SPACE-F

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือ บริษัท เคอร์รี่ อินกรีเดียนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือด้านการงานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมด้าน Food Tech

13 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ บริษัท เคอร์รี่ อินกรีเดียนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด มองหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านการงานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมด้าน Food Tech ณ SPACE-F อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 6 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ประสานงานโครงการ SPACE-F และ ดร.ณฑญา ปฐมพงษ์ เป้ามีพันธ์ นักวิจัยประจำศูนย์การเรียนรู้ด้านกลิ่นรสอาหาร (Flavor Academy) โดยระหว่างเมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย (Food Innopolis) และคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมต้อนรับ Mr. Omar Lechuga (R&D Director South East […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือ บริษัท เคอร์รี่ อินกรีเดียนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือด้านการงานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมด้าน Food Tech Read More »

Activity photo

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดเวทีเสวนา Common Mistakes and Pitfalls, How to Avoid Them แชร์ประสบการณ์ เสริมสร้างเครือข่าย Startup SPACE-F Batch 5

26 มิถุนายน 2567 SPACE-F โดย มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé จัดเวทีเสวนา EXPERIENCE SHARING: Common Mistakes and Pitfalls, How to Avoid Them เปิดโอกาสให้ Startup ที่เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 5 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำ Startup การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ และการวางแผนธุรกิจ กับผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย และรุ่นพี่ Startup ศิษย์เก่าโครงการ SPACE-F รวมถึงทำความรู้จักกับอาจารย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อติดอาวุธไอเดียพัฒนาธุรกิจ และเสริมสร้างเครือข่าย ณ ห้อง MR201 ชั้น 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในโอกาสนี้

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดเวทีเสวนา Common Mistakes and Pitfalls, How to Avoid Them แชร์ประสบการณ์ เสริมสร้างเครือข่าย Startup SPACE-F Batch 5 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดงาน SPACE-F Batch 5 : Exploring Mahidol University ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพและบริษัทเอกชนพันธมิตร

        25 กรกฎาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันจัดงาน SPACE-F Batch 5: Exploring Mahidol University โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพโครงการ SPACE-F Startups Batch 5 และบริษัทเอกชนพันธมิตร ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวของกับวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมเข้าเยี่ยมชมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือ ขับเคลื่อน ของมหาวิทยาลัยมหิดล        ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดงาน SPACE-F Batch 5 : Exploring Mahidol University ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพและบริษัทเอกชนพันธมิตร Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ

31 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพ ด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ (Accelerator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 5 เพื่อยกระดับศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเปิดโอกาสในการเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารร่วมกับพาร์ทเนอร์ธุรกิจระดับโลก ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาและความร่วมมือทางธุรกิจ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5

13 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5 เพื่อติวเข้มในการพัฒนาต่อยอดไอเดียสู่ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีของตนเองให้เฉียบคม พร้อมในการระดมเงินทุนในระดับ Series A และ Seed Funding และพร้อมออกสู่ตลาด ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5 Read More »

Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทย์ ม.มหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย พร้อมพาเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก (SPACE-F)

       11 มีนาคม 2567 Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย (Changemaker in Sustainable Food by Deloitte Thailand) ที่จัดร่วมกับ ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศูนย์ SEAMEO STEM-ED) เข้าเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก SPACE-F  ณ ห้องประชุม SPACE-F ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        โครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย

Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทย์ ม.มหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย พร้อมพาเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก (SPACE-F) Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดกิจกรรม “Mahidol Venture Building for SPACE-F Program” เพื่อเตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 5

       8 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรม Mahidol Venture Building for SPACE-F Program ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พญาไท) และช่องทางออนไลน์ผ่าน IPTV และ FB LIVE        โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ อาจารย์ นักวิจัย สตาร์ทอัพ หรือนักศึกษาผู้ที่มีผลงานทางด้าน Food Tech เตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 หรือ Batch

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดกิจกรรม “Mahidol Venture Building for SPACE-F Program” เพื่อเตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 5 Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ เนสท์เล่ และเครือข่ายพันธมิตร ลงนาม MOU โครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตวงการอาหารไทย พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมโอกาสการเติบโตของ FoodTech Startup ในการพัฒนานวัตกรรม

