NSTDA

Activity Photo

ม.มหิดล จับมือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา

13 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา “โครงการการผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา” เพื่อพัฒนายาฆ่าเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีลงนามในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านมาลาเรียในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานในพิธีลงนาม โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนาม และยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารจากคณะและสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รองศาสตราจารย์ […]

ม.มหิดล จับมือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สวทช. และ JAXA ส่งมอบต้นราชพฤกษ์อวกาศให้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด

6 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ในฐานะผู้แทนคณบดี และ อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชา เข้าร่วมกิจกรรมส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศให้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด โดยมี คุณวิเชียร จึงวิโรจน์ กรรมการบริหารและผู้จัดการร่วม บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนรับมอบต้นกล้า และแขกผู้มีเกียรติจากองค์การสำรวจอวกาศประเทศญี่ปุ่น (JAXA) คุณทาเคฮิโระ นากามูระ ผู้อำนวยการ JAXA สำนักงานกรุงเทพฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้ประสานงานโครงการราชพฤกษ์อวกาศจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และ ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ และ คุณปริทัศน์ เทียนทอง ผู้ประสานงานโครงการ รวมถึงผู้สนใจ ร่วมงาน ณ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สวทช. และ JAXA ส่งมอบต้นราชพฤกษ์อวกาศให้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด Read More »

Activity Photo

ทีมนักวิจัยคณะวิทย์ ม.มหิดล – สวทช. เตรียมบินลัดฟ้าทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ภายใต้โครงการ HyperGES ของ UNOOSA และ ESA ณ ประเทศเนเธอแลนด์

ทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สวทช. ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) และสำนักกิจการอวกาศแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOOSA) ในหัวข้อ “Watermeal, the Future Food Source for Space Exploration” เตรียมเดินทางไปทำวิจัยทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ที่ The European Space Research and Technology Centre (ESTEC) ภายใต้ โครงการ HyperGES ณ ราชอาณาจักรเนเธอแลนด์ ระหว่างวันที่ 17-30 กันยายน 2566สมาชิกทีมประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Plant Biology & Astrobotany กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ดร.สุชีวิน กรอบทอง นักวิจัยหลังปริญญาเอก นายยอดยิ่ง ยิ่งชูตระกูล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ทีมนักวิจัยคณะวิทย์ ม.มหิดล – สวทช. เตรียมบินลัดฟ้าทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ภายใต้โครงการ HyperGES ของ UNOOSA และ ESA ณ ประเทศเนเธอแลนด์ Read More »

Activity Photo

อาจารย์นักวิจัย ม.มหิดล คว้าทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 มุ่งยกระดับงานวิจัยแนวหน้า พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฝีมือคนไทย

8 สิงหาคม 2566 อาจารย์นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล (Professor Dr. David John Ruffolo) อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ หัวหน้าโครงการวิจัย ‘วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกัมมันตรังสีในอวกาศ’ ผู้ได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 – 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมงาน เปิดตัวนักวิจัยศักยภาพสูงและแถลงงานวิจัย ประจำปี 2565 – 2566 ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ณ ห้อง Lotus Suite โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายสมปรารถนา

อาจารย์นักวิจัย ม.มหิดล คว้าทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 มุ่งยกระดับงานวิจัยแนวหน้า พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฝีมือคนไทย Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล จับมือ พีอาร์ไนน์ ไมโครอินโนเวต สวทช. ขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ

5 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือภาคเอกชน บริษัท พีอาร์ไนน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (PR9 Corporation) ร่วมกับ บริษัท ไมโคร อินโนเวต จำกัด (Microinnovate Co.,Ltd) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ Pediococcus pentosaceus รหัส P7 เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “BM9 Plus Synbiotics” โชว์ศักยภาพอาหารเสริมเทคโนโลยีชีวภาพจากงานวิจัยโดยคนไทยเพื่อคนไทยคว้ารางวัลเหรียญทองระดับโลกในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท พีอาร์ไนน์ คอร์ปอเรชั่น นำโดย ดร.เสกข์สรร ธีระวาณิชย์ ประธานกรรมการ และคุณพงษ์กฤตย์

ม.มหิดล จับมือ พีอาร์ไนน์ ไมโครอินโนเวต สวทช. ขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ Read More »