ปัณณพร แซ่แพ

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Meet The Team One Mahidol Science Education อัปเดตนโยบาย การดำเนินงาน และทิศทางของคณะวิทยาศาสตร์ด้านการศึกษากับประชาคม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจัด จัดกิจกรรม Meet The Team One Mahidol Science Education แบบ Hybrid โดยมีคณะผู้บริหาร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี มาพูดคุยอัปเดตนโยบาย การดำเนินงาน และทิศทางของคณะวิทยาศาสตร์ด้านการศึกษา พร้อมตอบข้อสงสัย และรับฟังความคิดเห็นของประชาคม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมกว่า 200 คนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพลคงเสรี รองศาสตราจารย์ ได้กล่าวเปิดกิจกกรม จากนั้น ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา ได้เล่าถึงกิจกรรมด้านการศึกษาซึ่งกว่า 3 ปีที่ผ่านมาที่คณะฯ ต้องเผชิญกับการปรับตัวครั้งใหญ่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด – 19 แล้วจึงเล่าถึงสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดใช้พื้นที่โดยมีการปรับกายภาพและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่ดีขึ้น อาทิ ปรับปรุงห้อง ณ อาคาร SC1, L1, […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Meet The Team One Mahidol Science Education อัปเดตนโยบาย การดำเนินงาน และทิศทางของคณะวิทยาศาสตร์ด้านการศึกษากับประชาคม Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” เปิดพื้นที่ปลอดภัยสร้างความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศ LGBTQIAN+ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

28 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” แบบ Hybrid พูดคุยแบบสบาย ๆ สร้างความเข้าใจ เพิ่มการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายในกลุ่ม LGBTQIAN+ สู่ประชาคมเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ โดยมี อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ นพ.สิระ กอไพศาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ ดร.พหล โกสิยะจินดา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บรรยาย ต่อด้วยกิจกรรม MUSC Happy Pride Month

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” เปิดพื้นที่ปลอดภัยสร้างความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศ LGBTQIAN+ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” แนะโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล

23 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” ในรูปแบบ Hybrid โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และประธานที่ปรึกษาสถาบัน K Agro-Innovate ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล ด้วยการพัฒนา Herbal value chain ยกระดับคุณค่าการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมยกกรณีศึกษา “น่านแซนด์บ็อกซ์ (Nan Sandbox)” ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนนำโดยมูลนิธิกสิกรไทย ซึ่งและมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีส่วนร่วมในโครงการโดยการค้นหาและศึกษาพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการต่อยอดเป็นส่วนผสมออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการสร้างยา และเหมาะต่อการเพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน สร้างรายได้ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการพลิกฟื้นพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” แนะโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เยี่ยมศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

24 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ อาจารย์ นพ.เกียรติยศ ตันติเศรณี อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และเจ้าหน้าที่งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา เยี่ยมเยือนและประชุมหารือความร่วมมือกับศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นำทีมโดย พญ.รจนา ขอนทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นพ.ชวพล อิทธิพานิชพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ฯ และทีมบริหารจากศูนย์แพทย์ฯ ให้การต้อนรับ โดยมีอาจารย์จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมประชุมแบบไฮบริดด้วยในช่วงเช้าคณะวิทยาศาสตร์ได้รายงานผลการศึกษานักศึกษาพรีคลินิก 3 ชั้นปี ผลสอบ NL1 ตลอดจนกำหนดการปฐมนิเทศนักศึกษาชั้นปี 1 และ 2 ความร่วมมือทางการวิจัยและติดตามเกณฑ์ WFME ซึ่งทางศูนย์แพทย์ได้วิเคราะห์ผลสอบนักศึกษาพบว่า ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การรับนักศึกษาในระบบ TCAS และคะแนนผลการศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เยี่ยมศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมความร่วมมือศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยแพทยศาสตร์ ได้เดินทางไปประชุมความร่วมมือในครั้งนี้ โดยมี แพทย์หญิงจันทร์จิรา ก๋งอุบล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช นายแพทย์เอกชัย ศิริพานิช ผู้อำนวยการศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช คณะผู้บริหารฯ และคณาจารย์ นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ร่วมให้การต้อนรับ ประเด็นการหารือในเรื่องผลการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ ชั้นปี 1-3 ผลสอบ NL1 ซึ่งศูนย์แพทย์ฯ ได้ฝากประเด็นการสอบผ่านของ NL1 ด้วย รวมถึงการเตรียมพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ การทดสอบ Pre-NL1 ท้ายเทอม และการเน้นการเรียนการสอนให้เห็นตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อสอบและการประยุกต์ใช้ทางคลินิก โดยทางศูนย์แพทย์ฯ สามารถช่วยเหลืออาจารย์ในการสอนการประยุกต์ใช้ทางคลินิก งานวิจัยทางคณะวิทยาศาสตร์มีผู้เชี่ยวชาญในด้านการทำวิจัยที่หลากหลายตั้งแต่การใช้ชีวสถิติจนถึงระดับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์จะประสานหาผู้เชี่ยวชาญที่ตรงกับความต้องการของศูนย์แพทย์ฯ หรือจัดประชุมร่วมกันเพื่อให้เห็นคู่ความร่วมมือทางงานวิจัยได้

