บรรยายพิเศษ

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 29 เรื่อง ‘อาจารย์สตางค์กับการพัฒนาประเทศ’ ในโอกาสครบรอบ 65 ปี การสถาปนาคณะ

20 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 29 เรื่อง ‘อาจารย์สตางค์กับการพัฒนาประเทศ’ ฉลองวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบปีที่ 65 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ กล่าวปาฐกถา ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล พญาไทโดยพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2565 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ประเสริฐ โศภน อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง ประจำปีการศึกษา 2565 และผู้บริหารคณะและสถาบันต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารสถาบันวิจัย อาจารย์เกษียณ และทายาทศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เข้าร่วมงาน […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 29 เรื่อง ‘อาจารย์สตางค์กับการพัฒนาประเทศ’ ในโอกาสครบรอบ 65 ปี การสถาปนาคณะ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café 2023 Vol.1 ‘mRNA: เทคโนโลยียุคใหม่ในการป้องกันและรักษาโรค’

12 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดซีรีส์เสวนารางวัลโนเบลประจำปี 2023 จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café 2023 Vol.1 ‘mRNA: เทคโนโลยียุคใหม่ในการป้องกันและรักษาโรค’ ถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์สู่ประชาชน โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์วิจัยและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี mRNA รองศาสตราจารย์ ดร.หวัง หงุ่ยตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ธิติภา ทศพรวิชัย นักวิจัยหลังปริญญาเอก ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และรับชมทาง Facebook live รวมกว่า 70

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café 2023 Vol.1 ‘mRNA: เทคโนโลยียุคใหม่ในการป้องกันและรักษาโรค’ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2: Advanced Functional Materials for the Future” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกับ SCGC สร้างOpen Innovation เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและวัสดุอัจฉริยะ

27 กรกฎาคม 2566 งานวิจัย ร่วมกับงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2” ในหัวข้อ “Advanced Functional Materials for the Future” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกันให้กับประเทศไทยและระดับสากล โดยมีทีมนักวิจัยของทาง SCGC ให้การบรรยายพิเศษ พร้อมเปิดเวทีให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCG ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดรวมกว่า 100 คนในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2: Advanced Functional Materials for the Future” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกับ SCGC สร้างOpen Innovation เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและวัสดุอัจฉริยะ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน“ ส่งท้าย Pride Month

        28 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน แบบ Hybrid พูดคุยแบบสบาย ๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดกิจกรรมนี้เป็นครั้งที่ 2 และมีความตั้งใจที่จะจัดต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างความเข้าใจ เพิ่มการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายในกลุ่ม LGBTQIAN+ สู่ประชาคมเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บรรยาย ณ บริเวณใต้อาคารเรียนรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท         โดยในช่วงเวลา 10:00-10:50 น. เป็นการเสวนาในเรื่องของนโยบายเพื่อความหลากหลายในการทำงานภาคเอกชนและภาครัฐจากมุมผู้บริหาร

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน“ ส่งท้าย Pride Month Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง วิทยาศาสตร์ในโลกปัญญาประดิษฐ์และปัญญาประดิษฐ์ในโลกวิทยาศาสตร์

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์ในโลกปัญญาประดิษฐ์และปัญญาประดิษฐ์ในโลกวิทยาศาสตร์” โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุจินต์ วังสุยะ ภาควิชาฟิสิกส์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัลลภ ฮวบสมบูรณ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิทยากร และ รองศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์และหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Centex Shrimp) มาร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้ AI ในการวิจัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ เป็นผู้ดำเนินรายการ กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวเปิดกิจกรรม และรองศาสตราจารย์พลังพล คงเสรี คณบดี ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาที่มาร่วมกิจกรรม พร้อมกล่าวปิดการบรรยาย ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง วิทยาศาสตร์ในโลกปัญญาประดิษฐ์และปัญญาประดิษฐ์ในโลกวิทยาศาสตร์ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “Low-Cost Intelligent Sensor Interfaces for Food, Healthcare and Agriculture”

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 งานวิจัย ร่วมกับกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อ “Low-Cost Intelligent Sensor Interfaces for Food, Healthcare and Agriculture” โดยได้รับเกียรติจาก Professor Firat Güder จากภาควิชาวิศวกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) เป็นวิทยากรบรรยาย และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ กล่าวเปิดงาน โดยมี อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ บุคคลภายนอกจากภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน Professor

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “Low-Cost Intelligent Sensor Interfaces for Food, Healthcare and Agriculture” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “INDUSTRY TREND & FORESIGHT FOR MATERIAL DEVELOPMENT” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยกับ SCGC เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นอัจฉริยะในอนาคต

24 เมษายน 2566 งานวิจัย ร่วมกับงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “INDUSTRY TREND & FORESIGHT FOR MATERIAL DEVELOPMENT” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ระหว่างอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ และบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจีซี (SCGC) อัปเดตความก้าวหน้าเทรนด์อุตสาหกรรมวัสดุและเคมีในปัจจุบันและอนาคตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีอาจารย์และนักวิจัยจากภาควิชาและกลุ่มสาขาวิชาต่าง ๆ อาทิ เคมี ชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ ฟิสิกส์ วัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ สนใจเข้าร่วมกว่า 26 คน ณ ห้องประชุม K 102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทสำหรับครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “INDUSTRY TREND & FORESIGHT FOR MATERIAL DEVELOPMENT” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยกับ SCGC เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นอัจฉริยะในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ

28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมเปิดกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร คุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ตำแหน่ง นิติกร (ผู้ชำนาญการพิเศษ) หัวหน้างานธรรมาภิบาลและบริหารทั่วไป และคุณจักรกฤษณ์ พางาม ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ผู้ชำนาญการพิเศษ) จากกองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้กับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 65 คนคุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ได้สรุปความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส หลักเกณฑ์การประเมินฯ และวิธีการประเมิน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บุคลากรรับทราบช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ แผนการดำเนินงานประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานรอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือการปฏิบัติงาน และคู่มือการให้บริการกับบุคคลภายนอก ระบบสารสนเทศสำหรับบุคคลภายนอก แผนและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณของคณะฯ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน

9 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 ถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และความสวยงามตามรูปลักษณ์ของพรรณไม้แต่ละชนิด ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมือง และส่งเสริมการปฏิบัติงานรุกขกรอย่างปลอดภัย กับผู้เข้าร่วมอบรมจาก มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 19 คน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ นายธราดล ทันด่วน วิทยากรหลัก ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดโครงการอบรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” ขึ้นด้วยความเชื่อมั่นว่า องค์ความรู้ต้องได้รับการถ่ายทอดต่อไปสู่สังคม ตามปรัชญาของคณะวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นในการเป็น ‘สติของประชา ปัญญาของสังคม’ คณะวิทยาศาสตร์เองในอดีตก็มีเพียงตึกและพื้นที่โล่ง

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน Read More »

Activity Photo

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

8 มีนาคม 2566 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act (TRIUP Act & Technology Commercialization) เปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 รวมไปถึงกฎหมายลำดับรอง และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของ ‘ทรัพย์สินทางปัญญา’ (Intellectual Property) ในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge based economy) ในปัจจุบัน ที่ทุกประเทศพยายามพัฒนานวัตกรรมและสร้างทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อจุดประกายสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษามองถึงโอกาสในการนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประโยชน์ต่อสาธารณชนในครั้งนี้ โครงการอบรมฯ ได้รับเกียรติจาก 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง Read More »

Activity Photo

กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานBookDay@Mahidol Science ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท

1 มีนาคม 2566 กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน“BookDay@Mahidol Science” ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท โดยเชิญสำนักพิมพ์และร้านหนังสือชั้นนำ อาทิ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล ร้านนายอินทร์ Expernet Books ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซีเอ็ด Kinokuniya สำนักพิมพ์สารคดี นานมีบุ๊คส์ My BookStore และ SpringerNature Publishing ร่วมออกบูธจำหน่ายหนังสือ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และจัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “How to เตรียมต้นฉบับอย่างไร เพื่อตีพิมพ์กับ MU PRESS” ณ ห้องประชุม K102 พร้อมถ่ายทอดออนไลน์ผ่าน Facebook Live โดยมีคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมรับฟังทั้งในรูปแบบ Online และ On-site กว่า 172

กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานBookDay@Mahidol Science ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ไขความลับแก่นโลก ตอบข้อสงสัยกรณีแก่นโลกหยุดหมุนและหมุนย้อนกลับ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจ

17 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ไขความลับแก่นโลก ตอบข้อสงสัยกรณีแก่นโลกหยุดหมุนและหมุนย้อนกลับ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจ และให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาแก่นโลกผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยได้รับเกียรติจากสองอาจารย์นักธรณีฟิสิกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวิศ อมาตยกุล และ อาจารย์ ดร.สุทธิพงษ์ น้อยสกุล จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ธวัช รุ่งอรุณวรรณ จากบริษัท เคิร์ลอี ธรณีฟิสิกส์ จำกัด เป็นวิทยากร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และรับชมทาง Facebook live รวมกว่า 44 คนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวิศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ไขความลับแก่นโลก ตอบข้อสงสัยกรณีแก่นโลกหยุดหมุนและหมุนย้อนกลับ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจ Read More »

Activity Photo

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัด Mahidol Science Research Forum “รู้ก่อนแย่ แก้ก่อนสาย !!! จริยธรรมการทำวิจัยในคนและสัตว์ เพื่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ”

15 กุมภาพันธ์ 2566 สภาอาจารย์และงานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัด Mahidol Science Research Forum “รู้ก่อนแย่ แก้ก่อนสาย !!! จริยธรรมการทำวิจัยในคนและสัตว์ เพื่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ” เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการ ระเบียบข้อบังคับ การขอจริยธรรมการวิจัยในคนและสัตว์ รวมถึงกรณีศึกษา ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาในการขอตำแหน่งทางวิชาการให้ราบรื่นและรวดเร็ว ถ่ายทอดทางออนไลน์ผ่าน IPTV โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมรับฟังกว่า 180 คนกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากสองอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองการขอตำแหน่งทางวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่คณาจารย์และนักวิจัย โดยมีกรรมการสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์สามท่าน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณัฐพล ภาณุพินธุ หัวหน้าหน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ และ อาจารย์ ดร.พรรณวจี พยงค์ศรี

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัด Mahidol Science Research Forum “รู้ก่อนแย่ แก้ก่อนสาย !!! จริยธรรมการทำวิจัยในคนและสัตว์ เพื่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการ

20 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการวิชาการ ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท พร้อมถ่ายทอดผ่านระบบประชุม online WebEx Meeting การเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ อาจารย์อาวุโสคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาคมชาวมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมฟังการเสวนากว่า 300 คนในตอนต้นของการเสวนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ได้เล่าถึงความเชื่อมโยงกันของการวิจัย การตีพิมพ์ผลงาน และจริยธรรมการวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand สร้างการรับรู้โครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลี-ไทย

14 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Mahidol Science Cafe: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand เปิดเวทีพูดคุยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลีและไทย ทิศทางการวิจัย และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในอนาคต รวมถึงสร้างความเข้าใจ และเพิ่มการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศ แก่ประชาคมอาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เนื่องในโอกาสที่คณะผู้บริหารจาก Korea Astronomy & Space Science Institute (KASI) เดินทางเยือนประเทศไทย ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในการเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก Dr. Young-Deuk Park, President of Korea Astronomy and

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand สร้างการรับรู้โครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลี-ไทย Read More »

Activity photo

ศูนย์ CENMIG ฉลองครบรอบ 2 ปี การก่อตั้ง จัดกิจกรรม Free public lectures และ Entry-Level Genomics Workshop เผยแพร่องค์ความรู้ด้านจีโนมิกส์สู่สังคม

