logoSC

Mahidol Science Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง

21 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong เชิญ 3 วิทยากร ผู้มีบทบาทในการผลักดันระบบนิเวศผู้ประกอบการเริ่มต้น หรือ Startup ในมหาวิทยาลัย และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล คุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน Founder, SEA Bridge และคุณพนากร เดชธำรงวัฒน์ Head of Investment Promotion, Invest HK บรรยายเกี่ยวกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง โอกาสของ Startup ไทยในการแสวงหาความร่วมมือ และแหล่งทุนในการเร่งการเติบโตของธุรกิจ ณ SPACE-F อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 6 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะกรรมการโครงการ SPACE-F และผู้บริหารสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายระบบนิเวศนวัตกรรมและผู้ประกอบการ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ Dr. Chris Aurand, Open Innovation Lead และคุณอนุสรา จิตราธนวัฒน์ Government Affair จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ Startup ด้านเทคโนโลยีอาหาร สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ที่ก่อตั้งโดยอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 12 ทีม เข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ และแลกเปลี่ยนกับวิทยากรทั้ง 3 ท่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างโอกาสในการขยายตลาดและจัดตั้งบริษัทที่ฮ่องกง

ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ Startup ที่เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานให้แก่ผู้เข้าร่วมงานรับฟังอีกด้วย โดยทีม Startup ที่ก่อตั้งอาจารย์และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 3 ทีม ได้แก่ บริษัท เซโนสติกส์ จำกัด Startup ด้านสุขภาพ ผู้พัฒนาชุดตรวจโควิด – 19 แบบเร็วด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี และชุดตรวจทางการแพทย์ บริษัทแอดวานซ์กรีนฟาร์ม จำกัด Startup ด้านเทคโนโลยีอาหาร ศิษย์เก่าโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 2 ผู้พัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและจำหน่าย ผำ หรือไข่น้ำ พืชจิ๋วที่อุดมไปด้วยสารอาหารและช่วยดูดซับคาร์บอนได้มหาศาล และบริษัททีนิตี้ทีม จำกัด Startup ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ผู้พัฒนานวัตกรรมการแยกเส้นใยสับปะรด เส้นใยธรรมชาติที่มีศักยภาพสูง ในการนำมาใช้ในอุตสาหกรรม และการจัดการของเหลืองทิ้งจากแปลงสับปะรดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ร่วมนำเสนอผลงานในครั้งนี้ด้วย

ภาพข่าว: https://science.mahidol.ac.th/news/dec66-21