คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 23 หรือ SciEx2022 เสริมสร้างบรรยากาศวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำโชว์ศักยภาพ ฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสาขาวิชาและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์กว่า 192 โครงงาน มีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายรวมกว่า 665 คน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 23 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมพิธีเปิดและกล่าวอวยพรให้กับน้อง ๆ นักศึกษาให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ขอให้เป็นตัวอย่างที่ดีของรุ่นน้อง เข้าใจวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น และสามารถนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้ และหวังว่าทุกคนจะมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการลงทุนให้ประเทศไทยดีขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธี ได้กล่าวเปิดงาน และชื่นชมถึงความทุ่มเทกับการศึกษาวิจัยของนักศึกษาทุกคนและฝากข้อคิดว่าโลกนั้นขาดวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ขอให้มุ่งมั่นสร้างสรรค์งานวิจัยตามหลักพละ 5 คือ ศรัทธาพละ (ความเชื่อ), วิริยะพละ (ความเพียร), สติพละ (ความระลึกได้), สมาธิพละ (ความตั้งใจมั่น), ปัญญาพละ (ความรอบรู้) ต่อไป จากนั้นจึงเข้าสู่การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Can AI really see now?” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ศุภศรณ์ สุวจนกรณ์ จากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) มาร่วมแบ่งปันเกี่ยวกับโจทย์การศึกษาและพัฒนาศักยภาพการมองเห็นของปัญญาประดิษฐ์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะสร้างผลกระทบไปทั่วโลก แล้วจึงเริ่มการนำเสนอผลงานวิจัยคุณภาพของนักศึกษาในสาขาต่าง ๆ โดยมี อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงเช้า และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฎฐวี เนียมศิริ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงบ่าย

โดยการนำเสนอผลงานของนักศึกษาประกอบด้วยช่วง Short talk (การนำเสนอโครงงานละ 3 นาที) จำนวน 24 โครงงาน ต่อด้วยช่วง Plenary Session (การบรรยายโดยนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 8 โครงงาน นำเสนอโครงงานละ 10 นาที และถามตอบ 4 นาที) และช่วง Poster Session (การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์) ซึ่งผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมงานวิจัยของนักศึกษาได้ที่ https://science.mahidol.ac.th/sciex2022/ ตลอดการนำเสนอผลงานคณาจารย์ได้ทำการประเมินผลเพื่อพิจารณามอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ร่วมกิจกรรมในรายการต่าง ๆ และประกาศผลรางวัลในช่วงสุดท้ายของกิจกรรม โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลแต่ละประเภท ดังนี้

– รางวัล Plenary Talk ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร จำนวน 8 รางวัล ได้แก่
1. นางสาววิภามาศ พลภักดี นักศึกษาสาขาฟิสิกส์ (Physics)
ผลงานวิจัยเรื่อง EDA-based Music Preference Classification
โปสเตอร์หมายเลข PY-01
2. นายณพล วิทยไพสิฐสันต์ นักศึกษาสาขาวิชาเคมี (Chemistry)
ผลงานวิจัยเรื่อง The Friedel-Crafts Silylation of N-Heteroarenes with the Tethered Ru-S Complex: A Theoretical Study
โปสเตอร์หมายเลข CH-01
3. นางสาวกชกร ศรีสุข นักศึกษาสาขาชีววิทยา (Biology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Profile of specific antigens within white-lipped pit viper venom
โปสเตอร์หมายเลข BI-01
4. นายพาทิศ ศรีคิรินทร์ นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
ผลงานวิจัยเรื่อง An Example of Aligning Three Convex Figures to Minimize Area
โปสเตอร์หมายเลข MA-01
5. นายกันตภณ คงตะโก นักศึกษาสาขาธรณีศาสตร์ (Geoscience)
ผลงานวิจัยเรื่อง Machine learning algorithm for predicting geotechnical parameters using electrical resistivity model and borehole data
โปสเตอร์หมายเลข GS-03
6. นายชวณัฐ เกียรติสกุลขจร นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Encapsulation of Hydrolyzed Porcine Placenta Extract in Amphiphilic Dextran-Based Nanoparticles for Cosmeceutical Application
โปสเตอร์หมายเลข BT-01
7. นายชาญ ศรีเจริญ นักศึกษาสาขาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (นานาชาติ) (Materials Science and Nano Engineering)
ผลงานวิจัยเรื่อง Handheld Breath Analyzer for Body Fuel Utilization Monitoring and Health Analysis
โปสเตอร์หมายเลข ME-01
8. นางสาวพชรวรรณ สอนโยธา นักศึกษาสาขาพฤกษศาสตร์ (Plant Science)
ผลงานวิจัยเรื่อง Production of Synthetic Seeds for Conservation of Hedychium longicornutum Griff. ex Baker Using Stem Segments
โปสเตอร์หมายเลข PL-01

