มหาวิทยาลัยมหิดล

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3

17 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมปลูกต้นพะยอมเป็นที่ระลึกร่วมกับ 11 ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 ภาคปฏิบัติ ณ สนามฟุตซอล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ก่อนมอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านโครงการอบรม ณ สวนป่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในพิธีปิดการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล ได้กล่าวชื่นชมผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านที่สละเวลาและตั้งใจในการอบรมครั้งนี้ จากนั้นจึงเชิญผู้แทนทีมวิทยากรจากบริษัท Progression Trees จำกัด กล่าวสรุปการอบรม ผู้แทนผู้เข้าร่วมอบรมกล่าวความในใจ คณบดีกล่าวปิดการอบรม ก่อนปิดท้ายด้วยการมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการคุณฐณพล สมาธิ ผู้แทนทีมวิทยากรจากบริษัท Progression Trees จำกัด กล่าวว่า ประทับใจผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ทุกคนพัฒนาทักษะขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล

17 มีนาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ และสถาบันต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ ผู้แทนคณบดี และคุณมลฤดี ธรรมรงค์ นักวิชาการเงินและบัญชี (ชำนาญการพิเศษ) งานคลังและพัสดุ ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ ให้การต้อนรับ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ ถนนวิภาวดีรังสิต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : วิทยาลัยการจัดการเว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 17 มีนาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล Read More »

Activity Photo

นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท แสดงความกตัญญูกตเวทิตา จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565

11 มีนาคม 2566 นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล และคณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 ร่าง ณ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ AN1-301 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการเรียนแพทย์ วิชาที่เป็นพื้นฐานสำคัญวิชาหนึ่งคือ วิชามหกายวิภาคศาสตร์ หรือ Gross anatomy ซึ่งนักศึกษาจะศึกษาโดยการผ่าร่างของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือที่นักศึกษาแพทย์เรียกขานท่านว่า “อาจารย์ใหญ่” ความรู้ที่ได้จากร่างของอาจารย์ใหญ่ในทุกส่วนและทุกระบบของร่างกาย ที่ไม่มีตำราเล่มไหนหรือเทคโนโลยีใดมาทดแทนได้ นอกจากความรู้แล้วสิ่งที่นักศึกษาแพทย์ได้รับคือตัวอย่างของความเสียสละของอาจารย์ใหญ่ ที่จะเป็นแรงบันดาลใจในความเสียสละเมื่อสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์แล้ว และการทำงานเป็นทีมเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักศึกษาแพทย์ตระหนักถึงคุณูปการของอาจารย์ใหญ่ รวมถึงเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตา จึงได้จัดพิธีอำลาร่างของอาจารย์ใหญ่ โดยมีการกล่าวบทบูชาครูและขอขมาอาจารย์ใหญ่ ตัวแทนนักศึกษาแพทย์กล่าวคำสดุดีอาจารย์ใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ประธานในพิธีฯ ได้กล่าวให้โอวาทกับนักศึกษา จากนั้นเป็นพิธีบรรจุร่างอาจารย์ใหญ่พร้อมจดหมายฉบับสุดท้ายที่นักศึกษาแพทย์เขียนถึงอาจารย์ใหญ่ใส่ในโลงศพ ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิร่วมกตัญญูมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ คุณเอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ เป็นผู้แทนของมูลนิธิร่วมกตัญญูรับมอบใบประกาศเกียรติคุณและเงินบริจาคฯ จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์

นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท แสดงความกตัญญูกตเวทิตา จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ

          14 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และพระมหาธนศักดิ์ ชื่นสว่าง ผู้จัดการโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ร่วมพิธีลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ           โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการสร้างพันธมิตร และผมเชื่อว่าโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ที่ให้ความสนใจด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีจุดมุ่งหมายร่วมกันกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการที่เรามีความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการจะเสริมให้เกิดประโยชน์หลากหลายด้านในอนาคต ผมเชื่อว่า MOU นี้จะเกิดประโยชน์กับทุก ๆ ฝ่าย           ในโอกาสอันดีนี้ คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ

