Mahidol Science

Activity Photo

อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำ ลดต้นทุนการผลิตพลังงาน คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

8 มีนาคม 2567 ศาสตราจารย์ ดร. ศิวพร มีจู สมิธ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 ในสาขาเคมี จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ที่มอบให้แก่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเทคโนโลยีของประเทศ จำนวน 200,000 บาท ด้วยโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำโดยใช้คลื่นไมโครเวฟเปรียบเทียบกับคลื่นอัลทราโซนิกส์ และเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรางวัลการศึกษาวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 30 ณ Crystal Hall โรงแรม The Athenee Bangkok พิธีมอบรางวัลในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้มอบทุนในพิธีมอบรางวัลและเงินทุนช่วยเหลือการวิจัยฯ ครั้งที่ 30 โดยมี ฯพณฯ นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มร. อาคิฮิโร นิคคาคุ ประธานบริษัทโทเรอินดัสตรีส์ ประเทศญี่ปุ่น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ […]

อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำ ลดต้นทุนการผลิตพลังงาน คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา

        วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รศ. ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ และ รศ.ดร.สมบัติ ธนะวันต์ เข้าร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตาม เสนอแนะ เร่งรัด และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านยางพาราของประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อเสนอในเชิงนโยบาย และโครงสร้างการบริหารจัดการทั้งระบบ เพื่อเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ในการดำเนินการอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาใช้แก้ไขปัญหายางพาราของประเทศไทย เกิดการรวมพลังอย่างแท้จริงเชิงระบบในทุกระดับ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานระดับชาติและระดับสากลต่อไป         โดยได้รับเกียรติจาก ประธานคณะกรรมาธิการฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง กล่าวเปิดงานว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว กมธ.ได้จัดสัมมนาในเรื่องการวิจัยนวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้ยางพารา เพื่อนำไปสู่การใช้งานได้มากขึ้น โดยดำเนินการมาในลักษณะของช่วงต้นทางและกลางทาง ซึ่งในวันนี้จะเป็นการเติมระหว่างกลางทางสู่ปลายทาง เพื่อไปบรรลุในเรื่องเชิงพาณิชย์ในการทำให้ผลิตภัณฑ์ยางพาราตรงความต้องการของท้องตลาด นำไปสู่การใช้งานในหลายรูปแบบ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับชาวสวนยางและผู้ประกอบการต่างๆ  รวมถึงสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนต่อไป         ต่อด้วยการกล่าวปาฐกถาพิเศษโดย นายพินิจ จารุสมบัติ ประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและอดีตรองนายกรัฐมนตรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา Read More »

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย Bioism 2 เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนจำนวนกว่า 1,375 คน เข้าประลองความรู้ทางชีววิทยา

17 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยนักศึกษาภาควิชาชีววิทยา ในนามสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย (Bioism) ครั้งที่ 2 โดยมีนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศสมัครร่วมกิจกรรมกว่า 1,726 คน และเข้าร่วมแข่งขันประลองความรู้จำนวน 1,375 คน พร้อมร่วมกิจกรรมเรียนรู้ระบบในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและการประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย หรือ Bioism เป็นการทดสอบความรู้ด้านชีววิทยาโดยมีพื้นฐานจากหนังสือเรียน สสวท. ระดับมัธยมปลาย ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมปลายที่สนใจทางด้านชีววิทยาได้มีโอกาสทดสอบทักษะความรู้ทางวิชาการ เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ รวมถึงแนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานร่วมกันของนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย ในปีนี้โครงการจัดขึ้นภายใต้แนวคิดโลกใต้ทะเล โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย Bioism 2 เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนจำนวนกว่า 1,375 คน เข้าประลองความรู้ทางชีววิทยา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ

2 มีนาคม 2567 ในโอกาสครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ และคณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพิธีบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ พร้อมร่วมฟังปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ครั้งที่ 13 เรื่อง “รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกสู่การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อด้วยพิธีมุทิตาจิตผู้อาวุโส ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดพิธีมอบรางวัลเพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่า ประจำปี 2566 ในด้านต่าง

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT SCGC PTT และ DIP จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ “Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs” เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา

เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา 28 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ หัวข้อ “กลยุทธ์ในการส่งเสริมธุรกิจด้วยเครื่องมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา: มิติในการคุ้มครองบรรจุภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs)” เผยแพร่ความรู้และแนวคิดในการคุ้มครองและรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property: IP) ด้วยเครื่องมือประเภทต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการประกอบธุรกิจแก่นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยในโอกาสนี้

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT SCGC PTT และ DIP จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ “Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs” เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด

          ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีอาหาร SPACE-F รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมสนับสนุนโดย บริษัท ไทยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม Hill Crest ชั้น 5 โรงแรมเดอะ ควอเตอร์ ลาดพร้าว บาย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด Read More »

หน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด “การอบรมผู้ใช้สัตว์ทดลองประจำปี 2567 ตามแนวทางมาตรฐานสากล AAALAC International”

          ในวันพฤหัสดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 หน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด “การอบรมผู้ใช้สัตว์ทดลองประจำปี 2567 ตามแนวทางมาตรฐานสากล AAALAC International” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงและให้คำแนะนำนักวิจัยผู้ใช้สัตว์ทดลอง เวลา 09:00–15:00 น. ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งหัวข้อการอบรมออกเป็น 2 ภาค หัวข้อในภาคเช้ามีดังนี้• สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558โดย รองศาสตราจารย์ ดร. น.สพ.เทพมนัส บุปผาอินทร์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล • บทบาทของคณะกรรมการกํากับดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (คกส.) ตามแนวทางมาตรฐานสากล AAALAC Internationalโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นทีทิพย์ กฤษณามระ ประธานคณะกรรมการกํากับดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลอง • หลักการเกี่ยวกับการเขียนโครงการขอใช้สัตว์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดย สพ.ญ.วันทนีย์ รัตนศักดิ์ สัตวแพทย์ที่ปรึกษา

หน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด “การอบรมผู้ใช้สัตว์ทดลองประจำปี 2567 ตามแนวทางมาตรฐานสากล AAALAC International” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด UK roadshow on Science, research and innovation

          ในวันที่ 13  กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 – 15.00 น.  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด กิจกรรม   “UK Roadshow on Science, Research and Innovation” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนวิจัยจากสหราชอาณาจักร และวิธีการสมัครขอรับทุนวิจัยเพื่อสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในสหราชอาณาจักร  ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล           กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณชวิศ อุตตมาชัย ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ  และคุณชยนันต์ บุญมี ผู้จัดการโครงการวิทยาศาสตร์ บริติช เคานซิล เป็นวิทยากร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด UK roadshow on Science, research and innovation Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ เนสท์เล่ และเครือข่ายพันธมิตร ลงนาม MOU โครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตวงการอาหารไทย พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมโอกาสการเติบโตของ FoodTech Startup ในการพัฒนานวัตกรรม

       12 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จับมือ เนสท์เล่ อินโดไชน่า องค์กรอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ ที่มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลก และแบรนด์ระดับท้องถิ่นที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เข้าร่วมโครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” ณ ห้อง Pinnacle 4-5 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ        บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า (Nestlé Indochina) ถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก ครอบคลุม 190 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเวเวย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ เนสท์เล่ และเครือข่ายพันธมิตร ลงนาม MOU โครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตวงการอาหารไทย พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมโอกาสการเติบโตของ FoodTech Startup ในการพัฒนานวัตกรรม Read More »

สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย สร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        9 – 11 กุมภาพันธ์ 2567 สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย เพื่อให้น้องๆในค่ายได้รู้จัก ได้สัมผัส และสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังช่วยให้นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้การดำเนินงาน วางแผน และการบริหารงาน อีกทั้งเพิ่มทักษะในการทำงานร่วมกันอีกด้วย         โดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 จัดกิจกรรมที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีรุ่นพี่นักศึกษาในคณะพาไปรู้จักกับภาควิชา กลุ่มสาขาวิชา หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ช่วงเช้ากิจกรรมฐานในวันแรกจะเน้นในเรื่อง เนื้อหาของสาขา สาขานี้เรียนอะไรและสามารถต่อยอดอย่างไรได้บ้าง และในช่วงเย็นกิจกรรมสันทนาการ มีการตีกลอง พร้อมเต้นเพลงสันทนาการต่างๆ       

สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย สร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

Activity Photo

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567

2 กุมภาพันธ์ 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 (Thailand Inventor’s Day 2024) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 25 ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนำประเทศ” และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้แทนศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค และคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ เฝ้ารับเสด็จและเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ งานวันนักประดิษฐ์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่ได้สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้นักประดิษฐ์ได้เผยแพร่ ถ่ายทอด

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 Read More »

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ นำ ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2567 มามอบให้ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

       17 มกราคม 2567 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ นำการ์ด ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2567 มามอบให้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี เป็นผู้รับมอบ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์เว็บมาสเตอร์: นายคุณานนต์ ศิริเขตร์วันที่ 17 มกราคม 2567

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ นำ ส.ค.ส.พระราชทาน ประจำปี 2567 มามอบให้ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ บริษัท เมอร์ค จำกัด ลงนาม MOU พร้อมเปิดตัว M-LAB เพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต

12 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ บริษัท เมอร์ค จำกัด ผู้นำระดับโลกเรื่องการค้นคว้าทางเวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ของเยอรมนี ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) พร้อมเปิดตัว “M-LAB” Merck Life Science Experience Center ศูนย์รวมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ และบริการเพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศไทย บริษัท เมอร์ค จำกัด (Merck Limited) เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านการค้นคว้าทางเวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ของเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยการร่วมทุนระหว่างบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ ประเทศเยอรมนี และกลุ่ม บีกริม (ประเทศไทย) ปัจจุบันบริษัทดำเนินกิจการนำเข้าเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ จัดจำหน่ายให้กับโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าและยกระดับวงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) ในประเทศไทยให้เกิดคุณค่าสูงสุดต่อวงการวิจัยเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ในประเทศ โดยมีการพัฒนาและนำเสนอสารเคมีสำหรับการใช้งานในห้องปฏิบัติการและอุตสาหกรรมกว่า

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ บริษัท เมอร์ค จำกัด ลงนาม MOU พร้อมเปิดตัว M-LAB เพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2567 กีฬาปีใหม่ และงานเลี้ยงสังสรรค์ พร้อมทั้งกิจกรรมประกวดแต่งกายจับฉลากของรางวัลปีใหม่ ส่งท้ายความสุขให้กับบุคลากร

       22 ธันวาคม 2566 ช่วงเช้า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2567 จัดพิธีทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ตักบาตรอาหารแห้งบริเวณซุ้มทางเดินเฟื่องฟ้า ถวายภัตตาหารและเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ณ ลานใต้ตึกกลม        ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนร่วมใจกันเข้าร่วมพิธี หลังจากนั้นบุคลากรสายสนับสนุนเข้าพบปะท่านคณบดี และคณะผู้บริหาร พร้อมรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน ณ บริเวณตึกกลม        ต่อมาในช่วงบ่าย ได้มีการจัดแข่งขัน กีฬาปีใหม่ สำหรับบุคลากร ณ บริเวณสนามหญ้า ข้างอาคารเคมี เพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย และเป็นสื่อกลางเชื่อมความสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์กรให้ได้มาพบปะพูดคุย อีกทั้งส่งเสริมให้ผู้คนได้ใช้เวลาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคี เคารพในกฎ กติกาของส่วนรวมและความมีน้ำใจต่อกัน ซึ่งในการจัดการแข่งขันกีฬาปีใหม่ มีรายการกีฬาและผลสรุปการแข่งขัน ดังต่อไปนี้

