logoSC

Mahidol Science Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม

22 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) พร้อมด้วยคณาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโอซาก้า ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University นำโดย Prof. Genta Kawahara, Executive Vice President, Prof. Kiyoshi Fujita, Senior Advisor to the President, Center for Global Initiatives/Center for International Affairs Graduate School of Engineering, Prof. Yoshinori Sumimura, Center for Global Initiatives และ Mr. Toshihiko Tsuji, Assistant Head, Department of International Affairs ก่อนประชุมหารือขยายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 2 สถาบัน ณ ห้อง K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

ในโอกาสอันดีนี้ ทั้ง 2 สถาบันได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติมระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยในครั้งนี้ มีแผนจะขยายความร่วมมือในโครงการ Double Degree Program (DDP) ของ Osaka University International Certificate Program (OUICP) ซึ่งเดิมเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอกสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ในการศึกษาต่อและทำวิจัย ให้ครอบคลุมไปถึงสาขาอื่น ๆ อาทิ สาขาคณิตศาสตร์ด้วย นอกจากนั้นยังได้หารือเกี่ยวกับโครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยระยะสั้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงความร่วมมือด้านการวิจัยอื่น ๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compounds) และธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) เป็นต้น

จากนั้นคณะผู้บริหารได้เข้าเยี่ยมชมหน่วยวิจัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ณ หน่วย MU-OU:CRC & OU:CRS, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence in Medical Biotechnology: CEMB), ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (Excellent Center for Drug Discovery: ECDD) และโครงการ SPACE-F โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนรับประทานอาหารร่วมกัน

ภาพข่าว: https://science.mahidol.ac.th/news/nov65-22