28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมเปิดกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร คุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ตำแหน่ง นิติกร (ผู้ชำนาญการพิเศษ) หัวหน้างานธรรมาภิบาลและบริหารทั่วไป และคุณจักรกฤษณ์ พางาม ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ผู้ชำนาญการพิเศษ) จากกองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้กับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 65 คนคุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ได้สรุปความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส หลักเกณฑ์การประเมินฯ และวิธีการประเมิน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บุคลากรรับทราบช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ แผนการดำเนินงานประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานรอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือการปฏิบัติงาน และคู่มือการให้บริการกับบุคคลภายนอก ระบบสารสนเทศสำหรับบุคคลภายนอก แผนและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณของคณะฯ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน

9 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 ถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และความสวยงามตามรูปลักษณ์ของพรรณไม้แต่ละชนิด ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมือง และส่งเสริมการปฏิบัติงานรุกขกรอย่างปลอดภัย กับผู้เข้าร่วมอบรมจาก มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 19 คน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ นายธราดล ทันด่วน วิทยากรหลัก ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดโครงการอบรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” ขึ้นด้วยความเชื่อมั่นว่า องค์ความรู้ต้องได้รับการถ่ายทอดต่อไปสู่สังคม ตามปรัชญาของคณะวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นในการเป็น ‘สติของประชา ปัญญาของสังคม’ คณะวิทยาศาสตร์เองในอดีตก็มีเพียงตึกและพื้นที่โล่ง

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS)

       8 มีนาคม 2566 เวลา 9.00-13.00 น. หน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น จัดงานประชุมสัมมนา “Commemorative Symposium of 20th Anniversary of OU-MU:CRC and OU:CRS” ในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งหน่วยงานทั้งสอง ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบ WebEx Meeting โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น      

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) Read More »

Activity Photo

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

8 มีนาคม 2566 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act (TRIUP Act & Technology Commercialization) เปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 รวมไปถึงกฎหมายลำดับรอง และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของ ‘ทรัพย์สินทางปัญญา’ (Intellectual Property) ในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge based economy) ในปัจจุบัน ที่ทุกประเทศพยายามพัฒนานวัตกรรมและสร้างทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อจุดประกายสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษามองถึงโอกาสในการนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประโยชน์ต่อสาธารณชนในครั้งนี้ โครงการอบรมฯ ได้รับเกียรติจาก 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับ 15 คณาจารย์และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้า 6 รางวัลเชิดชูเกียรติ

2 มีนาคม 2566 ในโอกาสครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารคณะ และสถาบันต่าง ๆ ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนร่วมฟังปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ 12 เรื่อง “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในภาวะความไม่ยั่งยืนของการพัฒนา” โดย คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับ 15 คณาจารย์และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้า 6 รางวัลเชิดชูเกียรติ Read More »

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566

          วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 09.00-12.00 น.  ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข   งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยใช้ AUN-QA CRITERIA VERSION 4.0  ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา มาเป็นวิทยากร โดยมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง จำนวนทั้งสิ้น 54 คน รับชมการประชุมย้อนหลัง / เอกสารประกอบการประชุม  (Intranet)

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566 Read More »

Activity Photo

สโมสรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 33 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย แนะแนวการศึกษาต่อในธีมนักเวทฝึกหัดสุดสร้างสรรค์

