Faculty of Science

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Faculty of Advanced Technology and Multidiscipline, Universitas Airlangga สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และหารือความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิจัยระหว่างสองสถาบัน

วันที่ 20 ธันวาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Faculty of Advanced Technology and Multidiscipline, Universitas Airlangga ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย นำโดย Dr. Prihartini Widiyanti, drg., M.Kes, S. Bio, CCD, Head of Engineering Department ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยระหว่างสองสถาบัน ในด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางวิชาการและนักศึกษา […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Faculty of Advanced Technology and Multidiscipline, Universitas Airlangga สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และหารือความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิจัยระหว่างสองสถาบัน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 กิจกรรมกีฬาฮาเฮและงานเลี้ยงสังสรรค์ พร้อมทั้งกิจกรรมประกวดแต่งกายจับฉลากของรางวัลปีใหม่

     23 ธันวาคม 2567 ช่วงเช้า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 จัดพิธีทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ตักบาตรอาหารแห้งบริเวณซุ้มทางเดินเฟื่องฟ้า ถวายภัตตาหารและเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ณ ลานใต้ตึกกลม        ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนร่วมใจกันเข้าร่วมพิธี หลังจากนั้นบุคลากรสายสนับสนุนเข้าพบปะท่านคณบดี และคณะผู้บริหาร พร้อมรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน ณ บริเวณตึกกลม      ต่อมาในช่วงบ่าย ได้มีการจัดแข่งขัน กีฬาฮาเฮ สำหรับบุคลากร ณ บริเวณสนามหญ้า ข้างอาคารเคมี เพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย และเป็นสื่อกลางเชื่อมความสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์กรให้ได้มาพบปะพูดคุย อีกทั้งส่งเสริมให้ผู้คนได้ใช้เวลาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคี เคารพในกฎ กติกาของส่วนรวมและความมีน้ำใจต่อกัน ซึ่งในการจัดการแข่งขันกีฬาปีใหม่ มีรายการกีฬาและผลสรุปการแข่งขัน ดังต่อไปนี้ ประเภท กีฬาฮาเฮ สะบัดไข่ส่ายเอว รางวัลเหรียญทอง – ภาควิชาคณิตศาสตร์รางวัลเหรียญเงิน – ภาควิชาชีววิทยารางวัลเหรียญทองแดง – สำนักงานคณบดี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2568 กิจกรรมกีฬาฮาเฮและงานเลี้ยงสังสรรค์ พร้อมทั้งกิจกรรมประกวดแต่งกายจับฉลากของรางวัลปีใหม่ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2567

19 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ. ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายาผศ. ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและกิจการนักศึกษา ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และบุคลากรเจ้าหน้าที่ เข้าร่วม พิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช รัชกาลที่ 4 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร7 โดยครั้งหนึ่ง ในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของไทยอีกเรื่อง ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชฯ ทรงควบคุมบัญชาการและอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่เป็นครั้งแรกของโลก ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการ และประสบความสำเร็จฝนตกตามเป้าหมายอย่างแม่นยำ สร้างความประทับใจและยินดีแก่คณะผู้แทนรัฐบาลสิงค์โปร์ และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2567 Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ x Mahidol Science: Empowering the Next Generation กระตุ้นเยาวชนตระหนักความสำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในงาน Mahidol Open House 2024

          7 กันยายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานสื่อสารองค์กร ร่วมกับงานการศึกษา จัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ Genwit x Mahidol Science Empowering the Next Generation ภายใต้งานมหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2567 (Mahidol Open House 2024) เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมีนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง แฟนรายการ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 300 คน ณ ห้องบรรยายรวม L2-102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา            กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีม M-Witty โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ผู้ชนะรายการ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ Presented by Bangchak Group และอาจารย์ที่ปรึกษาประจำรายการ ได้แก่ รองศาสตราจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ x Mahidol Science: Empowering the Next Generation กระตุ้นเยาวชนตระหนักความสำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ในงาน Mahidol Open House 2024 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมพิธีเปิดประชุมวิชาการ 5th International Conference on Artificial Intelligence and Data Science (AiDAS2024)

     3 กันยายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมพิธีเปิดประชุมวิชาการ 5th International Conference on Artificial Intelligence and Data Science (AiDAS2024) ในหัวข้อ Prospects and future application โดยจัดในรูปแบบ Hybrid มีผู้เข้าร่วมนำเสนอ 20 คน หัวข้อของการประชุมวิชาการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูล ได้แก่ • Artificial Intelligence (AI)• Data Science• Data Mining• Computer Vision• Big Data Analytics• Data Visualization• Natural Language Processing• AI-assisted Creativity and Art• Ethics in AI and Data Science•

