18 มกราคม 2566 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์. และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ร่วมด้วยกับ ทีมอาจารย์จากภาควิชาเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา จริยาบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี พร้อมด้วยทีมงานหน่วยพันธกิจพิเศษด้านพัฒนาธุรกิจ หรือ BDU (Business Development Unit) และงานวิจัย เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือกับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืนรายใหญ่ของไทยและภูมิภาคอาเซียน ณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ เจริญชัยเดช Head of Central Research and Development บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน จังหวัดระยอง พร้อมกับคุณพรชัย แสงรุ่งศรี ผู้จัดการศูนย์ Ideas to Products (i2P) Center ให้การต้อนรับและบรรยายถึงเป้าหมายขององค์กรที่มุ่งเป้าในการผู้นำด้านเคมีภัณฑ์แห่งอาเซียนโดยสร้างนวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Innovation) และนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลกในด้านต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและยา เกษตรกรรม ยานยนต์ ระบบสาธารณูปโภค และพลังงาน เป็นต้น พร้อมนำเยี่ยมชม ศูนย์ i2P ที่ถือเป็นสถาบันนวัตกรรมของบริษัทฯ และยังเป็น co-working space ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญกับกลุ่มเครือข่าย ตั้งแต่ในระดับหน่วยงานภายในองค์กรของเอสซีจี หน่วยงานภายนอกทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมไปถึงมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นคณะเยี่ยมชมฯ ยังได้พูดคุยเกี่ยวกับการสานต่อความร่วมมือของทั้งสององค์กรในอนาคต พร้อมร่วมรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกันกับ ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ Chief Innovation Officer and Executive Vice President-New Business Vice President และ คุณนิวัฒน์ อภิวัฒนานนท์ Technology & Product Development Director บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)
ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ได้มีความร่วมมือกันมาอย่างยาวนาน โดยเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ได้ร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยนวัตกรรม SCG-MUSC Innovation Research Center” ที่มุ่งสร้างนวัตกรรมทางเคมีขั้นสูงเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมระดับแนวหน้าของประเทศด้วยองค์ความรู้เชิงลึกในศาสตร์เคมีและศาสตร์อื่น ๆ จึงนับเป็นเป็นก้าวสำคัญเพื่อผลักดัน Public-Private Partnership และส่งเสริม Open Innovation เพื่อการเรียนรู้จากโจทย์วิจัยของทางเอกชนให้เกิดขึ้นที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อให้เกิดเป็นความร่วมมือในการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน รวมไปถึงการส่งเสริมการพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ที่จะช่วยประสานความเข้มแข็งขององค์กรพันธมิตรให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต