ม.มหิดล ร่วมงานเปิดตัวโครงการ SPACE-F Batch 4 จับมือพันธมิตรปั้น FoodTech Startup ส่งเสริมระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น สร้างนวัตกรรมอาหารตอบโจทย์ความยั่งยืน

Activity Photo
3 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, RISE ต้อนรับ Startup ผู้เข้าร่วม “SPACE-F Batch 4” หรือ โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 4 ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting

ในโอกาสอันดีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ ผู้แทนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม (Group Director, Global Innovation) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), Dr. Chris Aurand, Open Innovation Lead บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), นายดนัย ครามโกมุท, Assistant Vice President-Channels Business Development บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ ผู้แทนสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ดร.นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์, Executive Director, บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด และคุณณัฐภัทร ธเนศวรกุล, Head of Strategy and Venture บริษัท RISE ได้ร่วมงานเปิดตัว SPACE-F Batch 4 พร้อมกล่าวต้อนรับสตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการ แนะนำรายละเอียดของหลักสูตร บทบาทของพันธมิตรที่จะคอยสนับสนุนสตาร์ทอัพในโครงการ และพื้นที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

โครงการ SPCAE-F เป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา นำโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแนวหน้าระดับโลก และมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในนบทบาทผู้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนสตาร์ทอัพด้วยองค์ความรู้และเทคนิคเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก ก่อนจะขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรวงการธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร และบริษัทให้คำปรึกษาในระดับนานาชาติ อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด หรือ Deloitte ในเวลาต่อมา และล่าสุดได้ร่วมกับบริษัท RISE ศูนย์เร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร ซึ่งอยู่เบื้องหลังการบริหารจัดการโครงการสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จหลายโครงการ
โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ FoodTech Startup ในการสร้างนวัตกรรมระดับครัวไทยสู่ครัวโลก และช่วยให้สตาร์ทอัพค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก โดยมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนใน 9 ประเด็น ได้แก่ Health & Wellness, Alternative proteins, Novel food & Ingredients, Packaging solutions, Biomaterials & Chemicals, Packaging solutions, Smart Manufacturing, Restaurant Tech, Food safety & Quality และ Smart food services

SPACE-F ได้เริ่มรับสมัครสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปลายปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งในรุ่นที่ 4 นี้ มีทีมสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการในหลักสูตรเร่งการเติบโตทางธุรกิจ (Accelerator program) 10 ราย ได้แก่
1. Genesea (Israel)
2. Lypid (United States)
3. NovoNutrients (United States)
4 TeOra (Singapore)
5 Alga Health (Israel)
6 Seadling (Malaysia)
7 MOA (Spain)
8 Pullulo (Singapore)
9 The Leaf Protein Co. (Australia)
10 Ambrosia Bio (Israel)

และมีทีมสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการในหลักสูตรบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubator program) 11 ราย ได้แก่
1 Finity (Thailand)
2 ImpacFat Pte. Ltd. (Singapore)
3 Marinas Biosciences (Singapore)
4 Mycovation (Singapore)
5 Nutricious (Thailand)
6 Plant Origin (Thailand)
7 Probicient (Singapore)
8 Rak THAIs by Angkaew Lab (Thailand)
9 The Kawa Project (United States)
10 Trumpkin (Thailand)
11 Zima Sensors (Singapore)

นอกจากนี้ SPACE-F ยังเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความคิดเชิงนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นแนวทางในการคิดค้นงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ที่สามารถต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ได้ในอนาคตตั้งแต่ในระดับมหาวิทยาลัย โดยในครั้งนี้ มีหนึ่งในทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งได้รับการคัดเลือกเข้าสู่โครงการ SPACE-F Batch 4 ในหลักสูตรบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubator program) ได้แก่ ทีม Nutricious ที่คิดค้นเครื่องดื่มไข่ขาวโปรตีนสูงแบบพร้อมดื่ม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นทีม Startup ที่คว้ารางวัลชนะเลิศจากโครงการ Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F ที่จัดขึ้นโดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีที่ผ่านมา และยังได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ผู้ก่อตั้งบริษัท Advanced Green Farm ที่พัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกผำ พืชตระกูลแหนที่มีโปรตีนสูง หนึ่งใน Startup SPACE-F Alumni มาร่วม Networking ในงานเปิดตัว SPACE-F Batch 4 นี้อีกด้วย

เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ
ภาพข่าวโดย: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 3 มีนาคม 2566