Faculty of Science

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

             คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.พลังพล คงเสรี พร้อมด้วย ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร. กิตตศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565   […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »

activity photo

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 4

7 มิถุนายน 2565 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โครงการ อพ.สธ. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 4 Botanical Art Thailand 2022” สร้างความเข้าใจและทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ผ่านการชื่นชมความสวยงามของภาพวาดพฤกษศาสตร์ สนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีการก่อตั้งภาควิชาพฤกษศาสตร์ และ 23 ปี การก่อตั้งเครือข่ายวิทย์สานศิลป์โดยในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ดร.วีระชัย ณ นคร นายกสมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินอาวุโส และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานร่วมในพิธี

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 4 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 23 หรือ SciEx2022 เสริมสร้างบรรยากาศวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำโชว์ศักยภาพ ฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสาขาวิชาและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์กว่า 192 โครงงาน มีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายรวมกว่า 665 คน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 23 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมพิธีเปิดและกล่าวอวยพรให้กับน้อง ๆ นักศึกษาให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ขอให้เป็นตัวอย่างที่ดีของรุ่นน้อง เข้าใจวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น และสามารถนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้ และหวังว่าทุกคนจะมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการลงทุนให้ประเทศไทยดีขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 กว่า 14 รางวัล

28 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทนคณบดีเข้าร่วมกิจกรรม “MU Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 6” รับเกียรติบัตรดีเด่น รางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการรับรางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 พร้อมเป็นผู้แทน 14 ห้องปฏิบัติการภายในคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน ESPReL รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ณ มหาวิทยาลัยหิดล ศาลายาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย เพื่อสร้างวิสัยทัศน์อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์ (Zero Vision) ตามนโยบายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และได้รับรางวัลเกียรติบัตรดีเด่นมาโดยตลอด (คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป) โดยคณะวิทยาศาสตร์ มุ่งปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับความปลอดภัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 กว่า 14 รางวัล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม

27 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีด้านอาหาร ในการก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการเปิดโอกาสแชร์ความคิดสร้างสรรค์ ทดลองสร้างธุรกิจ ทำวิจัยร่วมเชิงพาณิชย์ รวมถึงฝึกงานกับบริษัทสตาร์ทอัพในโครงการ SPACE-F โดยมี Dr. Chris Aurand, Open Innovation Leader จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มาอัปเดตเกี่ยวกับโอกาสและเทรนด์ในวงการฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ พร้อมด้วยรุ่นพี่สตาร์ทอัพ ในโครงการ SPACE-F ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Advanced Greenfarm คุณตรัย สัสตวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายนวัตกรรมและการสร้างสรรค์บริษัท

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

8 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ สิทธิพรหม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัย รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ 5 มหาวิทยาลัย ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งเป้าสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูล สารสนเทศ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

8 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café: อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น พูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 และการรับมือ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและชีวฟิสิกส์ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักแปล และบรรณาธิการหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักชีวฟิสิกส์ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมแปลหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ผ่านทาง Facebook live และทาง Mahidol Channel โดยมีผู้รับชมกว่า 1,000 คนดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ได้ปูความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการระบาดใหญ่ (Pandemic)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก

21 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), Mr. Ludovic Garnier, Group Chief Financial Officer จาก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), Mr. Jean Lebreton, Senior Vice President จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ Mr. Bart Bellers, CEO จาก Xpdite ร่วมงานเปิดตัว SPACE-F Batch

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง

8 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ (อาจารย์ใหญ่) ให้นักเรียนจากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 35 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม” จัดขึ้นโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน รวมถึงเป็นแรงจูงใจให้ศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ระดับสูงในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 15 มีนาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง Read More »

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

Activity Photo

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!”

10 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด-19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Covid-19 testing: Current and alternative (future) methods ในรูปแบบ online ผ่านทาง Zoom meeting และ Facebook live ให้ข้อมูลทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 ในยุคโอมิครอน โดย 4 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจโควิด – 19 ในไทยและต่างประเทศ พร้อมอัปเดตเทคโนโลยีการตรวจโควิด – 19 สุดล้ำ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมกว่า 97 คนในการเสวนาในครั้งนี้วิทยากร ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ Mr. William Whittington, Chief Operations Officer (COO) จากบริษัท Tiger Tech

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง

28 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 63 ปี การก่อตั้ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาในรูปแบบ Hybrid ถ่ายทอดสดทาง online และการเข้าร่วมงานในพื้นที่ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในโอกาสครบรอบ 63 ปี แห่งการก่อตั้ง เรามุ่งมั่นที่จะ ‘เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม’ ผ่านวิทยาศาสตร์และการสร้างบุคลากรคุณภาพสูง การลงทุนทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิต จึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาส และสร้างบุคลากรคุณภาพอันเป็นอนาคตของสังคม มีความรู้ที่ทันสมัย ผ่านงานวิจัยระดับโลก ต่อยอดเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสูงในอนาคต ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับเป็นภารกิจและเป้าประสงค์ที่มุ่งมั่น เพื่อสร้างศรัทธาแห่งวิทยาศาสตร์ในฐานะ ‘คณะวิทยาศาสตร์แห่งแผ่นดิน’” จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรอบปี 2564 ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง Read More »

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021

12 กรกฎาคม 2564 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science: ISHS) ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ครั้งที่ 9 “The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects)” หรือ “Biotech 2021” แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าจากการวิจัย สร้างโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสังคมในระดับโลกBiotech 2021 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และวิทยากรด้านพืชสวนระดับนานาชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืช และความหลากหลายทางชีวภาพในทุกแง่มุม ซึ่งด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การประชุมครั้งนี้จึงเลื่อนจากกำหนดเดิมในปีที่แล้ว มาเป็นปีนี้ และปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development”

10 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 ในประเทศไทย และสื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการอนุมัติใช้ฉุกเฉินในปัจจุบัน พร้อมเผยความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) และ นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในทีมนักวิจัยวัคซีนโควิด-19 เป็นวิทยากร และมี อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” Read More »