Carbon Footprint for Organization (คาร์บอนฟุตพรินท์องค์กร)

 

 

 

สาเหตุที่จัดทำและประโยชน์จากการจัดทำ

 

- เป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ที่ 4 ของมหาวิทยาลัยเอง คือ การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีนโยบายส่งเสริมให้ส่วนงานมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน สอดคล้องกับแนวทางการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (ECO University) 

- หนึ่งในกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ได้แก่ กลยุทธ์การส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ที่ให้ความสำคัญกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มหาวิทยาลัยปลดปล่อยออกมา

- เป็นการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อประหยัดทรัพยากร และ ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ

 เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และ สามารถเป็นแม่แบบให้แก่องค์กรที่มีการดำเนินงานคล้ายกันได้

 

คาร์บอนฟุตพรินท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization หรือ CFO) เป็นวิธีการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร และ คำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Carbon dioxide equivalent) ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การเป็นเมืองลดคาร์บอน และ เป็นตัวอย่างของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยต่อไป

 

 

Carbon Footprint

 

คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากวงจรของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ 

- การได้มาซึ่งวัตถุดิบ

- การประกอบชิ้นส่วน

- การขนส่ง

- การใช้งาน

- การจัดการซากหลังใช้งาน

 

ซึ่งจะทำให้เราทราบว่ากว่าที่จะได้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงไร โดยแสดงออกในรูปของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกสำคัญชนิดหนึ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้น หากมีมากเกินกว่าที่ระบบของธรรมชาติจะรักษาสมดุลไว้ได้

 

ภาพสรุปวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

productlifecycle

คาร์บอนฟุตพรินท์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1. คาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ = ปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์

2. คาร์บอนฟุตพรินท์ของบริการ = ปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาในการให้บริการนั้นๆ (ผลิตภัณฑ์ + องค์กร)

3. คาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กร = ปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร

 

สำหรับคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยบริบทองค์กรของคณะ จะขอสรุปสิ่งที่นำมาคิดดังภาพนี้

carbon footprint diff f

 

สิ่งที่คณะขอความร่วมมือเพื่อเป็นการลดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมา

 

- ช่วยกันประหยัดไฟฟ้า

- ช่วยกันประหยัดน้ำ

- ช่วยกันประหยัดกระดาษ

- ส่งข้อมูลการเบิก หรือ จัดซื้อสารเคมีให้แก่ผู้รับผิดชอบ

- ศึกษารายชื่อสินค้า (และบริการ) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ พิจารณาจัดซื้อหรือจัดจ้าง สินค้าหรือบริการในรายชื่อก่อน

 

สถานะการปล่อยคาร์บอนในปัจจุบันของคณะวิทยาศาสตร์ 

 

ข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินท์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ตุลาคม 2558 - มีนาคม 2559)

เดือนตุลาคม 2558

เดือนพฤศจิกายน 2558

เดือนธันวาคม 2558

เดือนมกราคม 2559

เดือนกุมภาพันธ์ 2559

เดือนมีนาคม 2559

 

 

 

^ Go to top