3 – 5 กุมภาพันธ์ 2566 สโมสรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านคณะวิทยาศาสตร์ พญาไท – ศาลายา จัดค่ายแนะแนวการศึกษาต่อในด้านวิทยาศาสตร์ Mahidol Alternative Science Camp หรือ “MAS Camp” ครั้งที่ 33 เปิดโอกาสให้น้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ ได้ค้นหาตัวเองในธีมนักเวทฝึกหัดตะลุยภารกิจค้นหาความลับและผจญภัยในโลกเวทมนตร์สุดสร้างสรรค์ โดยมีรุ่นพี่นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์พาไปรู้จักกับภาควิชา กลุ่มสาขาวิชา หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสัมผัสถึงความเป็น “ชาววิทยาฯ มหิดล” อย่างแท้จริง ผ่านเกมและกิจกรรมจากภาควิชาและกลุ่มสาขา เช่น ไขปริศนา คาถาอักษรรูน – ภาควิชาชีววิทยา, สิ่งนั้นคืออะไร – ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, เปลี่ยนสีน้ำ – ภาควิชาเคมี, เกมการลงทุนที่มีแต่ขาดทุน – ภาควิชาคณิตศาสตร์, หาผู้ร้ายของคดีฆาตกรรมจากรอยเลือดในที่เกิดเหตุ – ภาควิชาฟิสิกส์, ปิดตา ปิดหู แล้วมาดูนี่ต้นอะไร

สโมสรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 33 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย แนะแนวการศึกษาต่อในธีมนักเวทฝึกหัดสุดสร้างสรรค์ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ไขความลับแก่นโลก ตอบข้อสงสัยกรณีแก่นโลกหยุดหมุนและหมุนย้อนกลับ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจ

17 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ไขความลับแก่นโลก ตอบข้อสงสัยกรณีแก่นโลกหยุดหมุนและหมุนย้อนกลับ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจ และให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาแก่นโลกผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยได้รับเกียรติจากสองอาจารย์นักธรณีฟิสิกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวิศ อมาตยกุล และ อาจารย์ ดร.สุทธิพงษ์ น้อยสกุล จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ธวัช รุ่งอรุณวรรณ จากบริษัท เคิร์ลอี ธรณีฟิสิกส์ จำกัด เป็นวิทยากร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และรับชมทาง Facebook live รวมกว่า 44 คนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวิศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ไขความลับแก่นโลก ตอบข้อสงสัยกรณีแก่นโลกหยุดหมุนและหมุนย้อนกลับ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเยี่ยมชมภาคชีววิทยาเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

           22 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา เป็นประธาน พร้อมทีมบริหารและคณาจารย์ ให้การต้อนรับ ผู้บริหารและคณาจารย์จำนวน 15 ท่าน จากกองวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นำโดยพันตรี ภัทรพล คงสุข อาจารย์ส่วนการศึกษา ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำแนวไปปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าต่อไป           ในโอกาสนี้ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พาเยี่ยมชมการเรียนการสอนพร้อมทั้งแนะนำภาควิชาชีววิทยาและพันธกิจ ก่อนนำเสนอโครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเปิดให้ศึกษาดูงานในส่วนของห้องปฏิบัติการ และนำเสนอวิธีการประเมินความรู้และทักษะของนักศึกษา ปิดท้ายด้วยการถ่ายภาพร่วมกัน ณ อนุสรณ์สถาน ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นายธีรเทพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเยี่ยมชมภาคชีววิทยาเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ จัดคอนเสิร์ต Insomnia Live in Salaya 2023: Awake but Dreaming ระเบิดความมันในรอบ 3 ปี

29 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ จัดคอนเสิร์ต Insomnia Live in Salaya 2023 สร้างประสบการณ์ทางดนตรีภายใต้ธีม ‘Awake but Dreaming’ ที่ชวนให้ทุกคนมาล่องลอยไปกับเสียงเพลงเสมือนว่ากำลังหลับฝันกับ 5 ศิลปินขวัญใจวัยรุ่นระดับประเทศ Serious Bacon, Mirrr, Patrickananda, Polycat, Musketeers ที่มาวาดลวดลายสร้างสีสัน แต้มความมันในคืนที่ไม่มีใครหลับใหล ณ สนามรักบี้-ฟุตบอล หลังหอพักนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ปลุกบรรยากาศเทศกาลดนตรีใจกลางศาลายา ให้กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากเงียบหายเนื่องจากการระบาดของโควิด – 19 ไปกว่า 3 ปี ซึ่งคอนเสิร์ตในครั้งนี้มีผู้เข้าชมมากกว่า 3,000 คน เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ภาพข่าวโดย : ชมรม SC

