ข่าวกิจกรรมปี 2566

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานให้กับอาจารย์และนักศึกษาชาวต่างชาติ จาก Vrije University Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์

          วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับและจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานให้กับอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขา Medical Natural Sciences และ Biomedical Technology and Physics  จำนวน 25 ราย จาก Vrije University Amsterdam (VU Amsterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ณ ห้องประชุม RF5 อาคารเคมี           โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษา และพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นร่วมกัน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านการทำงานในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหลักสูตร Medical Natural […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานให้กับอาจารย์และนักศึกษาชาวต่างชาติ จาก Vrije University Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ Read More »

สมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และผู้บริหารคณะวิทย์ ม.มหิดล เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          เมื่อวันอังคารที่ 11 เมษายน 2566 เวลา 14.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย  https://news.ch7.com/detail/636830

สมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และผู้บริหารคณะวิทย์ ม.มหิดล เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566

          10 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมสืบสานงานประเพณีสงกรานต์ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของไทย และจัดพิธีทำบุญประจำปี 2566 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมด้วยผู้บริหาร ผู้เกษียณอายุงาน คณาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานชาวคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมทำบุญถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์จากวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร จำนวน 9 รูป ณ บริเวณลานตึกกลม และร่วมพิธีทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง บริเวณซุ้มทางเดินเฟื่องฟ้า           ก่อนเข้าสู่พิธีแสดงมุทิตาจิต รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ในเวลา 10:30 น. ณ บริเวณลานตึกกลม เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้อาวุโส รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่ไทย โดยในปีนี้มีอาจารย์ผู้อาวุโสให้เกียรติมาร่วมพิธี จำนวน 10 ท่าน ได้แก่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566 Read More »

Activity Photo

ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรม คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรม ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ เสริมทักษะเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

29 มีนาคม ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Cell Culture Meet Thailand 2023 ณ ห้องปฏิบัติการอเนกประสงค์ MDL1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนอกเหนือจากการอบรมแล้วยังมีการแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมของเมอร์คและให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์ขั้นพื้นฐานจากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวเปิดการอบรมโดย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเซลล์ ที่เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์กับหน่วยงานอื่น มุ่งหวังให้ความรู้วิทยาศาสตร์แก่นักศึกษาและผู้ที่สนใจ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมในการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัมพา

ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรม คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรม ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ เสริมทักษะเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

31 มีนาคม – 1 เมษายน 2566 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากลแก่อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ณ ห้องประชุม อาคารสตางค์มงคลสุขผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์และประธานคณะกรรมการความคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงภาพรวมของการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ ตลอดจนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อให้บุคลากรนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพให้สามารถทำงานกับเชื้อโรคได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุคคลทั่วไป โดยในครั้งนี้มีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ เจ้าหน้าที่บริหารชีวนิรภัยของหน่วยงาน (BSO) นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ จากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวนกว่า 103 คน ซึ่งต้องขอขอบคุณคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity Photo

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกิจกรรมสัมมนาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2567 – 2570 ปรับแผนนำองค์กรสู่คณะวิทย์ชั้นนำเพื่อสร้างสังคมอย่างยั่งยืน

3 – 4 เมษายน 2566 ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกิจกรรมสัมมนาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2567 – 2570 ทบทวนและปรับแผนยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นคณะวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม และองค์กรแห่งความยั่งยืน ณ โรงแรม Amari Hua Hinรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ได้ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของคณะวิทยาศาสตร์ ในการเป็นผู้นำด้านการศึกษาวิจัย และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์อย่างบูรณาการ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ รวมถึงพันธกิจหลักในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ คู่คุณธรรม และผลิตผลงานวิจัยคุณภาพสากลก่อประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งการทำให้คณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ปรับและเปลี่ยนไปตามอนาคต จำเป็นต้องทบทวนยุทธศาสตร์ โดยการสร้างการดำเนินการที่ทันสมัยและคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มลูกค้า ช่องทางการเข้าถึง ความสำคัญกับลูกค้า ทรัพยากรหลัก พันธมิตร เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่ประสบความสำเร็จจนถึงปัจจุบัน และการผลักดันความร่วมมือต่าง ๆ ในด้านการบริหารงาน รวมถึงการปรับเปลี่ยนหน่วยงานให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นด้วยจากนั้นจึงเป็นการบรรยายพิเศษ ‘การวางแผนกลยุทธ์เชิง Organizational’ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกิจกรรมสัมมนาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2567 – 2570 ปรับแผนนำองค์กรสู่คณะวิทย์ชั้นนำเพื่อสร้างสังคมอย่างยั่งยืน Read More »