– รางวัล Presentation Skill Award ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
1. นางสาวณัฐพร เอมถมยา นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Purification of Anticancer Compounds From Marine-Derived Micromonosporaceae
โปสเตอร์หมายเลข BT-05
2. นายสุขภเดช เที่ยงทิศ นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
ผลงานวิจัยเรื่อง Automatic Detection and Counting of Circular Cactus using Genetic Algorithm and Circular Hough Transform
โปสเตอร์หมายเลข MA-03
3. นายวุฒิเมธส์ รังสีกุลวัฒน์ นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
ผลงานวิจัยเรื่อง An Inventory Routing Problem and the Influence of Planning Horizon
โปสเตอร์หมายเลข MA-04
4. นางสาววิชญาดา เงินบาท นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Effects of Thermosonication on Functional Properties of By-Product Mung Bean Protein
โปสเตอร์หมายเลข BT-02

– รางวัล Popular Vote ได้รับเงินรางวัล 500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
1. นางสาวณัฐพร เอมถมยา นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Purification of Anticancer Compounds From Marine-Derived Micromonosporaceae
โปสเตอร์หมายเลข BT-05
2. นางสาวชนกนันท์ พรรณาศร และนายชานน บุญกังวาล นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
ผลงานวิจัยเรื่อง Vehicle Routing Problem with Priority
โปสเตอร์หมายเลข MA-02

– รางวัลโปสเตอร์ดี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science: Good Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
1. นางสาวณัฐพร เอมถมยา นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Purification of Anticancer Compounds From Marine-Derived Micromonosporaceae
โปสเตอร์หมายเลข BT-05
2. นางสาวศตกมล ธนะพิสิทธิ์ปภัช และนางสาว สุพัฒชริณีย์ ชูเสือหึง นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการอาหาร (Food Technology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Extending the Shelf-Life of Mango Fruit with Chitosan Coating Extracted from Freshwater Crab Shell
โปสเตอร์หมายเลข FT-04
3. นายดนุพล ระดมทอง นักศึกษาสาขาชีววิทยา (Biology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Phenotypic variation of Casparian strip in rice under Cadmium stress
โปสเตอร์หมายเลข BI-08

– รางวัลโปสเตอร์ดีเด่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science: Outstanding Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
1. นายธนพัฒน์ ศรีสงคราม นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Production of Protein Concentrate From Wolffia Globosa
โปสเตอร์หมายเลข BT-14
2. นางสาวพชรวรรณ สอนโยธา นักศึกษาสาขาพฤกษศาสตร์ (Plant Science)
ผลงานวิจัยเรื่อง Production of Synthetic Seeds for Conservation of Hedychium longicornutum Griff. ex Baker Using Stem Segments
โปสเตอร์หมายเลข PL-01
3. นางสาวนิลพรรณ คิมประสูตร นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Molecular Analysis of Redox-Sensing Transcriptional Regulator RstR in Pseudomonas aeruginosa
โปสเตอร์หมายเลข BT-27

– รางวัลโปสเตอร์ดีเลิศ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science: Best Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท พร้อม ประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
1. นายชวณัฐ เกียรติสกุลขจร นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Encapsulation of Hydrolyzed Porcine Placenta Extract in Amphiphilic Dextran-Based Nanoparticles for Cosmeceutical Application
โปสเตอร์หมายเลข BT-01
2. นางสาวพัสตราภรณ์ ลิ้มศิริ นักศึกษาสาขาชีววิทยา (Biology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Appearance of the Snake Venom Gland and Diagnoses of Venom Toxicity in the Banded Kukri Snake, Oligodon fasciolatus (Serpentes: Colubridae).
โปสเตอร์หมายเลข BI-13
3. นายกฤติพงษ์ ประจัญพล นักศึกษาสาขาชีววิทยา (Biology)
ผลงานวิจัยเรื่อง Investigating Therapeutic Effect of KL001 on the Pancreatic Cancer Cells
โปสเตอร์หมายเลข BI-03