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ จัดคอนเสิร์ต Insomnia Live in Salaya 2023: Awake but Dreaming ระเบิดความมันในรอบ 3 ปี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนจากประเทศฝรั่งเศส

        วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร. กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ร่วมให้การต้อนรับนักศึกษาชาวต่างชาติ Ms. Afaf Afifi สัญชาติโมรอคโค และ Ms. Ekaterina Balakhnina สัญชาติรัสเซีย นักศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตร Master of Cultural Communication, University of Burgundy ประเทศฝรั่งเศส         ซึ่งเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และ University of Burgundy ประเทศฝรั่งเศส โดยมีหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตและหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ-ภาคพิเศษ) กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมแลกแปลี่ยน มีกำหนดระยะเวลา 5 เดือน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนจากประเทศฝรั่งเศส Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (Fin. ดี Happy Life) ในหัวข้อ “เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน Road to Millionaire”

27 มกราคม 2566 งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน Fin. ดี Happy Life “เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน Road to Millionaire” ให้แก่บุคลากร โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม และ คุณเสกสรร โตวิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ BF Knowledge Center บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด คณะอนุกรรมการด้านการตลาด นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย มาเป็นวิทยากรรับเชิญให้ความรู้การจัดการทางการเงินเพื่ออิสรภาพทางการเงิน พร้อมชวนผู้เข้าร่วมอบรมวางแผนการเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณที่มีคุณภาพ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวนัชย์นภัส เราอัครรุ่งเรืองภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์:

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (Fin. ดี Happy Life) ในหัวข้อ “เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน Road to Millionaire” Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 12 “Phayathai Music Festival 2023”

1 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมพลังบุคลากรในธีม “โปงลาง สะท้านไห คณะวิทย์ ม่วนซื่น” ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 12 ที่ปีนี้จัดขึ้นในธีม “Phayathai Music Festival 2023” ณ สนามข้างตึกเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร 9 ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้แก่ วิทยาลัยการจัดการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา โดยมีคณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นพ. ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์กล่าวเปิดงาน และ รองศาสตราจารย์ ทพ.ยสวิมล คูผาสุข รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 12 “Phayathai Music Festival 2023” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ มหิดล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าฯ เปิดบ้านต้อนรับศิษย์เก่าในงานคืนสู่เหย้า “ย้อนคืนวันวาน ณ ลานตึกกลม”

28 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมคืนสู่เหย้า “ย้อนคืนวันวาน ณ ลานตึกกลม” ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล พญาไท เปิดบ้านต้อนรับศิษย์เก่าทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่กว่า 200 คน ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเองกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมฯ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยคณาจารย์ และศิษย์เก่าผู้มีคุณูปการ มาร่วมงานกันอย่างคับคั่งภายในงานเต็มไปด้วยอาหารจากร้านในความทรงจำ และร้านดังในเมืองกรุง รวมถึงการแสดงดนตรีโดยนักศึกษาชมรมดนตรี และผู้แทนนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังมีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบให้ร่วมสนุก ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมศิษย์เก่าน้อมรำลึกถึงคณาจารย์ผู้สอนในสมัยเรียน (Dear my teacher) ที่เปิดโอกาสให้บรรดาศิษย์เก่าเขียนจดหมายถึงอาจารย์ผู้สอนสมัยเรียนที่เคารพรัก กิจกรรมจากใจพี่เพื่อน้อง SC โดยผู้แทนกรรมการสมาคมศิษย์เก่าฯ กิจกรรมเรื่องเม้าท์ประจำรุ่น ที่เชิญผู้แทนอาจารย์และศิษย์เก่ามาเล่าเรื่องราวเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาในรั้วคณะวิทยาศาสตร์สู่กันฟัง กิจกรรมเกมจับรางวัล นอกจากนั้นยังเปิดให้ศิษย์เก่าได้สัมผัสบรรยากาศในชั้นเรียนแห่งความทรงจำ L01 และถ่ายภาพที่ระลึกก่อนปรับปรุงใหม่ ในปีนี้อีกด้วยทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถสมัครได้ที่