Activity Photo

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนามถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์แบบกระเป๋าหิ้ว ให้แก่ บริษัท เอ็มยูไอ โรบอติกส์ จํากัด เตรียมพร้อมบุกตลาดไทยและยุโรป

29 มีนาคม 2566 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต “เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์แบบกระเป๋าหิ้ว” ให้แก่ บริษัท เอ็มยูไอ โรบอติกส์ จํากัด เตรียมผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์บุกตลาดในประเทศไทยและประเทศในแถบยุโรป สะท้อนความสำเร็จของการผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้างในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อํานวยการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และกลุ่มสาขาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ ผู้คิดค้นเทคโนโลยีจมูกอิเล็กโทรนิกส์ คุณวันดี วัฒนกฤษฎิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เอ็มยูไอ โรบอติกส์ จํากัด ได้ร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยมีผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนามถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์แบบกระเป๋าหิ้ว ให้แก่ บริษัท เอ็มยูไอ โรบอติกส์ จํากัด เตรียมพร้อมบุกตลาดไทยและยุโรป Read More »

Activity Photo

‘ตัวไกล ใจไม่ห่าง’ นักศึกษาแพทย์ PI ชั้นปีที่ 2 จัดพิธีปัจฉิมนิเทศและอำลารุ่นพี่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ในโอกาสสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์พื้นฐาน (พรีคลินิก) ที่ดำเนินการสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้สอนรายวิชาการแพทย์พื้นฐาน (พรีคลินิก) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. กุลธิดา ชัยธีระยานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณัฐพล ภาณุพินธุ อาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา เข้าร่วมพิธีปัจฉิมนิเทศและอำลานักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์พื้นฐาน (พรีคลินิก) ที่ดำเนินการสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์พิธีปัจฉิมและอำลาพี่ปี 3 จัดขึ้นโดยนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ที่ร่วมแรงร่วมใจจัดงานให้พี่ปี 3 ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข กิจกรรมในงานเริ่มด้วยการเปิดวีดิทัศน์ที่เล่าเรื่องนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ตั้งแต่เข้ามาเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปี 1-3

‘ตัวไกล ใจไม่ห่าง’ นักศึกษาแพทย์ PI ชั้นปีที่ 2 จัดพิธีปัจฉิมนิเทศและอำลารุ่นพี่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ในโอกาสสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์พื้นฐาน (พรีคลินิก) ที่ดำเนินการสอนโดยคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมหารือ University of Sussex สานต่อความร่วมมือด้านศึกษา-วิจัยในอนาคต

24 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ ให้การต้อนรับและหารือความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาและการวิจัยร่วมกันกับคณะผู้บริหารจาก University of Sussex จากสหราชอาณาจักร ได้แก่ Prof. Sasha Roseneil, Vice-Chancellor and President, Prof. Steve McGuire, Dean of Business School and University Lead for

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมหารือ University of Sussex สานต่อความร่วมมือด้านศึกษา-วิจัยในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองวันสถาปนาครบรอบ 37 ปี การก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติ

23 มีนาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ และสถาบันต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี เป็นผู้แทนคณบดี ร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองวันสถาปนาครบรอบ 37 ปี การก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติ สานต่อความสัมพันธ์อันดีของทั้ง 2 หน่วยงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้มอบแจกันดอกไม้แสดงความยินดี และร่วมฟังเสวนาพิเศษ ในหัวข้อ “Creating Global Citizens”โดย ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และกิจกรรมเสวนา “Lifelong Learning, Global Citizenship, and Sustainability” โดยศิษย์เก่าของวิทยาลัยนานาชาติ ได้แก่ คุณทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ CEO CirPlas Tech Co., Ltd., คุณศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย Marine Biologist,

