บรรยายพิเศษ

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT เล่าประสบการณ์เด็กวิทย์บนเส้นทางอาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมมอบทุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4

24 สิงหาคม 2565 งานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT บอกเล่าประสบการณ์บนเส้นทางการทำงานด้านบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับเกียรติจาก คุณณัฐพล วิมลเฉลา กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร และพร้อมกันนี้ได้มอบทุนส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2565 โดยสนับสนุนเป็นค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่สนใจเรียนรู้การทำงานในการบริหารองค์กรบริษัทจำนวน 3 ทุน ณ L-02 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล (พญาไท) โดยมีนักศึกษาผู้ได้รับทุนดังนี้1. นายเฉลิมเกียรติ ยะพลหา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาคณิตศาสตร์2. นางสาวกชกร ผ่องใส นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาพฤกษศาสตร์3. นางสาวจินต์จุฑา […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT เล่าประสบการณ์เด็กวิทย์บนเส้นทางอาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมมอบทุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “a CIF Initiative in Drug Discovery Platform”

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum โดยเป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง a CIF Initiative in Drug Discovery Platform โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ในเครื่องมือ Single Crystal X-ray Diffractometer system  คุณสันติ ขันทอง บริษัท แบงเทรดดิ้ง 1992 จำกัด ให้ความรู้ในเครื่องมือ Multimode Plate Reader คุณฤทัยทิพย์ ติระตระกูลวิชยา DKSH (Thailand) Limited ให้ความรู้ในเครื่องมือ Isothermal Titration Calorimeter (ITC)  และคุณศันสนีย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “a CIF Initiative in Drug Discovery Platform” Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ iNT จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science BDU x iNT แบ่งปันประสบการณ์การวิจัยร่วมกับเอกชน สร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย

10 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยพันธกิจพิเศษด้านพัฒนาธุรกิจ หรือ BDU (Business Development Unit) ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ iNT จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science BDU x iNT ในรูปแบบ Hybrid ทั้งในสถานที่และออนไลน์ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ตรงในการทำวิจัยและบริการวิชาการให้กับภาคเอกชน การสร้างงานวิจัยสู่นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา และการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) พร้อมเล่าถึงบทบาทของ BDU และ iNT ต่อทิศทางการทำงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยกับเอกชน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวเปิดงาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย 4 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ผู้ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชน และแวดวงสตาร์ทอัพ อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ iNT จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science BDU x iNT แบ่งปันประสบการณ์การวิจัยร่วมกับเอกชน สร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัย Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงปัญหา Climate Change เตรียมร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว สานต่อนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University)

21 กรกฎาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงปัญหาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) จากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว ภายใต้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สานต่อนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University) พัฒนาการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยจัดอบรมให้กับคณะทำงานโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งรับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ของเกณฑ์การประเมินโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว 6 หมวด ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก การใช้ทรัพยากรและพลังงาน การจัดการของเสีย สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย และการจัดซื้อและจัดจ้าง ให้แก่คณะทำงานโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว อาคารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอาคารแรกที่นำร่องสำหรับการร่วมโครงการฯ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติทั้งนี้ โครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว เป็นโครงการภายใต้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในกลุ่มสำนักงาน เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสำนักงาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงปัญหา Climate Change เตรียมร่วมโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว สานต่อนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University) Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products” พร้อมเปิดห้อง Lab แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมเมตาบอลิซึม

ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Prof. Mattheos Koffas จาก Rensselaer Polytechnic Institute นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มาบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ หัวหน้าหน่วยสังเคราะห์ภาพระดับนาโน เป็นผู้ดำเนินรายการ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดกิจกรรมการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ การจัดกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ และระบบประชุมออนไลน์ WebEx

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products” พร้อมเปิดห้อง Lab แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมเมตาบอลิซึม Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” เปิดพื้นที่ปลอดภัยสร้างความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศ LGBTQIAN+ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

28 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” แบบ Hybrid พูดคุยแบบสบาย ๆ สร้างความเข้าใจ เพิ่มการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายในกลุ่ม LGBTQIAN+ สู่ประชาคมเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ โดยมี อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ นพ.สิระ กอไพศาล อาจารย์ประจำสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ ดร.พหล โกสิยะจินดา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บรรยาย ต่อด้วยกิจกรรม MUSC Happy Pride Month

