Faculty of Science, Mahidol University
รศ.ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็น : Official Website
ภาษาไทย | English หน้าหลักคณะวิทยาศาสตร์ » ภาควิชาชีวเคมี » ศ.ดร. พิมพ์ใจ
   
แนะนำห้องปฏิบัติการ
เอนไซม์พาราไฮดรอกซีฟีนิล
อะซีเตทไฮดรอกซีเลส
เอนไซม์ไพราโนสออกซิเดส
เอนไซม์ลูซิเฟอเรส
เอนไซม์เซอรีนไฮดรอกซี
เมธิลทรานสเฟอเรส
เทคนิคและวิธีการ
 
ประวัติและผลงาน (CV)
ประวัติในวิกิพีเดีย
รางวัลนักวิทย์รุ่นใหม่
 
กิจกรรมในต่างประเทศ
นักศึกษาและทีมวิจัย
ภาพกิจกรรมใน Lab
วิทยานิพนธ์ของนักศึกษา

เอนไซม์ไพราโนสออกซิเดส (Pyranose Oxidase; P2O)

เอนไซม์ไพราโนสออกซิเดส (pyranose oxidase; P2O) จากเชื้อรา Trametes multicolor เป็นเอนไซม์ในกลุ่ม flavoprotein oxidase ที่มีฟลาวินไดนิวคลีโอไทล์ (FAD) เป็นโคแฟกเตอร์ (ตัวช่วยในการทำปฏิกิริยา) โดยการเชื่อมต่อด้วย พันธะโควาเลนต์ของไนโตรเจน ตำแหน่งที่ 3 ของกรดอะมิโนฮิสทิดีน (His167) กับหมู่ methyl ของคาร์บอนตำแหน่งที่ 8
ของ FAD ปฏิกิริยาที่เร่งด้วยเอนไซม์ P2O นี้ ถือว่าเป็นปฏิกิริยาที่มีความสำคัญในการสร้างสารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
เนื่องจากคาร์บอนตำแหน่งที่ 2 ของน้ำตาลไพราโนสที่ถูกออกซิไดซ์ จะทำให้ได้น้ำตาลที่อยู่ในรูปของคีโตน (2-keto sugar) เป็นสารผลิตภัณฑ์ ซึ่งสารนี้จะถูกนำไปใช้ต่อในกระบวนการ chiral syntheses ที่เป็นประโยชน์ อาทิ การสังเคราะห์น้ำตาล
D-tagatose ซึ่งสามารถให้ความหวานแต่ให้พลังงานน้อย และไม่ทำให้ฟันผุ นอกจากนี้การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ P2O ยังอาจนำมาประยุกต์ใช้สำหรับเป็นตัวตรวจวัดชีวภาพ (biosensor) เพื่อใช้สำหรับวินิจฉัยโรค และ้ใ้ช้ในด้านการพัฒนาทาง อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งปฏิกิริยาที่เร่งด้วยเอนไซม์นั้นค่อนข้างถูก เนื่องจากใช้ก๊าซออกซิเจนเป็นออกซิเดนท์ และ ใช้สภาวะในการทำปฏิกิริยาที่ไม่รุนแรง รวมทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

              การศึกษาจลนพลศาสตร์ของเอนไซม์ไพราโนสออกซิเดสโดยกลุ่มวิจัยของเรา ได้พบว่าในกลไกการเร่งปฏิกิริยานั้น
มีสารตัวกลาง (intermediate) เป็น C(4a)-hydroperoxyflavin ซึ่งการค้นพบนี้ เป็นการตรวจพบครั้งแรกว่า เอนไซม์ในกลุ่ม ออกซิเดสใช้สารดังกล่าวเป็นสารตัวกลางของปฎิกิริยา (Suchanitakul et al., 2008) ดังนั้นงานวิจัยในปัจจุบัน เป็นการศึกษา เพื่อที่จะทำความเข้าใจในโครงสร้างสามมิติและการทำงานของเอนไซม์ P2O ว่าเหตุใดจึงเกิดสารตัวกลาง C(4a)-hydroperoxyflavin ที่เสถียรกว่าเอนไซม์อื่นๆในกลุ่มเดียวกัน นอกจากนี้เราพบว่า P2O ยังสามารถใช้ 2-fluoro-D-glucose และ 2-deoxy-D-glucose เป็นสารตั้งต้นในการเร่งปฏิกิริยา จากผลการศึกษาดังกล่าวทำให้เราทราบว่า P2O สามารถเร่ง ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของน้ำตาลในกลุ่มไพราโนส ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 2 และ 3 ได้อีกด้วย (Kujawa et al., 2006)

เป้าหมายของงานวิจัย

1. เพื่อศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ไพราโนสออกซิเดส ที่มีการเปลี่ยนแปลงหมู่กรดอะมิโนที่อยู่บริเวณ เร่งปฏิกิริยาไปเป็นกรดอะมิโนต่างชนิด (site-directed mutagenesis)
2. เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอนไซม์ไพราโนสออกซิเดส เกิดสารตัวกลาง C(4a)-hydroperoxyflavin ที่เสถียรกว่า เอนไซม์อื่นๆในกลุ่ม flavoprotein oxidase

 

ติดต่อเรา:
ห้องปฏิบัติการ (LAB) PR305 ตึก PR ชั้น 3
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-201-5596

หน่วยวิจัยโครงสร้างและการทำงานของโปรตีน (CPSF)
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 4 ห้อง K419
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
272 ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400
โทร: 02-201-5847 โทรสาร : 02-201-5843 e-mail : pimchai.cha@mahidol.ac.th

 

[ มหาวิทยาลัยมหิดล ][ คณะวิทยาศาสตร์ ] พิมพ์ใจ ใจเย็น

http://science.mahidol.ac.th - ปรับปรุงครั้งล่าสุด : 15 กุมภาพันธ์ 2561
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

best tracker |