– รางวัลโปสเตอร์ดี วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science: Good Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
1. นายสุขภเดช เที่ยงทิศ นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
ผลงานวิจัยเรื่อง Automatic Detection and Counting of Circular Cactus using Genetic Algorithm and Circular Hough Transform
โปสเตอร์หมายเลข MA-03
2. นางสาววิภามาศ พลภักดี นักศึกษาสาขาฟิสิกส์ (Physics)
ผลงานวิจัยเรื่อง EDA-based Music Preference Classification
โปสเตอร์หมายเลข PY-01
3. นางสาวประกายดาว เครื่องจันทร์ นักศึกษาสาขาวิชาเคมี (Chemistry)
ผลงานวิจัยเรื่อง Study to Asymmetric Synthesis of (7´R,8R,8´R)-Kadsurindutin C
โปสเตอร์หมายเลข CH-34

– รางวัลโปสเตอร์ดีเด่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science: Outstanding Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
1. นายนัฐวุฒิ หัสสา นักศึกษาสาขาวิชาเคมี (Chemistry)
ผลงานวิจัยเรื่อง Study of trifluoromethylthiolation of o-arylisocyanoarenes toward the synthesis of 6-((trifluoromethyl)thio)phenanthridines
โปสเตอร์หมายเลข CH-33
2. นายกันตภณ คงตะโก นักศึกษาสาขาธรณีศาสตร์ (Geoscience)
ผลงานวิจัยเรื่อง Machine learning algorithm for predicting geotechnical parameters using electrical resistivity model and borehole data
โปสเตอร์หมายเลข GS-03
3. นางสาวสุรดา เจติยวรรณ นักศึกษาสาขาวิชาเคมี (Chemistry)
ผลงานวิจัยเรื่อง Lignin Containing Cellulose Nanofibrils (LCNFs) From Biomass:
Effect of Lignin Content on the Properties of Composite Films
โปสเตอร์หมายเลข CH-26

– รางวัลโปสเตอร์ดีเลิศ วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science: Best Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท พร้อม ประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
1. นางสาวกนกภรณ์ สืบพลาย นักศึกษาสาขาวิชาเคมี (Chemistry)
ผลงานวิจัยเรื่อง The Synthesis of New Molecular Based on Aminoquinazolinone for the GHB
(gamma-Hydroxybutyric Acid) Detection
โปสเตอร์หมายเลข CH-10
2. นายอดิศร ขันทอง นักศึกษาสาขาวิชาเคมี (Chemistry)
ผลงานวิจัยเรื่อง Synthesis and Host-Guest Properties of Pillar[4]arene[1]thioarene
โปสเตอร์หมายเลข CH-03
3. นายศุภวิชญ์ บุรีมาต นักศึกษาสาขาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (นานาชาติ) (Materials Science and Nano Engineering)
ผลงานวิจัยเรื่อง Carbon electrode for perovskite solar cell
โปสเตอร์หมายเลข ME-11

– รางวัล “ทายแม่น” หมุน Lucky Wheel ทายใจกรรมการตัดสินผลงาน จำนวน 4 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท ผู้โชคดี ได้แก่
1. นายภัทรธาดา เดชมา
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงกมล เบ้าวัน
3. นางสาวสุรดา เจติยวรรณ
4. อาจารย์ ดร.นิสา ปฏิการมณฑล

และในพิธีปิดซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา กล่าวปิดงานพร้อมแสดงความยินดีและชื่นชมความสำเร็จของว่าที่บัณฑิตทุกคนที่ได้ร่วมกิจกรรมในวันนี้ พร้อมทั้งขอบคุณคณะทำงานผู้อยู่เบื้องหลังการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สำหรับโครงการนิทรรศการนำเสนอผลงานครั้งต่อไป จะจัดขึ้นในราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยจะขยายเวทีนำเสนอผลงานให้ครอบคลุมในระดับประเทศต่อไป

เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 27 พฤษภาคม 2565