logoSC

Mahidol Science Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือระหว่าง “PTT Innovation Institute x Mahidol Science” ครั้งที่ 2 เปิดเวทีนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนมุมมองด้านงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน ปั้นงานวิจัยเชิงพาณิชย์ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน

21 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันนวัตกรรม ปตท. หรือ (PTT Inl) จัดกิจกรรมหารือความร่วมมือ “PTT Innovation Institute x Mahidol Science” ครั้งที่ 2 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง 2 สถาบัน เปิดโอกาสให้อาจารย์และนักวิจัยภายในมหาวิทยาลัยได้นำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนมุมมองด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ ร่วมกับภาคเอกชน ต่อยอดความร่วมมือไปสู่การทำวิจัยร่วม การจ้างวิจัย การทำบริการวิชาการ รวมไปถึงการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ MOU กันในอนาคต รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การเกิดนวัตกรรม ไปจนถึงการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน ผลักดันงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทยและระดับสากล

กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ดร.วิวรรณ ธรรมมงคล Vice President, Biotechnology and Material Technology Research Department สถาบันนวัตกรรม ปตท. พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์ วราภรณ์ รองคณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี รวมถึงผู้อำนวยการศูนย์วิจัย หน่วยวิจัย หัวหน้าภาควิชา และกลุ่มสาขาวิชาต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมนำเสนองานวิจัยและหารือกับทีมนักวิจัยจากสถาบันนวัตกรรม ปตท. ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กำจร มนุญปิจุ (K101) และ K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

ภายในงาน รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี ได้กล่าวต้อนรับผู้บริหารและนักวิจัยจากสถาบันนวัตกรรม ปตท. จากนั้น ดร.วิวรรณ ธรรมมงคล ได้บรรยายเกี่ยวกับเป้าหมายและภารกิจของสถาบันนวัตกรรม ปตท. ก่อนจะเป็นการแนะนำ 3 กลุ่มงานภายใต้สถาบันฯ ที่มาร่วมหารือความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในครั้งนี้ ได้แก่ 1) Biotechnology โดย คุณสุทธิพงศ์ ธัญญะพิเศษศักดิ์ 2) Healthcare Technology Biotechnology โดย คุณพัชรีพร สินธูระหัฐ 3) Medical device and supplies technology โดย ดร.นรินทร์ กาบบัวทอง ต่อด้วยการบรรยายเกี่ยวกับการสนับสนุนการทำงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา การทำ Tech Transfer และ Startup ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์

จากนั้นจึงเป็นการนำเสนองานวิจัยจากภาควิชา กลุ่มสาขาวิชา ศูนย์วิจัย และหน่วยวิจัยภายใต้คณะวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญงานวิจัยด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ศูนย์ Center of Excellence on Medical Biotechnology (CEMB) ศูนย์ Advanced Diagnosis Development Center (ADDC) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) หน่วยวิจัยเทคโนโลยีโปรตีนและเอนไซม์ หน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) หน่วยสัตว์ทดลอง (Center of Animal Facility, CAF) ภาควิชาเคมี ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาสรีรวิทยา ภาควิชาพยาธิชีววิทยา ภาควิชาเภสัชวิทยา ภาควิชาพยาธิชีววิทยา ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ ซึ่งตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนในประเด็นต่าง ๆ เช่น Drug Discovery, Natural Extracts, Medical Devices, Biotechnology, Yeast Technology และ Future Food

ก่อนปิดท้ายด้วยการเยี่ยมชมหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) โดยมี รศ. ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารีย์ หัวหน้าหน่วย MU-OU:CRC นำเยี่ยมชม และต่อด้วยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (Excellent Center for Drug Discovery, ECDD) โดยมี ผศ. ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ ECDD นำเยี่ยมชม

ภาพข่าว: https://science.mahidol.ac.th/news/mar66-21