7 ธันวาคม 2565 ศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ จัดกิจกรรม Free public lectures ครบรอบ 2 ปี การก่อตั้งศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ “Pornchai Matangkasombut Center for Microbial Genomics (CENMIG)” เพื่อการควบคุมรักษาโรคติดเชื้อสำคัญ ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและนักวิจัยเข้าร่วมกว่า 67 คนในโอกาสอันดีนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วางรากฐานอันแข็งแกร่งให้แก่การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และการวิจัยด้านจุลชีววิทยาของประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแขกผู้มีเกียรติอีกมากมาย ร่วมพิธีเปิดและแสดงความยินดี โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์

ศูนย์ CENMIG ฉลองครบรอบ 2 ปี การก่อตั้ง จัดกิจกรรม Free public lectures และ Entry-Level Genomics Workshop เผยแพร่องค์ความรู้ด้านจีโนมิกส์สู่สังคม Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications”

30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Prof. Ravin Narain จาก Department of Chemical and Materials Engineering, Donadeo Innovation Centre for Engineering จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา มาบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science (MUSC) Research Forum หัวข้อเรื่อง Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications โดยได้รับเกียรติจาก คุณ Poornima Ramesh Lyer นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาตร์และวิศวกรรมวัสดุ กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง กล่าวเปิดกิจกรรมการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือจากงานวิจัย กลุ่มสาขาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics เจาะลึกวิวัฒนาการทฤษฎีควอนตัมและการประยุกต์ใช้

31 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics แบบ Hybrid ปิดท้ายเสวนาซีรีส์โนเบลประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านควอนตัม ศิษย์เก่าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ ดร. ธนภัทร์ ดีสุวรรณ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ดร.เอกรัฐ พงษ์โอภาส และ ดร. รุจิภาส บวรทวีปัญญา จากสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics เจาะลึกวิวัฒนาการทฤษฎีควอนตัมและการประยุกต์ใช้ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Blood Moon Party: ลอยกระทงไม่เหงา เพราะเรามาดูจันทรุปราคาด้วยกัน เปิดบ้านตั้งกล้องส่องเพ็ญเดือน 12 สีเลือดรอบสุดท้ายของปี 2565

8 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Blood Moon Party: ลอยกระทงไม่เหงา เพราะเรามาดูจันทรุปราคาด้วยกัน เปิดโอกาสให้น้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์และผู้สนใจร่วมส่องกล้องโทรทรรศน์ดูปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง “จันทร์เพ็ญสีเลือดเดือน 12” ในวันลอยกระทง พร้อมฟังสาระน่ารู้ของปรากฏการณ์จันทรุปราคาและดวงจันทร์ และถามตอบแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และฟิสิกส์อวกาศ อาทิ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ, อาจารย์ ดร.เพชระ ภัทรกิจวานิช นักฟิสิกส์อวกาศและอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ระเบียงหน้าห้อง R603 อาคารวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 104 คนศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล ได้อธิบายเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ว่า “จันทรุปราคา”

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Blood Moon Party: ลอยกระทงไม่เหงา เพราะเรามาดูจันทรุปราคาด้วยกัน เปิดบ้านตั้งกล้องส่องเพ็ญเดือน 12 สีเลือดรอบสุดท้ายของปี 2565 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism เปิดโลกการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

31 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism แบบ Hybrid ซึ่งนับเป็นตอนที่ 2 ของเสวนาซีรีส์โนเบลประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการสร้างและประยุกต์ใช้ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.ณัฐวดี ปัญญาอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และ อาจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism เปิดโลกการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 64 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ อย่างยิ่งใหญ่