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมความร่วมมือศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับกองบริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ CLMMU คณะวิศวกรรมศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบบริหารเอกสารออนไลน์ พัฒนาสู่ Mahidol Digital Convergence University

16 มิถุนายน 2565 กองบริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์การจัดการโลจิสติกส์ (Centre of Logistics Management : CLMMU) คณะวิศวกรรมศาสตร์  นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงพรรณ กริชชาญชัย ผศ.ดร.เดชรัตน์ สัมฤทธิ์ และบุคลากรคณะฯ เข้าเยี่ยมชมและหารือในการพัฒนาระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ MUSC-DSM ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยที่กำลังจะดำเนินการพัฒนา ในโครงการระบบบริหารเอกสารออนไลน์ (Mahidol Digital Form Online Project) และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานด้านบริหารเอกสารให้เป็นโครงการหนึ่งใน Mahidol Digital Convergence University (Mahidol DCU) เพื่อให้การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง การกำหนดมาตรฐานกระบวนการเชื่อมต่อระหว่างระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยและของส่วนงาน ในการนี้ ผศ. ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คุณวรัษยา สุนทรศารทูล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับกองบริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ CLMMU คณะวิศวกรรมศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบบริหารเอกสารออนไลน์ พัฒนาสู่ Mahidol Digital Convergence University Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบกล้องจุลทรรศน์ แด่สำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำไปส่งต่อภายใต้โครงการคุณภาพการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนชายแดนและพื้นที่ห่างไกล

16 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ส่งมอบกล้องจุลทรรศน์แด่สำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO Secretariat) โดย ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและการสื่อสาร ให้ได้เกียรติมาร่วมพิธีรับมอบ ณ ห้องศรีตรัง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เพื่อนำไปส่งต่อภายใต้โครงการคุณภาพการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนชายแดนและพื้นที่ห่างไกล (SEAMEO Borders School Quality Inclusive Education Project – BSQIEP) ซึ่งกล้องจุลทรรศน์ที่ได้รับมอบในครั้งนี้โครงการจะส่งมอบไปยังโรงเรียนปากสวยพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ต่อไป โครงการคุณภาพการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนชายแดนและพื้นที่ห่างไกล ภายใต้สำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เริ่มดำเนินการในประเทศไทยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนสังคมแห่งการเรียนรู้โดยมุ่งจัดการอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาผ่านการพัฒนาครู เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยี รวมถึงจัดหาสื่อและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับครูและนักเรียน เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย:

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบกล้องจุลทรรศน์ แด่สำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำไปส่งต่อภายใต้โครงการคุณภาพการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนชายแดนและพื้นที่ห่างไกล Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ Agilent Technologies ยกระดับการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย

9 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Agilent Technologies นำโดย Mr. Nino Totino, Vice President & General Manager for South Asia Pacific, Japan & Korea at Agilent Technologies และ Dr. Vimala Sreenivasan, Associate Vice President – Instrument Sales for South Asia Pacific พร้อมด้วย Mrs. Yuwapha Karapanon,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ Agilent Technologies ยกระดับการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย Read More »

activity photo

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 4

7 มิถุนายน 2565 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โครงการ อพ.สธ. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 4 Botanical Art Thailand 2022” สร้างความเข้าใจและทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ผ่านการชื่นชมความสวยงามของภาพวาดพฤกษศาสตร์ สนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีการก่อตั้งภาควิชาพฤกษศาสตร์ และ 23 ปี การก่อตั้งเครือข่ายวิทย์สานศิลป์โดยในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ดร.วีระชัย ณ นคร นายกสมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินอาวุโส และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานร่วมในพิธี

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 4 Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

2 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2565 โดยมีคณะผู้บริหารนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี คณาจารย์ และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมกันแต่งกายด้วยชุดสุภาพโทนสีม่วงเข้าร่วมพิธี และปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม ณ บริเวณหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ปฏิบัติงานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพระวิริยอุตสาหะและความจงรักภักดี ทั้งมีพระปรีชาสามารถด้านการทหารเป็นที่ประจักษ์แก่ผองพสกนิกร ทรงใส่พระราชหฤทัยในทุกข์สุขของประชาชนเสมอมาในฐานะสมเด็จพระราชินี และเป็นแบบอย่างแห่งสตรีไทยที่พรั่งพร้อมไปด้วยจริยวัตรที่งดงาม เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นาย นภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 2 มิถุนายน 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ งานศาลายา เป็นผู้แทนเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 ณ บริเวณทางเดินเท้าเลียบถนนดำรงวิจัย ตรงข้ามหอพักโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลด้วยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยในปี 2565 ได้มีการกำหนดหัวข้อวันสิ่งแวดล้อมโลกคือ Only One Earth ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงด้านสิ่งแวดล้อม กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการจัดโครงการวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 โดยจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพื่อเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2573 ของมหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ตรวจสอบโดย : งานสื่อสารองค์กร ภาพข่าวโดย: ว่าที่ร้อยตรีภัทรพล ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์:

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 23 หรือ SciEx2022 เสริมสร้างบรรยากาศวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำโชว์ศักยภาพ ฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสาขาวิชาและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์กว่า 192 โครงงาน มีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายรวมกว่า 665 คน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 23 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมพิธีเปิดและกล่าวอวยพรให้กับน้อง ๆ นักศึกษาให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ขอให้เป็นตัวอย่างที่ดีของรุ่นน้อง เข้าใจวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น และสามารถนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้ และหวังว่าทุกคนจะมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการลงทุนให้ประเทศไทยดีขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล Read More »

Activity Photo

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ 3 สถาบัน มหิดล เกษตร จุฬา เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชและพันธุศาสตร์ระดับชาติสำหรับนักศึกษาและนักเรียน TURFPaG#7 และ T-JuRFPaG#3

29 เมษายน 2565 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จากคณะวิทยาศาสตร์ 3 สถาบัน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือจัดประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 (The 7th Thailand Undergraduate Research Forum on Plants and Genetics) หรือ TURFPaG#7 และการประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 (The 3rd Thailand Junior Research Forum on Plants and Genetics) หรือ T-JuRFPaG#3 เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ในวงการพืชและพันธุศาสตร์ พบปะแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกัน เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ เสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีนักศึกษาและนักเรียนร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์รวม 19 ผลงาน จาก 7 สถาบันในระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียน และมีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายกว่า 150

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ 3 สถาบัน มหิดล เกษตร จุฬา เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชและพันธุศาสตร์ระดับชาติสำหรับนักศึกษาและนักเรียน TURFPaG#7 และ T-JuRFPaG#3 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 กว่า 14 รางวัล

28 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทนคณบดีเข้าร่วมกิจกรรม “MU Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 6” รับเกียรติบัตรดีเด่น รางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการรับรางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 พร้อมเป็นผู้แทน 14 ห้องปฏิบัติการภายในคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน ESPReL รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ณ มหาวิทยาลัยหิดล ศาลายาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย เพื่อสร้างวิสัยทัศน์อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์ (Zero Vision) ตามนโยบายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และได้รับรางวัลเกียรติบัตรดีเด่นมาโดยตลอด (คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป) โดยคณะวิทยาศาสตร์ มุ่งปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับความปลอดภัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 กว่า 14 รางวัล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม

27 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีด้านอาหาร ในการก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการเปิดโอกาสแชร์ความคิดสร้างสรรค์ ทดลองสร้างธุรกิจ ทำวิจัยร่วมเชิงพาณิชย์ รวมถึงฝึกงานกับบริษัทสตาร์ทอัพในโครงการ SPACE-F โดยมี Dr. Chris Aurand, Open Innovation Leader จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มาอัปเดตเกี่ยวกับโอกาสและเทรนด์ในวงการฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ พร้อมด้วยรุ่นพี่สตาร์ทอัพ ในโครงการ SPACE-F ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Advanced Greenfarm คุณตรัย สัสตวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายนวัตกรรมและการสร้างสรรค์บริษัท

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 แก่นักศึกษากว่า 77 คน

20 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 มอบทุนจำนวน 15 ทุน สนับสนุนการศึกษาและเชิดชูเกียรตินักศึกษากว่า 77 คน ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในพิธีมอบทุนการศึกษา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ได้กล่าวแสดงความยินดีแก่นักศึกษาผู้ได้รับทุน และฝากถึงน้อง ๆ นักศึกษาว่าวิทยาศาสตร์เป็นอนาคตของประเทศชาติ ขอให้พัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นเลิศ สร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลก และเมื่อประสบความสำเร็จแล้วขอให้กลับมาสนับสนุนรุ่นน้องต่อไป จากนั้นตัวแทนนักศึกษาผู้ได้รับทุน นางสาวณิชกานต์ โล่ห์สถาพรพิพิธ ตัวแทนนักศึกษารางวัลผลการเรียนดีเด่น หลักสูตรไทย นางสาวจิลมิกา ระเริง ตัวแทนนักศึกษาทุนการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ นางสาวศิริกรานต์ เจียรจรัสรัตน์ รางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่นด้านบำเพ็ญประโยชน์ และนางสาวเกวลิน ชัยชนะวิชชกิจ รางวัลนักศึกษาผลการเรียนดีเด่น

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 แก่นักศึกษากว่า 77 คน Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

8 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ สิทธิพรหม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัย รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ 5 มหาวิทยาลัย ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งเป้าสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูล สารสนเทศ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

8 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café: อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น พูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 และการรับมือ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและชีวฟิสิกส์ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักแปล และบรรณาธิการหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักชีวฟิสิกส์ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมแปลหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ผ่านทาง Facebook live และทาง Mahidol Channel โดยมีผู้รับชมกว่า 1,000 คนดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ได้ปูความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการระบาดใหญ่ (Pandemic)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565

18 มีนาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ และ คุณคำรณ โชธนะโชติ กรรมการสภามหาวิทยาลัย จากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่มิใช่คณาจารย์ประจำ เข้าร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565 หัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงรอบด้าน” การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการสัมมนา และเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “มุมมองของสภามหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย” โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมรองอธิการบดีทุกฝ่าย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานสภาคณาจารย์ และผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรม

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก

21 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), Mr. Ludovic Garnier, Group Chief Financial Officer จาก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), Mr. Jean Lebreton, Senior Vice President จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ Mr. Bart Bellers, CEO จาก Xpdite ร่วมงานเปิดตัว SPACE-F Batch

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง

8 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ (อาจารย์ใหญ่) ให้นักเรียนจากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 35 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม” จัดขึ้นโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน รวมถึงเป็นแรงจูงใจให้ศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ระดับสูงในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 15 มีนาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง Read More »

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านพร้อมสนับสนุน SPACEF Batch 3

7 กุมภาพันธ์ 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, Xpdite ต้อนรับ Startup ผู้เข้าร่วม “SPACE-F Batch 3” หรือ โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting โดย ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม (Group Director, Global Innovation) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 3 ก่อนจะมีการแนะนำบทบาทขององค์กรพันธมิตรที่มีส่วนร่วมปั้น FoodTech startup หน้าใหม่สู่วงการอุตสาหกรรมอาหารโลก โดยสนับสนุนและให้คำแนะนำในการสร้างสรรค์ผลงานของ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านพร้อมสนับสนุน SPACEF Batch 3 Read More »

Activity Photo

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!”

