาสตร์ แห่งแผ่นดิน

ประชุมการรับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ ออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต

3 ธันวาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต พูดคุยเจาะลึก “Omicron” เชื้อก่อโรค COVID-19 สายพันธุ์น้องใหม่ ที่กำลังเป็นที่จับตามองไปทั่วโลกในขณะนี้ เผยสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้และไม่รู้เกี่ยวกับ Omicron หรือ โอไมครอน รวมถึงแนวโน้มการวิจัยในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิรันดร ยูวะนิยม อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 80 คนตลอดการเสวนาวิทยากรได้ให้ข้อมูลสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้เกี่ยวกับ เชื้อก่อโรค

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ ออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต Read More »

Activity Photo

16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 16 (16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand) ระหว่างวันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน 2564 ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ อดีตนายกสมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 การจัดงานมีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในงานวิจัยด้านโปรตีนและสาขาที่เกี่ยวข้อง จากนักวิจัยที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน จึงได้มีการจัดงานในรูปแบบออนไลน์ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยผ่านการประชุมออนไลน์ สามารถติดตามกำหนดการเพิ่มเติมได้ทาง https://science.mahidol.ac.th/pst2021/

16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA”

มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA (AUN Quality Assurance: AUN-QA) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ภายในส่วนงาน และให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับมุมมอง แนวคิด เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ สามารถนำข้อมูลมาปรับใช้ในกระบวนการดำเนินการของหลักสูตร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์พัฒนาและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ให้พร้อมรับการตรวจประเมินฯ งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จึงมีกำหนดจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA” ขึ้น ในวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00-12.00 น. รูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings โดยมีผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา ประธานหลักสูตร และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง จำนวนทั้งสิ้น 58 คนการเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา อาจารย์ ดร.ณัฐพล อ่อนปาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง

28 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 63 ปี การก่อตั้ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาในรูปแบบ Hybrid ถ่ายทอดสดทาง online และการเข้าร่วมงานในพื้นที่ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในโอกาสครบรอบ 63 ปี แห่งการก่อตั้ง เรามุ่งมั่นที่จะ ‘เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม’ ผ่านวิทยาศาสตร์และการสร้างบุคลากรคุณภาพสูง การลงทุนทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิต จึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาส และสร้างบุคลากรคุณภาพอันเป็นอนาคตของสังคม มีความรู้ที่ทันสมัย ผ่านงานวิจัยระดับโลก ต่อยอดเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสูงในอนาคต ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับเป็นภารกิจและเป้าประสงค์ที่มุ่งมั่น เพื่อสร้างศรัทธาแห่งวิทยาศาสตร์ในฐานะ ‘คณะวิทยาศาสตร์แห่งแผ่นดิน’” จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรอบปี 2564 ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง Read More »

พิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมพิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 12 ภาควิชา 2 กลุ่มสาขาวิชา และ 13 งานภายใต้สำนักงานคณบดี รวมถึงศูนย์วิจัย เพื่อร่วมขับเคลื่อนและส่งเสริมการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปี 2565 ให้สำเร็จลุล่วง ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพตรวจสอบโดย : งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 11 ตุลาคม 2564

พิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง แชร์วิธีจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ในช่วงโควิด – 19

8 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe “เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง” เปิดเวทีแชร์ประสบการณ์ตรงและเคล็ดลับการสอนให้ปังโดนใจผู้เรียนของ 4 อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ผศ. ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ อ. ดร.เอกวัจน์ เชาว์วิชารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ อ. ดร.นฤพัฒน์ หงษ์ดิลกกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ อ. ดร.ภัคพล พงศาวกุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา โดยมี อ. ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการผ่านทาง Facebook liveตลอดการเสวนาวิทยากรทั้ง 4 ท่านได้พูดคุยแชร์ประสบการณ์จริง และมุมมองต่อการสอนออนไลน์ ในประเด็นความท้าทายของการสอนออนไลน์ วิธีการออกแบบการสอน ไปจนถึงวิธีการสอบและการวัดผลออนไลน์ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้ข้อจำกัดจากการปิดสถานศึกษาเพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19โดย ผศ. ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง แชร์วิธีจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ในช่วงโควิด – 19 Read More »

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล ครบทุกหลักสูตร (ไม่รวมหลักสูตรเปิดใหม่และหลักสูตรที่อยู่ระหว่างการขอปิด) จำนวน 45 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยมี ผศ. ดร.กภ.วรินทร์ กฤตยาเกียรณ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินฯ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 36 หลักสูตร รวมทั้งหมด 48 หลักสูตร โดยกว่า 42

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

วันพุธที่ 15 กันยายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนชลประทานวิทยา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meetings โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนทั้งสามแห่งเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวต้อนรับ นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ ผู้จัดการโรงเรียนชลประทานวิทยา นายสุรสิทธิ์ เจริญวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คึกฤทธ์ ศิลาลาย ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) รวมถึงคณะผู้บริหารและคณาจารย์จากทั้ง 3 โรงเรียน โดยผู้จัดการและผู้อำนวยการจากโรงเรียนทั้งสามแห่งได้กล่าวตอบรับและแสดงความยินดีในความร่วมมือครั้งนี้ จากนั้นเข้าสู่พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ และมอบของที่ระลึกพร้อมกับถ่ายภาพร่วมกันความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของนักเรียน อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน โดยการจัดบรรยาย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน Read More »

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

9 กันยายน 2564 นักวิทยาศาสตร์ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ คว้ารางวัล ที อี คิว (TEQ Award) สำหรับพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายณรงค์ แขวงซ้าย นักวิทยาศาสตร์ ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัล ที อี คิว (TEQ Award) ประจำปี 2563 ได้เข้าร่วมพิธีรับรางวัลจากสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการสัมมนาคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) ประจำปี 2564 ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Zoom meeting เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมาทั้งนี้ รางวัล ที อี คิว (TEQ Award) เป็นรางวัลสำคัญระดับประเทศเพื่อยกย่องเชิดชูพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ความสำเร็จในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) และผู้บริหาร

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online

ระหว่างวันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2564 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ (Master of Science Programme in Polymer Science and Technology (International Programme), Faculty of Science) รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom (The 226th Online/Remote Site Visit in the AUN-QA Program Assessment at Mahidol University) จากคณะกรรมการตรวจประเมิน (AUN-QA Assessor Team) โดยมีหลักสูตรที่เข้ารับการตรวจประเมินพร้อมกันในครั้งนี้อีก 3 หลักสูตร ได้แก่1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online Read More »

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2)

29 กรกฎาคม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) ผ่านระบบ Online Cisco WebEx Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 63 ท่าน ได้แก่ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยเริ่มต้นการประชุมด้วย รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมตามรูปแบบ Operation/Transformation Model การศึกษาสากลบ่มเพาะผู้ประกอบการ World Class Research ความรู้เพื่อปวงชน นวัตกรรมเพื่อประเทศ และองค์กรที่ยังยืน อีกทั้งเน้นย้ำในเรื่องสังคมไทยที่ใช้วิทยาศาสตร์ Learning Organization และการปรับตัวสู่อนาคต Digital Education และ Digital Transformation หลังจากนั้น

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) Read More »