Workshop

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปรับกระบวนการเรียนการสอนตอบโจทย์การเรียนรู้อย่างแท้จริง เปิด 6 รายวิชาและโครงการใหม่รับภาคเรียนปีการศึกษา 2567

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท แบล็คบ็อกซ์ ทีม จำกัด จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ภายใต้โครงการการออกแบบหลักสูตรเพื่อสร้างกําลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามทิศทางการพัฒนาของประเทศ ระดมความคิดอาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิต ออกแบบ 6 รายวิชาและโครงการ เชื่อมโยงนักศึกษาเข้ากับโลกเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยเตรียมเปิดตัวหลักสูตรในการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2567 ที่จะถึงนี้ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ภายใต้โครงการการออกแบบหลักสูตรเพื่อสร้างกําลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามทิศทางการพัฒนาของประเทศ ดูแลโดยงานการศึกษา ถูกจัดขึ้นในวันที่ 3 พฤษภาคม 10 มิถุนายน และ 8 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมีอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์จาก 6 หลักสูตร จำนวนรวมกว่า 28 ท่าน พร้อมด้วยนักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิต ร่วมออกแบบรายวิชาและโครงการผ่านกระบวนการ Design Thinking อย่างเต็มรูปแบบ สำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญต่อหลักสูตร และปรับกระบวนการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Authentic 100% จนเกิดเป็น 6 […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปรับกระบวนการเรียนการสอนตอบโจทย์การเรียนรู้อย่างแท้จริง เปิด 6 รายวิชาและโครงการใหม่รับภาคเรียนปีการศึกษา 2567 Read More »

Activity Photo

มหาวิยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas และ Massachusetts Institute of Technology จัด Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยเสริมทัพเครือข่ายวิจัยแผนที่เซลล์มนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย

24 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas (HCA) จัดกิจกรรม  2024 HCA Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยในภูมิภาคเอเชีย โดยเชิญนักวิจัยจากสถาบันวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติมาถ่ายทอดทักษะการศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเซลล์ร่างกายมนุษย์ด้วยเทคนิค single-cell RNA sequencing เพื่อทำความเข้าใจเซลล์ทุกชนิดในร่างกายมนุษย์อย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาการวินิจฉัยโรค การพัฒนายา และวิธีการรักษาโรคในอนาคต ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในพิธีเปิดกิจกรรมได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน Dr. John Randell ผู้บริหาร (Chief Alliance Officer) โครงการ Human Cell Atlas (HCA) กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาเซลล์มนุษย์ และการดำเนินการในทั่วโลกของ HCA

มหาวิยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas และ Massachusetts Institute of Technology จัด Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยเสริมทัพเครือข่ายวิจัยแผนที่เซลล์มนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Essentials in Biosafety and Biosecurity for BSL-2 รุ่นที่ 1 ในรูปแบบ hybrid เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

9 มีนาคม 2567 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับภาคเอกชน บริษัท Degree Plus จำกัด จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตร “Essentials in Biosafety and Biosecurity for BSL-2 รุ่นที่ 1” ในรูปแบบผสมผสาน (hybrid) ที่ได้รับรองโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย เพื่อเสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและแนวปฏิบัติสากลแก่อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา บุคคลภายในและนอกคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งผู้สนใจจากทั่วประเทศ หลักสูตร “Essentials in Biosafety and Biosecurity for BSL-2 รุ่นที่ 1” แบบ hybrid เป็นหลักสูตรที่ พัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสให้กับบุคลากรทั่วประเทศให้สามารถเข้ารับการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยเข้ารับการอบรมในภาคบรรยายผ่านทาง hybrid platform ที่สะดวกมากยิ่งขึ้น และไม่ต้องรอรอบการอบรมที่จัดขึ้นทั่วไป ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้เนื้อหาภาคบรรยายผ่านคลิปสอน และร่วมสนทนา สอบถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผ่านระบบ Zoom meeting

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Essentials in Biosafety and Biosecurity for BSL-2 รุ่นที่ 1 ในรูปแบบ hybrid เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity Photo

ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรม คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรม ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ เสริมทักษะเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

29 มีนาคม ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Cell Culture Meet Thailand 2023 ณ ห้องปฏิบัติการอเนกประสงค์ MDL1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนอกเหนือจากการอบรมแล้วยังมีการแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมของเมอร์คและให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์ขั้นพื้นฐานจากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวเปิดการอบรมโดย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเซลล์ ที่เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์กับหน่วยงานอื่น มุ่งหวังให้ความรู้วิทยาศาสตร์แก่นักศึกษาและผู้ที่สนใจ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมในการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัมพา

ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรม คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรม ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ เสริมทักษะเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

31 มีนาคม – 1 เมษายน 2566 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากลแก่อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ณ ห้องประชุม อาคารสตางค์มงคลสุขผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์และประธานคณะกรรมการความคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงภาพรวมของการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ ตลอดจนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อให้บุคลากรนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพให้สามารถทำงานกับเชื้อโรคได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุคคลทั่วไป โดยในครั้งนี้มีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ เจ้าหน้าที่บริหารชีวนิรภัยของหน่วยงาน (BSO) นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ จากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวนกว่า 103 คน ซึ่งต้องขอขอบคุณคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity photo

ศูนย์ CENMIG ฉลองครบรอบ 2 ปี การก่อตั้ง จัดกิจกรรม Free public lectures และ Entry-Level Genomics Workshop เผยแพร่องค์ความรู้ด้านจีโนมิกส์สู่สังคม

7 ธันวาคม 2565 ศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ จัดกิจกรรม Free public lectures ครบรอบ 2 ปี การก่อตั้งศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ “Pornchai Matangkasombut Center for Microbial Genomics (CENMIG)” เพื่อการควบคุมรักษาโรคติดเชื้อสำคัญ ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและนักวิจัยเข้าร่วมกว่า 67 คนในโอกาสอันดีนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วางรากฐานอันแข็งแกร่งให้แก่การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และการวิจัยด้านจุลชีววิทยาของประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแขกผู้มีเกียรติอีกมากมาย ร่วมพิธีเปิดและแสดงความยินดี โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์

ศูนย์ CENMIG ฉลองครบรอบ 2 ปี การก่อตั้ง จัดกิจกรรม Free public lectures และ Entry-Level Genomics Workshop เผยแพร่องค์ความรู้ด้านจีโนมิกส์สู่สังคม Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

28 – 29 พฤศจิกายน 2565 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพตามมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงกระตุ้นเตือนถึงการปฏิบัติงานให้ปลอดภัยต่อตนเอง บุคคลอื่น และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร ชลภัทร สุขเกษม ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงภาพรวมและดำเนินกิจกรรมในการอบรมทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุขการอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งบุคคลภายในและภายนอกกว่าร้อยคน อาทิ เจ้าหน้าที่บริหารชีวนิรภัยของหน่วยงาน (BSO) นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ จากหน่วยงานต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ ร่วมมือกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นี้ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไทโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่ Health

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F Read More »