10 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด-19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Covid-19 testing: Current and alternative (future) methods ในรูปแบบ online ผ่านทาง Zoom meeting และ Facebook live ให้ข้อมูลทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 ในยุคโอมิครอน โดย 4 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจโควิด – 19 ในไทยและต่างประเทศ พร้อมอัปเดตเทคโนโลยีการตรวจโควิด – 19 สุดล้ำ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมกว่า 97 คนในการเสวนาในครั้งนี้วิทยากร ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ Mr. William Whittington, Chief Operations Officer (COO) จากบริษัท Tiger Tech

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Read More »

Activity Photo

9 คณาจารย์-อาจารย์เกษียณ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 – 2565

2 กุมภาพันธ์ 2565 9 คณาจารย์-อาจารย์เกษียณคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 และ 2565 จาก นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในงานวันนักประดิษฐ์ 2564-2565 Thailand Inventors’ Day 2021-2022 ภายใต้แนวคิด “วิถีใหม่ ใส่ใจชีวิต สู่สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 23 เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย”หรือ”กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

9 คณาจารย์-อาจารย์เกษียณ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 – 2565 Read More »

Activity photo

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบปะประชาคม สรุปการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานปี 2565

27 มกราคม 2565 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี สรุปการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานของผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2565 ผ่านกิจกรรม Meet the Dean ในรูปแบบ Hybrid โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข และระบบประชุมออนไลน์ Webex Meeting กว่า 300 คนในปี 2564 ที่ผ่านมา ท่ามกลางการระบาดของโควิด – 19 คณะวิทยาศาสตร์ ไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด – 19 จากในพื้นที่ โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคอย่างจริงจัง ดูแลบุคลากรโดยจัดทำประกันสุขภาพแบบกลุ่ม ประกันสุขภาพโควิด – 19 จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ให้กับบุคลากรและนักศึกษา ปรับลดค่าเทอมให้กับนักศึกษา สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับเรียนออนไลน์ พร้อมช่วยเหลือร้านค้าภายในคณะวิทยาศาสตร์ ส่งอาหารจากครัวคณะวิทยาศาสตร์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบปะประชาคม สรุปการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานปี 2565 Read More »

นักฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ”

25 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ” กับ ดร.วิภารัตน์ว ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ 3 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์   โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด ได้แบ่งปันประสบการณ์และมุมมองในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับ รังสีคอสมิก อนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ ที่ตนกำลังศึกษาอยู่ว่า ผู้คนอาจจะคิดว่าการวิจัยเกี่ยวกับอวกาศเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วเทคโนโลยีที่อยู่ในมือของเราอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ ก็มีการรับส่งสัญญาณจากดาวเทียมในอวกาศ ซึ่งดาวเทียมในอวกาศและยานอวกาศ หรือแม้กระทั่งหม้อแปลงไฟฟ้าบนโลกนั้นก็อาจเสียหายจากพายุสุริยะและรังสีคอสมิกได้ ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจตามมามหาศาล และรังสีคอสมิกยังคุกคามต่อสุขภาพของนักบินอวกาศอีกด้วย การศึกษารังสีคอสมิกซึ่งถือเป็นงานวิจัยพื้นฐานจึงมีความสำคัญอย่างมาก จึงอยากให้หน่วยงานให้ความสำคัญกับงานวิจัยพื้นฐานมากขึ้น

นักฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

Activity Photo

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ)

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธีฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณาจารย์ และนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2, 3, และ 4 จาก 4 สถาบัน ได้แก่ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และนักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมญาติและครอบครัวของผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ) จำนวน 54 ร่าง ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ ศาลาทักษิณาประดิษฐ์ เมรุ 1 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานครโดยพิธีในวันที่ 11

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ) Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) สวทช. สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้าวิจัยผลกระทบของอวกาศต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และพัฒนาการของไม้ต้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ และนักศึกษาจาก Plant Biology and Astroculture Laboratory (PBA Lab) ของกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. คุณปราณปริยา วงค์ษา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายองค์ความรู้ สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร พร้อมรับมอบเมล็ดพันธุ์ราชพฤกษ์อวกาศซึ่งเดินทางกลับสู่พื้นโลกด้วยยาน SpaceX Cargo Dragon

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 Read More »