11 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ภายใต้กิจกรรม Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “MUSC-SCGC Sustainability Workshop: Green Energy and Energy Storage” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และอัปเดตแนวโน้มล่าสุดด้านพลังงานสะอาดและการกักเก็บพลังงาน จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว พร้อมร่วมแบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น และร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาโครงการที่สามารถทำได้จริงด้วยความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับภาคีจากภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนของพลังงานไฟฟ้าและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานกับเทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะพลิกโฉมโลกในยุคใหม่ ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ คุณพรชัย แสงรุ่งศรี ผู้จัดการศูนย์ Ideas to Products (i2P) Center, SCGC ให้เกียรติร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม โดยมี ดร.ทศพล คำแน่น, Senior Manager – Advanced Materials, SCGC เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม K 102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท
ซึ่งในครั้งนี้ ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจากบริษัทเอสซีจี และบริษัทในเครือ ได้แก่ SK tes, NEU Battery Materials, GenPlus และ Merck ได้มาร่วมบรรยายพิเศษโดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
- Industrial and Market Outlook: Global Trends, Advancements and Opportunities in Renewable Energy and Energy Storage โดย Dr. Songsak Klamklang, Manager-Technology Incubation, SCGC
- Sustainable Technology Lifecycle Solutions โดย Ms. Kornwika Chaiprateep, Deputy Managing Director, SK tes Thailand
- An overview of NEU Battery Materials and Its Cutting-Edge Technologies โดย Mr. Bryan Oh, Chief Executive Officer, NEU Battery Materials
- Second-life Applications of Battery โดย Mr. Alvin Lim, General Manager, GenPlus Pte. Ltd.
- Powering a Sustainable Future with Advanced Materials for Energy Storage โดย Dr.Kanitporn Suchao-in, Chemistry Marketing Lead (Southeast Asia and Taiwan), Merck (Thailand)
อีกทั้งยังมีการร่วมทำกิจกรรม Workshop: Green Energy, Energy Storage, and Circular Economy เกี่ยวกับพลังงานทดแทน วัสดุกักเก็บพลังงาน ไปจนถึงเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียนในการประยุกต์ใช้พลังงาน ผ่านรูปแบบกิจกรรมการแลกปลี่ยนแนวคิด “ฟัง คิด เขียน พูด แปะ” คิดหา solution เพื่อตอบ problem statement, Gallery walk และการอภิปรายแบบกลุ่ม
นอกจากนี้ ในเรื่องของการบริโภคอาหาร ในตลอดระยะเวลาของการจัดกิจกรรม ทางผู้จัดงานได้มีการจัดเตรียมอาหารโปรตีนทางเลือก (Plant Based) ในสัดส่วน 30% จากอาหารทั้งหมด สำหรับให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้บริโภค เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการหันมาบริโภคอาหารประเภท Plant Based เพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต หรือ Future Food ของไทยให้ได้ 500,000 ล้านบาท ภายในปี 2570 ตามที่ทาง สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้ร่วมรณรงค์ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ หันมาบริโภคอาหารโปรตีนทางเลือก (Plant Based) ในกิจกรรมและการประชุมภายในองค์กรของตนเอง