Chemistry

Activity Photo

2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566

3 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 เปิดตัวผู้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย สาขาการแต่งตำรา สาขาการบริการ และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวถึงความเป็นมาของรางวัล และประกาศผลการตัดสินรางวัล ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยในปีนี้มีอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน ได้รับรางวัล ใน 2 สาขา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย ซึ่งมอบให้กับผู้ที่มีความคิดริเริ่มในการวิจัย เพื่อสนองความต้องการ  แก้ปัญหา  พัฒนา  หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ  ให้แก่สังคม  โดยเป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ จากผลงานวิจัยเรื่อง “Empowering the Fight Against […]

2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566 Read More »

Activity Photo

ภาควิชาเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการแข่งขันตอบปัญหาอัจฉริยภาพทางเคมีสำหรับเยาวชน (MU CHEM Contest) เปิดโอกาสนักเรียน ม.ปลาย ประลองความรู้เตรียมความพร้อมลงสนามสอบเข้ามหาวิทยาลัย

17 สิงหาคม 2567 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการแข่งขันตอบปัญหาอัจฉริยภาพทางเคมีสำหรับเยาวชน (MU CHEM Contest) เปิดโอกาสให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกว่า 1,500 คน ร่วมประลองความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเคมี และเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา การแข่งขันแบ่งออกเป็นรอบคัดเลือก ซึ่งเป็นการแข่งขันภาคทฤษฎีด้วยข้อสอบปรนัยแบบรายบุคคลในช่วงเช้า โดยคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1 – 50 เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเป็นสอบภาคปฏิบัติทางเคมีรูปแบบเดี่ยวในช่วงบ่าย โดยกรรมการจะคิดคะแนนปฏิบัติการจากความถูกต้อง ความแม่นยำในการทำปฏิบัติการและการเขียนรายงานการปฏิบัติการ ในพิธีปิด ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและกิจการนักศึกษา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์ ผู้มีส่วนในการพัฒนาแบบทดสอบ ร่วมงานและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขัน ณ อาคารบรรยายรวม L2 สำหรับผลการแข่งขัน นักเรียนผู้มีคะแนนรวมการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสูงสุดในการแข่งขัน 3 อันดับ นักเรียนผู้มีคะแนนรวมการสอบภาคทฤษฎี และนักเรียนผู้มีคะแนนรวมการสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติอันดับที่ 4

ภาควิชาเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการแข่งขันตอบปัญหาอัจฉริยภาพทางเคมีสำหรับเยาวชน (MU CHEM Contest) เปิดโอกาสนักเรียน ม.ปลาย ประลองความรู้เตรียมความพร้อมลงสนามสอบเข้ามหาวิทยาลัย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ และพันธมิตร จัดงานประชุมวิชาการ The 7th Asian Symposium on Emulsion Polymerization and Functional Polymeric Microspheres (ASEPFPM) 2024 เปิดโอกาสนักวิจัยทั่วภูมิภาคเอเชียแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพอลิเมอร์คอลลอยด์และการประยุกต์ใช้ ณ จังหวัดเชียงใหม่

20-22 มิถุนายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพันธมิตร จัดงานประชุมวิชาการ The 7th Asian Symposium on Emulsion Polymerization and Functional Polymeric Microspheres (ASEPFPM) 2024 เปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา เผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ทันสมัยในด้านพอลิเมอร์คอลลอยด์ อนุภาคระดับไมโครเมตรและนาโนเมตร รวมถึงสาขาที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ด้านต่าง ๆ อาทิ การแพทย์ อุตสาหกรรมอาหาร การเคลือบ และสี ณ โรงแรม แคนทารี ฮิลล์ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ โอภาประกาศิต จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ และพันธมิตร จัดงานประชุมวิชาการ The 7th Asian Symposium on Emulsion Polymerization and Functional Polymeric Microspheres (ASEPFPM) 2024 เปิดโอกาสนักวิจัยทั่วภูมิภาคเอเชียแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพอลิเมอร์คอลลอยด์และการประยุกต์ใช้ ณ จังหวัดเชียงใหม่ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาเอกจาก Sichuan University เรียนรู้การวิจัยวัสดุยางที่ไม่มีโปรตีนก่อภูมิแพ้ และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

24 – 28 มิถุนายน 2567 ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และนักวิจัยประจำกลุ่มวิจัยยาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและถ่ายทอดความรู้ด้านการวิจัยเทคโนโลยียางแก่ Mr. Kong Lingmin และ Mr. Zhang Junqi นักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาเอกจาก the College of Polymer Science and Engineering, Sichuan University สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การดูแลของ Professor Jinrong Wu ในโอกาสเข้าฝึกฝนและเรียนรู้การเตรียมยางที่ไม่มีโปรตีนก่อภูมิแพ้และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องปฏิบัติการ Rubber Research Group อาคารวิทยาศาสตร์ 2 ชั้น 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ ยังได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาเอกจาก Sichuan University เรียนรู้การวิจัยวัสดุยางที่ไม่มีโปรตีนก่อภูมิแพ้ และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำ ลดต้นทุนการผลิตพลังงาน คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

