คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก

          19 พฤษภาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยนางชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา และบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย จัดโดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ตามที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี และปฏิบัติตามนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนายั่งยืน (Sustainable University) โดยมีกรอบการดำเนินงานอยู่ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ ลานด้านหน้าหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ  ภาพข่าวโดย: ว่าที่ร้อยตรีภัทรพล  ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง วันที่ 19 พฤษภาคม 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 พร้อมเปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 3

            วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings ในการนี้รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา กล่าวต้อนรับผู้เข้าสัมภาษณ์พร้อมชี้แจงข้อมูลด้านการเรียนการสอนในคณะวิทยาศาสตร์ ทุนการศึกษา รวมทั้งข้อปฏิบัติและการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์ โดยร่วมรับฟังการเข้าสัมภาษณ์ สุดท้ายนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมภาษณ์ถาม – ตอบทุกข้อสงสัย ซึ่งการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 นี้ จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกได้ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ผ่านทาง https://tcas.mahidol.ac.th หรือเว็บไซต์ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 พร้อมเปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 3 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน”

            21 เมษายน 2564 เวลา 13:30-15:00น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยได้รับเกียรติจาก ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ หรือหมออิ๊ก ผู้ก่อตั้ง OOCA Application เป็นวิทยากร โดยมีอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมเปิดประสบการณ์เรื่องสุขภาพจิตที่เจอมาตลอดตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน แบ่งปันการปรับเปลี่ยนมุมมอง mindset เมื่อเจอปัญหาในชีวิต พร้อมแนะนำวิธีจัดการอารมณ์ตนเอง การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อีกทั้งให้กำลังใจกับทุกท่านที่มีปัญหาสุขภาพจิตมาร่วมเปิดใจในการให้โอกาสตนเองและเชิญชวนเข้ารับบริการสุขภาพใจ พร้อมเล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้าง OOCA Application ช่องทางการปรึกษาสุขภาพใจ ที่สามารถปรึกษาปัญหาคาใจกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากที่บ้านได้อย่างสะดวกสบาย และแนะนำช่องทางดี ๆ ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล โดย OOCA ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดโครงการ “Wall of

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564”

         9 เมษายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564” อีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่ชาวคณะ ฯ ร่วมใจบริจาคสิ่งของเพื่อแบ่งปันความสุขให้แก่ผู้อื่น ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ นำทีมเข้ามอบสิ่งของ ณ ชุมชมซอยสวนเงิน แขวงทุ่งพญาไท และได้ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูป พร้อมไหว้ขอพรผู้สูงอายุ หลังจากนั้น ได้เดินทางไปมอบสิ่งของให้แก่คนพิการ เด็กกำพร้า ผู้ด้อยโอกาส และผู้ต้องขังที่พ้นโทษ ณ มูลนิธิหลวงตาน้อย อำเภอคลองโยง จังหวัดนครปฐม และสุดท้ายนี้ได้ร่วมบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ชายแดนแม่ฮ่องสอน ผ่านกลุ่มนักศึกษาชาวเมียนมาร์ที่ศึกษาอยู่ในคณะ ฯ นับเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่รับเทศกาลสงกรานต์ที่ชาวคณะ ฯ ร่วมมือ ร่วมใจจัดขึ้น เขียนข่าว : น.ส.จิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564” Read More »

12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย

         5 เมษายน 2564 ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ ฯ 6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จับมือ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( อว. ) เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้าง “ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย” พิธีเปิดได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( อว. ) กล่าวแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานในการลงนาม            ในนามมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย Read More »

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking”

           สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking” ในวันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทางช่องทาง Online Facebook Live ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนา โดยในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.อรภัค เรี่ยมทอง ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ปี 3

          25 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เข้าร่วมพิธีเปิดตัวโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ในการนี้รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในนามตัวแทนกลุ่มคณะในวิทยาเขตพญาไท โดยภายในงานมีพิธีรับมอบของที่ระลึกเป็นต้นกล้วยไม้ฟาแลนด์นอปซิสแคระและพันธุ์ไม้พร้อมถ่ายภาพร่วมกัน ณ หอประชุมราชพฤกษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล          โครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก เป็นแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2563 – 2566 โดยเป็นหนึ่งในแผนการดำเนินงานคือการปรับปรุงระบบภูมิทัศน์ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ปี 3 Read More »

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จากมหาวิทยาลัยมหิดล

24 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาคุณภาพหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ส่งหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ) ภาควิชาสรีรวิทยา รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA รูปแบบ 2.0 (MU AUN-QA Assessment 2.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 โดยมี รองศาสตราจารย์ ชวลิต วงษ์เอก เป็นประธานตรวจประเมินหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) ผ่านระบบออนไลน์ CISCO Webex Meeting และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรลัชชา ศิวรักษ์ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ) ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 34

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จากมหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563

         22 มีนาคม 2564 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติและเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท แก่ นายกช อามระดิษฐ์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (นานาชาติ) ในโอกาสได้รับรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563 ประเภทนักศึกษาผลงานวิจัยตีพิมพ์ดีเด่น ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2563 ในหัวข้องานวิจัยเรื่อง Layer-by-Layer spray coating of stacked perovskite absorber for perovskite solar cell with better performance and stability under humid environment. ที่ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ เป็นชื่อแรก ในวารสาร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ หารือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือพัฒนางานวิจัยด้าน Drug Discovery

15 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาชีวเคมี ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) และหัวหน้าหน่วยสัตว์ทดลอง พร้อมคณาจารย์จากภาควิชาและกลุ่มสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงหัวหน้างานวิจัย ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม หัวหน้าภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม, เภสัชวินิจฉัย, เภสัชพฤกษศาสตร์, จุลชีววิทยา, สรีรวิทยา และชีวเคมี พร้อมคณาจารย์ รวม 14 ท่าน หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการวิจัยโครงการ Reinventing University: Drug Discovery ณ ห้องประชุม K101 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

คณะวิทยาศาสตร์ หารือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือพัฒนางานวิจัยด้าน Drug Discovery Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ สกสว. แลกเปลี่ยนการดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารภายในสำนักงานสู่องค์กรขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเต็มรูปแบบ

                12 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ และ คุณวรัษยา สุนทรศารทูล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล พร้อมด้วยหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่จากงานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ งานพันธกิจพิเศษ และงานวิจัย ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ รองผู้อำนวยการด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร รองศาสตราจารย์ ดร.ชินรักษ์ เธียรพงษ์ รองผู้อำนวยการภารกิจเทคโนโลยีดิจิทัล และบุคลากรจำนวนกว่า 20 คน ก่อนนำเสนอระบบสารสนเทศของคณะวิทยาศาสตร์ 2 ระบบ ได้แก่ “ Turnitin” ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ออนไลน์และ Back office ระบบที่ช่วยจัดการเนื้อหา ข่าวสาร เงื่อนไขต่าง ๆ จัดการคำถาม Feedback รวมถึงรายงานต่าง ๆ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ สกสว. แลกเปลี่ยนการดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารภายในสำนักงานสู่องค์กรขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเต็มรูปแบบ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมป่าไม้ แสดงความยินดีและมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” รุ่นที่ 1

5 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ผู้แทนอธิบดีกรมป่าไม้ ดร.คงศักดิ์ มีแก้ว ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการจัดการป่าไม้ พร้อมด้วยวิทยากรโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรรุกขกรปฏิบัติการ ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ผ่านการอบรม ทั้ง 13 คน ในหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” รุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่ผสมผสานระหว่างองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการดูแลต้นไม้ ประกอบกับทักษะการปีนและปฏิบัติงานบนต้นไม้ ในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตร โดยร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 บริเวณสวนป่าคณะวิทยาศาสตร์ พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่อายุราว 50 ปี ที่ปลูกไม้ต้นนานาชนิดมากกว่า 1,800 ต้น 73 ชนิดใน 30 วงศ์ ณ ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นห้องปฏิบัติการมีชีวิตและสถานที่ฝึกปฏิบัติภาคสนามของผู้เข้าร่วมอบรมตลอด 80 ชั่วโมง ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมป่าไม้ แสดงความยินดีและมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” รุ่นที่ 1 Read More »