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2567 กีฬาปีใหม่ และงานเลี้ยงสังสรรค์ พร้อมทั้งกิจกรรมประกวดแต่งกายจับฉลากของรางวัลปีใหม่ ส่งท้ายความสุขให้กับบุคลากร Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

14 -15 ธันวาคม 2566 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ)” ซึ่งได้รับการรับรองหลักสูตรจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตรรับรองเลขที่ สธ0621.06/2486 กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากลแก่อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ บุคคลภายในและนอกคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยกิจกรรมถูกจัดขึ้น ณ ห้องประชุม อาคารสตางค์มงคลสุข ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิด กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ) ในครั้งนี้ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ประธานคณะกรรมการความคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงภาพรวมของการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ)” โดยการอบรมนี้มีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาทิ นักศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Plant Omics for a resilient and sustainable planet”

12 ธันวาคม 2566  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Dr. Ting-Ying Wu จาก Institute of Plant and Microbial Biology, Academia Sinica ของไต้หวัน Dr. MIng-Jung Liu จาก Agricultural Biotechnology Research Center,  Academia Sinica ของไต้หวัน รศ. ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล และอ. ดร.เนติยา การะเกตุ จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง Plant Omics for a resilient and

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Plant Omics for a resilient and sustainable planet” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง

21 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong เชิญ 3 วิทยากร ผู้มีบทบาทในการผลักดันระบบนิเวศผู้ประกอบการเริ่มต้น หรือ Startup ในมหาวิทยาลัย และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล คุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน Founder, SEA Bridge และคุณพนากร เดชธำรงวัฒน์ Head of Investment Promotion, Invest HK บรรยายเกี่ยวกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง โอกาสของ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียน ม.ปลาย เข้าสอบแข่งขันฟิสิกส์โดยสมาคมฟิสิกส์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2566

       17 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับตัวแทนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผู้มีความสนใจทางด้านฟิสิกส์จากทั่วประเทศเข้าสอบแข่งขันฟิสิกส์โดยสมาคมฟิสิกส์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2566 หรือ Thai Physics Society Competition (TPSC) 2023 รอบชิงชนะเลิศ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        สมาคมฟิสิกส์ไทยได้จัดการแข่งขันฟิสิกส์ขึ้นเป็นปีแรกเพื่อเพิ่มโอกาสให้นักเรียนทั่วประเทศได้เข้าร่วมแข่งขันและพัฒนาศักยภาพทางฟิสิกส์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 นี้ การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบออนไลน์ นักเรียนทำข้อสอบออนไลน์สะสมคะแนนวันละ 3 – 5 ข้อเป็นเวลา 15 วัน แล้วคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 1 จาก 71 จังหวัด และผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียน ม.ปลาย เข้าสอบแข่งขันฟิสิกส์โดยสมาคมฟิสิกส์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2566 Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล จับมือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา

13 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา “โครงการการผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา” เพื่อพัฒนายาฆ่าเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีลงนามในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านมาลาเรียในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานในพิธีลงนาม โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนาม และยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารจากคณะและสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รองศาสตราจารย์

ม.มหิดล จับมือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2566

        1 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณาจารย์  ผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษาได้จัดพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีเป็นประธานในพิธี ได้ถวายพวงมาลัยราชสักการะ จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ กล่าวถวายราชสดุดี และร่วมขับร้องเพลง “เดินตามรอยเท้าพ่อ” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสู่สวรรคาลัยไปแล้ว แต่พระองค์ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเป็นแบบอย่างในการทำความดี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย อีกทั้งทรงมีคุณูปการต่อการพัฒนาประเทศไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน จึงได้ถือเอาวันสำคัญยิ่งนี้เป็นวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ   ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษเขียนข่าวโดย: นายธีรเทพ แก้วมณีภาพข่าวโดย: นายคุณานนต์ ศิริเขตร์นายสมภพ แสนสมบูรณ์สุขเว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 1 ธันวาคม 2566

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT ลงนามถ่ายทอด 2 เทคโนโลยีจากผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ และผลงาน ‘สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม’ แก่ภาคเอกชน

