คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 64 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ อย่างยิ่งใหญ่

Activity photo

21 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Communicator Award 2022 ยกย่องนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเป็นกำลังใจและร่วมผลักดันสังคมไทยสู่สังคมตื่นรู้วิทยาศาสตร์และเท่าทันโลก รวมถึงรางวัลอาจารย์ตัวอย่าง และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น เชิดชูเกียรติและส่งเสริมคุณค่าอาจารย์นักวิจัย และศิษย์เก่าผู้นำเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคม พร้อมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ ครบรอบ 64 ปี อย่างยิ่งใหญ่

สำหรับกิจกรรมในช่วงเช้ามีพิธีทำบุญถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารแก่พระสงฆ์จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร จำนวน 9 รูป โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สถิตย์ สิริสิงห, อาจารย์เกษียณ, คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้บริหารคณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานภายนอก ร่วมแสดงความยินดี และร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo

ต่อด้วยพิธีเปิด ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.), คุณวรรณิพา ทองสิมา ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สทวช.), ดร.นันทวัน สมสุข รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการวัดและประเมินผล สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ประเสริฐ โศภน อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมงาน

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า ขอขอบคุณนักศึกษา บุคลากร ที่ร่วมแรงร่วมใจจัดงานในครั้ง ในการครบรอบ 64 ปี คณะวิทยาศาสตร์ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2501 โดย ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ปูชนียบุคคลของชาติ เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระราชบิดา เรายังคงมุ่งมั่นสร้างความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่แข็งแรง ส่งต่อคุณค่าไปยังการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศชาติ วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ทำให้เราเจริญก้าวหน้า ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและประเทศชาติ ขณะที่การศึกษามีความสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ทั้งของสังคมไทยและสังคมโลก ซึ่งนั่นเป็นคุณค่าของมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์

แล้วจึงเป็นการปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 28 เรื่อง “การอุดมศึกษาไทยกับความท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข รองประธานที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด–19 (ศบค.) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการกฤษฎีกา กล่าวปาฐกถา โดยกล่าวถึง ความเปลี่ยนแปลงที่สถาบันอุดมศึกษาต้องเผชิญในยุคหลังโควิด-19 ที่โลกมีความผันผวนอย่างมากว่า เราอยู่ในยุค double disruptions ซึ่งสถาบันอุดมศึกษามีการเปลี่ยนแปลงช้ามากให้ทันโลกที่เปลี่ยนไป มหาวิทยาลัยจะต้องสร้างคนให้ตอบโจทย์โลกที่ผันผวนและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นให้คนไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูงมุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต โดยปรับหลักสูตรให้มีความทันสมัย เปลี่ยนมุมมองการสร้างหลักสูตรจากฝั่งสถาบันอุดมศึกษา (supply site) เป็นฝั่งของผู้เรียน (demand site) เน้นการ re-train re-skill up-skill ออกแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นพลเมืองโลก บ่มเพาะแนวคิดให้นักศึกษาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง, Learning Designer, Innovator Creator มหาวิทยาลัยต้องมองภาพกว้างเปิดเรียนการสอนให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ให้กับคนทุกวัย ส่งเสริมให้คนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรม โดยผู้ที่พลาดรับชมการถ่ายทอดสด สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/ghNFnaRY90/

Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
จากนั้นจึงเข้าสู่พิธีการประกาศผล 2 รางวัลเชิดชูเกียรติของคณะวิทยาศาสตร์ และอีก 1 รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์แห่งปี ได้แก่

รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2565 โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เป็นประธานมอบโล่เกียรติยศแก่ 2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ผู้มีผลงานโดดเด่นรอบด้านทั้งในด้านการสอนและการวิจัยเพื่อนำสังคมไทยสู่สังคมแห่งนวัตกรรมและการเรียนรู้ในระดับสากล รวมถึงได้อุทิศตนให้ส่วนรวมอย่างเป็นที่ประจักษ์

1. รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์
อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ
ผู้ได้รับรางวัลอาจารย์ตัวอย่างระดับรองศาสตราจารย์ – ศาสตราจารย์

Activity photo
Activity photo
Activity photo

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย
อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี
ผู้ได้รับรางวัลอาจารย์ตัวอย่างระดับอาจารย์ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo

รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2565 ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สศวม) พิจารณามอบให้กับศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เป็นประธานมอบโล่เกียรติยศแก่ 2 ศิษย์เก่าผู้ได้รับรางวัล ได้แก่

1. ศาสตราจารย์ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์
ศาสตราภิชานเงินทุนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศิษย์เก่าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Activity photo
Activity photo
Activity photo

2. ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo

และ รางวัล Mahidol Science Communicator Award 2022 โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการสนับสนุนของบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เป็นประธานมอบโล่เกียรติยศแก่ 3 บุคลากร และองค์กรที่มีผลงานเด่นด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนและได้รับการยอมรับในระดับประเทศ โดยแบ่งตามประเภทรางวัล ดังนี้

1. รางวัลประเภทรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communicator Award)

ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้มีแรงบันดาลใจในการสื่อสารวิทยาศาสตร์โดยเชื่อว่า การสื่อสารวิทยาศาสตร์ทำให้คนทั่วไปเข้าใจ และเห็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ ยกระดับคุณภาพชีวิต ช่วยให้โลกที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ อีกทั้งยังทำให้เกิดความชื่นชม รื่นรมย์ และช่วยให้เข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้งมากขึ้นด้วย ดร.นำชัย มีผลงานบทความด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายร้อยบทความ ปัจจุบันมีคอลัมน์ประจำในนิตยสาร “สารคดี” และแฟนเพจ The101.world และ The Potential นำเสนอข้อมูลการค้นพบใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ให้ผู้อ่านที่เป็นคนทั่วไปในวงกว้าง ทั้งยังมีหนังสือวิทยาศาสตร์ที่แปลและเรียบเรียงเองมากกว่า 40 เล่ม อาทิ หนังสือชื่อดังในหมวดชีววิทยาวิวัฒนาการ เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ (Sapiens: A Brief History of Humankind), กำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species) และ หมู่เกาะมาเลย์ (The Malay Archipelago) หนังสือหมวด pop science เช่น อย่าชวนเธอไปดูหนังรัก, อยากชวนเธอไปอำผี, เธอ ฉัน สวรรค์ นรก ฯลฯ รวมถึงดูแลการจัดทำข้อมูล อินโฟกราฟิก เขียนเนื้อหางานวิจัยวิทยาศาสตร์ บทเอนิเมชั่นสำหรับรายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โดยเน้นการเชื่อมโยงความรู้วิทยาศาสตร์เข้ากับชีวิตประจำวัน เผยแพร่หลักคิดสำคัญต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์ และผลงานอื่น ๆ อีกมากมาย

Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo

2. รางวัลประเภทนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดาวรุ่ง (Rising Star Science Communicator Award)

เว็บไซต์ SPACETH.CO สื่ออวกาศออนไลน์โดยกลุ่มผู้หลงใหลอวกาศก่อตั้งในปี 2560 โดยคุณเติ้ล ณัฐนนท์ และคุณกรทอง สองเยาวชนไทย ที่ในตอนนั้นยังอยู่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาอวกาศเข้ามาใกล้ชิดกับชีวิตคนไทย ปัจจุบัน SPACETH.CO มีสมาชิกทีม 9 คน มีผู้ติดตามมากกว่าห้าแสนคน โดยทำคอนเทนต์ด้านอวกาศมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ชิ้น มีความร่วมมือกับหน่วยงานอวกาศระดับชาติและระดับโลก เพื่อใช้อวกาศในการกระตุกจิตกระชากใจ ภายใต้ความเชื่อว่าอวกาศเป็นของทุกคน

Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo

3. รางวัลประเภทองค์กรสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communicator Award for Organization)

รายการ Mahidol Channel มหาวิทยาลัยมหิดล ช่องของสถาบันการศึกษา ซึ่งมุ่งมั่นสร้างสรรค์ความรู้ย่อยง่ายผ่านสื่อรูปแบบใหม่ด้วยองค์ความรู้ด้านศาสตร์และศิลป์ภายใต้แนวคิด “An Edutainment Variety of Arts and Sciences” ส่งต่อความรู้ เพื่อชีวิตที่ดีของทุกคน และความยั่งยืนของโลกใบนี้

โดยรางวัล Mahidol Science Communicator Award ได้ถูกมอบให้เพื่อยกย่อง และเป็นกำลังใจแก่นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ไทยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของผู้ได้รับรางวัลในปีนี้ และปีก่อนหน้า หรือติดตามข่าวสารเกี่ยวกับรางวัล Mahidol Science Communicator Award ได้ที่เว็บไซต์ https://science.mahidol.ac.th/th/award.php และรับชมพิธีมอบรางวัลในปีนี้ย้อนหลังได้ทาง https://fb.watch/ghSwV0OOQW/

Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo

นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการ Mahidol Science Innovation นำเสนอผลงานที่โดดเด่นในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งรวบรวมผลงานและนวัตกรรมทั้งในด้านวิชาการและบริหารจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ กว่า 21 หน่วยงาน อาทิ Digital Bioscience Laboratory, ชุดโซลาเซลล์และนวัตกรรมวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม, ชุดทดสอบภูมิแพ้ไรฝุ่น ระบบไมโครอะเรย์, เต้าหู้ดำฉายรังสีซอสแจ่วพร้อมบริโภค, ต้นแบบเครื่องเพาะเลี้ยงไข่น้ำในอวกาศ, โฮโลแกรมนำเสนอผลงานวิจัยเด่น, สื่อการสอน เช่น โมเดล 3D กายวิภาคศาสตร์ หนังสือภาพ Pop-up และผลงานอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงกิจกรรม International Student Activity ที่อัดแน่นไปด้วยกิจกรรมแสดงศิลปวัฒนธรรมสุดพิเศษจากนักศึกษานานาชาติจากประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศอินโดนีเซียที่นำเอาอังกะลุงเครื่องดนตรีพื้นบ้านของอินโดนีเซียมาให้ผู้ร่วมชมนิทรรศการร่วมเล่นเพลง Happy Birthday ประเทศเมียนมาร์ที่จัดเตรียม Laphat-Thote สลัดใบชาหมักมาเสิร์ฟความอร่อยให้กับผู้ร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ ทั้งยังมีอาหารคาวหวานอย่าง Briyani, Kheer, Chaana Chaat พร้อมการแสดงดนตรี เครื่องแต่งกาย และกิจกรรมเพนท์เฮนน่าจากนักศึกษาประเทศปากีสถาน อีกด้วย

Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
และในช่วงเย็น ณ ลานตึกกลมหน้าห้อง L01 ยังมีการจัดคอนเสิร์ต และกิจกรรมเป่าเทียนบนเค้กหนังสือฉลองครบรอบ 64 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนำเอาดินสอและหนังสือมาเรียงกันเป็นรูปเค้ก โดยนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์อีกด้วย ทั้งนี้ หนังสือที่นำมาร่วมกิจกรรมจะถูกนำไปบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ซึ่งจะดำเนินการส่งมอบไปยังโรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) จังหวัดนครศรีธรรมราช และโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อไป
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo
Activity photo

เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ

ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ

ภาพข่าวโดย: นาย นภาศักดิ์ ผลพานิช,

นายไมตรี บัวศรีจันทร์,

นางนนทวรรณ ปินตา,

นายเสฏฐวุฒิ แก้ววิเศษ,

นางสาวปัณณพร แซ่แพ  

เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ

วันที่ 21 ตุลาคม 2565