มหาวิทยาลัยมหิดล

การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-VISIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

       16 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับฟังการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ และนำเสนอผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานที่สำคัญของปีงบประมาณ 2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2566 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์

การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-VISIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 Read More »

คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก

       วันที่ 13-14 ธ.ค. 2565 คณาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยวันแรกของการสัมมนา ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันพระบรมราชชนกและกล่าวเปิดการสัมมนา รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา จากนั้นเป็นการแนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก โดยอาจารย์ พญ.อุษา ศิริบุญฤทธิ์ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ตามด้วยการบรรยายเรื่องหลักการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ Vertical and Horizontal Integration โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ดนัย วังสตุรค ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอภิปรายเรื่องการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท: ความสำเร็จและอุปสรรค โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา

คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปี การก่อตั้ง

14 ธันวาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และ คุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา เป็นผู้แทนคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรียา กิจเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับและเป็นผู้แทนรับมอบเงินบริจาคจากคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 2,000 บาทคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี ถือกำเนิดขึ้นจากกระแสรับสั่งของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เมื่อครั้งคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต้องการจะขยายมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและประเทศ จึงขอพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าเพื่อขอพระราชทานนาม “มหิดล” ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ โดยพระราชทานคำแนะนำว่า “ถ้าจะเพิ่มคณะขึ้นใหม่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปี การก่อตั้ง Read More »

Activity photo

คณาจารย์ และบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48)

29 พฤศจิกายน 2565 คณาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึง ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร. เอกสิทธิ์ สมสุข อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48) ณ อาคารศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชในงานนี้ ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี ได้ร่วมจัดงานโดยเป็นประธานดูแลการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงเป็นกรรมการตัดสินรางวัลการนำเสนอใน Session B1: Biological Science ซึ่งครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพใน 6 หัวข้อ ได้แก่ ชีวเคมี (Biochemistry), เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology), จุลชีววิทยา

คณาจารย์ และบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48) Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications”

30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Prof. Ravin Narain จาก Department of Chemical and Materials Engineering, Donadeo Innovation Centre for Engineering จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา มาบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science (MUSC) Research Forum หัวข้อเรื่อง Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications โดยได้รับเกียรติจาก คุณ Poornima Ramesh Lyer นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาตร์และวิศวกรรมวัสดุ กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง กล่าวเปิดกิจกรรมการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือจากงานวิจัย กลุ่มสาขาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications” Read More »

พิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2565

2 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและส่วนงาน ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ได้ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยร่วมตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จำนวน 30 รูป ก่อนเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ จำนวน 10 รูป และกล่าวถวายราชสดุดี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาพร้อมกันนั้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท จัดพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล

พิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2565 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาดูงานหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

28 พฤศจิกายน 2565 คณะผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก คณะผู้บริหารศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลราชบุรี คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.ศักนัน มะโนทัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ ให้การต้อนรับและบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวข้องอาทิ Outcome-based & integrated pre-clerkship curriculum, Holistic at-risk student, Student engagement และ Technology in medical education คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์จากภาควิชาปรีคลินิก ได้แก่ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาดูงานหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565”

29 – 30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์ รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก โดยในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้จัดแสดงผลงานให้แก่นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเข้าชม ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนจำนวนมาก และต่อมาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 จึงนำเสนอผลงานแก่ พลโท ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และคณะผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นที่นำเสนอในปีนี้ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล (Digital Bioscience Laboratory) ซึ่ง อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics เจาะลึกวิวัฒนาการทฤษฎีควอนตัมและการประยุกต์ใช้

31 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics แบบ Hybrid ปิดท้ายเสวนาซีรีส์โนเบลประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านควอนตัม ศิษย์เก่าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ ดร. ธนภัทร์ ดีสุวรรณ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ดร.เอกรัฐ พงษ์โอภาส และ ดร. รุจิภาส บวรทวีปัญญา จากสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics เจาะลึกวิวัฒนาการทฤษฎีควอนตัมและการประยุกต์ใช้ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม

22 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) พร้อมด้วยคณาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโอซาก้า ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University นำโดย Prof. Genta Kawahara, Executive Vice President, Prof. Kiyoshi Fujita, Senior Advisor to the President, Center for Global Initiatives/Center for International Affairs Graduate School of

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ ร่วมมือกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นี้ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไทโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่ Health

