Waste

Waste management

 

แบบฟอร์มส่งขยะสารเคมี/ขยะติดเชื้อ/ขยะพิษ / ขยะอันตราย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ขั้นตอนการจัดการขยะอันตราย
ขั้นตอนการจัดการขยะอันตราย (วิทยาเขตศาลายา)

 

 

ขั้นตอนการจัดการขยะอันตราย
ขั้นตอนการจัดการขยะอันตราย (วิทยาเขตพญาไท)

 

ขั้นตอนการจัดการขยะอันตราย
Hazardous Waste Disposal Guide (Salaya Campus)
(.pdf)

ขั้นตอนการจัดการขยะอันตราย
Hazardous Waste Disposal Guide (Phyathai Campus)
(.pdf)

 

 

ด้านการส่งเสริมความสะอาด
              คณะวิทยาศาสตร์ ได้จ้างเหมาบริการดูแลรักษาความสะอาดจากบริษัทรับจ้างเหมาบริการ  ซึงมีการประชุมรายงานการดำเนินงานประจำทุกเดือน โดยในการประชุมจะแจ้งสรุปผลการดำเนินงานจ้างเหมาบริการดูแลรักษาความสะอาด และรายงานปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน นอกจากนั้นคณะวิทยาศาสตร์ได้รณรงค์ให้ผู้มาใช้บริการโรงอาหาร คัดแยกภาชนะหลังรับประทานอาหาร  และการรณรงค์ไม่สวมเสื้อกราวน์หรือชุดในห้องปฏิบัติการเข้ามาในโรงอาหารและพื้นที่สาธารณะ เพื่อลดการปนเปื้อนจากสารพิษและจุลลินทรีย์จากห้องปฏิบัติการออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นต้น

ด้านการควบคุมวัตถุมีพิษและสารพิษ
ด้วยความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิทยาศาสตร์ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการความปลอดภัยทางเคมี เพื่อดำเนินการจัดการแยกสารเคมีตามประเภทของสารเคมีและรวบรวมส่งไปเก็บยังโรงเรือนพักขยะเคมีและเคมีอันตราย การจัดการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยบุคคลทั่วไป นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงาน  คณะวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการแยกขยะทั่วไป ขยะมีพิษ ขยะเคมี และขยะมูลฝอยติดเชื้อ จากการปฏิบัติงาน จากการวิจัย การเรียนการสอน
คณะวิทยาศาสตร์มีการดำเนินการจัดซื้อถังขยะแยกประเภทไว้ในห้องปฏิบัติการทดลอง/วิจัย ของภาควิชา/งาน ที่มีห้องปฏิบัติการในคณะวิทยาศาสตร์ โดยแยกเป็น ถังขยะเศษอาหาร ถังขยะรีไซเคิล ถังขยะอันตราย ถังขยะมีคม และถังขยะติดเชื้อ

แผนผังระบบการจัดการขยะชนิดต่างๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์

Recycling program for university waste

  Extensive


ขยะพวกน้ำมันพืชใช้แล้วจะนำส่งให้บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเป็นน้ำมันไบโอดีเซลต่อไป

ขยะทั่วไป 
1. ถังขยะบรรจุขยะปนเปื้อนอาหาร เช่น ถุงพลาสติกหรือกระดาษ กล่องโฟม ที่มีการปนเปื้อนอาหาร  จะแยกถังขยะบรรจุออกนอกห้องปฏิบัติการ ซึ่งวางทางเดินของชั้นและนำไปทิ้งช่วงเย็นทุกวัน

IMG_02281
ถังขยะบรรจุขยะปนเปื้อนเศษอาหาร

2. ถังขยะบรรจุขวดน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม จะแยกใส่อีกถังโดยมีฉลากติดให้เห็นชัดเจน และก่อนนำไปจำหน่ายกับผู้รับซื้อจะบีบให้มีขนาดเล็กลงเพื่อประหยัดปริมาณถุงดำที่ใช้บรรจุ