คณะวิทย์ มหิดล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าฯ เปิดบ้านต้อนรับศิษย์เก่าในงานคืนสู่เหย้า “ย้อนคืนวันวาน ณ ลานตึกกลม” Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านสัมภาษณ์นักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ผ่านระบบ TCAS รอบ Portfolio 1/2

21 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ผ่านระบบ TCAS รอบ 1/2 หรือรอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่เดินทางมาเข้ารับการสัมภาษณ์กับคณาจารย์ พร้อมจัดกิจกรรมพบปะผู้ปกครอง ณ ห้อง L-02 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยในรอบ Portfolio 1/2 นี้ มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากทั่วประเทศร่วมการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อกว่า 308 คนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีที่ตอบโจทย์การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศกว่า 12 หลักสูตร แบ่งเป็นหลักสูตรไทย 6 หลักสูตร ได้แก่ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์, พฤกษศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรนานาชาติ 6 หลักสูตร ได้แก่ คณิตศาสตร์ประกันภัย, คณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านสัมภาษณ์นักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ผ่านระบบ TCAS รอบ Portfolio 1/2 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบ ส.ค.ส. และไดอารี่พระราชทาน จาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

    วันที่ 24 มกราคม 2566 รศ.นารถธิดา ตุมราศวิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ผู้แทนสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้อัญเชิญ ส.ค.ส. และไดอารี่พระราชทาน จาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อำนวยพรแด่ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ในโอกาสที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความร่วมมือกับการดำเนินงานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มาด้วยดีโดยตลอดมา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบ ส.ค.ส. และไดอารี่พระราชทาน จาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับเกียรติบัตรดีเด่นรางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี 2565 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

     วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและยกย่องที่มีผลงานดีเด่นในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และเป็นส่วนงานต้นแบบด้านความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยมหิดลและสถานศึกษาระดับประเทศจากการตัดสินของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน       ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี และทีมบริหาร ได้รับเกียรติบัตรดีเด่น สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2565 จาก นายอาทร นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5) ณ ห้องบรรยาย K101 มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นอย่างมาก โดยในวันที่ 10 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการจัดกิจกรรมปฏิบัติการหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น หลักสูตรดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 และยังได้จัดอบรมหลักสูตรการช่วยชีวิตเบื้องต้นอีกด้วย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับเกียรติบัตรดีเด่นรางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี 2565 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566 คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ประเทศไทย

23 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะคู่ความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ให้การต้อนรับคณะกรรมการจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสมาพันธ์แพทยศาสตร์ศึกษาโลกว่าเป็นสถาบันที่ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาแพทยศาสตร์ด้วยเกณฑ์มาตรฐานสากล TWC.WEME.BME.Standards 2021 ในการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566 ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนกได้ร่วมกันจัดทำขึ้น โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในส่วนของรายวิชาปรีคลินิก ชั้นปีที่ 1-3ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ หัวหน้าภาควิชาปรีคลินิก ประธานรายวิชาฯ ปรีคลินิก ได้ร่วมต้อนรับและรับการสัมภาษณ์จาก ศาสตราจารย์ นพ.พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566 คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ประเทศไทย Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการ

20 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการวิชาการ ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท พร้อมถ่ายทอดผ่านระบบประชุม online WebEx Meeting การเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ อาจารย์อาวุโสคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาคมชาวมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมฟังการเสวนากว่า 300 คนในตอนต้นของการเสวนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ได้เล่าถึงความเชื่อมโยงกันของการวิจัย การตีพิมพ์ผลงาน และจริยธรรมการวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการ Read More »