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองวันสถาปนาครบรอบ 37 ปี การก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือระหว่าง “PTT Innovation Institute x Mahidol Science” ครั้งที่ 2 เปิดเวทีนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนมุมมองด้านงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน ปั้นงานวิจัยเชิงพาณิชย์ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน

21 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันนวัตกรรม ปตท. หรือ (PTT Inl) จัดกิจกรรมหารือความร่วมมือ “PTT Innovation Institute x Mahidol Science” ครั้งที่ 2 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง 2 สถาบัน เปิดโอกาสให้อาจารย์และนักวิจัยภายในมหาวิทยาลัยได้นำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนมุมมองด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ ร่วมกับภาคเอกชน ต่อยอดความร่วมมือไปสู่การทำวิจัยร่วม การจ้างวิจัย การทำบริการวิชาการ รวมไปถึงการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ MOU กันในอนาคต รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การเกิดนวัตกรรม ไปจนถึงการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ผลักดันงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทยและระดับสากลกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ดร.วิวรรณ ธรรมมงคล Vice President, Biotechnology and Material

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือระหว่าง “PTT Innovation Institute x Mahidol Science” ครั้งที่ 2 เปิดเวทีนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนมุมมองด้านงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน ปั้นงานวิจัยเชิงพาณิชย์ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3

17 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมปลูกต้นพะยอมเป็นที่ระลึกร่วมกับ 11 ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 ภาคปฏิบัติ ณ สนามฟุตซอล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ก่อนมอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านโครงการอบรม ณ สวนป่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในพิธีปิดการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล ได้กล่าวชื่นชมผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านที่สละเวลาและตั้งใจในการอบรมครั้งนี้ จากนั้นจึงเชิญผู้แทนทีมวิทยากรจากบริษัท Progression Trees จำกัด กล่าวสรุปการอบรม ผู้แทนผู้เข้าร่วมอบรมกล่าวความในใจ คณบดีกล่าวปิดการอบรม ก่อนปิดท้ายด้วยการมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการคุณฐณพล สมาธิ ผู้แทนทีมวิทยากรจากบริษัท Progression Trees จำกัด กล่าวว่า ประทับใจผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ทุกคนพัฒนาทักษะขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัยร่วมกับ National Taiwan Normal University (NTNU) สาธารณรัฐไต้หวัน

13 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา ให้การต้อนรับ Professor Frank Yung-Hsiang Ying, Executive Vice President พร้อมด้วยคณะผู้แทนจาก Office of International Affairs, National Taiwan Normal University Mr. Daniel Lin และ Ms. Serena Chen, Student Mobility Managers เพื่อหารือความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัยที่สามารถมีร่วมกันได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ (Science Education) ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของ

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัยร่วมกับ National Taiwan Normal University (NTNU) สาธารณรัฐไต้หวัน Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล

17 มีนาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ และสถาบันต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ ผู้แทนคณบดี และคุณมลฤดี ธรรมรงค์ นักวิชาการเงินและบัญชี (ชำนาญการพิเศษ) งานคลังและพัสดุ ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ ให้การต้อนรับ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ ถนนวิภาวดีรังสิต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : วิทยาลัยการจัดการเว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 17 มีนาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านจัดกิจกรรม International Pi Day ฉลอง International Day of Mathematics เปิดโอกาสนักเรียน ม.ปลาย เสริมสร้างทักษะนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และนักคณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล พร้อมแนะนำอาชีพสุดรุ่งของคนชอบเรียนเลข