IMG_02321 ขวดพลาสติกน้ำดื่มกดแบน เคมี1
ถังขยะบรรจุขวดน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม ขวดที่ผ่านการบีบเพื่อลดขนาดก่อนนำไปบรรจุถุงดำ

3. ภายในโรงอาหารจะมีการตั้งถังขยะแยกประเภทต่างๆ ดังนี้

 

IMG_02321

การแยกขยะรีไซเคิลในถังขยะใส (โรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ พญาไท)


    - ถังขยะสีเขียว บรรจุขยะปนเปื้อนเศษอาหาร เช่น ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร

   - ถังขยะสีเหลือง บรรจุขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น ขวดพลาสติกหรือโลหะที่บรรจุน้ำหรือเครื่องดื่ม

   -  ถังขยะสีแดง บรรจุขยะอันตรายเฉพาะแบตเตอรี่มือถือ ถ่านไฟฉาย ตลับหมึกพิมพ์ ขวดน้ำยาลบคำผิด

ถังขยะสีแดง โรงอาหาร1

4.  ภาชนะบรรจุกล่องเครื่องดื่มที่ทำด้วยกระดาษแข็ง เช่น กล่องนม กล่องน้ำผลไม้


ภาชนะบรรจุกล่องเครื่องดื่มที่ทำด้วยกระดาษแข็ง

5. ถังขยะรอบอาคารเรียน  โดยทั่วไปจะมีถังขยะที่มีช่องทิ้งทรงสูง บรรจุภาชนะปนเปื้อนอาหาร ซึ่งจะมีการเก็บไปยังโรงพักขยะทุกวันในช่วงบ่ายและเย็น

DSC00611    DSC00612

Toxic waste recycling

ขยะอันตราย (hazardous waste) หมายถึง ของเสียใดๆ ที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ ได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ก่อให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งของเสียดังกล่าว    เกิดจากกิจกรรมในห้องปฏิบัติการของเสียอันตรายที่มักพบเสมอในห้องปฏิบัติการ ได้แก่

- ตัวทำละลาย (Solvent) ที่ใช้ในการทำความสะอาด การสกัด ทำปฏิกิริยา และกระบวนการอื่นๆ
- ตัวรีเอเจนต์ (Reagent) ที่ไม่ใช้แล้ว เสื่อมสภาพ หมดอายุ หรือถูกปนเปื้อน
- ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีทั้งที่ทราบและไม่ทราบองค์ประกอบที่แน่นอน
- วัตถุอื่นๆ ที่ถูกปนเปื้อน เช่น เครื่องแก้ว พลาสติก ถุงมือ กระดาษ ฯลฯ

CIMG6046_resize

ห้องขยะอันตราย  ภายในห้องขยะอันตรายของคณะวิทยาศาสตร์จะแบ่งย่อยอีกเป็น 3 ห้อง คือ
1. ห้องพักขยะสารเคมี (Chemical Waste Room) ซึ่งมีสารเคมีของเสียลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะรวมกัน ได้แก่ ติดไฟง่าย (flammable)  กัดกร่อน (corrosive)  ทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารอื่นๆ (oxidizing)  ระเบิดได้ (explosive)  ระคายเคือง (harmful)  เป็นพิษ (toxic)  และ ทำลายสิ่งแวดล้อม (dangerous for the environment)