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมพิธีเปิดประชุมวิชาการ 5th International Conference on Artificial Intelligence and Data Science (AiDAS2024) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567 และพิธีมอบรางวัล Prime Minister’s Award 2024

     17 สิงหาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด Future Science Community for All ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนและประชาชนสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต สำหรับรูปแบบการจัดงานเปรียบเสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง โดยมีทั้งกิจกรรมและนิทรรศการที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ โดยออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้และสัมผัสกับวิทยาศาสตร์อย่างใกล้ชิด และพิธีมอบรางวัล Prime Minister’s Award 2024  ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี      พิธีเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปีนี้ได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในการเปิดงาน และยังให้เกียรติเป็นผู้มอบรางวัล Prime Minister’s Award 2024 นอกจากนี้ยังมีเอกอัครราชทูตจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมงานอย่างคับคั่ง      โดยรางวัล Prime Minister’s Award 2024 มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติการเป็นต้นแบบ เยาวชนและครู ที่ได้ทำคุณประโยชน์และเป็นตัวอย่างอันดีด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงสนับสนุน ส่งเสริม สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและครู สนใจและให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วึ่งนำไปสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่สามารถพัฒนาประเทศได้ในอนาคต

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567 และพิธีมอบรางวัล Prime Minister’s Award 2024 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2567

     7 สิงหาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2567 ต้อนรับนักศึกษาใหม่ และทำกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ Ice Breaking Activities ได้แก่ Human Bingo และ Davinci Game เพื่อให้นักศึกษาใหม่จากหลักสูตรต่างๆ ได้ทำความรู้จักคุ้นเคย โดยมีรุ่นพี่จากหลักสูตรต่างๆเป็นผู้ร่วมจัดกิจรรม ณ อาคารเรียนรวม (ตึกกลม) ห้อง L01 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท      โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวแสดงความยินดี ให้โอวาทกับนักศึกษา ต่อด้วย ผศ. ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา แนะนำด้านบัณฑิตศึกษา ทุนการศึกษา และสิ่งสนับสนุนภายในคณะวิทยาศาสตร์ รศ. ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม แนะนำภาพรวมด้านงานวิจัย หน่วยวิจัย และหน่วยสนับสนุนเกี่ยวกับงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ แนะนำในด้านระบบสารสนเทศ ห้องสมุดของคณะวิทยาศาสตร์      ปิดท้ายด้วยการบรรยายพิเศษโดย คุณปิยะ ซอโสตถิกุล กรรมการบริหารเครือบริษัท SEACON

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2567 Read More »

Activity photo

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดเวทีเสวนา Common Mistakes and Pitfalls, How to Avoid Them แชร์ประสบการณ์ เสริมสร้างเครือข่าย Startup SPACE-F Batch 5

26 มิถุนายน 2567 SPACE-F โดย มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé จัดเวทีเสวนา EXPERIENCE SHARING: Common Mistakes and Pitfalls, How to Avoid Them เปิดโอกาสให้ Startup ที่เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 5 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำ Startup การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ และการวางแผนธุรกิจ กับผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย และรุ่นพี่ Startup ศิษย์เก่าโครงการ SPACE-F รวมถึงทำความรู้จักกับอาจารย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อติดอาวุธไอเดียพัฒนาธุรกิจ และเสริมสร้างเครือข่าย ณ ห้อง MR201 ชั้น 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในโอกาสนี้

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดเวทีเสวนา Common Mistakes and Pitfalls, How to Avoid Them แชร์ประสบการณ์ เสริมสร้างเครือข่าย Startup SPACE-F Batch 5 Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับคณะผู้แทนจาก University of Wisconsin-Madison พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจัย และนักศึกษาแลกเปลี่ยนในอนาคต

       24 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ ผศ. ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา รศ. พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ และอาจารย์ภาควิชาเคมีและภาควิชาจุลชีววิทยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่วมให้การต้อนรับและหารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับผู้แทนจาก University of Wisconsin-Madison นำโดย Frances Vavrus, Vice Provost and Dean, International Division และ Maj Fischer, Director of External Relations, International Division ในโอกาสเยือนประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ กล่าวต้อนรับในนามผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และพร้อมสนับสนุนให้คณะวิทยาศาสตร์สถาปนาความร่วมมือทางด้านการศึกษา การวิจัย และการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับ University of Wisconsin-Madison ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีนักศึกษานานาชาติให้ความสนใจเข้าศึกษา       

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับคณะผู้แทนจาก University of Wisconsin-Madison พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจัย และนักศึกษาแลกเปลี่ยนในอนาคต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ พูดคุยหารือ และแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการวิจัย การศึกษา และการบริการวิชาการ

       4 มิถุนายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร พูดคุยหารือ และแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการวิจัย การศึกษา และการบริการวิชาการ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับการต้อนรับจากคณะผู้บริหาร นำโดย คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคาร 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดยมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การหารือกันในเชิงของการสนับสนุน การสร้างเครื่อข่ายความร่วมมือกันของแต่ละคณะภายในมหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรการศึกษาร่วมกันระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังที่สร้าง Impact เพราะทั้งสองคณะต่างเด่นในเรื่อง Science and Technology เพิ่มเสริมกำลังให้กับทางมหาวิทยาลัยมหิดลเช่นกัน โดยทางคณะวิทยาศาสตร์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการหารือร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ในครั้งนี้ จะเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญในการส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และด้านวิศวกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดในด้านของการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ การวิจัย การศึกษา และการบริการทางวิชาการ ได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งสร้างแรงกระเพื่อมสู่สังคมอย่างเป็นวงกว้าง และสามารถเข้าถึงกลุ่มประชากรทั่วไปได้อย่างหลากหลาย เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย :

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ พูดคุยหารือ และแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการวิจัย การศึกษา และการบริการวิชาการ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับคณะผู้แทนจาก University of Auckland พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจัย และนักศึกษาแลกเปลี่ยนในอนาคต

        14 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่วมให้การต้อนรับและหารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับผู้แทนจาก Faculty of Science, University of Auckland นำโดย Prof. JR Rowland, Deputy Dean Mr. Gael Gendron, Doctoral Candidate และ Ms. Jennifer Roshan, International Manager ในโอกาสเยือนประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา      

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับคณะผู้แทนจาก University of Auckland พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ งานวิจัย และนักศึกษาแลกเปลี่ยนในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ

31 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพ ด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ (Accelerator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 5 เพื่อยกระดับศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเปิดโอกาสในการเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารร่วมกับพาร์ทเนอร์ธุรกิจระดับโลก ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาและความร่วมมือทางธุรกิจ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และคณะผู้แทนจาก University College Dublin พร้อมหารือปูทางสู่ความร่วมมือในอนาคต

21 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ และผู้บริหารส่วนงาน ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันโภชนาการ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Pat Bourne เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยคณะผู้แทนจาก University College Dublin ประเทศไอร์แลนด์ นำโดย Prof. Aoife Ahern, Vice-President for Equality Diversity and Inclusion (EDI) และ Dean of Engineering, UCD College of Engineering and Architecture, College Principal, University College

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และคณะผู้แทนจาก University College Dublin พร้อมหารือปูทางสู่ความร่วมมือในอนาคต Read More »

Activity Photo

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ 7th IASCBC & AAT46

15 พฤษภาคม 2567 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ 7th International Anatomical Science and Cell Biology Conference และการประชุมวิชาการสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 46 (7th IASCBC & AAT46) เปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนและยกระดับองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์กายวิภาคและชีววิทยาของเซลล์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 10 สาขาวิชา กับเครือข่ายนักวิจัยจากนานาชาติ วิทยาศาสตร์กายวิภาคและชีววิทยาของเซลล์เป็นหนึ่งสาขาที่เก่าแก่ที่สุดในด้านการแพทย์ ซึ่งรวบรวมแก่นแท้และวิวัฒนาการของการดูแลสุขภาพและการแพทย์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์สู่ความเป็นไปได้อันไร้ขอบเขตในอนาคต ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา และรองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณปกรณ์

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ 7th IASCBC & AAT46 Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5

13 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5 เพื่อติวเข้มในการพัฒนาต่อยอดไอเดียสู่ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีของตนเองให้เฉียบคม พร้อมในการระดมเงินทุนในระดับ Series A และ Seed Funding และพร้อมออกสู่ตลาด ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยกับ Macquarie University ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

21 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร โอสถจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และนักวิเทศสัมพันธ์ จากงานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ และกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Macquarie University เครือรัฐออสเตรเลีย นำโดย Prof. Lucy Marshall, Executive Dean of the Faculty of Science and Engineering, Dr. Katrina Sealey, Faculty of Science and Engineering Executive Director และ Mr. Matt Monkhouse,

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยกับ Macquarie University ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมเสวนากับทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร

15 มีนาคม 2567 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้การต้อนรับคณะทำงานจากโครงการ U.S. Special Envoy Global Youth ประเทศสหรัฐอเมริกา และร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็น (Roundtable Discussion) ในประเด็นด้านการศึกษาในฐานะนักศึกษาสัญชาติอเมริกันและนักศึกษาผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนหรือศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ Ms. Abby Finkenauer ทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร ณ ห้องประชุม 530 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดล อลัน คอนสแตนซ์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วย นายเตชินท์ เจริญจิตรวัฒนา ศิษย์เก่าของหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (B.Sc. Program in Bioresources and Environmental