15 มีนาคม 2566 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านจัดกิจกรรม Pi Day: International Day of Mathematics ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกว่า 115 คน ได้รู้จักกับธรรมเนียมของนักคณิตศาสตร์ในวันพาย เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับค่าพาย และร่วมสนุกกับกิจกรรมเสริมสร้างทักษะสำหรับนักคณิตศาสตร์ประกันภัยและนักคณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล พร้อมแนะนำหลักสูตร โอกาส และเส้นทางอาชีพของนักคณิตศาสตร์ที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่ต้องการของโลกในปัจจุบัน ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และคณาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้ให้เกียรติร่วมพิธีเปิด ณ อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า โลกต้องการนักคณิตศาสตร์อย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันรูปแบบของการทำธุรกิจ ไม่ว่าเป็นประกันภัย โลจิสติกส์ หรือการจัดการข้อมูลที่อยู่ในรูปของดิจิทัล ไปจนถึงเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านจัดกิจกรรม International Pi Day ฉลอง International Day of Mathematics เปิดโอกาสนักเรียน ม.ปลาย เสริมสร้างทักษะนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และนักคณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล พร้อมแนะนำอาชีพสุดรุ่งของคนชอบเรียนเลข Read More »

Activity Photo

นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท แสดงความกตัญญูกตเวทิตา จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565

11 มีนาคม 2566 นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล และคณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 ร่าง ณ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ AN1-301 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการเรียนแพทย์ วิชาที่เป็นพื้นฐานสำคัญวิชาหนึ่งคือ วิชามหกายวิภาคศาสตร์ หรือ Gross anatomy ซึ่งนักศึกษาจะศึกษาโดยการผ่าร่างของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือที่นักศึกษาแพทย์เรียกขานท่านว่า “อาจารย์ใหญ่” ความรู้ที่ได้จากร่างของอาจารย์ใหญ่ในทุกส่วนและทุกระบบของร่างกาย ที่ไม่มีตำราเล่มไหนหรือเทคโนโลยีใดมาทดแทนได้ นอกจากความรู้แล้วสิ่งที่นักศึกษาแพทย์ได้รับคือตัวอย่างของความเสียสละของอาจารย์ใหญ่ ที่จะเป็นแรงบันดาลใจในความเสียสละเมื่อสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์แล้ว และการทำงานเป็นทีมเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักศึกษาแพทย์ตระหนักถึงคุณูปการของอาจารย์ใหญ่ รวมถึงเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตา จึงได้จัดพิธีอำลาร่างของอาจารย์ใหญ่ โดยมีการกล่าวบทบูชาครูและขอขมาอาจารย์ใหญ่ ตัวแทนนักศึกษาแพทย์กล่าวคำสดุดีอาจารย์ใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ประธานในพิธีฯ ได้กล่าวให้โอวาทกับนักศึกษา จากนั้นเป็นพิธีบรรจุร่างอาจารย์ใหญ่พร้อมจดหมายฉบับสุดท้ายที่นักศึกษาแพทย์เขียนถึงอาจารย์ใหญ่ใส่ในโลงศพ ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิร่วมกตัญญูมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ คุณเอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ เป็นผู้แทนของมูลนิธิร่วมกตัญญูรับมอบใบประกาศเกียรติคุณและเงินบริจาคฯ จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์

นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท แสดงความกตัญญูกตเวทิตา จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ BRIT Education UK จัดกิจกรรม UK University Fair on tour เปิดเวทีแนะนำเส้นทางการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร

15 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ BRIT Education UK จัดกิจกรรม UK University Fair on tour แนะนำเส้นทางการเรียนต่อ 11 มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ทุนแลกเปลี่ยนเพื่อการวิจัย ฝึกงาน หรือศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโทของคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมเปิดเวทีบอกเล่าประสบการณ์เรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรโดยคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แก่น้อง ๆ นักศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม ณ บริเวณอาคารเรียนรวม (ตึกกลม) และซุ้มเฟื่องฟ้า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทุกคน ความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ และ BRIT

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ BRIT Education UK จัดกิจกรรม UK University Fair on tour เปิดเวทีแนะนำเส้นทางการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ

          14 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และพระมหาธนศักดิ์ ชื่นสว่าง ผู้จัดการโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ร่วมพิธีลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ           โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการสร้างพันธมิตร และผมเชื่อว่าโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ที่ให้ความสนใจด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีจุดมุ่งหมายร่วมกันกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการที่เรามีความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการจะเสริมให้เกิดประโยชน์หลากหลายด้านในอนาคต ผมเชื่อว่า MOU นี้จะเกิดประโยชน์กับทุก ๆ ฝ่าย           ในโอกาสอันดีนี้ คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ

28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมเปิดกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร คุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ตำแหน่ง นิติกร (ผู้ชำนาญการพิเศษ) หัวหน้างานธรรมาภิบาลและบริหารทั่วไป และคุณจักรกฤษณ์ พางาม ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ผู้ชำนาญการพิเศษ) จากกองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้กับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 65 คนคุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ได้สรุปความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส หลักเกณฑ์การประเมินฯ และวิธีการประเมิน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บุคลากรรับทราบช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ แผนการดำเนินงานประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานรอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือการปฏิบัติงาน และคู่มือการให้บริการกับบุคคลภายนอก ระบบสารสนเทศสำหรับบุคคลภายนอก แผนและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณของคณะฯ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมสมทบทุนสนับสนุนจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปทุมรัตน์ ตู้จินดา จัดซื้อรถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการให้แก่นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

          28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมสมทบทุนกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปทุมรัตน์ ตู้จินดา จัดซื้อรถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการและมอบให้กับนางสาวสุนันทา เขียวกระจ่าง นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล           โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  และศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปทุมรัตน์ ตู้จินดา เป็นผู้ส่งมอบรถเข็นไฟฟ้าให้กับนิสิตและผู้ปกครอง ณ บริเวณหน้าอนุสรณ์สถาน ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท                    รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “เป็นเรื่องของการดูแล เพื่อให้นักศึกษาที่จำเป็นต้องใช้รถเข็นสามารถใช้ชีวิตประจำวันกับเพื่อน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมสมทบทุนสนับสนุนจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปทุมรัตน์ ตู้จินดา จัดซื้อรถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการให้แก่นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน

9 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 ถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และความสวยงามตามรูปลักษณ์ของพรรณไม้แต่ละชนิด ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมือง และส่งเสริมการปฏิบัติงานรุกขกรอย่างปลอดภัย กับผู้เข้าร่วมอบรมจาก มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 19 คน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ นายธราดล ทันด่วน วิทยากรหลัก ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดโครงการอบรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” ขึ้นด้วยความเชื่อมั่นว่า องค์ความรู้ต้องได้รับการถ่ายทอดต่อไปสู่สังคม ตามปรัชญาของคณะวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นในการเป็น ‘สติของประชา ปัญญาของสังคม’ คณะวิทยาศาสตร์เองในอดีตก็มีเพียงตึกและพื้นที่โล่ง

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2023 : Good Health and Well – Being)

        วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2023 : Good Health and Well – Being) ณ ลานสมเด็จพระราชบิดา ศูนย์การเรียนรู้มหิลดล (MLC) ศาลายา โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้         โดยขบวนพาเหรดได้เริ่มเคลื่อนขบวน นำขบวนด้วยวงโยธวาทิตจากบริเวณหน้าหอพักนักศึกษา ผ่านหน้าวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เลี้ยวเข้ามาในอาคารศูนย์การเรียนรู้ ม.มหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2023 : Good Health and Well – Being) Read More »

Activity Photo

2 อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล พัฒนาวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อพัฒนาสารต้นแบบยับยั้งมะเร็ง และศึกษาคุณสมบัติจุลินทรีย์กระตุ้นการเติบโตของพืช คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

10 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. ดรุณี สู้รักรัมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอรศิริ อินตรา อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ที่มอบให้แก่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 200,000 บาท โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้มอบทุนในพิธีมอบรางวัลและเงินทุนช่วยเหลือการวิจัยฯ ครั้งที่ 29 โดยมี ฯพณฯ นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มร. นิคคาคุ ประธานบริษัทโทเรอินดัสตรีส์ ประเทศญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประธานคณะกรรมการรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

2 อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล พัฒนาวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อพัฒนาสารต้นแบบยับยั้งมะเร็ง และศึกษาคุณสมบัติจุลินทรีย์กระตุ้นการเติบโตของพืช คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS)

       8 มีนาคม 2566 เวลา 9.00-13.00 น. หน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น จัดงานประชุมสัมมนา “Commemorative Symposium of 20th Anniversary of OU-MU:CRC and OU:CRS” ในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งหน่วยงานทั้งสอง ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบ WebEx Meeting โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น      