ในแต่ละห้องปฏิบัติการที่มีสารเคมีของเสียมีภาชนะเก็บของเสียดังกล่าว โดยแบ่ง 7 ชนิด คือ
1. hydrocarbon  เป็นสารเคมีที่มี hydrogen และ carbon เป็นองค์ประกอบหลักในโมเลกุล รวมไปถึงสารใน functional group ต่างๆ ได้แก่  alkane, alkene, alcohol, ketone, ester, ether, น้ำมันเครื่อง, น้ำมันหล่อลื่น, สารเคมีที่มีสารประกอบอินทรีย์ของธาตุ nitrogen, sulfur, phosphorus และ oxygen  รวมถึง aromatic hydrocarbon เป็นสารในกลุ่มของ benzene และอนุพันธ์ของ benzene เช่น  xylene, toluene เป็นต้น
 2. halogenated solvent เป็นตัวทำละลายที่มีธาตุ halogen (chlorine, bromine, iodine, fluorine) เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล
3. heavy metal เป็นสารเคมีที่มีไอออนของโลหะหนักเป็นองค์ประกอบ
4. high toxic เป็นสารเคมีที่เป็นพิษสูงต่อสุขภาพ  ได้แก่  cyanide waste, chloroform, carbon tetrachloride, ethidium bromide, formaldehyde เป็นต้น
5. acid-base  เป็นสารเคมีที่ให้ค่า pH ดังนี้
- กรด (acid) ให้ค่า pH ต่ำกว่า 7 ได้แก่  กรดอินทรีย์และกรดอนินทรีย์
- ด่าง (base) ให้ค่า pH สูงกว่า 7 ได้แก่  ด่างอินทรีย์และด่างอนินทรีย์
6. solid  เป็นสารเคมีสถานะของแข็งในกลุ่มหมดอายุ และวัสดุปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ เช่น เศษแก้วที่ปนเปื้อนสารเคมี เป็นต้น
7. unknown  เป็นสารเคมีที่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทที่ 1-6 ได้แก่ สารเคมีที่เป็นชื่อทางการค้าหรืออื่นๆที่ไม่ทราบชื่อทางเคมี

เมื่อปริมาณของสารเคมีของเสียภายในคณะวิทยาศาสตร์มีมากพอได้ส่งให้บริษัท รีไซเคิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด นำไปกำจัดต่อไป

            หมายเหตุ  ทางบริษัท รีไซเคิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด มีถังพลาสติก (high density polyethylene, HDPE) ขนาดความจุ 20 ลิตร บริการสำหรับห้องปฏิบัติการใส่สารเคมีของเสียสถานะของเหลวที่มีปริมาณมาก เช่น สารเคมีของเสียประเภทตัวทำละลายอินทรีย์ ได้แก่ organic halogenated waste solvents, organic non-halogenated waste solvents หรือตัวทำละลายอินทรีย์อื่นๆ  เป็นต้น โดยกำหนดให้บรรจุไม่เกิน 2 ใน 3 ของขนาดความจุของถังพลาสติก

ภาชนะบรรจุสารเคมีของเหลว1
ถังพลาสติก (high density polyethylene, HDPE) ขนาดความจุ 20 ลิตร

2. ห้องพักขยะฆ่าเชื้อแล้ว (Autoclaved Waste Room) หมายถึง ห้องพักขยะอันตรายที่มีของเสียที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยวิธีนึ่งไอน้ำร้อนด้วยแรงดันสูง โดยคณะวิทยาศาสตร์ให้บริการถุงพลาสติกสีแดงบรรจุขยะฆ่าเชื้อแล้วและกล่องกระดาษแข็งสีแดงบรรจุขยะของมีคมหรือ tip พลาสติกที่ฆ่าเชื้อแล้วที่มีช่องใส่ให้เหมาะกับกับประเภท โดยที่ต้องผ่านเครื่อง autoclave ซึ่งแต่ละภาควิชา หน่วย และโครงการจะมีเครื่องฆ่าเชื้อประจำในห้องปฏิบัติการก่อนซึ่งต้องใส่ปริมาณขยะไม่เกิน 2 ใน 3 ของความสูงของถุง, มัดปากถุงให้แน่น และลำเลียงไปใส่ลงในถังพลาสติกสีแดงบรรจุขยะชนิดฆ่าเชื้อแล้ว และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จะมารับทุกวันจันทร์ และพฤหัส และนำไปกำจัดด้วยวิธีเผาที่อุณหภูมิสูง