8 มีนาคม 2567 ศาสตราจารย์ ดร. ศิวพร มีจู สมิธ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 ในสาขาเคมี จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ที่มอบให้แก่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเทคโนโลยีของประเทศ จำนวน 200,000 บาท ด้วยโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำโดยใช้คลื่นไมโครเวฟเปรียบเทียบกับคลื่นอัลทราโซนิกส์ และเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรางวัลการศึกษาวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 30 ณ Crystal Hall โรงแรม The Athenee Bangkok พิธีมอบรางวัลในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้มอบทุนในพิธีมอบรางวัลและเงินทุนช่วยเหลือการวิจัยฯ ครั้งที่ 30 โดยมี ฯพณฯ นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มร. อาคิฮิโร นิคคาคุ ประธานบริษัทโทเรอินดัสตรีส์ ประเทศญี่ปุ่น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำ ลดต้นทุนการผลิตพลังงาน คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับผู้แทนจาก Qingdao University of Science and Technology (QUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ณ ม.มหิดล ศาลายา

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำทีมโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี และศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Qingdao University of Science and Technology: QUST) นำโดย Prof. Shen Wenqing, Deputy Secretary of the Party Committee Prof. Zhang Shuhai, Dean of International College Prof. Yan Yehai,

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับผู้แทนจาก Qingdao University of Science and Technology (QUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT ลงนามถ่ายทอด 2 เทคโนโลยีจากผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ และผลงาน ‘สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม’ แก่ภาคเอกชน

28 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิ ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย “กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด” ให้แก่ บริษัท ทีนิตี้ ทีม จำกัด และผลงาน “สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม” ให้แก่ บริษัท เอ็ม เคมิ จำกัด แถลงความสำเร็จของผลงานวิจัย 2 ผลงานจากคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งศักยภาพเป็นที่ยอมรับกับภาคเอกชนสู่การต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ สะท้อนความสำเร็จของการผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อํานวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ผู้คิดค้นผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา จริยาบูรณ์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT ลงนามถ่ายทอด 2 เทคโนโลยีจากผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ และผลงาน ‘สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม’ แก่ภาคเอกชน Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี”

15 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี” ถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์สู่ประชาชน โดยได้รับเกียรติจาก 2 อาจารย์ที่มีประสบการณ์วิจัยด้านการสังเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมดอท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพล อินสิน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าจากห้องปฏิบัติการของ ศาสตราจารย์มอนจี บาเวนดี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และรับชมทาง Facebook

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี” Read More »

Activity Photo

อาจารย์ภาควิชาเคมี วิจัยกระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด ลดการปล่อยคาร์บอน ต่อการยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2565

6 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2565 เปิดตัวผู้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำรา สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวถึงความเป็นมาของรางวัล และประกาศผลการตัดสินรางวัลโดยในปีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านพอลิเมอร์ โดยเฉพาะเส้นใยธรรมชาติและวัสดุ composite อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ซึ่งมอบให้กับผู้ที่มีผลงานประดิษฐ์คิดค้น ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ ที่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย หรือได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว จากผลงานเรื่อง ‘การพัฒนากระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด’ผลงานนี้เป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หากระบวนการใหม่ในการแยกเส้นใยจาก‘ใบ’ และ ‘ลำต้น’ หรือ ‘เหง้า’ สับปะรดที่เหลือทิ้งมาทำให้เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ตลอดจนทนอุณหภูมิได้สูงขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อทดแทนพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ตลอดจนอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร ปัจจุบัน

อาจารย์ภาควิชาเคมี วิจัยกระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด ลดการปล่อยคาร์บอน ต่อการยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี

18 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ Osaka University เปิดตัว Osaka – Mahidol International Office ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดน ความร่วมมือนี้ไม่เพียงบ่งบอกถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเป็นพันธมิตรอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี แต่ยังปูทางไปสู่การขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านการศึกษาและการวิจัยที่ก้าวล้ำอีกด้วยโดยในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร พร้อมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และ Osaka University นำโดย Professor Tanaka

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี Read More »

Activity Photo

2 อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล พัฒนาวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อพัฒนาสารต้นแบบยับยั้งมะเร็ง และศึกษาคุณสมบัติจุลินทรีย์กระตุ้นการเติบโตของพืช คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

10 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. ดรุณี สู้รักรัมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอรศิริ อินตรา อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ที่มอบให้แก่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 200,000 บาท โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้มอบทุนในพิธีมอบรางวัลและเงินทุนช่วยเหลือการวิจัยฯ ครั้งที่ 29 โดยมี ฯพณฯ นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มร. นิคคาคุ ประธานบริษัทโทเรอินดัสตรีส์ ประเทศญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประธานคณะกรรมการรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

2 อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล พัฒนาวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อพัฒนาสารต้นแบบยับยั้งมะเร็ง และศึกษาคุณสมบัติจุลินทรีย์กระตุ้นการเติบโตของพืช คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย Read More »

Activity photo

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2

13 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบประกาศนียบัตรแก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ตามกรอบ UKPSF ประเภท Senior Fellow และผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยในครั้งนี้มีคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ 13 ท่าน ได้รับประกาศนียบัตรผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลระดับที่ 2 ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง, อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา, อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์3. รองศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา, อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร, อาจารย์ประจำเภสัชวิทยา5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิสา ดำเนินสวัสดิ์, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา7.

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism เปิดโลกการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

31 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism แบบ Hybrid ซึ่งนับเป็นตอนที่ 2 ของเสวนาซีรีส์โนเบลประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการสร้างและประยุกต์ใช้ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.ณัฐวดี ปัญญาอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และ อาจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism เปิดโลกการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน Read More »

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »