logoSC

Mahidol Science Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “a CIF Initiative in Drug Discovery Platform”

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum โดยเป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง a CIF Initiative in Drug Discovery Platform โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ในเครื่องมือ Single Crystal X-ray Diffractometer system  คุณสันติ ขันทอง บริษัท แบงเทรดดิ้ง 1992 จำกัด ให้ความรู้ในเครื่องมือ Multimode Plate Reader คุณฤทัยทิพย์ ติระตระกูลวิชยา DKSH (Thailand) Limited ให้ความรู้ในเครื่องมือ Isothermal Titration Calorimeter (ITC)  และคุณศันสนีย์ อยู่จันทร์  บริษัท แบงเทรดดิ้ง 1992 จำกัด  ให้ความรู้ในเครื่องมือ Biacore  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตรูลเกตุ หัวหน้าหน่วยวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ และคุณสิรภพ วงษ์เนียม หัวหน้าหน่วยเครื่องมือกลาง เป็นผู้ดำเนินรายการ และศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวเปิดกิจกรรมการเสวนาในครั้งนี้  นอกจากนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทจัดบูธกิจกรรมแนะนำเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 เครื่อง

การจัดกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ และระบบประชุมออนไลน์ WebEx โดยมีผู้เข้าร่วมฟังบรรยายในรูปแบบ Online และ On-site เป็นจำนวนกว่า 46 คน การเสวนาในครั้งนี้ทำให้นักวิจัยและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ ได้มีโอกาสทำความรู้จักเครื่องมือวิทยาศาสตร์ 4 เครื่อง ที่ทางคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Reinventing University ด้าน Drug Discovery  ในปีงบประมาณ 2565 ได้แก่ 1. เครื่องวัดปฏิกิริยาบนไมโครเพลทชนิดมัลติโหมด (Multimode Plate Reader) 2.เครื่องวัดและวิเคราะห์การจับกันของโมเลกุลด้วยเทคนิคการวัดการเปลี่ยนแปลงความร้อนระหว่างโมเลกุล (Isothermal Titration Calorimeter (ITC)) 3. เครื่องวิเคราะห์การจับกันของสารชีวโมเลกุล (Biacore) 4. เครื่องวิเคราะห์ผลึกเดี่ยวด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (Single Crystal X-ray Diffractometer system (SCXRD)) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในด้านเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยของคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลที่สามารถสนับสนุนการทำงานวิจัยด้าน Drug Discovery ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ที่ต้องการทำวิจัยหรือต้องการเขียนขอทุนวิจัยได้เล็งเห็นถึงเครื่องมือที่สามารถช่วยสนับสนุนในการทำวิจัยในด้านอื่น ๆ ด้วย

ภาพข่าว: https://science.mahidol.ac.th/news/aug65-15_02