CIMG6065_resize
CIMG6061_resize
ถุงพลาสติกสีแดงบรรจุขยะที่มีฉลากว่า “ขยะติดเชื้อ” (ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว) ถังพลาสติกสีแดงบรรจุขยะติดเชื้อ (ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว) ขนาดความจุ 240 ลิตร
 
CIMG6069_resize    CIMG6071_resize
กล่องกระดาษแข็งสีแดงบรรจุขยะของมีคมหรือ tip พลาสติกที่ติดเชื้อ  ขนาดความจุไม่เกิน 90 และ 450 มิลลิลิตร

                หมายเหตุ สำหรับขยะซากสัตว์ทดลอง เนื้อเยื่อ และสารคัดหลั่งทุกชนิดจากสัตว์ทดลอง จะต้องบรรจุในถุงพลาสติกและมัดปากถุงให้แน่น แล้วใส่ในถุงพลาสติกสีแดงที่เขียนบนถุงว่า “ขยะติดเชื้อ” นำส่งหน่วยสัตว์ทดลอง โดยแช่ในตู้แช่แข็งอุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส

3. ห้องพักขยะอันตรายจากชุมชน (Universal Waste Room) หมายถึง ห้องพักขยะอันตรายที่มีมาตรการการจัดการเป็นพิเศษ ได้แก่  ขยะอันตรายจำพวกแบตเตอร์รี่  ขยะอันตรายจำพวกสารกำจัดศัตรูพืช  ขยะอันตรายจำพวก Thermostats และ ขยะอันตรายจำพวกหลอดไฟฟ้าชนิดต่างๆ    (ตามนิยามของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม   ประเทศสหรัฐอเมริกา (US Environmental Protection Agency, US EPA  และคณะกรรมการพัฒนากฏหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาของไทยได้ถือนิยามตามด้วย)
ขยะอันตรายจากชุมชนนี้เมื่อมีปริมาณมากพอจะส่งให้กับกลุ่มงานของเสียอันตราย สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

  มีการบำบัดขยะมีพิษในบางหน่วยงาน 
- การจัดการสารเคมีชนิดกรดหรือด่างโดยทำให้เป็นกลางก่อนเทลงอ่างล้างเครื่องแก้ว (เฉพาะสารเคมีที่ไม่อันตรายระหว่างการทำให้เป็นกลาง)
- การทำปฏิกิริยาเคมีเพื่อทำให้สารเคมีบางชนิดที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรงให้เปลี่ยนเป็นสารชนิดที่ไม่มีกลิ่นและไม่เป็นอันตราย ก่อนนำเททิ้งในอ่างล้างเครื่องแก้ว

1. ห้องปฏิบัติการที่มีสารเคมีอันตราย - มีการแยกสารเคมีอันตรายใช้แล้วตามการเข้ากันได้ของสารเคมี

- สารเคมีของเสียอันตรายสถานะของแข็ง สารเคมีอันตรายสถานะของแข็งจะบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมโดยมีถุงซิปรองรับอีกชั้นหนึ่ง

- สำหรับของเหลวจะบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม เช่น การรองรับสารเคมีของเสียสถานะของเหลวระหว่างการใช้เครื่อง high performance liquid chromatography (HPLC)

- เศษแก้วมีคมหรือปนเปื้อนสารเคมี  จะมีถังขยะบรรจุที่ทำด้วยพลาสติกแข็งและหนา

2. ห้องปฏิบัติการที่มีขยะติดเชื้อ - ขยะติดเชื้อจะบรรจุในถุงพลาสติกก่อนนำไปฆ่าเชื้อด้วยเครื่องนึ่งไอน้ำร้อนและแรงดันสูง (autoclave) และนำบรรจุในถุงแดงที่มีฉลากว่าเป็นประเภทขยะติดเชื้อ

ขยะติดเชื้อ biochem ตู้ autoclave ตึกR ชั้น3 biochem
ถุงพลาสติกบรรจุขยะติดเชื้อก่อนเข้าเครื่องนึ่งไอน้ำร้อน
และแรงดันสูง (autoclave)
เครื่องนึ่งไอน้ำร้อนและแรงดันสูง (autoclave)
 