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมเสวนากับทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับ 14 นักศึกษา UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

13 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หนึ่งนิตย์ วัฒนวิเชียร รองศาสตราจารย์ ดร. รักชาติ ไตรผล และ อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มสาขาวิชา และเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ให้การต้อนรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 – 4 สังกัด UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) จำนวน 14 คน ในโอกาสเยือนคณะวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาดูงานด้านหลักสูตรการเรียนการสอน โครงการวิจัย และกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรภายใต้สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยนักศึกษาทั้ง 14 คนได้มีโอกาสเยี่ยมชมสิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมภายในห้องปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ของอาจารย์และนักวิจัยที่หลากหลาย อาทิ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ด้าน Advanced

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับ 14 นักศึกษา UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย)

14 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2567 “Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กล่าวรายงานความเป็นมา ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา เดินขบวนพาเหรดในธีม “ผ้าขาวม้า ผ้าครอบจักรวาล” ร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาฟุตบอล 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในพิธีเปิดวงโยธวาทิตบรรเลงเพลงนำขบวนพาเหรดของส่วนงานต่าง ๆ เดินเข้าสู่ลานพิธีตามลำดับ แล้วจึงเริ่มการประกวดขบวนพาเหรดในธีม “Fun with Thai Style

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย) Read More »

Activity Photo

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Special Seminar แลกเปลี่ยนเทคนิคการวิจัยโรคมะเร็ง และการพัฒนายากับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University

24 มกราคม 2567 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Special Seminar อัปเดตเทคนิคเชิงลึกในการทำวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการพัฒนายารักษา โดยได้รับเกียรติจาก Professor Seiji Okada และ Associate Professor Hiroki Goto 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ ณ ห้อง B301 อาคารชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดย Professor Seiji Okada จาก Division of Hematopoiesis, Joint Research Center for Human Retrovirus Infection, and Graduate School of Medical Sciences, Kumamoto University

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Special Seminar แลกเปลี่ยนเทคนิคการวิจัยโรคมะเร็ง และการพัฒนายากับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดค่ายทักษะวิทยาศาสตร์ ปั้นนักวิทยาศาสตร์พลเมือง นำความรู้วิทย์แก้ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

13 – 15 มกราคม 2567 หลักสูตรนานาชาติ สาขาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (Bioresources and Environmental Biology) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ “พลังงานและสิ่งแวดล้อม” เปิดโลกการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมเสริมทักษะนักวิทยาศาสตร์พลเมืองให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกว่า 100 คน ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม และอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รักษาการหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับประธาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรนานาชาติทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อาจารย์ ดร.พหล โกสิยจินดา, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล, รองศาสตราจารย์ ดร.พรินท์พิดา สนธิพันธ์, อาจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดค่ายทักษะวิทยาศาสตร์ ปั้นนักวิทยาศาสตร์พลเมือง นำความรู้วิทย์แก้ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Plant Omics for a resilient and sustainable planet”

12 ธันวาคม 2566  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Dr. Ting-Ying Wu จาก Institute of Plant and Microbial Biology, Academia Sinica ของไต้หวัน Dr. MIng-Jung Liu จาก Agricultural Biotechnology Research Center,  Academia Sinica ของไต้หวัน รศ. ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล และอ. ดร.เนติยา การะเกตุ จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง Plant Omics for a resilient and

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Plant Omics for a resilient and sustainable planet” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง

21 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong เชิญ 3 วิทยากร ผู้มีบทบาทในการผลักดันระบบนิเวศผู้ประกอบการเริ่มต้น หรือ Startup ในมหาวิทยาลัย และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล คุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน Founder, SEA Bridge และคุณพนากร เดชธำรงวัฒน์ Head of Investment Promotion, Invest HK บรรยายเกี่ยวกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง โอกาสของ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Merck ร่วมเสริมความแข็งแกร่งในความร่วมมือกันในอนาคต

18 ธันวามคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะกรรมการโครงการ SPACE-F ผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Chris Aurand, Open Innovation Lead และคุณอนุสรา จิตราธนวัฒน์ Government Affair จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และทีมงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก บริษัท เมอร์ค จำกัด นำทีมโดย Dr. Lysander Chrisstoffels Head of Science and Lab Solutions Commercial APAC, Mr. Seoc-Kyu Park Head of Science

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Merck ร่วมเสริมความแข็งแกร่งในความร่วมมือกันในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับผู้แทนจาก Qingdao University of Science and Technology (QUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ณ ม.มหิดล ศาลายา