Activity photo

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ หารือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร พ.ศ. 2566 ร่วมกับผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

เมื่อช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ทีมบริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ และผู้แทนจากคณะศิลปศาสตร์ ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.สวรรค์ ขวัญใจพานิช คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และทีมผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก พร้อมเดินหน้าปรึกษาหารือเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์ ระบบช่วยเหลือและการดูแลนักศึกษาช่วงเปลี่ยนถ่ายหลักสูตรให้คงความมีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันพระบรมราชชนก จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ได้นำทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกเยี่ยมชมหอสมุดฯ ซึ่งภายในแบ่งออกเป็น Co-working space และ E-lecture zone โดยทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกได้ให้ความสนใจระบบการบันทึกการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งต่อมา รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ และคณะได้นำทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โดยให้การต้อนรับและนำชมห้องเรียนรวม

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ หารือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร พ.ศ. 2566 ร่วมกับผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ มหิดล จัดเต็ม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ 4 กิจกรรม ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2

15 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชนกับครอบครัว ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยในวันนี้เป็นกิจกรรมสำหรับน้อง ๆ อายุ 7 – 9 และ 10 – 12 ปี ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้านทั้งหมด 4 กิจกรรม ได้แก่กิจกรรม ‘ไข่แตกไหม’ ที่ชวนน้อง ๆ มาท้าพิสูจน์ดูว่าระหว่างไข่ดิบธรรมดากับไข่ดิบที่แช่น้ำส้มสายชูเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จนเปลือกไข่ที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต หรือหินปูน ถูกกัดกร่อนไปจนหมดแตกต่างกันอย่างไร จะแตกไหมหากเราลองเคาะเปลือกไข่ทั้ง 2 ฟอง พร้อมเฉลยปริศนาไข่กับไก่อะไรเกิดก่อนกันให้น้อง ๆ หายสงสัยกิจกรรม ‘ไข่ลอยน้ำ’ ที่ทดลองเปรียบเทียบไข่ดิบในแก้วน้ำเปล่า กับไข่ดิบในแก้วน้ำเกลือ แสดงให้เห็นถึงพลังของความหนาแน่น ที่ทำให้ไข่ในน้ำเกลือลอยขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับน้อง ๆ ได้อย่างดีกิจกรรม

คณะวิทย์ มหิดล จัดเต็ม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ 4 กิจกรรม ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ มหิดล จัด ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566

14 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566 ในรูปแบบออนไลน์ เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ทางบ้านได้ทดลองวิทยาศาสตร์แสนสนุกจากอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายกับครอบครัว โดยมีพี่ ๆ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คอยดูแลให้คำแนะนำน้อง ๆ เป็นอย่างเป็นกันเองตลอดกิจกรรมเริ่มด้วยกิจกรรมสำหรับน้อง ๆ อายุไม่เกิน 6 ปี กิจกรรมแรก ‘ผักเปลี่ยนสี’ ที่นำเอาผักที่เราคุ้นเคยอย่างผักกาดขาว แกะเป็นใบ ๆ แล้วจุ่มลงไปในน้ำสีผสมอาหารสีต่าง ๆ ทั้งสีส้ม แดง ม่วง ฯลฯ และสังเกตการณ์สีที่เปลี่ยนแปลงไปของใบผักกาดขาวต่อด้วยกิจกรรม ‘น้ำอัญชันสีอะไร’ ที่ใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ อย่างน้ำอัญชัน และน้ำมะนาว โดยนำเอาน้ำมะนาวหยดลงในน้ำอัญชันแล้วสังเกตดูสีที่เปลี่ยนไป สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับน้อง ๆ เป็นอย่างดีกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในวันอาทิตย์ที่ 15

คณะวิทย์ มหิดล จัด ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฏิบัติการหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น และหลักสูตรดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 เตรียมความพร้อมรับมือเหตุเพลิงไหม้