ถุงขยะติดเชื้อ1
ถุงแดงบรรจุขยะติดเชื้อหลังการฆ่าเชื้อด้วยเครื่องนึ่งไอน้ำร้อนและแรงดันสูง (autoclave) แล้ว

3. สารกัมมันตรังสี  - มีการเก็บสารกัมมันตรังสีในตู้เก็บเฉพาะ และมีถังขยะโลหะที่มีถุงพลาสติกใสรองรับกากกัมมันตรังสีพร้อมฉลากบ่งชี้ว่าใช้เฉพาะกากกัมมันตรังสี

IMG_02291 IMG_0234
ตู้เก็บสารกัมมันตรังสี
ถังขยะบรรจุกากกัมมันตรังสี

หมายเหตุ กากกัมมันตรังสีในห้องปฏิบัติการ จะถูกบรรจุในภาชนะพลาสติกเฉพาะ และควบคุมโดยผู้ที่ผ่านการอบรม ก่อนจะส่งให้ศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ เพื่อดำเนินการต่อไป

Organic waste treatment (garbage)

ขยะชุมชน (Municipal Solid Waste) หมายถึง ขยะที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ทั้งนี้ ไม่รวมของเสียอันตรายและมูลฝอยติดเชื้อ (นิยามความหมายของกรมควบคุมมลพิษ) ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์มีขยะชุมชน 3 ประเภท คือ
   -  ขยะเศษอาหาร  เป็นขยะที่เกิดขึ้นภายในโรงอาหาร โดยทางคณะฯ มีนโยบายให้จากการแยกเศษอาหารที่รับประทานเหลือและทิ้งลงในภาชนะที่จัดไว้ ในช่วงเย็นของแต่ละวันจะส่งจำหน่ายเป็นขยะสดเอาไว้เลี้ยงสัตว์
   -  ขยะปนเปื้อนเศษอาหาร 2 ถัง
   -  ขยะกิ่งไม้และใบไม้ 1 ถัง
ขยะทั้ง 2 ประเภทหลังนี้จะบรรจุในถังขยะโลหะสีเขียวจำนวน 3 ถัง โดยรถจากกองจัดการขยะฯ  สำนักสิ่งแวดล้อม  กรุงเทพมหานครจะมารับไปกำจัดสัปดาห์ละ 2-3  ครั้ง


CIMG6039_resize
ห้องขยะชุมชน (Municipal Solid Waste Room)

ถังเหล็กใส่เศษอาหาร1  ถังเหล็กใส่เศษใบไม้กิ่งไม้
(ก) ขยะปนเปื้อนเศษอาหาร                                                              (ข) ขยะกิ่งไม้และใบไม้ 

  นำไปทิ้งนอกพื้นที่ส่วนงาน
- ขายเศษอาหาร
- ขยะพวกเศษผักหรือเปลือกผลไม้ รวมถึงกิ่งไม้และใบไม้ จะนำให้กองจัดการขยะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการต่อไป

ถังขยะที่โรงอาหาร
ชั้นวางภาชนะแยกประเภทที่บรรจุอาหาร ได้แก่ ของคาว ของหวาน ช้อน-ส้อม-ตะเกียบ และ แก้วน้ำ

       
ชั้นวางภาชนะแยกประเภทที่บรรจุอาหาร

ภาชนะบรรจุเศษอาหารหลังจากการรับประทานอาหาร มีฝากรวยสแตนเลสรองรับเศษอาหารซึ่งข้างล่างเป็นถังพลาสติกของร้านค้าที่รับซื้อเพื่อนำไปทำเป็นอาหารสัตว์

      
ภาชนะบรรจุเศษอาหารหลังจากการรับประทานอาหาร

Inorganic waste treatment (rubbish)

เช่น เศษขยะ, กระดาษ, พลาสติก,โลหะที่ไม่ใช้แล้ว
  นำไปทิ้งนอกพื้นที่ส่วนงาน
  นำกลับมารีไซเคิลบางส่วน
  นำกลับมารีไซเคิลทั้งหมด


ขยะที่เป็นกล่องนมหรือกล่องน้ำผลไม้ จะนำส่งให้บริษัท อำพลฟู้ด จำกัด ดำเนินการทำให้เป็นโต๊ะและเก้าอี้เพื่อให้โรงเรียนในชนบทต่อไป

Sewerage disposal

  บำบัดก่อนที่จะปล่อยทิ้ง

บ่อบำบัดน้ำเสียบริเวณอาคารสัตว์ทดลอง บ่อบำบัดน้ำเสียบริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติ

Policy to reduce the use of paper and plastic in campus

กระดาษ
  ได้เริ่มดำเนินนโยบายบ้างแล้ว
-  งดใช้เอกสารการประชุมในการประชุมรองคณบดีและผู้ช่วยคณบดี และกำลังเริ่มงดใช้เอกสาร การประชุมของคณะกรรมการประจำคณะฯ

พลาสติก
ได้เริ่มดำเนินนโยบายบ้างแล้ว
-  ถ้านำภาชนะมาใส่เครื่องดื่มและอาหารเอง (reuse) ร้านค้าจะลดราคาลง 2 บาท

   

 

          เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ออกพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554  ซึ่งทางคณะวิทยาศาสตร์ได้ปฏิบัติในส่วนของระบบกำจัดของเสียและการจัดการขยะสอดคล้องตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- มาตรา 6  ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัยให้ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ
ทางคณะวิทยาศาสตร์ได้คำนึงถึงความปลอดภัยจากขยะประเภทต่างๆที่แต่เดิมมีในห้องปฏิบัติการ โดยได้สร้างโรงพักขยะขึ้นเพื่อเป็นจุดรวมและสะดวกต่อหน่วยงานที่มารับไปกำจัด
- มาตรา 17  การติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ทางคณะวิทยาศาสตร์ได้ติดประกาศเตือนถึงประเภทและรายละเอียดของห้องพักขยะ
อันตราย

ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
คณะวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ปฏิบัติงานทุกคน โดยดำเนินมาตรการดังนี้
1.  การใชับัตรแสดงตน โดยขอความร่วมมือผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องแขวนบัตรแสดงตนตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันมิจฉาชีพ และใช้แสดงตนในการขึ้นรถโดยสารของคณะวิทยาศาสตร์ หากเป็นบุคคลภายนอกที่เข้ามาในอาคารหลังเวลา  18.30  น.  ต้องมีการรับรองจากผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน คณะฯ สนับสนุนการออกบัตรในครั้งแรกให้
2.  การกำหนดเวลาเปิด-ปิดประตูของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อความปลอดภัย คณะฯ ได้กำหนดเวลาการเปิด-ปิดในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
3.  มาตรการรักษาความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์กำหนดแผนการและผู้รับผิดชอบไว้ 2 สถานการณ์ คือ เหตุการณ์ปกติ และเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเหตุการณ์ฉุกเฉินแบ่งย่อยเป็น 2 ระดับ ได้แก่ความรุนแรงปานกลาง และความรุนแรงมาก
4.  คณะวิทยาศาสตร์ มีประกาศคณะวิทยาศาสตร์ เรื่องหลักเกณฑ์การนำรถเข้า-ออก การจอดรถ การจราจลและบัตรอนุญาตจอดรถยนต์ พ.ศ. 2553
5.  กำหนดการซ้อมการดับเพลิงเบื้องต้น และการอพยพหนีไฟแก่บุคลากรทั่วไป ปีละ 1 ครั้ง และกำหนดให้อนุกรรมการความปลอดภัยทางเคมีจัดอบรมการดับเพลิงที่เกิดจากห้องปฎิบัติการทางเคมีและอื่นๆที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยโดยเฉพาะ