logoSC

Mahidol Science Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การพัฒนาเทคโนโลยีสาหร่ายเซลล์เดียวเพื่อผลิตอาร์เอ็นเอสายคู่ในการใช้ควบคุมโรคกุ้งอย่างยั่งยืน

ไวรัสเป็นต้นเหตุสำคัญต่อการตายของกุ้งซึ่งนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจในวงกว้างต่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ผ่านมามีการผลิตอาร์เอ็นเอสายคู่ที่มีลำดับนิวคลีโอไทด์ตรงกับยีนของไวรัสโดยใช้แบคทีเรียเจ้าบ้าน และเมื่อนำมาใช้เป็นอาหารกุ้ง พบว่าช่วยกระตุ้นกระบวนการยับยั้งการแสดงออกหลังการถอดรหัสของยีนไวรัสเป้าหมายและป้องกันการติดเชื้อไวรัสในกุ้งได้ โครงการนี้ทำเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการผลิตอาร์เอ็นเอสายในคลอโรพลาสต์ของจุลสาหร่าย Chlamydomonas reinhardtii โดยปราศจากการปนเปื้อนของยีนต้านยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นอาหารต้านโรคในกุ้ง

หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยมีร่วมการวิจัยกับ University of Kent (ประเทศอังกฤษ), University College London (ประเทศอังกฤษ), ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จึงได้วิจัยพบว่าอยู่ในระหว่างการพัฒนาอาหารผสมสาหร่ายต้านโรคและจัดงานสัมมนาเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากโครงการ และโครงการนี้เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ ทั้งภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภายนอก