Faculty of Science

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก

21 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), Mr. Ludovic Garnier, Group Chief Financial Officer จาก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), Mr. Jean Lebreton, Senior Vice President จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ Mr. Bart Bellers, CEO จาก Xpdite ร่วมงานเปิดตัว SPACE-F Batch […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง

8 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ (อาจารย์ใหญ่) ให้นักเรียนจากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 35 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม” จัดขึ้นโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน รวมถึงเป็นแรงจูงใจให้ศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ระดับสูงในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 15 มีนาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง Read More »

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

Activity Photo

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!”

10 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด-19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Covid-19 testing: Current and alternative (future) methods ในรูปแบบ online ผ่านทาง Zoom meeting และ Facebook live ให้ข้อมูลทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 ในยุคโอมิครอน โดย 4 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจโควิด – 19 ในไทยและต่างประเทศ พร้อมอัปเดตเทคโนโลยีการตรวจโควิด – 19 สุดล้ำ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมกว่า 97 คนในการเสวนาในครั้งนี้วิทยากร ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ Mr. William Whittington, Chief Operations Officer (COO) จากบริษัท Tiger Tech

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง

28 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 63 ปี การก่อตั้ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาในรูปแบบ Hybrid ถ่ายทอดสดทาง online และการเข้าร่วมงานในพื้นที่ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในโอกาสครบรอบ 63 ปี แห่งการก่อตั้ง เรามุ่งมั่นที่จะ ‘เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม’ ผ่านวิทยาศาสตร์และการสร้างบุคลากรคุณภาพสูง การลงทุนทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิต จึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาส และสร้างบุคลากรคุณภาพอันเป็นอนาคตของสังคม มีความรู้ที่ทันสมัย ผ่านงานวิจัยระดับโลก ต่อยอดเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสูงในอนาคต ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับเป็นภารกิจและเป้าประสงค์ที่มุ่งมั่น เพื่อสร้างศรัทธาแห่งวิทยาศาสตร์ในฐานะ ‘คณะวิทยาศาสตร์แห่งแผ่นดิน’” จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรอบปี 2564 ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง Read More »

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021

12 กรกฎาคม 2564 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science: ISHS) ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ครั้งที่ 9 “The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects)” หรือ “Biotech 2021” แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าจากการวิจัย สร้างโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสังคมในระดับโลกBiotech 2021 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และวิทยากรด้านพืชสวนระดับนานาชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืช และความหลากหลายทางชีวภาพในทุกแง่มุม ซึ่งด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การประชุมครั้งนี้จึงเลื่อนจากกำหนดเดิมในปีที่แล้ว มาเป็นปีนี้ และปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development”

10 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 ในประเทศไทย และสื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการอนุมัติใช้ฉุกเฉินในปัจจุบัน พร้อมเผยความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) และ นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในทีมนักวิจัยวัคซีนโควิด-19 เป็นวิทยากร และมี อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” Read More »