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2565

         19 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงานคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มและถวายราชสักการะเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในโอกาส “วันเทคโนโลยีของไทย” ซึ่งกำหนดให้เป็นวันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถตลอดจนพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระองค์ จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่ชาวไทยทั้งมวล ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม           วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอำนวยการการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก ที่เขื่อนแก่งกระจาน ด้วยพระองค์เอง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2565 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักวิทยาศาสตร์น้อยท่องโลกวิทยาศาสตร์แสนสนุก

8 ตุลาคม 2565 กลับมาอีกครั้งกับโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักวิทยาศาสตร์น้อยเข้าร่วมท่องโลกวิทยาศาสตร์แสนสนุกผ่านการทดลอง บับเบิ้ลหรรษา เรียนรู้เกี่ยวกับแรงตึงผิว โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ สุวรรณะ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร พร้อมด้วยพี่ ๆ นักศึกษาให้ความรู้และดูแลน้อง ๆ ตลอดกิจกรรม ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 พร้อมผู้ปกครองให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 100 คน โครงการ “มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมหาวิทยาลัยเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักวิทยาศาสตร์น้อยท่องโลกวิทยาศาสตร์แสนสนุก Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2565

30 กันยายน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงานเกษียณอายุผู้ปฏิบัติงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2565 สร้างความทรงจำที่ดีร่วมกันในรูปแบบ Hybrid ณ อาคารบรรยายรวมตึกกลม และระบบประชุม online Webex Meeting ภายในงานมีการจัดพิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เกษียณอายุงาน โดยมีผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2565 ทั้ง 13 ท่าน พร้อมด้วยผู้เกษียณรุ่นพี่ รวมถึงบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมฟังพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารเพล ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติจากนั้นเข้าสู่พิธีการ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เป็นประธานในพิธี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2565 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานเพื่อสังคมในงาน MUSEF2022 Healthy Together สื่อสารองค์ความรู้จากโครงการและงานวิจัยเพื่อมวลมนุษยชาติ

27 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอ 4 ผลงานเพื่อสังคมในงาน Mahidol University Social Engagement Forum: MUSEF2022 Healthy Together ชุมชนเมืองสุขภาพดี ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายากิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีเปิด และคุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และรองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม : Local Actions for Global Impact” นอกจากนั้น ยังมีการเสวนาเรื่อง “สุขภาพเมือง : ความท้าทายและแนวทางการแก้ปัญหา (Urban Health: Challenges and Potential Solutions) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานเพื่อสังคมในงาน MUSEF2022 Healthy Together สื่อสารองค์ความรู้จากโครงการและงานวิจัยเพื่อมวลมนุษยชาติ Read More »

Activity photo

งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา จัดอบรมแพทยศาสตรศึกษา “การออกแบบข้อสอบแบบ MCQ การวัดและประเมินผล” พัฒนาอาจารย์ประจำภาควิชาในกลุ่มพรีคลินิก

วันที่ 21 กันยายน 2565 งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษาจัดอบรมแพทยศาสตรศึกษา “การออกข้อสอบ MCQ การวัดผลและประเมินผล” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ และแพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรองผู้อำนวยการศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา (ศรว.) มาเป็นวิทยากรให้กับอาจารย์ประจำภาควิชาในกลุ่มพรีคลินิก (Pre-clinic) ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีวเคมี ภาควิชาพยาธิชีววิทยา ภาควิชาเภสัชวิทยา ภาควิชาสรีรวิทยา ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยภาคเช้าเป็นการบรรยายถึงหลักการออกข้อสอบแบบ Multiple Choice Question (MCQ) เน้นการออกข้อสอบแบบ Application การวิเคราะห์ข้อสอบก่อนและหลังการสอบ การวัดและประเมินผล ส่วนภาคบ่ายแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อทำ Workshop ฝึกการออกข้อสอบ MCQ แบบ Application และให้คะแนน Acceptable Index

งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา จัดอบรมแพทยศาสตรศึกษา “การออกแบบข้อสอบแบบ MCQ การวัดและประเมินผล” พัฒนาอาจารย์ประจำภาควิชาในกลุ่มพรีคลินิก Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย (TCUMU)” กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนรักและรู้จักวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 08.30 – 13.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TCUMU)” ในหัวข้อ สนุกกับ CO2 ให้กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ โดยมี รศ.ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยากร และได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์กล่าวต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและคุณครูที่มาเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัย สสวท. และ สวทช. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และพี่เลี้ยงนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก คอยดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เกิดแรงบันดาลใจ และรับการพัฒนาทักษะ การสังเกตุ การตั้งคำถาม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย (TCUMU)” กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนรักและรู้จักวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” กระชับความสัมพันธ์การวิจัยไทย-ญี่ปุ่น