21 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Communicator Award 2022 ยกย่องนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเป็นกำลังใจและร่วมผลักดันสังคมไทยสู่สังคมตื่นรู้วิทยาศาสตร์และเท่าทันโลก รวมถึงรางวัลอาจารย์ตัวอย่าง และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น เชิดชูเกียรติและส่งเสริมคุณค่าอาจารย์นักวิจัย และศิษย์เก่าผู้นำเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคม พร้อมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ ครบรอบ 64 ปี อย่างยิ่งใหญ่ สำหรับกิจกรรมในช่วงเช้ามีพิธีทำบุญถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารแก่พระสงฆ์จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร จำนวน 9 รูป โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สถิตย์ สิริสิงห, อาจารย์เกษียณ, คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้บริหารคณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานภายนอก ร่วมแสดงความยินดี และร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ต่อด้วยพิธีเปิด ณ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 64 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ อย่างยิ่งใหญ่ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café Vol.1: Physiology or Medicine จีโนมมนุษย์โบราณ: ไขปริศนาวิวัฒนาการโฮมินินส์ เปิดเวทีเสวนาซีรีส์รางวัลโนเบล จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

7 ตุลาคม 2565 กลับมาอีกครั้งกับเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café ประจำปี 2565 โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตอนแรกของการเสวนาซีรีส์รางวัลโนเบลด้วยสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ Nobel Prize in Mahidol Science Café Vol.1: Physiology or Medicine จีโนมมนุษย์โบราณ: ไขปริศนาวิวัฒนาการโฮมินินส์ แบบ Hybrid ซึ่งได้รับเกียรติจากนักชีววิทยา และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์แนวหน้าของประเทศไทย อาทิ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้แปลหนังสือชื่อดังในหมวดชีววิทยาวิวัฒนาการ เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ (Sapiens: A Brief History of Humankind), กำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species) และ หมู่เกาะมาเลย์ (The Malay

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café Vol.1: Physiology or Medicine จีโนมมนุษย์โบราณ: ไขปริศนาวิวัฒนาการโฮมินินส์ เปิดเวทีเสวนาซีรีส์รางวัลโนเบล จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ

       วันที่ 29 สิงหาคม 2565 งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพร่วมกับงานบริหารและธุรการ และงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการจัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เวลา 09.00 – 11.45 น. เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาคุณภาพคนและพัฒนาคุณภาพงาน สู่การพัฒนาคุณภาพองค์กร  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการประเมินเพื่อทำหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ชำนาญงาน ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญฯ) ม. มหิดล ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เคล็ดลับ การพิจารณาผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุน”   โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น   86  ท่าน มีวัตถุประสงค์1.เพื่อให้ผลงานของคณะวิทยาศาสตร์ที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์2. ได้ผลงานที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาต่อยอดไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานประจำได้ต่อไป โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพ คณะวิทยาศาสร์ ทั้งหมดจำนวน 5 ผลงาน ขอแสดงความยินดีกับผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่  1. แผนงานสำหรับจัดการความเสี่ยงด้านการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ที่ได้รับรางวัลประเภท Team Good Practice Award,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT เล่าประสบการณ์เด็กวิทย์บนเส้นทางอาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมมอบทุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4

24 สิงหาคม 2565 งานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT บอกเล่าประสบการณ์บนเส้นทางการทำงานด้านบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับเกียรติจาก คุณณัฐพล วิมลเฉลา กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร และพร้อมกันนี้ได้มอบทุนส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2565 โดยสนับสนุนเป็นค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่สนใจเรียนรู้การทำงานในการบริหารองค์กรบริษัทจำนวน 3 ทุน ณ L-02 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล (พญาไท) โดยมีนักศึกษาผู้ได้รับทุนดังนี้1. นายเฉลิมเกียรติ ยะพลหา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาคณิตศาสตร์2. นางสาวกชกร ผ่องใส นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาพฤกษศาสตร์3. นางสาวจินต์จุฑา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT เล่าประสบการณ์เด็กวิทย์บนเส้นทางอาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมมอบทุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “a CIF Initiative in Drug Discovery Platform”

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum โดยเป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง a CIF Initiative in Drug Discovery Platform โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ในเครื่องมือ Single Crystal X-ray Diffractometer system  คุณสันติ ขันทอง บริษัท แบงเทรดดิ้ง 1992 จำกัด ให้ความรู้ในเครื่องมือ Multimode Plate Reader คุณฤทัยทิพย์ ติระตระกูลวิชยา DKSH (Thailand) Limited ให้ความรู้ในเครื่องมือ Isothermal Titration Calorimeter (ITC)  และคุณศันสนีย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “a CIF Initiative in Drug Discovery Platform” Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ iNT จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science BDU x iNT แบ่งปันประสบการณ์การวิจัยร่วมกับเอกชน สร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย

10 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยพันธกิจพิเศษด้านพัฒนาธุรกิจ หรือ BDU (Business Development Unit) ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ iNT จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science BDU x iNT ในรูปแบบ Hybrid ทั้งในสถานที่และออนไลน์ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ตรงในการทำวิจัยและบริการวิชาการให้กับภาคเอกชน การสร้างงานวิจัยสู่นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา และการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) พร้อมเล่าถึงบทบาทของ BDU และ iNT ต่อทิศทางการทำงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยกับเอกชน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวเปิดงาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย 4 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ผู้ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชน และแวดวงสตาร์ทอัพ อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ iNT จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science BDU x iNT แบ่งปันประสบการณ์การวิจัยร่วมกับเอกชน สร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงปัญหา Climate Change เตรียมร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว สานต่อนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University)

21 กรกฎาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงปัญหาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) จากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว ภายใต้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สานต่อนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University) พัฒนาการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยจัดอบรมให้กับคณะทำงานโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งรับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ของเกณฑ์การประเมินโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว 6 หมวด ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก การใช้ทรัพยากรและพลังงาน การจัดการของเสีย สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย และการจัดซื้อและจัดจ้าง ให้แก่คณะทำงานโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอาคารแรกที่นำร่องสำหรับการร่วมโครงการฯ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติทั้งนี้ โครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว เป็นโครงการภายใต้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในกลุ่มสำนักงาน เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงปัญหา Climate Change เตรียมร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว สานต่อนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University) Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products” พร้อมเปิดห้อง Lab แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมเมตาบอลิซึม

ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Prof. Mattheos Koffas จาก Rensselaer Polytechnic Institute นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มาบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ หัวหน้าหน่วยสังเคราะห์ภาพระดับนาโน เป็นผู้ดำเนินรายการ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดกิจกรรมการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ การจัดกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ และระบบประชุมออนไลน์ WebEx

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products” พร้อมเปิดห้อง Lab แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมเมตาบอลิซึม Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” เปิดพื้นที่ปลอดภัยสร้างความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศ LGBTQIAN+ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

28 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” แบบ Hybrid พูดคุยแบบสบาย ๆ สร้างความเข้าใจ เพิ่มการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายในกลุ่ม LGBTQIAN+ สู่ประชาคมเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ โดยมี อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ นพ.สิระ กอไพศาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ ดร.พหล โกสิยะจินดา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บรรยาย ต่อด้วยกิจกรรม MUSC Happy Pride Month

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” เปิดพื้นที่ปลอดภัยสร้างความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศ LGBTQIAN+ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” แนะโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล

23 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” ในรูปแบบ Hybrid โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และประธานที่ปรึกษาสถาบัน K Agro-Innovate ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล ด้วยการพัฒนา Herbal value chain ยกระดับคุณค่าการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมยกกรณีศึกษา “น่านแซนด์บ็อกซ์ (Nan Sandbox)” ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนนำโดยมูลนิธิกสิกรไทย ซึ่งและมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีส่วนร่วมในโครงการโดยการค้นหาและศึกษาพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการต่อยอดเป็นส่วนผสมออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการสร้างยา และเหมาะต่อการเพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน สร้างรายได้ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการพลิกฟื้นพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” แนะโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล Read More »