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “เพศกำเนิด เพศกำหนด” เปิดพื้นที่ปลอดภัยสร้างความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศ LGBTQIAN+ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” แนะโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล

23 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” ในรูปแบบ Hybrid โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และประธานที่ปรึกษาสถาบัน K Agro-Innovate ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล ด้วยการพัฒนา Herbal value chain ยกระดับคุณค่าการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมยกกรณีศึกษา “น่านแซนด์บ็อกซ์ (Nan Sandbox)” ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนนำโดยมูลนิธิกสิกรไทย ซึ่งและมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีส่วนร่วมในโครงการโดยการค้นหาและศึกษาพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการต่อยอดเป็นส่วนผสมออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการสร้างยา และเหมาะต่อการเพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน สร้างรายได้ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการพลิกฟื้นพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” แนะโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 23 หรือ SciEx2022 เสริมสร้างบรรยากาศวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำโชว์ศักยภาพ ฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสาขาวิชาและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์กว่า 192 โครงงาน มีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายรวมกว่า 665 คน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 23 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมพิธีเปิดและกล่าวอวยพรให้กับน้อง ๆ นักศึกษาให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ขอให้เป็นตัวอย่างที่ดีของรุ่นน้อง เข้าใจวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น และสามารถนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้ และหวังว่าทุกคนจะมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการลงทุนให้ประเทศไทยดีขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล Read More »

Activity Photo

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ 3 สถาบัน มหิดล เกษตร จุฬา เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชและพันธุศาสตร์ระดับชาติสำหรับนักศึกษาและนักเรียน TURFPaG#7 และ T-JuRFPaG#3

29 เมษายน 2565 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จากคณะวิทยาศาสตร์ 3 สถาบัน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือจัดประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 (The 7th Thailand Undergraduate Research Forum on Plants and Genetics) หรือ TURFPaG#7 และการประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 (The 3rd Thailand Junior Research Forum on Plants and Genetics) หรือ T-JuRFPaG#3 เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ในวงการพืชและพันธุศาสตร์ พบปะแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกัน เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ เสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีนักศึกษาและนักเรียนร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์รวม 19 ผลงาน จาก 7 สถาบันในระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียน และมีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายกว่า 150

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ 3 สถาบัน มหิดล เกษตร จุฬา เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชและพันธุศาสตร์ระดับชาติสำหรับนักศึกษาและนักเรียน TURFPaG#7 และ T-JuRFPaG#3 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม

27 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีด้านอาหาร ในการก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการเปิดโอกาสแชร์ความคิดสร้างสรรค์ ทดลองสร้างธุรกิจ ทำวิจัยร่วมเชิงพาณิชย์ รวมถึงฝึกงานกับบริษัทสตาร์ทอัพในโครงการ SPACE-F โดยมี Dr. Chris Aurand, Open Innovation Leader จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มาอัปเดตเกี่ยวกับโอกาสและเทรนด์ในวงการฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ พร้อมด้วยรุ่นพี่สตาร์ทอัพ ในโครงการ SPACE-F ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Advanced Greenfarm คุณตรัย สัสตวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายนวัตกรรมและการสร้างสรรค์บริษัท

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

8 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café: อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น พูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 และการรับมือ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและชีวฟิสิกส์ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักแปล และบรรณาธิการหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักชีวฟิสิกส์ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมแปลหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ผ่านทาง Facebook live และทาง Mahidol Channel โดยมีผู้รับชมกว่า 1,000 คนดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ได้ปูความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการระบาดใหญ่ (Pandemic)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น Read More »

Activity Photo

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!”