8 – 9 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาโทชั้นปีที่ 1 และ 2 จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยในประเทศไทย กระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิชาการที่เข้มแข็งของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า เป็นมหาวิทยาลัยพันธมิตรที่มีความร่วมมือทางวิชาการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ภายใต้โครงการความร่วมมือในระบบมหาวิทยาลัยแม่ข่าย (Core University System) ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Society for the Promotion of Science) หรือ JSPS หลังจากโครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีจึงได้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ และการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อไปอีกก้าวหนึ่ง ด้วยการจัดตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า หรือ MU-OU:CRC ขึ้น พร้อมกับเปิดหน่วยความร่วมมือการวิจัย สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสาขาต่างประเทศแห่งแรกของศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (CRS, ICBiotech, Osaka University) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเน้นที่งานวิจัยและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” กระชับความสัมพันธ์การวิจัยไทย-ญี่ปุ่น Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ

       วันที่ 29 สิงหาคม 2565 งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพร่วมกับงานบริหารและธุรการ และงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการจัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เวลา 09.00 – 11.45 น. เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาคุณภาพคนและพัฒนาคุณภาพงาน สู่การพัฒนาคุณภาพองค์กร  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการประเมินเพื่อทำหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ชำนาญงาน ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญฯ) ม. มหิดล ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เคล็ดลับ การพิจารณาผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุน”   โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น   86  ท่าน มีวัตถุประสงค์1.เพื่อให้ผลงานของคณะวิทยาศาสตร์ที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์2. ได้ผลงานที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาต่อยอดไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานประจำได้ต่อไป โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพ คณะวิทยาศาสร์ ทั้งหมดจำนวน 5 ผลงาน ขอแสดงความยินดีกับผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่  1. แผนงานสำหรับจัดการความเสี่ยงด้านการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ที่ได้รับรางวัลประเภท Team Good Practice Award,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย MU Green Ranking 2021 ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022

24 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย ในโครงการ MU Green Ranking 2021 โดยได้รับการจัดอันดับจากระบบ MU-EcoData ซึ่งพิจารณาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเกณฑ์การประเมิน MU Green Ranking 2021 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ให้เป็นส่วนงานที่บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเป็นอันดับ 7 จาก 29 ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนคณบดีเข้ารับประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก โดยได้ดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์มาตรการประหยัดทรัพยากรและพลังงาน จัดการขยะแยกประเภท และจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมผลักดันมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนต่อไป เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นายสุเมธ กิตติภูมิ ภาพข่าวโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล  และนางสาวปัณณพร แซ่แพ เว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 24 สิงหาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย MU Green Ranking 2021 ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า

17 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็กจากกลุ่มเยาวชนวายุบุตร ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข เพื่อสนับสนุนและสืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดการแสดง วัตถุประสงค์ของการจัดแสดงเพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้แลกเปลี่ยนความรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยมหิดลในทุกมิติ ซึ่งรวมถึงด้านภาษาและวัฒนธรรม หุ่นละครเล็ก มหรสพไทย ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 4 พัฒนามาจากการแสดงละครหุ่นหลวง การเชิดหนังใหญ่ และโขน รวมศาสตร์ศิลปะแขนงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เป็นหนึ่งในศิลปะที่ครั้งหนึ่งเกือบหายสาบสูญไปกับกาลเวลา แต่ด้วยความมุ่งมั่นของนักแสดงหุ่นละครเล็ก ทำให้จำนวนคณะแสดงหุ่นละครเล็กค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างช้า ๆ และกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง คุณศราวุธ จันทรวรรณมานหรือครูบอล และสมาชิกกลุ่มวายุบุตรให้ความรู้เบื้องต้นก่อนการแสดง เช่น สาธิตการแต่งตัวโขน ซึ่งปกติแล้วเป็นขั้นตอนที่หาชมได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีผู้ช่วยจำนวนมากในการแต่งตัวโขนเพียงตัวเดียว และอธิบายเครื่องแต่งกายพร้อมวิธีสวมใส่ โดยเน้นย้ำว่าภูมิปัญญาไทยนั้น จะไม่มีการตัดผ้าที่ใช้ในเครื่องแต่งกายเลย เนื่องจากเป็นผ้าที่ถักทอขึ้นมาด้วยความประณีตและมีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้การที่เป็นผ้าผืนเดียวยังช่วยให้สวมใส่ได้ทุกขนาดอีกด้วย คนที่มีชีวิตกลับกลายเป็นหุ่นเชิด หุ่นเชิดที่ไร้ชีวิตกลับมีชีวา หุ่นหนึ่งตัวต้องใช้คนเชิดถึงสามคน โดยผู้เชิดจำเป็นต้องมีพื้นฐานโขนเป็นอย่างน้อย 5 ปี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า Read More »

