ข่าวกิจกรรม

Activity Photo

16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 16 (16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand) ระหว่างวันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน 2564 ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ อดีตนายกสมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 การจัดงานมีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในงานวิจัยด้านโปรตีนและสาขาที่เกี่ยวข้อง จากนักวิจัยที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน จึงได้มีการจัดงานในรูปแบบออนไลน์ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยผ่านการประชุมออนไลน์ สามารถติดตามกำหนดการเพิ่มเติมได้ทาง https://science.mahidol.ac.th/pst2021/ […]

16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA”

มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA (AUN Quality Assurance: AUN-QA) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ภายในส่วนงาน และให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับมุมมอง แนวคิด เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ สามารถนำข้อมูลมาปรับใช้ในกระบวนการดำเนินการของหลักสูตร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์พัฒนาและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ให้พร้อมรับการตรวจประเมินฯ งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จึงมีกำหนดจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA” ขึ้น ในวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00-12.00 น. รูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings โดยมีผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา ประธานหลักสูตร และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง จำนวนทั้งสิ้น 58 คนการเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา อาจารย์ ดร.ณัฐพล อ่อนปาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA” Read More »

Activity Photo

เริ่มแล้ว! กับความสนุกครั้งยิ่งใหญ่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีและของประเทศอีกครั้ง ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก “ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Art – Science – Innovation and Creative Economy) โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี โดยเป็นโอกาสสำคัญในการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสุนทรมหามงกุฏพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ในฐานะ “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะ “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในปี 2564 นี้ ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดงาน โดยมีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อุดมศึกษา

เริ่มแล้ว! กับความสนุกครั้งยิ่งใหญ่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนามัคคุเทศก์ของคณะวิทยาศาสตร์ (Mahidol Science Navigator) รุ่นที่ 1

                6 พฤศจิกายน 2564  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนามัคคุเทศก์ของคณะวิทยาศาสตร์ (Mahidol Science Navigator) รุ่นที่ 1 จำนวน 11 คน พร้อมรับมอบประกาศนียบัตรจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล                 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนามัคคุเทศก์ของคณะวิทยาศาสตร์ (Mahidol Science Navigator) อบรมตลอดหลักสูตร ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน 2564 เป็นหลักสูตรที่เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะเบื้องต้นในการเป็นมัคคุเทศก์ (ภาษาไทย) เพื่อฝึกอบรมให้นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลที่สนใจเข้าอบรมทักษะ ความรู้เกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศมืออาชีพ และเรียนรู้เรื่องราว ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของคณะฯทั้งวิทยาเขตพญาไท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนามัคคุเทศก์ของคณะวิทยาศาสตร์ (Mahidol Science Navigator) รุ่นที่ 1 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง

28 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 63 ปี การก่อตั้ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาในรูปแบบ Hybrid ถ่ายทอดสดทาง online และการเข้าร่วมงานในพื้นที่ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในโอกาสครบรอบ 63 ปี แห่งการก่อตั้ง เรามุ่งมั่นที่จะ ‘เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม’ ผ่านวิทยาศาสตร์และการสร้างบุคลากรคุณภาพสูง การลงทุนทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิต จึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาส และสร้างบุคลากรคุณภาพอันเป็นอนาคตของสังคม มีความรู้ที่ทันสมัย ผ่านงานวิจัยระดับโลก ต่อยอดเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสูงในอนาคต ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับเป็นภารกิจและเป้าประสงค์ที่มุ่งมั่น เพื่อสร้างศรัทธาแห่งวิทยาศาสตร์ในฐานะ ‘คณะวิทยาศาสตร์แห่งแผ่นดิน’” จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรอบปี 2564 ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้และถวายราชสักการะเนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2564

          คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย คุณปนิดา พยุหกฤษ หัวหน้างานสื่อสารองค์กร และคุณเฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ หัวหน้างานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้และถวายราชสักการะเพื่อเทิดพระเกียรติ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2564 ในวันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:00 น. ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: นางสาวภัทรศุภางค์ คงคาเนรมิตร เว็บมาสเตอร์:

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้และถวายราชสักการะเนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2564 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม

          12 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงความจงรักภักดีและน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จัดพิธีถวายราชสดุดีเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีเป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และกล่าวถวายราชสดุดี ในการนี้อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล และคุณคำรณ โชธนะโชติ กรรมการสภามหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน เข้าร่วมพิธี ณ บริเวณหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม Read More »

พิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมพิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 12 ภาควิชา 2 กลุ่มสาขาวิชา และ 13 งานภายใต้สำนักงานคณบดี รวมถึงศูนย์วิจัย เพื่อร่วมขับเคลื่อนและส่งเสริมการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปี 2565 ให้สำเร็จลุล่วง ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพตรวจสอบโดย : งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 11 ตุลาคม 2564

พิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง แชร์วิธีจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ในช่วงโควิด – 19

8 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe “เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง” เปิดเวทีแชร์ประสบการณ์ตรงและเคล็ดลับการสอนให้ปังโดนใจผู้เรียนของ 4 อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ผศ. ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ อ. ดร.เอกวัจน์ เชาว์วิชารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ อ. ดร.นฤพัฒน์ หงษ์ดิลกกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ อ. ดร.ภัคพล พงศาวกุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา โดยมี อ. ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการผ่านทาง Facebook liveตลอดการเสวนาวิทยากรทั้ง 4 ท่านได้พูดคุยแชร์ประสบการณ์จริง และมุมมองต่อการสอนออนไลน์ ในประเด็นความท้าทายของการสอนออนไลน์ วิธีการออกแบบการสอน ไปจนถึงวิธีการสอบและการวัดผลออนไลน์ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้ข้อจำกัดจากการปิดสถานศึกษาเพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19โดย ผศ. ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง แชร์วิธีจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ในช่วงโควิด – 19 Read More »

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล ครบทุกหลักสูตร (ไม่รวมหลักสูตรเปิดใหม่และหลักสูตรที่อยู่ระหว่างการขอปิด) จำนวน 45 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

“วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ”ร้อยรัก ใจผูกพัน 13 บุคลากรผู้เกษียณอายุงาน ประจำปี 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

           29 กันยายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เชิดชู 13 บุคลากร ผู้ทรงคุณค่าในงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” ร้อยรัก ใจผูกพัน 13 บุคลากรผู้เกษียณอายุงาน ประจำปี 2564 โดยจัดพิธีทำบุญและถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์จากวัดสุทัศนเทพวราราม ณ บริเวณลานตึกกลม และในโอกาสอันดีนี้ได้นิมนต์ท่านเจ้าอาวาสทำพิธีเจิม หอพระพุทธมงคลนิมิตวิทยมหิดลญาณ หอพระที่ได้รับความเสียหายจากกิ่งไม้หักตกลงบนหลังคาและได้รับการบูรณะจากการร่วมแรงร่วมใจ แรงศรัทธาจากประชาคมคณะวิทยาศาสตร์ ฯ           จากนั้นเป็นพิธีมุทิตาจิต รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธีเปิดงาน แสดงมุทิตาจิต และขอบคุณผู้เกษียณอายุงานทุกท่านที่ร่วมกันสร้างคุณค่าแก่สังคมใต้ร่มตึกกลม บ้านหลังที่ 2 ด้วยความรัก ความผูกพัน ที่เต็มไปด้วยมิตรภาพอันดี จากนั้น ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ได้เล่า “เรื่องเล่าเร้าพลัง” นำแนวคิดในการใช้ชีวิต และหลักในการทำงานของผู้เกษียณอายุแต่ละท่านและของตัวท่านเองมาสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้แก่ผู้ร่วมงาน

“วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ”ร้อยรัก ใจผูกพัน 13 บุคลากรผู้เกษียณอายุงาน ประจำปี 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

ค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน นิสิตนักศึกษา ทุน พสวท. ครั้งที่ 35

              คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพในการจัด “ค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน นิสิตนักศึกษา ทุน พสวท. ครั้งที่ 35 ประจำปีการศึกษา 2563” ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้ระยะเวลาในการจัดค่ายมีเพียง 1 วัน และดำเนินกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM Meeting ผู้เข้าร่วมค่ายประกอบด้วย นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 และ 2 จาก 10 ศูนย์มหาวิทยาลัย จำนวน 300 คน คณะกรรมการ คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ประมาณ 90 คน  ในการนี้ รองคณบดี ฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษาเป็นผู้กล่าวรายงาน คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และผู้อำนวยการ สสวท. เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมค่าย กิจกรรมในค่ายประกอบด้วย    

ค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน นิสิตนักศึกษา ทุน พสวท. ครั้งที่ 35 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2564