28 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิ ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย “กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด” ให้แก่ บริษัท ทีนิตี้ ทีม จำกัด และผลงาน “สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม” ให้แก่ บริษัท เอ็ม เคมิ จำกัด แถลงความสำเร็จของผลงานวิจัย 2 ผลงานจากคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งศักยภาพเป็นที่ยอมรับกับภาคเอกชนสู่การต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ สะท้อนความสำเร็จของการผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อํานวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ผู้คิดค้นผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา จริยาบูรณ์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT ลงนามถ่ายทอด 2 เทคโนโลยีจากผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ และผลงาน ‘สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม’ แก่ภาคเอกชน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023

       28 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ และได้คว้ารางวัล Popular Vote 2 รางวัล ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023 เวทีจัดแสดงผลงานการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อ “ทศวรรษมหกรรมคุณภาพ: ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานมหกรรมคุณภาพ ประจำปี 2566 และ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานคณะกรรมการจัดงานกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน    

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม ใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566”

       20 – 21 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์, รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาราภรณ์ เตรียมโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี, รองศาสตราจารย์ ดร. กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, รองศาสตราจารย์ กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, เรืออากาศตรี นินาท บุญเปรมปรีดิ์ และ นางสาววาสิฎฐี แจ้งสว่าง ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก        โดยในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม ใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566” Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปลูกต้นราชพฤกษ์อวกาศ สัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ณ มหิดล ศาลายา

17 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ ผู้ช่วยคณบดี คุณปิยะ โพธิ์สิทธิ์ หัวหน้างานศาลายา คุณณัฐพล แนวจำปา หัวหน้างานการศึกษา และเจ้าหน้าที่งานศาลายา ร่วมกันปลูก ‘ต้นราชพฤกษ์อวกาศ’ เพื่อ เป็นสัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้าเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในอนาคต โดยมีวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานที่แข็งแรง และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจด้านอวกาศของมวลมนุษยชาติ ณ บริเวณสวนอาคารบรรยายรวม L2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาต้นราชพฤกษ์อวกาศ เป็นต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดที่เดินทางไปอวกาศภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) Mission II ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านชีววิทยาอวกาศ (Space Biology) โดยความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปลูกต้นราชพฤกษ์อวกาศ สัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ณ มหิดล ศาลายา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย หารือสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย

2 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรคู อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ และหลักสูตรคณิตศาสตร์ประกันภัย (นานาชาติ) ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซียที่ให้บริการด้านการศึกษาและนวัตกรรม ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ตั้งอยู่ในรัฐเปรัค มีวิทยาเขตครอบคลุม 34 แห่ง วิทยาลัยการศึกษา 4 แห่ง คณะต่างๆ จำนวน 14 คณะ รวมไปถึงศูนย์การศึกษา 9 แห่ง ทั่วประเทศมาเลเซีย คณะผู้แทนจาก UiTM นำโดย Associate Professor Dr. Norhafizah Abdul Rahman หัวหน้าภาควิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) วิทยาลัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย หารือสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เดินหน้าหารือ University of Technology Sydney (UTS) เครือรัฐออสเตรเลีย สร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน

8 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ และคณาจารย์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย และ อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ ให้การต้อนรับ 2 ผู้แทนจาก University of Technology Sydney (UTS) นำโดย Distinguished Professor Dr. Alaina Ammit , Associate Dean (Research), Faculty of Science และ Mr. Innes Ireland , Deputy Director, UTS International พร้อมแนะนำหน่วยงาน และพูดคุยเกี่ยวกับความสนใจของทั้งสองสถาบันเพื่อหาจุดร่วมปูทางสู่ ความร่วมมือในอนาคต ในด้านวิชาการ กิจการนักศึกษา การวิจัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล เดินหน้าหารือ University of Technology Sydney (UTS) เครือรัฐออสเตรเลีย สร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เยือน Sichuan University ร่วมวิจัยยางธรรมชาติ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ปูทางสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ

14-17 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเชิญจาก Professor Dr. Jinrong Wu อาจารย์ประจำ College of Polymer Science and Engineering, Sichuan University ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสูงของประเทศจีน ในการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสองสถาบัน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ได้เดินทางเยือน Sichuan University อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นครั้งแรกหลังจากได้มีการติดต่อทำงานร่วมกันผ่านช่องทางออนไลน์ โดยได้ร่วมปรึกษาเรื่องการวิจัยยางธรรมชาติ รวมถึงได้รับเชิญบรรยายพิเศษเรื่องยางธรรมชาติให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ College of Polymer Science and Engineering พร้อมทั้งนำเสนองานวิจัยที่กำลังดำเนินการ และแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องยางธรรมชาติ ซึ่งได้สร้างความประทับใจและเปิดโอกาสสำหรับการขยายขอบเขตของความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองสถาบันในอนาคต เขียนข่าว : ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ เรียบเรียง : นางสาวปัณณพร แซ่แพ

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เยือน Sichuan University ร่วมวิจัยยางธรรมชาติ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ปูทางสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ มหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน แลกเปลี่ยนทางวิชาการและการศึกษา ร่วมมือวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียาง

10-13 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เดินทางไปหารือความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Qingdao University of Science and Technology, QUST) พร้อมพบปะนักศึกษาไทยจากครอบครัวชาวสวนยางพาราที่ได้รับทุนการศึกษาจาก QUST ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า (Qingdao University of Science and Technology) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1950 เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของมณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา อาทิ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการ แพทยศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์และครุศาสตร์ และมีความโดดเด่นในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในด้านการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ มีทักษะการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยล้วนได้รับคัดเลือกเข้าทำงานในบริษัทชั้นนำทั่วประเทศจีน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่ายังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีประสบการณ์ในด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพ จนได้รับสมญานามว่า “มหาวิทยาลัยการทหารหวงผู่ของอุตสาหกรรมยางพาราของจีน”

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ มหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน แลกเปลี่ยนทางวิชาการและการศึกษา ร่วมมือวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียาง Read More »

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Mahidol Day of Actuarial Science and Math for Life 2023 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในวงการประกันภัยและภาคธุรกิจ

10 ตุลาคม 2566 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Mahidol Day 
of Actuarial Science and Math for Life เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในวงการประกันภัยและภาคธุรกิจอื่นๆ รวมถึงแสดงความขอบคุณ “Mr. Kean Hin Lim” President of Thai Life Insurance and founder of Green Lane Scholarship ผู้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาฯ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ประเทศเรามีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมากขึ้น มีแหล่งอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้น

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Mahidol Day of Actuarial Science and Math for Life 2023 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในวงการประกันภัยและภาคธุรกิจ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล คว้ารางวัลชมเชยโครงการประกวดสวนมุมสวย ปี 8

27 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เข้ารับรางวัล โครงการประกวดสวนมุมสวย ปี 8 จาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 18/2566 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโครงการประกวดสวนมุมสวย ปี 8 จัดขึ้นโดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งกระตุ้นให้ส่วนงานต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และเพิ่มขนาดพื้นที่สีเขียวให้กับมหาวิทยาลัย ในปีนี้ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ปรับปรุงสวนบริเวณหน้าอาคารบรรยายรวม L1 ในพื้นที่ศาลายา ส่งเข้าประกวด โดยมุ่งเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากพืชสวนที่หลากหลาย และคำนึงถึงความสวยงาม ควบคู่กับความยั่งยืน และความปลอดภัยของนักศึกษาและบุคลากรผู้ใช้พื้นที่ ซึ่งในการประกวดครั้งนี้สามารถคว้ารางวัลชมเชยมาครองร่วมกับอีก 7 คณะและสถาบัน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะพยาบาลศาสตร์

คณะวิทย์ ม.มหิดล คว้ารางวัลชมเชยโครงการประกวดสวนมุมสวย ปี 8 Read More »