10 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด-19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Covid-19 testing: Current and alternative (future) methods ในรูปแบบ online ผ่านทาง Zoom meeting และ Facebook live ให้ข้อมูลทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 ในยุคโอมิครอน โดย 4 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจโควิด – 19 ในไทยและต่างประเทศ พร้อมอัปเดตเทคโนโลยีการตรวจโควิด – 19 สุดล้ำ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมกว่า 97 คนในการเสวนาในครั้งนี้วิทยากร ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ Mr. William Whittington, Chief Operations Officer (COO) จากบริษัท Tiger Tech

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ ออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต

3 ธันวาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต พูดคุยเจาะลึก “Omicron” เชื้อก่อโรค COVID-19 สายพันธุ์น้องใหม่ ที่กำลังเป็นที่จับตามองไปทั่วโลกในขณะนี้ เผยสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้และไม่รู้เกี่ยวกับ Omicron หรือ โอไมครอน รวมถึงแนวโน้มการวิจัยในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิรันดร ยูวะนิยม อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 80 คนตลอดการเสวนาวิทยากรได้ให้ข้อมูลสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้เกี่ยวกับ เชื้อก่อโรค

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ ออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต Read More »

Activity Photo

16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 16 (16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand) ระหว่างวันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน 2564 ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ อดีตนายกสมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 การจัดงานมีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในงานวิจัยด้านโปรตีนและสาขาที่เกี่ยวข้อง จากนักวิจัยที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน จึงได้มีการจัดงานในรูปแบบออนไลน์ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยผ่านการประชุมออนไลน์ สามารถติดตามกำหนดการเพิ่มเติมได้ทาง https://science.mahidol.ac.th/pst2021/

16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง แชร์วิธีจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ในช่วงโควิด – 19

8 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe “เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง” เปิดเวทีแชร์ประสบการณ์ตรงและเคล็ดลับการสอนให้ปังโดนใจผู้เรียนของ 4 อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ผศ. ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ อ. ดร.เอกวัจน์ เชาว์วิชารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ อ. ดร.นฤพัฒน์ หงษ์ดิลกกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ อ. ดร.ภัคพล พงศาวกุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา โดยมี อ. ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการผ่านทาง Facebook liveตลอดการเสวนาวิทยากรทั้ง 4 ท่านได้พูดคุยแชร์ประสบการณ์จริง และมุมมองต่อการสอนออนไลน์ ในประเด็นความท้าทายของการสอนออนไลน์ วิธีการออกแบบการสอน ไปจนถึงวิธีการสอบและการวัดผลออนไลน์ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้ข้อจำกัดจากการปิดสถานศึกษาเพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19โดย ผศ. ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง แชร์วิธีจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ในช่วงโควิด – 19 Read More »

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”

          เมื่อวันที่ 9 และ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี ร่วมกับ งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จัดโครงการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Zoom meeting  ในหัวข้อ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลที่กระจายอยู่ในกระบวนการทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิศวกรรมและระบบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ. ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำกลุ่มเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (มหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำกระบวนงานการปฏิบัติงาน (Records of

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” Read More »

4 สถาบัน ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสื่อสารวิธีการดูแลสุขภาพ และการจัดการอย่างยั่งยืน กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมีในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว”

                5 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 4 สถาบันภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการผลิตโฟมพีอีเอส (Expanded Polystyrene Foam: ESP) เชื้อเพลิงในเหตุระเบิดโรงงานผลิตโฟม ซอยกิ่งแก้ว 21 พร้อมเสนอความเห็นเบื้องต้นด้านการจัดการปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวอย่างยั่งยืน จากมุมมองคนในแวดวงสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข ในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” โดยมี รศ. ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ. นพ.สัมมน โฉมฉาย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ศูนย์พิษวิทยาศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ รศ. ดร.สราวุธ เทพานนท์

4 สถาบัน ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสื่อสารวิธีการดูแลสุขภาพ และการจัดการอย่างยั่งยืน กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมีในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” Read More »

หลักสูตรกู้โลก Sustainable Development Goals บทบาทของภาคการศึกษากับการผลิตบุคลากรเพื่อโลกอนาคตตาม SDG8

          16 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์หัวข้อ หลักสูตรกู้โลก Sustainable Development Goals บทบาทของภาคการศึกษากับการผลิตบุคลากรเพื่อโลกอนาคตตาม SDG8 ผ่านระบบ Cisco Webex ในเวลา 10.00 – 12.00 น. ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวเปิดการเสวนาและกล่าวต้อนรับ ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากร คุณกุลวัลย์ สุพีสุนทร ผู้จัดการด้าน Sustainability และ Climate Change บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในการนำ SDGs มาใช้บริหารองค์กรสู่มุมมองการนำมาใช้กับสถานศึกษา โดยมี อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ

หลักสูตรกู้โลก Sustainable Development Goals บทบาทของภาคการศึกษากับการผลิตบุคลากรเพื่อโลกอนาคตตาม SDG8 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development”

10 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 ในประเทศไทย และสื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการอนุมัติใช้ฉุกเฉินในปัจจุบัน พร้อมเผยความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) และ นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในทีมนักวิจัยวัคซีนโควิด-19 เป็นวิทยากร และมี อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย”

12 พฤษภาคม 2564 สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับงานบริหารและธุรการ และคณะกรรมการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ จัดเสวนาพิเศษ “ขอตำแหน่งวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย” เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างครอบคลุมรอบด้าน ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ ศาสตราจารย์ นพ.วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ “เกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการที่ใช้ในปัจจุบัน ก.พ.อ. หรือข้อบังคับมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561 และ 2563” ต่อด้วยผู้อำนวยการ จริยา ปัญญา ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล ซึ่งบรรยายในหัวข้อ “กระบวนการและระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาตำแหน่งวิชาการระดับมหาวิทยาลัย” และ ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ ประธานคณะกรรมการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “กระบวนการกลั่นกรองระดับคณะวิทยาศาสตร์” ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม ประธานสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ กรรมการสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ โดยมี อาจารย์ ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ กรรมการสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เป็นพิธีกรการเสวนาในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน”

            21 เมษายน 2564 เวลา 13:30-15:00น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยได้รับเกียรติจาก ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ หรือหมออิ๊ก ผู้ก่อตั้ง OOCA Application เป็นวิทยากร โดยมีอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมเปิดประสบการณ์เรื่องสุขภาพจิตที่เจอมาตลอดตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน แบ่งปันการปรับเปลี่ยนมุมมอง mindset เมื่อเจอปัญหาในชีวิต พร้อมแนะนำวิธีจัดการอารมณ์ตนเอง การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อีกทั้งให้กำลังใจกับทุกท่านที่มีปัญหาสุขภาพจิตมาร่วมเปิดใจในการให้โอกาสตนเองและเชิญชวนเข้ารับบริการสุขภาพใจ พร้อมเล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้าง OOCA Application ช่องทางการปรึกษาสุขภาพใจ ที่สามารถปรึกษาปัญหาคาใจกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากที่บ้านได้อย่างสะดวกสบาย และแนะนำช่องทางดี ๆ ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล โดย OOCA ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดโครงการ “Wall of

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล”

       9 เมษายน 2564 รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติมาบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อสร้างความเข้าใจและทบทวนเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานแก่ประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้อง L-02 อาคารบรรยายรวมตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ได้กล่าวต้อนรับและร่วมฟังบรรยายพร้อมกับทีมผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานคณะวิทยาศาสตร์ และผู้ที่รับชมออนไลน์ผ่านระบบ WebEx Meeting กว่า 177 คน เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 9 เมษายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล” Read More »

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking”

           สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking” ในวันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทางช่องทาง Online Facebook Live ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนา โดยในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.อรภัค เรี่ยมทอง ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมป่าไม้ เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” ส่งเสริมการดูแลไม้ใหญ่ในเมืองอย่างยั่งยืน

2 กุมภาพันธ์ 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมป่าไม้ เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” แนะนำการดูแลไม้ใหญ่โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการตัดแต่ง บำรุงรักษาต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และความสวยงามตามรูปลักษณ์ของพรรณไม้ในแต่ละชนิด ส่งเสริมการปฏิบัติงานรุกขกรอย่างปลอดภัย เพื่อพัฒนาการจัดการป่าในเมือง ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองอย่างยั่งยืน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวเปิดโครงการฝึกอบรม กว่า 1 ใน 3 ของพื้นที่ 40 ไร่ ในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท มีสวนป่าซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่อายุราว 50 ปี ที่ปลูกไม้ต้นนานาชนิดมากกว่า 1,800 ต้น 73 ชนิดใน 30 วงศ์ อยู่ในใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร คณะวิทยาศาสตร์ จึงได้ร่วมกับกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมป่าไม้ เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” ส่งเสริมการดูแลไม้ใหญ่ในเมืองอย่างยั่งยืน Read More »