activity photo

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คว้ารางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

18 สิงหาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คว้ารางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมงานเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565 โดยจะเข้ารับโล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อไป ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี และถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก ณ อาคาร Exhibition Hall 9 – 10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ หรืออาจารย์ป๋วยของนักศึกษา เป็นทั้งอาจารย์และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจแก่สังคม โดยมีแนวคิดในการทำงาน คือ หน้าที่ของครูไม่ใช่แค่เพียงให้ความรู้ตามตำรา แต่ต้องเป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ส่วนหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ คือการแก้ปัญหา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คว้ารางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

             18 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุ    สาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช เนื่องใน “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”             วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย เนื่องด้วยในวันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2411 ได้มีเหตุการณ์สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามและเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการผลิตแพทย์ระหว่างสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยมหิดล

15 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าผลิตแพทย์เพิ่ม จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชุมชนศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ลงนามร่วมกับ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร อธิการบดี สถาบันพระบรมราชชนก นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร รองอธิการบดี สถาบันพระบรมราชชนก รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองกฎหมาย และนายแพทย์รายิน อโรร่า ที่ปรึกษาอธิการบดี สถาบันพระบรมราชชนก โดยมีผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ และแขกผู้มีเกียรติจากทั้ง 2 หน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามและเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการผลิตแพทย์ระหว่างสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงนิทรรศการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กและเยาวชนในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565  

13 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงนิทรรศการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ ให้แก่เด็กและเยาวชนในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565 เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทว มหามกุฎวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Art – Science – Innovation for Sustainable Society)” โดยมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ผ่านมา ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงนิทรรศการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กและเยาวชนในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565   Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธี ได้ถวายพานพุ่มราชสักการะ เปิดกรวยกระทงดอกไม้ถวายราชสักการะและถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กล่าวถวายราชสดุดี ถวายพระพรชัยมงคล ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยภายในพิธีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ พร้อมใจสวมเสื้อสีฟ้ากันอย่างพร้อมเพรียง เมื่อวันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ บริเวณหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่ได้ทรงปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นอเนกอนันต์ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ตลอดมา พระราชกรณียกิจทั้งปวงจากการทรงงานเมื่อโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โครงการพระราชดำริน้อยใหญ่อันเกิดจากพระปรีชาสามารถของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ผลิดอกออกผล สร้างความผาสุกร่มเย็นแก่ปวงพสกนิกรจวบจนปัจจุบัน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้คนอยู่ร่วมกับป่าในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ตลอดจนการส่งเสริมศิลปาชีพในงานหัตถศิลป์หลากหลายแขนงสร้างชื่อเสียงเลื่องลือไกลไปยังนานาประเทศทั่วโลก พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้และน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตา ที่ทรงมีต่อปวงประชาประดุจดั่ง “แม่ของแผ่นดิน”

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 Read More »

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารบรรยายรวมและกล่าวต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล กลับเข้าเรียนในพื้นที่ศาลายา ประจำปีการศึกษา 2565