“วันมหิดล” ตรงกับวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” ด้วยพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศเป็นอเนกนานัปการ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ฯ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และได้ร่วมส่งพวงมาลาถวายราชสักการะฯ ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อีกด้วย เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: ว่าที่ ร.ต.หฤษฎ์ อภิเดช เว็บมาสเตอร์: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2564 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2565

           วันพุธที่ 22 กันยายน 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน ประจำปีงบประมาณ 2565 ในการประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 18/2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco WebEx Meetings เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: นางสาวนันท์มนัส วิมลเศรษฐ เว็บมาสเตอร์: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง วันที่ 22 กันยายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2565 Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยมี ผศ. ดร.กภ.วรินทร์ กฤตยาเกียรณ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินฯ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 36 หลักสูตร รวมทั้งหมด 48 หลักสูตร โดยกว่า 42

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

วันพุธที่ 15 กันยายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนชลประทานวิทยา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meetings โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนทั้งสามแห่งเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวต้อนรับ นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ ผู้จัดการโรงเรียนชลประทานวิทยา นายสุรสิทธิ์ เจริญวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คึกฤทธ์ ศิลาลาย ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) รวมถึงคณะผู้บริหารและคณาจารย์จากทั้ง 3 โรงเรียน โดยผู้จัดการและผู้อำนวยการจากโรงเรียนทั้งสามแห่งได้กล่าวตอบรับและแสดงความยินดีในความร่วมมือครั้งนี้ จากนั้นเข้าสู่พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ และมอบของที่ระลึกพร้อมกับถ่ายภาพร่วมกันความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของนักเรียน อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน โดยการจัดบรรยาย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงเรียนสุคนธีรวิทย์ จัดกิจกรรมแนะแนวประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี นานาชาติ

              หน่วยบริหารการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ งานการศึกษา จัดกิจกรรมแนะแนวประชาสัมพันธ์ข้อมูลการจัดสรรโควตาและเทคนิคการเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการสมัครและสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2565 ให้แก่นักเรียนและคณาจารย์โรงเรียนสุคนธีรวิทย์ โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรนานาชาติในแต่ละสาขาของคณะวิทยาศาสตร์ ฯ ร่วมแนะแนวหลักสูตร อธิบายรูปแบบการเรียนการสอน และแบ่งปันประสบการณ์ของบัณฑิตในหลักสูตรที่ประสบความสำเร็จ ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom ในวันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 15:30 – 17:30 น.                โดยหลักสูตรที่เข้าร่วมแนะแนวประชาสัมพันธ์หลักสูตรในครั้งนี้ ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัย (หลักสูตรนานาชาติ)    Bachelor of Science Program in Actuarial Science (International

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงเรียนสุคนธีรวิทย์ จัดกิจกรรมแนะแนวประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาตรี นานาชาติ Read More »

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

9 กันยายน 2564 นักวิทยาศาสตร์ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ คว้ารางวัล ที อี คิว (TEQ Award) สำหรับพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายณรงค์ แขวงซ้าย นักวิทยาศาสตร์ ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัล ที อี คิว (TEQ Award) ประจำปี 2563 ได้เข้าร่วมพิธีรับรางวัลจากสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการสัมมนาคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) ประจำปี 2564 ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Zoom meeting เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมาทั้งนี้ รางวัล ที อี คิว (TEQ Award) เป็นรางวัลสำคัญระดับประเทศเพื่อยกย่องเชิดชูพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ความสำเร็จในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) และผู้บริหาร

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ Read More »

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”

          เมื่อวันที่ 9 และ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี ร่วมกับ งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จัดโครงการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Zoom meeting  ในหัวข้อ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลที่กระจายอยู่ในกระบวนการทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิศวกรรมและระบบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ. ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำกลุ่มเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (มหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำกระบวนงานการปฏิบัติงาน (Records of

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2564

         8 กันยายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยบุคลากรงานสื่อสารองค์กร เป็นผู้แทนชาวคณะวิทยาศาสตร์ร่วมใจถวายเทียนพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อเป็นพุทธบูชา พร้อมถวายไทยธรรมจำนวน 9 ชุด เพื่อร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม อีกทั้งเป็นการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล, นายสมชัย ละออ เว็บมาสเตอร์: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง วันที่ 8 กันยายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2564 Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online

ระหว่างวันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2564 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ (Master of Science Programme in Polymer Science and Technology (International Programme), Faculty of Science) รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom (The 226th Online/Remote Site Visit in the AUN-QA Program Assessment at Mahidol University) จากคณะกรรมการตรวจประเมิน (AUN-QA Assessor Team) โดยมีหลักสูตรที่เข้ารับการตรวจประเมินพร้อมกันในครั้งนี้อีก 3 หลักสูตร ได้แก่1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online Read More »

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2)

29 กรกฎาคม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) ผ่านระบบ Online Cisco WebEx Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 63 ท่าน ได้แก่ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยเริ่มต้นการประชุมด้วย รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมตามรูปแบบ Operation/Transformation Model การศึกษาสากลบ่มเพาะผู้ประกอบการ World Class Research ความรู้เพื่อปวงชน นวัตกรรมเพื่อประเทศ และองค์กรที่ยังยืน อีกทั้งเน้นย้ำในเรื่องสังคมไทยที่ใช้วิทยาศาสตร์ Learning Organization และการปรับตัวสู่อนาคต Digital Education และ Digital Transformation หลังจากนั้น

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19

“โครงการศรีตรังปันสุข” โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุขใจทั้งผู้ให้ และผู้รับ ด้วยการทำบุญหลายต่อ สนับสนุนซื้ออาหารจากพ่อค้า แม่ค้า ของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในช่วงปิดอาคารสำนักงาน ตามประกาศ พรก.ฉุกเฉิน และนำส่งบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อนบ้าน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คุณหมอ คุณพยาบาล และพี่น้องเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเท สละเวลาทำงานเพื่อพวกเราทุกคน โดยโครงการนี้มีการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค 102 บาท หรือตามกำลังศรัทธา นอกจากการทำดีเพื่อส่งกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับบูรพาจารย์ ในปีแห่งการครบรอบ รำลึก 102 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้บริจาคสามารถ ปันสุขได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี “โครงการศรีตรังปันสุข โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 026 – 475703 – 3 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ส่งสำเนาโอนเงิน และขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางไลน์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19 Read More »

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021

12 กรกฎาคม 2564 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science: ISHS) ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ครั้งที่ 9 “The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects)” หรือ “Biotech 2021” แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าจากการวิจัย สร้างโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสังคมในระดับโลกBiotech 2021 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และวิทยากรด้านพืชสวนระดับนานาชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืช และความหลากหลายทางชีวภาพในทุกแง่มุม ซึ่งด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การประชุมครั้งนี้จึงเลื่อนจากกำหนดเดิมในปีที่แล้ว มาเป็นปีนี้ และปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021 Read More »

4 สถาบัน ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสื่อสารวิธีการดูแลสุขภาพ และการจัดการอย่างยั่งยืน กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมีในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว”

                5 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 4 สถาบันภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการผลิตโฟมพีอีเอส (Expanded Polystyrene Foam: ESP) เชื้อเพลิงในเหตุระเบิดโรงงานผลิตโฟม ซอยกิ่งแก้ว 21 พร้อมเสนอความเห็นเบื้องต้นด้านการจัดการปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวอย่างยั่งยืน จากมุมมองคนในแวดวงสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข ในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” โดยมี รศ. ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ. นพ.สัมมน โฉมฉาย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ศูนย์พิษวิทยาศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ รศ. ดร.สราวุธ เทพานนท์

4 สถาบัน ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสื่อสารวิธีการดูแลสุขภาพ และการจัดการอย่างยั่งยืน กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมีในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พื้นที่ 5 (เขตดินแดง พญาไท ราชเทวี และห้วยขวาง) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เข้าตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับยุวแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อขับเคลื่อน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ครอบคลุมถึงการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในปี พ.ศ. 2564 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้เข้าประกวด “สถานศึกษาปลอดภัย” เป็นปีที่ 4 โดยมี รศ.ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร. ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คุณคำรณ โชธนะโชติ หัวหน้างานบริหารและธุรการ และทีมงานงานบริหารและธุรการ ให้การต้อนรับคณะผู้ประเมินฯ นำโดย นางสุนีย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์

24 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และโล่รางวัล แก่ 17 ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรางวัล ห้องปฏิบัติการวิจัยต้นแบบมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตามมาตรฐาน ESPRel จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco WebEx Meeting ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ กังสมัครศิลป์ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี รวมถึงอาจารย์และผู้แทนอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทั้ง 17 ห้องปฏิบัติการที่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากลควบคู่กับการดำเนินงานที่มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่ 1. ห้องปฏิบัติการวิจัยเคมี C211 รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติกาล จันทิวาสน์ 2.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์ Read More »