10 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท จัดกิจกรรมปฏิบัติการหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น และหลักสูตรดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 เตรียมพร้อมบุคลากรและนักศึกษารับมือเหตุเพลิงไหม้ โดยมีวิทยากรจากสถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดกระบังให้ความรู้ และสาธิตการปฏิบัติตนขณะเกิดเหตุไฟไหม้ การใช้ถังดับเพลิงประเภทต่าง ๆ ให้กับนักศึกษาและบุคลากร ณ ลานระหว่างห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข และอาคารหน่วยสัตว์ทดลอง ก่อนจำลองสถานการณ์ไฟไหม้ตามอาคารต่าง ๆ และฝึกซ้อมการอพยพผู้ที่อยู่ในอาคารขณะเกิดไฟไหม้มายังจุดรวมพลทั้ง 3 จุดภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ จุดที่ 1 ลานหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ และอาคารบรรยายรวม สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ, อาคารฟิสิกส์, อาคารพรีคลินิก, อาคาร Venture Club และอาคารบรรยายรวมจุดที่ 2 สนามหญ้าระหว่างอาคารเคมีและอาคารคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารชีววิทยา, อาคารเคมี และอาคารวิจัยและจุดที่ 3 บริเวณพื้นที่หน้าอาคารชีววิทยาใหม่ และอาคารอเนกประสงค์ สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารชีววิทยาใหม่, อาคารกายวิภาคศาสตร์, อาคารชีวภาพการแพทย์, อาคารเทคโนโลยีชีวภาพ, อาคารอเนกประสงค์,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฏิบัติการหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น และหลักสูตรดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 เตรียมความพร้อมรับมือเหตุเพลิงไหม้ Read More »

Activity photo

นักศึกษาแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน Syringe Game ครั้งที่ 32 เล่นกีฬากระชับความสัมพันธ์นักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศ ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

วันที่ 6 – 8 มกราคม 2566 นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 ได้ร่วมงานกีฬาสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยฯ (Syringe game) ครั้งที่ 32 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งในปีนี้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นเจ้าภาพฯ โดยมีสถาบันแพทยศาสตร์เข้าร่วมจำนวน 26 สถาบัน แข่งขันกัน 11 ประเภทกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง เปตอง วิ่ง ว่ายน้ำ A-math และ Bridge ผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ซึ่งในโอกาสนี้ นักศึกษาแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล (PI) เข้าร่วมแข่งขัน 9

นักศึกษาแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน Syringe Game ครั้งที่ 32 เล่นกีฬากระชับความสัมพันธ์นักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศ ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมคณบดีพบประชาคม (Meet the Dean) สรุปการดำเนินงานในปี 2565 และตอบคำถามชาวคณะวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยกันพัฒนาปรับปรุงคณะฯ

          27 ธันวาคม 2565 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี สรุปการดำเนินงานในปี 2565 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานของผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2566 เพื่อสื่อสารนโยบายและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ผ่านกิจกรรม Meet the Dean ในรูปแบบ Hybrid โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารบรรยายรวม ห้อง L-02 (ตึกกลม) และระบบประชุมออนไลน์ WebEx Meeting           สำหรับปี 2566 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาองค์กรด้วยหลักการ ซ่อม (Learning/Innovative Organization) ซ่อมในหลาย ๆ เรื่อง ทำให้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงอาคารบรรยายรวม/ห้องบรรยายให้สะดวกสำหรับทุกเพศและแก่บุคคลทุพพลภาพ ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ต่อด้วยขั้นตอนที่สอง สร้าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมคณบดีพบประชาคม (Meet the Dean) สรุปการดำเนินงานในปี 2565 และตอบคำถามชาวคณะวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยกันพัฒนาปรับปรุงคณะฯ Read More »

คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566

             29 ธันวาคม 2565 คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2565 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และในวันเดียวกันนี้ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าสวัสดีปีใหม่ พร้อมส่งความสุขให้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพร้อมเป็นพลังที่สำคัญในการทำงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2566 ต่อไป

คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566 Read More »