ระหว่างวันที่ 22 ถึง 25 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน), มหาวิทยาลัยโอซาก้า (Osaka University) และสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนารา (NAIST) จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “Protein Biochemistry and Biotechnology” และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Protein Structure Determination by X-ray Crystallography” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เกี่ยวกับผลการวิจัย ไปจนถึงเป็นการสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานวิจัยให้เกิดขึ้นระหว่างนักวิจัย สถาบันการศึกษาตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในระดับชาติและนานาชาติ
ทั้งนี้ การจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการและสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้อยู่ในกรอบของการพัฒนาโครงการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโปรตีนเอกซเรย์คริสตัลโลกราฟีอย่างครบวงจร ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ 2566 ให้กับมหาวิทยาลัยในกลุ่มการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research) เพื่อเป็นการพัฒนาโครงการและขับเคลื่อนความร่วมมือกับหน่วยงานระดับนานาชาติผ่านกลไก Visiting Professor ร่วมกับมหาวิทยาลัยไทยในกลุ่มการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก ที่มากกว่า 2 สถาบันขึ้นไป
สำหรับการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ในวันที่ 22 มกราคม 2567 ได้มีผู้เชี่ยวชาญจาก 5 สถาบัน มาร่วมนำเสนอและอภิปรายผลการวิจัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Protein Biochemistry and Biotechnology ทั้งหมด 9 หัวข้อ ได้แก่
1. Versatility of MarR domain in the regulation of phenolic compound utilization
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา จากมหาวิทยาลัยมหิดล
2. Laboratory evolution as a foundational tool for protein engineering
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤพัฒน์ หงษ์ดิลกกุล จากมหาวิทยาลัยมหิดล
3. Regulation of photosynthesis under fluctuating light conditions
โดย Prof. Dr. Genji Kurisu จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า
4. Structural analysis of the flagella motor
โดย Prof. Dr. Takayuki Kato จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า
5. Frontiers of structural biology for drug design
โดย Assoc. Prof. Dr. Sachiko Toma-Fukai จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนารา (NAIST)
6. Structural based design approach to overcome antifolate resistant malaria – the story of P218
โดย ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC-NSTDA)
7. Discovery and engineering of enzymes from environmental metagenomes
โดย ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC-NSTDA)
8. Structure and function of chitin processing enzymes and chitin uptake channels from marine Vibrio species
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิภา สุจินต์ จากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)
9. Where did we come from? Experimental insights into eukaryogenesis
โดย Prof. Dr. Robert Charles Robinson จากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)
ซึ่งในงานนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มาให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาที่เข้าร่วมงานกว่า 100 คน จากหลากหลายสถาบันวิจัยและบริษัทเอกชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ต่อมาในวันที่ 23 – 25 มกราคม 2567 ได้มีจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการต่อเนื่องในเรื่อง “Protein Structure Determination by X-ray Crystallography โดยมีผู้เข้าร่วม 40 คน ซึ่งมีรายละเอียดหัวข้อการปฏิบัติการ ในแต่ละวันดังต่อไปนี้
วันที่ 23 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข และห้อง MDL4 มีการปฏิบัติการทั้งหมด 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ Protein structures and potential applications, X-ray sources and detectors, Protein crystallization และ Setting up crystallization trials
วันที่ 24 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข และห้อง K414, K418 มีการปฏิบัติการทั้งหมด 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ Basics of X-ray crystallography, Data collection strategies, Data processing and reduction, Phasing methods และ Crystal harvesting and data collection
และในวันที่ 25 มกราคม 2567 ณ ห้อง P114 ปิดท้ายด้วย 5 หัวข้อหลัก เพื่อเป็นการสรุปผลของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการจากตลอดทั้ง 3 วัน ซึ่งประกอบไปด้วย Basics of electron microscopy, Protein structure databases, Model building and refinement (Hands-on computer tutorial), Visualization and analysis of protein structures (Hands-on computer tutorial) และ Protein structure prediction (Hands-on computer tutorial)