logoSC

Mahidol Science Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย

29 กันยายน 2565 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมพันธมิตรภาคธุรกิจ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จํากัด เปิดเวทีนำเสนอนวัตกรรมอาหารจาก 7 ทีมฟู้ดเทคสตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech ณ ห้อง Ballroom 2-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ในโอกาสนี้ นายวาลเดอมาร์ ดูบันยอฟสกี้ (Your Excellency, Mr. Waldemar Dubaniowski) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโปแลนด์ประจำประเทศไทย, ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA, คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานและกรรมการบริหารบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานและกรรมการบริหารบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ กรรมการบริหารบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จํากัด และมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT พร้อมด้วย ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ร่วมเปิดงานและชมการนำเสนอนวัตกรรมอาหารของสตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 3

โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ และ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน กล่าวเปิดงาน ก่อนจะเป็นการนำเสนอนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์โดยสตาร์ทอัพทั้ง 7 ทีม ได้แก่

1. Balance Corp – หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล ขนมขบเคี้ยวที่ได้มาจากส่วนผสมจากธรรมชาติทั้งหมด ที่ให้วิตามินและแร่ธาตุ ที่คิดมาเพื่อตอบโจทย์ life style ของคนรุ่นใหม่

2. PetDynamic – แพลตฟอร์มที่ช่วยให้คนรักสัตว์สามารถดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงแสนรักได้มากขึ้นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

3. Kokoonic – ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่ออร์แกนิค ที่มีโปรตีนสูงถึง 63-66.8% ทั้งยังอุดมไปด้วยโภชนาการและปลอดสารเคมี

4. Phagos – ทางเลือกใหม่ทดแทนยาปฏิชีวนะโดยการสร้างแบคเทอริโอเฟจ ศัตรูตามธรรมชาติของแบคทีเรียที่ปรับแต่งได้

5. Tasted Better – แป้งลิขสิทธิ์เฉพาะที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และปราศจากน้ำตาล เพื่อสุขภาพที่ดี

6. Muu – ผลิตภัณฑ์นมโดยปลอดจากสัตว์ ผลิตจากโพรลีน ที่มีฟังก์ชันและรสชาติเหมือนนมวัว

7. POWCO – ผลิตภัณฑ์โภชนาการเจลมะพร้าวสดพร้อมดื่มจากงานวิจัยเพื่อนักกีฬาและกลุ่มผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย

จากนั้นจึงเป็นการกล่าวปิดงานโดย คุณธีรพงศ์ จันศิริ และ คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ต่อด้วยกิจกรรม Networking เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับสตาร์ทอัพในการพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต

ในยุคของนวัตกรรมเปิดที่ช่วยเสริมสร้างให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเกิดร่วมมือกันมากขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ นอกจากจะร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและระบบนิเวศด้านอาหารในอนาคตของประเทศไทยผ่านโครงการ SPACE-F มาตลอด 3 รุ่น ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์การอาหาร โภชนาการ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแล้ว

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย สถาบันเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พยายามและทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเหล่านี้ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เปิดตัวโครงการเตรียมพร้อมก่อนเข้าร่วมการบ่มเพาะสำหรับ SPACE-F ครั้งที่ 1 หรือ Pre-Incubation for SPACE-F เพื่อสำรวจ และทำการบ่มเพาะนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่วิจัยที่มีความสามารถจากมหาวิทยาลัยมหิดล เสริมศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการให้พร้อมและเหมาะสมกับการสมัครโปรแกรม SPACE-F Batch4 ที่จะประกาศรับสมัครในเดือนพฤศจิกายนนี้อีกด้วย

ภาพข่าว: https://science.mahidol.ac.th/news/sep65-29