       12 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จับมือ เนสท์เล่ อินโดไชน่า องค์กรอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ ที่มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลก และแบรนด์ระดับท้องถิ่นที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เข้าร่วมโครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” ณ ห้อง Pinnacle 4-5 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ        บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า (Nestlé Indochina) ถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก ครอบคลุม 190 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเวเวย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ เนสท์เล่ และเครือข่ายพันธมิตร ลงนาม MOU โครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตวงการอาหารไทย พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมโอกาสการเติบโตของ FoodTech Startup ในการพัฒนานวัตกรรม Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง

21 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong เชิญ 3 วิทยากร ผู้มีบทบาทในการผลักดันระบบนิเวศผู้ประกอบการเริ่มต้น หรือ Startup ในมหาวิทยาลัย และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล คุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน Founder, SEA Bridge และคุณพนากร เดชธำรงวัฒน์ Head of Investment Promotion, Invest HK บรรยายเกี่ยวกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง โอกาสของ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Merck ร่วมเสริมความแข็งแกร่งในความร่วมมือกันในอนาคต

18 ธันวามคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะกรรมการโครงการ SPACE-F ผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Chris Aurand, Open Innovation Lead และคุณอนุสรา จิตราธนวัฒน์ Government Affair จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และทีมงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก บริษัท เมอร์ค จำกัด นำทีมโดย Dr. Lysander Chrisstoffels Head of Science and Lab Solutions Commercial APAC, Mr. Seoc-Kyu Park Head of Science

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Merck ร่วมเสริมความแข็งแกร่งในความร่วมมือกันในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้าน Post-Harvest Quality Control and Waste Utilization of Seafood Product ในประเทศไทย ให้กับอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ และ นักศึกษาจากประเทศอินเดีย

5 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับนักศึกษาจาก College of Fisheries Guru Angad Dev Veterinary and Animal Sciences University, Punjab ประเทศอินเดีย จำนวน 12 คน เนื่องในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้าน “การควบคุมคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและการใช้ประโยชน์จากของเสียในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหารทะเลในประเทศไทย” รวมไปถึงศึกษาการจัดการศึกษาและกิจกรรมทางห้องปฏิบัติการและการวิจัยที่เกี่ยวข้องของคณะวิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรมในช่วงเช้า นักศึกษาจากประเทศอินเดียได้เข้าเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ (Startup) ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนสำหรับด้าน “Food Tech Startup” ในประเทศไทย อันเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ณ อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 6 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้าน Post-Harvest Quality Control and Waste Utilization of Seafood Product ในประเทศไทย ให้กับอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ และ นักศึกษาจากประเทศอินเดีย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาภายใต้โครงการ “Field study program: Bioresources and Environment” เปิดโอกาสนักศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัย กระชับความสัมพันธ์ด้านวิชาการ ไทย-ญี่ปุ่น

7 – 8 กันยายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และ 21 นักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field study program: Bioresources and Environment” พร้อมจัดกิจกรรมสัมมนา Osaka University Oversea Field Study Program 2023: Student Final Presentation ในรูปแบบ Hybrid เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยในประเทศไทย กระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิชาการที่เข้มแข็งของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นโครงการ “Field study program: Bioresources and Environment” เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมความร่วมมือตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยโอซาก้าและมหาวิทยาลัย 4 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ JASSO เพื่อให้โอกาสแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้มาทำวิจัยระยะสั้น (Short Stay Short Visit:

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาภายใต้โครงการ “Field study program: Bioresources and Environment” เปิดโอกาสนักศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัย กระชับความสัมพันธ์ด้านวิชาการ ไทย-ญี่ปุ่น Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาต่างชาติแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-อเมริกา

30 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ ดร. เขตภากร ชาครเวท อาจารย์จากภาควิชาเคมี เปิดบ้านต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาจาก 6 มหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย Stanford University, University of California Irvine, University of California Los Angeles, University of California San Diego, University of California Santa Barbara และ University of California Davis ในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย โดยมี Mr. John

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาต่างชาติแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-อเมริกา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ iNT ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารขึ้นเวที SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดล้ำในงาน Techsauce Global Summit 2023