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำทีมโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี และศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Qingdao University of Science and Technology: QUST) นำโดย Prof. Shen Wenqing, Deputy Secretary of the Party Committee Prof. Zhang Shuhai, Dean of International College Prof. Yan Yehai,

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับผู้แทนจาก Qingdao University of Science and Technology (QUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา”เปิดตัว 2 นักวิจัย ม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ผู้ได้รับคัดเลือกไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา

24 พฤศจิกายน 2566 เปิดตัว 2 นักวิจัยไทย นางสาวอัจฉราภรณ์ ผักหวาน นักวิจัยกลุ่มวิจัยรังสีคอสมิกและอนุภาคพลังงานสูง มหาวิทยาลัยมหิดล และ เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์และนักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนนักวิจัยไทยผู้ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา ในงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา” ตามความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด ภายใต้พระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารพระจอมเกล้า (ถนนโยธี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม งานแถลงข่าวในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล หัวหน้าโครงการความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด, เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์และนักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา”เปิดตัว 2 นักวิจัย ม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ผู้ได้รับคัดเลือกไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย หารือสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย

2 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรคู อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ และหลักสูตรคณิตศาสตร์ประกันภัย (นานาชาติ) ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซียที่ให้บริการด้านการศึกษาและนวัตกรรม ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ตั้งอยู่ในรัฐเปรัค มีวิทยาเขตครอบคลุม 34 แห่ง วิทยาลัยการศึกษา 4 แห่ง คณะต่างๆ จำนวน 14 คณะ รวมไปถึงศูนย์การศึกษา 9 แห่ง ทั่วประเทศมาเลเซีย คณะผู้แทนจาก UiTM นำโดย Associate Professor Dr. Norhafizah Abdul Rahman หัวหน้าภาควิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) วิทยาลัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย หารือสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เชิญกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ หารือโอกาสสร้างความร่วมมือ เชื่อมโยงงานวิจัย ยกระดับเศรษฐกิจไทยในเวทีนานาชาติ

23 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก คุณมารินี สุวรรณโมลี รองอธิบดีกรมยุโรป และผู้ติดตามมาบรรยายเกี่ยวกับนโยบายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ของกรมยุโรป พร้อมหารือความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 หน่วยงาน ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กำจร มนุญปิจุ (K101)ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร กรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าภาควิชา กลุ่มสาขาวิชา และสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับและฟังการบรรยาย ก่อนหารือถึงโอกาสในการสร้างความร่วมมือเพื่อยกระดับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทยสู่เวทีโลก ผ่านการเชื่อมโยงงานวิจัยกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตามความเชี่ยวชาญของอาจารย์นักวิจัยในคณะวิทยาศาสตร์ อาทิ วิทยาศาสตร์อวกาศ เคมี วัสดุ ชีวเภสัชภัณฑ์ อาหารและการเกษตร ซึ่งมีความโดดเด่นในระดับนานาชาติ และต่อยอดความร่วมมือเดิมด้านการศึกษาวิจัยที่คณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล มีอยู่กับหน่วยงานในประเทศในกลุ่มยุโรป รวมถึงมองหาโอกาสในการพัฒนาการศึกษาด้วยการขยายความร่วมมือผ่านโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีมุมมองกว้างไกล ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมให้มีคุณภาพโดยมีวิทยาศาสตร์เป็นตัวนำ และช่วยขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายประเทศไทย 4.0

คณะวิทย์ ม.มหิดล เชิญกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ หารือโอกาสสร้างความร่วมมือ เชื่อมโยงงานวิจัย ยกระดับเศรษฐกิจไทยในเวทีนานาชาติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี

18 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ Osaka University เปิดตัว Osaka – Mahidol International Office ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดน ความร่วมมือนี้ไม่เพียงบ่งบอกถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเป็นพันธมิตรอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี แต่ยังปูทางไปสู่การขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านการศึกษาและการวิจัยที่ก้าวล้ำอีกด้วยโดยในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร พร้อมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และ Osaka University นำโดย Professor Tanaka

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ iNT ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารขึ้นเวที SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดล้ำในงาน Techsauce Global Summit 2023

16 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ หรือ Incubator Program ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 4 เปิดประตูพบปะนักลงทุน ผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน FoodTech และขึ้นนำเสนอผลงานบนเวที ‘SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day’ โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดสร้างสรรค์ในงาน Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการ และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนำโดย

คณะวิทย์ iNT ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารขึ้นเวที SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดล้ำในงาน Techsauce Global Summit 2023 Read More »