Faculty of Science, Mahidol University
ศ.ดร. พิมพ์ใจ ใจเย็น : Official Website
ภาษาไทย | English หน้าหลักคณะวิทยาศาสตร์ » ภาควิชาชีวเคมี » ศ.ดร. พิมพ์ใจ
   
แนะนำห้องปฏิบัติการ
เอนไซม์พาราไฮดรอกซีฟีนิล
อะซีเตทไฮดรอกซีเลส
เอนไซม์ไพราโนสออกซิเดส
เอนไซม์ลูซิเฟอเรส
เอนไซม์เซอรีนไฮดรอกซี
เมธิลทรานสเฟอเรส
เทคนิคและวิธีการ
 
ประวัติและผลงาน (CV)
ประวัติในวิกิพีเดีย
รางวัลนักวิทย์รุ่นใหม่
 
กิจกรรมในต่างประเทศ
นักศึกษาและทีมวิจัย
ภาพกิจกรรมใน Lab
วิทยานิพนธ์ของนักศึกษา

เอนไซม์เซอรีนไฮดรอกซีเมธิลทรานสเฟอเรส
(Serine hydroxymethyltransferase ; SHMT)

              SHMT เป็นเอนไซม์ในกลุ่มที่่อนุพันธ์ของวิตามินบี 6 หรือที่มีชื่อเรียกว่า pyridoxal-5’-phosphate หรือ PLP เป็นตัวช่วยในการทำปฎิกิริยา (cofactor) เอนไซม์นี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมทาบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนกรดอะมิโนเซอรีน (serine) และ เตตระไฮโดรโฟเลต (tetrahydrofolate ; THF) ให้ได้เป็นสารผลิตภัณฑ์ไกลซีน (glycine) และเมธิลีนเตตระไฮโดรโฟเลต (methylenetetrahydrofolate ; MTHF) ซึ่ง MTHF เป็นสารสำคัญที่จะถูกใช้เป็นส่วนประกอบในการสังเคราะห์สารตั้งต้นตัวอื่นๆ อาทิ ไธมิดิเลต (thymidylate) กรดอะมิโนเมไธโอนีน (methionine) และ โคลีน (choline) เป็นต้น

             ดังแสดงในภาพ เอนไซม์ SHMT จัดว่าเป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในวัฏจักรการสร้างไธมิดิเลต (thymidylate synthesis cycle) ซึ่งมีเอนไซม์อื่นอีกสองตัวที่ทำงานร่วมกันคือ เอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลตรีดักเทส (dihydrofolate reductase ; DHFR) และ เอนไซม์ไธมิดิเลตซินเธส (thymidylate synthase) วัฏจักรนี้สามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป รวมทั้งในเชื้อ ปรสิตพลาสโมเดียมซึ่งก่อให้เกิดโรคติดเชื้อมาลาเรีย เพราะฉะนั้น SHMT จึงเป็นเอนไซม์ตัวหนึ่งที่สำคัญในการสร้างสาร ไธมิดิเลต และสารพันธุกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสำหรับเชื้อมาลาเรีย

            เนื่องจากโรคมาลาเรียซึ่งเกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium sp.) ยังคงเป็นปัญหาหลักทั่วโลกที่ มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่าสองล้านคนต่อปี ด้วยเหตุนี้เราจึงสนใจที่จะศึกษากลไกการทำงานของเอนไซม์ ตัวนี้จากเชื้อพลาสโมเดียมทั้ง Plasmodium falciparum และ Plasmodium vivax ในเชิงลึก ทั้งนี้เพื่อจะได้เข้าใจ ว่าปฎิกิริยาของเอนไซม์ชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อนำไปสู่การหาสารประกอบเคมีที่มีศักยภาพในการยับยั้งการทำงาน ของเชื้อพลาสโมเดียม เพื่อพัฒนาเป็นตัวยาในการรักษาโรคมาลาเรียนี้ต่อไป

จุดประสงค์ของงานวิจัย

1. เพื่อผลิตเอนไซม์ SHMT ให้ได้ปริมาณที่มากพอเพื่อใช้ในงานวิจัย โดยใช้วิธีการโคลน (cloning) และทำการแสดงออกของยีนในเชื้ออีโคไล (E. coli)
2. เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบอย่างง่ายในการหาสารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ SHMT
3. เพื่อศึกษากลไกการทำงานของเอนไซม์ SHMT ในเชิงลึก

 

ติดต่อเรา:
ห้องปฏิบัติการ (LAB) PR305 ตึก PR ชั้น 3
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-201-5596

หน่วยวิจัยโครงสร้างและการทำงานของโปรตีน (CPSF)
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 4 ห้อง K419
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
272 ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400
โทร: 02-201-5847 โทรสาร : 02-201-5843 e-mail : pimchai.cha@mahidol.ac.th

 

[ มหาวิทยาลัยมหิดล ][ คณะวิทยาศาสตร์ ] พิมพ์ใจ ใจเย็น

http://science.mahidol.ac.th - ปรับปรุงครั้งล่าสุด : 15 กุมภาพันธ์ 2561
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2561 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

best tracker |