logoSC

Mahidol Science Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ ร่วมมือกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นี้ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท

โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่ Health & Wellness, Alternative proteins, Novel food & Ingredients, Packaging solutions, Biomaterials & Chemicals, Packaging solutions, Smart Manufacturing, Restaurant tech, Food safety & Quality และ Smart food services รวมถึงเพื่อส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศของนวัตกร (Startup Ecosystem) ในการขับเคลื่อน Entrepreneurs/Startups ที่เกิดจากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีมมหิดลสตาร์ทอัพต่าง ๆ ที่บ่มเพาะจาก Mahidol Pre-incubation Program ในครั้งนี้ ให้สามารถนำไปสู่การเข้าร่วม โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 4 ช่วงปลายปีนี้ต่อไป

ทั้งนี้ โครงการ SPACE-F เป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเดินหน้าพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้ทั้งในแง่การพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับตลาด ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก โดยผ่านหลักสูตรบ่มเพาะผู้ประกอบการ และหลักสูตรเร่งการเติบโตทางธุรกิจ ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแนวหน้าระดับโลก และมหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนจะขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรวงการธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและบริษัทให้คำปรึกษาในระดับนานาชาติ อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด

สำหรับกิจกรรม Workshop ต่างๆ ของโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ได้จัดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง ในหัวข้อต่าง ๆ ที่สำคัญกับการส่งเสริมความเป็นนวัตกร ได้แก่ Problem validation, Business model canvas (BMC) & Value proposition และ Storytelling & Pitching โดยกิจกรรม Workshop ครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2565 ได้รับเกียรติจาก คุณอภิโชค ประเสริฐรุ่งเรือง Chief Business Development Officer (CBDO) & Co-Founder บริษัท Airportels มาเป็นวิทยากรในหัวข้อ Problem Validation แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการทำความเข้าใจลูกค้าและการทดสอบไอเดียทางธุรกิจให้กับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 12 ทีม

ต่อมากิจกรรม Workshop ครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2565 ได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ CITU, ที่ปรึกษาสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA และอนุกรรมการ Digital Technology Management Group, TMA มาเป็นวิทยากรในหัวข้อ Business Model Canvas (BMC) and Value Proposition มาถ่ายทอดประสบการณ์และแนวคิด ให้กับกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย เพื่อต่อยอดความคิดเปนผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในอนาคต

ภาพข่าว: https://science.mahidol.ac.th/news/oct65-21-nov65-04