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารร่วมพิธีเปิดใช้อาคารบรรยายรวม คณะวิทยาศาสตร์ อย่างเป็นทางการอีกครั้งหลังปรับปรุงโฉมใหม่ และกล่าวต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้กลับเข้ามาเรียนในพื้นที่อาคารเรียนต่าง ๆ พร้อมให้โอวาทอวยพรแก่นักศึกษาเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในโอกาสวันแรกของการเปิดภาคการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 และได้เดินเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ อาทิ ห้องควบคุมระบบการเรียนการสอน ห้องเรียน พร้อมทั้งกล่าวทักทายอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนถ่ายภาพร่วมกันในห้องเรียน รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เนื่องด้วยคณะวิทยาศาสตร์ ได้ดูแลรับผิดชอบการเรียนการสอนในกลุ่มรายวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาหลายหลักสูตรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้อาคารบรรยายรวมทั้ง 2 อาคาร เป็นสถานที่หลักในการจัดการเรียนการสอนและใช้งานอย่างต่อเนื่องมาตลอด ไม่ได้เว้นช่วงในการดูแลบำรุงรักษา ทำให้สภาพอาคารและอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอนชำรุดทรุดโทรม และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ใน 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนไปเป็นรูปแบบการเรียนออนไลน์ ห้องเรียน อาคารเรียนและพื้นที่ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่ได้ถูกใช้งาน ทางคณะวิทยาศาสตร์จึงได้วางแผนปรับปรุงอาคารบรรยายรวมและพื้นที่โดยรอบ รวมถึงจัดเตรียมระบบโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยให้พร้อมสำหรับการเรียนการสอนภายในพื้นที่หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลายลง โดยโครงการดังกล่าว

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารบรรยายรวมและกล่าวต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล กลับเข้าเรียนในพื้นที่ศาลายา ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ต้อนรับนักศึกษาน้องใหม่ สานสายใยมิตรภาพหลักสูตรไทย หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (PI)

3 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ต้อนรับนักศึกษาน้องใหม่สานสายใยมิตรภาพหลักสูตรไทย หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (PI) โดยมี คณะผู้บริหาร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวแสดงความยินดี ให้โอวาทกับนักศึกษา พร้อมแนะนำคณะวิทยาศาสตร์ในภาพรวม รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ กล่าวแนะนำคณะวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ศาลายา ทีมงานเจ้าหน้าที่ศาลายา อาคารบรรยายรวม สิ่งอำนวยความสะดวก และสถานที่ต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ศาลายา เช่น ห้องเรียนบรรยายปรับปรุงใหม่, lab digital, co-working space, ห้องกิจกรรม, ห้องน้ำ all gender, ตู้กดน้ำ เป็นต้น และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ ณัฐวุฒิ ผู้แทนจากสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวแนะนำภาพรวมของสมาคมฯ การมอบทุนสมาคมฯ ประจำปีการศึกษา 2565 และเชิญชวนนักศึกษาเข้ากลุ่มสื่อสารกับทางสมาคมฯ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ต้อนรับนักศึกษาน้องใหม่ สานสายใยมิตรภาพหลักสูตรไทย หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (PI) Read More »

activity photo

สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Important respiratory viruses in the 21st century” เตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

4 – 5 สิงหาคม 2565 สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (Thailand – U.S. CDC Collaboration, TUC) และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Important respiratory viruses in the 21st century” แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูล กระบวนการทดสอบ เตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ในอนาคตโดยในวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ นายกสมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) ได้ให้เกียรติมาเปิดการประชุมวิชาการ ณ ห้องอมรินทร์ชั้น 3 โรงแรมเอสดี อเวนิว ปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ ภายในงานมีแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการจำนวนมากร่วมนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานของประเทศไทยในการควบคุมโรคอุบัติใหม่ตั้งแต่ โรคไข้หวัดนก (H5N1 avian influenza),

สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Important respiratory viruses in the 21st century” เตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต Read More »

activity photo

อบจ. นนทบุรี เชิญคณาจารย์จาก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักพฤกษศาสตร์ชุมชน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจังหวัดนนทบุรี ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

2 – 3 สิงหาคม 2565 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เชิญคณาจารย์จาก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักพฤกษศาสตร์ชุมชน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจังหวัดนนทบุรี ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างความตระหนักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทีมวิทยากรนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล และนักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ในการสังเกตโครงสร้างของพืช รู้จักอาณาจักรพืช และวงศ์พืชสำคัญ วิธีการจัดทำตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิง รู้จักพิพิธภัณฑ์พืชและโครงการพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย และการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพด้วยแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์จำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร สินค้ากลุ่มแม่บ้าน สินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีครูสนใจเข้าร่วมการอบรมกว่า 160 คนจาก 34

อบจ. นนทบุรี เชิญคณาจารย์จาก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักพฤกษศาสตร์ชุมชน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจังหวัดนนทบุรี ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ Read More »