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) Read More »

Activity Photo

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

8 มีนาคม 2566 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act (TRIUP Act & Technology Commercialization) เปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 รวมไปถึงกฎหมายลำดับรอง และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของ ‘ทรัพย์สินทางปัญญา’ (Intellectual Property) ในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge based economy) ในปัจจุบัน ที่ทุกประเทศพยายามพัฒนานวัตกรรมและสร้างทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อจุดประกายสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษามองถึงโอกาสในการนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประโยชน์ต่อสาธารณชนในครั้งนี้ โครงการอบรมฯ ได้รับเกียรติจาก 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ SCGC มุ่งวิจัยเชิงรุก ยกระดับความร่วมมือพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมขยายกรอบงานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน เดินหน้าพัฒนาวัสดุแห่งอนาคต ตอบโจทย์เมกะเทรนด์

          3 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังจัดงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความยั่งยืนให้กับผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากล ตอบรับเมกะเทรนด์  ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ Research and Innovation for the Future Materials โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ SCGC มุ่งวิจัยเชิงรุก ยกระดับความร่วมมือพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมขยายกรอบงานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน เดินหน้าพัฒนาวัสดุแห่งอนาคต ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับ 15 คณาจารย์และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้า 6 รางวัลเชิดชูเกียรติ

2 มีนาคม 2566 ในโอกาสครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารคณะ และสถาบันต่าง ๆ ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนร่วมฟังปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ 12 เรื่อง “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในภาวะความไม่ยั่งยืนของการพัฒนา” โดย คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับ 15 คณาจารย์และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้า 6 รางวัลเชิดชูเกียรติ Read More »

Activity Photo

อาจารย์กลุ่มสาขาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทย์ ม.มหิดล โชว์ศักยภาพวิจัย ‘เพอรอฟสไกต์’ ยกระดับโซลาร์เซลล์และเซนเซอร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คว้ารางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2566

28 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีระดับสูงสําหรับพลังงานและความยังยืน (Advanced Technologies for Energy and Sustainability Lab) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเกี่ยวกับวัสดุ ‘เพอรอฟสไกต์ (Perovskite)’ สำหรับการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์เซนเซอร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เข้ารับรางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2566 (Outstanding Young Materials Researcher Award) จากสมาคมวิจัยวัสดุประเทศไทย ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 4th Materials Research Society of Thailand International Conference (MRS-Thailand 2023) ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 – 4 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์

อาจารย์กลุ่มสาขาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทย์ ม.มหิดล โชว์ศักยภาพวิจัย ‘เพอรอฟสไกต์’ ยกระดับโซลาร์เซลล์และเซนเซอร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คว้ารางวัลนักวิจัยวัสดุรุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2566 Read More »

Activity Photo

กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานBookDay@Mahidol Science ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท

1 มีนาคม 2566 กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน“BookDay@Mahidol Science” ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท โดยเชิญสำนักพิมพ์และร้านหนังสือชั้นนำ อาทิ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล ร้านนายอินทร์ Expernet Books ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซีเอ็ด Kinokuniya สำนักพิมพ์สารคดี นานมีบุ๊คส์ My BookStore และ SpringerNature Publishing ร่วมออกบูธจำหน่ายหนังสือ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และจัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “How to เตรียมต้นฉบับอย่างไร เพื่อตีพิมพ์กับ MU PRESS” ณ ห้องประชุม K102 พร้อมถ่ายทอดออนไลน์ผ่าน Facebook Live โดยมีคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมรับฟังทั้งในรูปแบบ Online และ On-site กว่า 172

กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานBookDay@Mahidol Science ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท Read More »

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566

          วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 09.00-12.00 น.  ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข   งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยใช้ AUN-QA CRITERIA VERSION 4.0  ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา มาเป็นวิทยากร โดยมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง จำนวนทั้งสิ้น 54 คน รับชมการประชุมย้อนหลัง / เอกสารประกอบการประชุม  (Intranet)

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566 Read More »