16 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ หรือ Incubator Program ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 4 เปิดประตูพบปะนักลงทุน ผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน FoodTech และขึ้นนำเสนอผลงานบนเวที ‘SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day’ โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดสร้างสรรค์ในงาน Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการ และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนำโดย

คณะวิทย์ iNT ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารขึ้นเวที SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดล้ำในงาน Techsauce Global Summit 2023 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ฯ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษานานาชาติในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 เยี่ยมชมโครงการ Startup เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

24 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับผู้บริหาร รองศาสตราจารย์ ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล และรองศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับนักศึกษานานาชาติ จำนวน 72 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-29 กรกฎาคม 2566 ในโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายและร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะนักศึกษาได้เข้าเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนสำหรับด้าน “Food Tech Startup” ในประเทศไทย โดยการริเริ่มการพัฒนาโปรแกรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการ

คณะวิทย์ฯ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษานานาชาติในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 เยี่ยมชมโครงการ Startup เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน Read More »

Activity Photo

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup

20 กรกฎาคม 2566 กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชา พร้อมด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี รวมกว่า 23 คน เยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยพานักศึกษาไปสำรวจโลกของ Startup สร้างแรงบันดาลใจในการเริ่มสร้างธุรกิจด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาชีวนวัตกรรมซึ่งครอบคลุมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีทางการแพทย์และความงาม สู่นวัตกรรมที่ยั่งยืน ณ SPACE-F ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคุณอนุสรา จิตราธนวัฒน์ Government Affair จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในการต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง พร้อมแนะนำโครงการ SPACE-F ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ FoodTech Startup

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือ JETRO มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือเพื่อทางวิชาการด้านวิชาการงานวิจัย และการพัฒนาขับเคลื่อนนวัตกรรม จับคู่ Startup กับเอกชนสร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในประเทศไทย-ญี่ปุ่น

30 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือเพื่อมองหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization: JETRO) หรือ ‘เจโทร’ ในการส่งเสริมการวิจัย สร้างนวัตกรรม พร้อมพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัย และจากโครงการ SPACE-F เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกัน ณ SPACE-F ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีนิตี้ ทีม จำกัด ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก JETRO นำโดย Ms. Yukako Wakasugi, Vice president Mr. Kensuke Uchiyama, Cheif

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือ JETRO มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือเพื่อทางวิชาการด้านวิชาการงานวิจัย และการพัฒนาขับเคลื่อนนวัตกรรม จับคู่ Startup กับเอกชนสร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในประเทศไทย-ญี่ปุ่น Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT NIA ไทยยูเนี่ยน คกก.อาหารแห่งอนาคต สภาหอการค้าฯ สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย พร้อม SPACE-F หารือ สอวช. ร่วมผลักดันนโยบาย 1000×1000 Innovation-Driven Enterprise สร้างมูลค่าเศรษฐกิจไทย 1 ล้านล้านบาท

7 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ SPACE-F ร่วมหารือความร่วมมือกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สอวช. ในการร่วมผลักดันนโยบายการพัฒนาฐานผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation- Driven Enterprises: IDEs) ณ SPACE-F อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการ iNT พร้อมด้วยผู้แทนจากพันธมิตรในโครงการ SPACE-F ได้แก่ Dr. Magnus Bergkvist,

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT NIA ไทยยูเนี่ยน คกก.อาหารแห่งอนาคต สภาหอการค้าฯ สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย พร้อม SPACE-F หารือ สอวช. ร่วมผลักดันนโยบาย 1000×1000 Innovation-Driven Enterprise สร้างมูลค่าเศรษฐกิจไทย 1 ล้านล้านบาท Read More »

Activity Photo

ภาควิชาสรีรวิทยา จัดกิจกรรม Knowing Startup Business ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup

31 พฤษภาคม 2566 ภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ไชยร้องเดื่อ อาจารย์ ดร.คณิต ภู่ไข่ และ อาจารย์ ดร.เมธนียา ปิลันธนานนท์ พร้อมด้วยนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวมกว่า 20 คน เยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนางานวิจัยจากภาควิชาสรีรวิทยาสู่งานนวัตกรรม ซึ่งสามารถต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup ในอนาคตได้ ซึ่งศาสตร์สรีรวิทยาเป็นเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี ครอบคลุมความรู้ในทุกระดับตั้งแต่ในระดับโมเลกุล ไปจนถึงความรู้ในระดับการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง โดยกิจกรรม Knowing Startup Business กับ SPACE-F ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคุณอนุสรา

ภาควิชาสรีรวิทยา จัดกิจกรรม Knowing Startup Business ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup Read More »

Activity photo

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวที pitching ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำในงาน DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F

25 พฤศจิกายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ จัดกิจกรรม DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F เปิดเวที Pitching ให้กับทีม Food Tech Startup หน้าใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยมหิดล ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุขMahidol Pre-incubation for SPACE-F เป็นโครงการบ่มเพาะทีม Startup ที่มาจากการรวมตัวของนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการติวเข้มในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และตลาด การจัดทำแบบจำลองธุรกิจและแผนพัฒนาธุรกิจ รวมถึงทักษะการเป็นผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวที pitching ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำในงาน DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ ร่วมมือกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นี้ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไทโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่ Health

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย

29 กันยายน 2565 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมพันธมิตรภาคธุรกิจ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จํากัด เปิดเวทีนำเสนอนวัตกรรมอาหารจาก 7 ทีมฟู้ดเทคสตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech ณ ห้อง Ballroom 2-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสนี้ นายวาลเดอมาร์ ดูบันยอฟสกี้ (Your Excellency, Mr. Waldemar Dubaniowski) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโปแลนด์ประจำประเทศไทย, ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA, คุณธีรพงศ์ จันศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย Read More »

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Orientation and Problem Validation Workshop ภายใต้โครงการ Pre-Incubation for SPACE-F ช่วยเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F

      วันที่ 27 กันยายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ งานพันธกิจพิเศษ (Business Development Unit : BDU) ได้ร่วมกันจัดโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมตลอดเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้       โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Orientation and Problem Validation Workshop ภายใต้โครงการ Pre-Incubation for SPACE-F ช่วยเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F Read More »

activity photo

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ Shark Tank Thailand มองหาความเป็นไปได้ในการร่วมมือเฟ้นหา Startup ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก

14 กันยายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับ Shark Tank Thailand เพื่อเฟ้นหา Startup ที่มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ในรั้วมหาวิทยาลัย พร้อมผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก เพิ่มโอกาสเติบโตทางธุรกิจด้วยการร่วมทุนจากนักลงทุนรายใหญ่สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการ และ คุณอรวลัญช์ โลหิตหาญ หัวหน้างานระบบนิเวศผู้ประกอบการ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี และ อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) ให้การต้อนรับ คุณทรงสุดา

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ Shark Tank Thailand มองหาความเป็นไปได้ในการร่วมมือเฟ้นหา Startup ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม

27 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีด้านอาหาร ในการก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการเปิดโอกาสแชร์ความคิดสร้างสรรค์ ทดลองสร้างธุรกิจ ทำวิจัยร่วมเชิงพาณิชย์ รวมถึงฝึกงานกับบริษัทสตาร์ทอัพในโครงการ SPACE-F โดยมี Dr. Chris Aurand, Open Innovation Leader จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มาอัปเดตเกี่ยวกับโอกาสและเทรนด์ในวงการฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ พร้อมด้วยรุ่นพี่สตาร์ทอัพ ในโครงการ SPACE-F ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Advanced Greenfarm คุณตรัย สัสตวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายนวัตกรรมและการสร้างสรรค์บริษัท

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านพร้อมสนับสนุน SPACEF Batch 3

7 กุมภาพันธ์ 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, Xpdite ต้อนรับ Startup ผู้เข้าร่วม “SPACE-F Batch 3” หรือ โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting โดย ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม (Group Director, Global Innovation) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 3 ก่อนจะมีการแนะนำบทบาทขององค์กรพันธมิตรที่มีส่วนร่วมปั้น FoodTech startup หน้าใหม่สู่วงการอุตสาหกรรมอาหารโลก โดยสนับสนุนและให้คำแนะนำในการสร้างสรรค์ผลงานของ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านพร้อมสนับสนุน SPACEF Batch 3 Read More »