logoSC

Mahidol Science Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การพัฒนาวัสดุเพอรอฟสไกต์แบบไร้สารตะกั่วเพื่อใช้เป็นวัสดุพลังงานหรือเซนเซอร์ทางการแพทย์

กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มาและความสำคัญ : เพอรอฟสไกต์เป็นวัสดุชนิดใหม่ที่สามารถนำมาผลิตเป็นวัสดุไวต่อแสงที่มีประสิทธิภาพสูง โดยสามารถผลิตจากสารละลาย ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำและยังสามารถปรับปรุงคุณสมบัติของเซลล์แสงอาทิตย์หรือเซนเซอร์ตรวจจับแสงได้ โดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสารละลายตั้งต้นเพื่อให้มีคุณสมบัติต่างๆ เช่น มีความโปร่งแสง เพื่อนำไปใช้เป็นกระจกหน้าต่างที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ อย่างไรก็ตามเพอร์รอฟสไกต์มีองค์ประกอบหลักเป็นตะกั่ว อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวคล้อมถ้ากำจัดไม่ถูกวิธีหลังหมดอายุการใช้งาน และไม่สามารถนำไปใช้เป็นเซนเซอร์ตรวจจับแสงทางการแพทย์ในร่างการคนได้ งานวิจัยนี้จึงพัฒนาเพอรอฟสไกต์แบบไร้สารตะกั่วและศึกษาคุณสมบัติเชิงลึก จนได้ขึ้นปกนิตยาสารระดับนานาชาติ Top10% ด้าน Electronic, Optical and Magnetic Materials เพอรอฟสไกต์แบบไร้สารตะกั่วมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อยอดเป็นวัสดุไวแสงสำหรับใช้ในทางการแพทย์
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา :
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ : สร้างแผ่นฟิล์มบางจากสารกึ่งตัวนำชนิดเพอรอฟสไกต์แบบไร้สารตะกั่วเพื่อใช้เป็นวัสดุพลังงานหรือเซนเซอร์ทางการแพทย์
แหล่งทุนสนับสนุน : ทุนอัจฉริภาพนักวิจัยรุ่นกลาง วช 2564
หน่วยงานที่ร่วมมือ : สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
ผู้มีส่วนได้เสีย : นักศึกษาระดับตรีโทเอกที่ได้ความรู้และผลงานจากการทำวิจัย นักวิชาการที่ได้เรียนรู้กระบวนการนี้จากผลงานตีพิพมพ์ และบริษัทเอกชนที่อาจสนใจในนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นในอนาคต
ระดับความร่วมมือ : ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ
ผลงานวิจัย :  Phase Evolution in Lead-Free Cs-Doped FASnI3 Hybrid Perovskites and Optical Properties ปีที่พิมพ์ (Year) 2021 ปีที่ (Volume) 125 ฉบับที่ (Number) – หน้า (Page) 16903 -16912

ข่าว “ผศ.ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ นักวิทย์ ม.มหิดล ทุนอัจฉริยภาพนักวิจัยรุ่นกลาง ปี 64 วช. วิจัยไฮเทค คิดค้นและพัฒนาประยุกต์ใช้วัสดุ “เพอรอฟสไกต์” ทำจอประสาทตาเทียมปลอดสารพิษ” ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่พบว่า สามารถเปลี่ยนแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อใช้ตรวจจับ หรือเป็นเซนเซอร์รับแสง เพื่อพัฒนาต่อเนื่องให้ส่งสัญญาณไปยังสมองได้”
1. LINE TODAY 3-8-64 [Link…]
2. สยามรัฐ 3-8-64 [Link…]
3. นิตยสารสาระวิทย์ 2-8-64 [Link…]
4. The Thaiger ประเทศไทย 2-8-64  [Link 1…] [Link 2…]
5. Health News Thailand 2-8-64 [Link…]
6. ThaiPR.NET 2-8-64  [Link…]
7. RYT9.COM 2-8-64 [Link…]
8. เมดิคอลโฟกัส 2-8-64 [Link 1…] [Link 2…]
9. บลูชิพ 2-8-64  [Link 1…] [Link 2…]
10. สวทช  [Link…]