Biotechnology

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2024 : Alumni & Career Talk

       24 เมษายน 2567 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา รวมกว่า 60 คน ในโครงการ Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2024 : Alumni & Career Talk ณ ห้อง L03 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำแนวทางในการประกอบอาชีพ ความก้าวหน้าในสายงาน และความสำคัญในการเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษาในยุคปัจจุบันจากศิษย์เก่า และประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ระดับปริญญาโท-เอก) ของภาควิชา รวมไปถึงประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา และงานวิจัยในสาขาต่างๆ ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของทางภาควิชา และยังเป็นกิจกรรมที่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์เก่า อาจารย์ และศิษย์ปัจจุบันของภาควิชา        โดยในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญารัตน์ พงศ์ทรางกูร ประธานหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ […]

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2024 : Alumni & Career Talk Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี

18 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ Osaka University เปิดตัว Osaka – Mahidol International Office ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดน ความร่วมมือนี้ไม่เพียงบ่งบอกถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเป็นพันธมิตรอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี แต่ยังปูทางไปสู่การขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านการศึกษาและการวิจัยที่ก้าวล้ำอีกด้วยโดยในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร พร้อมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และ Osaka University นำโดย Professor Tanaka

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล จับมือ พีอาร์ไนน์ ไมโครอินโนเวต สวทช. ขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ

5 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือภาคเอกชน บริษัท พีอาร์ไนน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (PR9 Corporation) ร่วมกับ บริษัท ไมโคร อินโนเวต จำกัด (Microinnovate Co.,Ltd) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ Pediococcus pentosaceus รหัส P7 เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “BM9 Plus Synbiotics” โชว์ศักยภาพอาหารเสริมเทคโนโลยีชีวภาพจากงานวิจัยโดยคนไทยเพื่อคนไทยคว้ารางวัลเหรียญทองระดับโลกในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท พีอาร์ไนน์ คอร์ปอเรชั่น นำโดย ดร.เสกข์สรร ธีระวาณิชย์ ประธานกรรมการ และคุณพงษ์กฤตย์

ม.มหิดล จับมือ พีอาร์ไนน์ ไมโครอินโนเวต สวทช. ขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Singapore Institute of Food and Biotechnology Innovation SIFBI มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านวิชาการ งานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรม

31 พฤษภาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ Singapore Institute of Food and Biotechnology Innovation หรือ SIFBI มองหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านวิชาการ งานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรม ณ SPACE-F อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 6 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง ผู้ช่วยคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสา ปฏิการมณฑล อาจารย์ ดร.ณภัศศรณ์ ปัญญาสุข อาจารย์ ดร.ธีรรัตน์ ลิขิตวัฒนเศรษฐ และพันธมิตรในโครงการ

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Singapore Institute of Food and Biotechnology Innovation SIFBI มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านวิชาการ งานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรม Read More »

Activity Photo

2 อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล พัฒนาวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อพัฒนาสารต้นแบบยับยั้งมะเร็ง และศึกษาคุณสมบัติจุลินทรีย์กระตุ้นการเติบโตของพืช คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

10 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. ดรุณี สู้รักรัมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอรศิริ อินตรา อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ที่มอบให้แก่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 200,000 บาท โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้มอบทุนในพิธีมอบรางวัลและเงินทุนช่วยเหลือการวิจัยฯ ครั้งที่ 29 โดยมี ฯพณฯ นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มร. นิคคาคุ ประธานบริษัทโทเรอินดัสตรีส์ ประเทศญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประธานคณะกรรมการรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

2 อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล พัฒนาวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีเพื่อพัฒนาสารต้นแบบยับยั้งมะเร็ง และศึกษาคุณสมบัติจุลินทรีย์กระตุ้นการเติบโตของพืช คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2565 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย Read More »

Activity photo

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2

13 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบประกาศนียบัตรแก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ตามกรอบ UKPSF ประเภท Senior Fellow และผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยในครั้งนี้มีคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ 13 ท่าน ได้รับประกาศนียบัตรผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลระดับที่ 2 ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง, อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา, อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์3. รองศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา, อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร, อาจารย์ประจำเภสัชวิทยา5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิสา ดำเนินสวัสดิ์, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา7.

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2 Read More »

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021

12 กรกฎาคม 2564 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science: ISHS) ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ครั้งที่ 9 “The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects)” หรือ “Biotech 2021” แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าจากการวิจัย สร้างโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสังคมในระดับโลกBiotech 2021 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และวิทยากรด้านพืชสวนระดับนานาชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืช และความหลากหลายทางชีวภาพในทุกแง่มุม ซึ่งด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การประชุมครั้งนี้จึงเลื่อนจากกำหนดเดิมในปีที่แล้ว มาเป็นปีนี้ และปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021 Read More »