ECDD

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้าน Post-Harvest Quality Control and Waste Utilization of Seafood Product ในประเทศไทย ให้กับอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ และ นักศึกษาจากประเทศอินเดีย

5 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับนักศึกษาจาก College of Fisheries Guru Angad Dev Veterinary and Animal Sciences University, Punjab ประเทศอินเดีย จำนวน 12 คน เนื่องในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้าน “การควบคุมคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและการใช้ประโยชน์จากของเสียในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหารทะเลในประเทศไทย” รวมไปถึงศึกษาการจัดการศึกษาและกิจกรรมทางห้องปฏิบัติการและการวิจัยที่เกี่ยวข้องของคณะวิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรมในช่วงเช้า นักศึกษาจากประเทศอินเดียได้เข้าเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ (Startup) ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนสำหรับด้าน “Food Tech Startup” ในประเทศไทย อันเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ณ อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 6 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้าน Post-Harvest Quality Control and Waste Utilization of Seafood Product ในประเทศไทย ให้กับอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ และ นักศึกษาจากประเทศอินเดีย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาภายใต้โครงการ “Field study program: Bioresources and Environment” เปิดโอกาสนักศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัย กระชับความสัมพันธ์ด้านวิชาการ ไทย-ญี่ปุ่น

7 – 8 กันยายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และ 21 นักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field study program: Bioresources and Environment” พร้อมจัดกิจกรรมสัมมนา Osaka University Oversea Field Study Program 2023: Student Final Presentation ในรูปแบบ Hybrid เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยในประเทศไทย กระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิชาการที่เข้มแข็งของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นโครงการ “Field study program: Bioresources and Environment” เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมความร่วมมือตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยโอซาก้าและมหาวิทยาลัย 4 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ JASSO เพื่อให้โอกาสแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้มาทำวิจัยระยะสั้น (Short Stay Short Visit:

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาภายใต้โครงการ “Field study program: Bioresources and Environment” เปิดโอกาสนักศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัย กระชับความสัมพันธ์ด้านวิชาการ ไทย-ญี่ปุ่น Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ฯ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษานานาชาติในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 เยี่ยมชมโครงการ Startup เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

24 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับผู้บริหาร รองศาสตราจารย์ ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล และรองศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับนักศึกษานานาชาติ จำนวน 72 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-29 กรกฎาคม 2566 ในโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายและร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะนักศึกษาได้เข้าเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนสำหรับด้าน “Food Tech Startup” ในประเทศไทย โดยการริเริ่มการพัฒนาโปรแกรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการ

คณะวิทย์ฯ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษานานาชาติในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 เยี่ยมชมโครงการ Startup เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน Read More »

activity photo

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ Shark Tank Thailand มองหาความเป็นไปได้ในการร่วมมือเฟ้นหา Startup ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก

14 กันยายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับ Shark Tank Thailand เพื่อเฟ้นหา Startup ที่มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ในรั้วมหาวิทยาลัย พร้อมผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก เพิ่มโอกาสเติบโตทางธุรกิจด้วยการร่วมทุนจากนักลงทุนรายใหญ่สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการ และ คุณอรวลัญช์ โลหิตหาญ หัวหน้างานระบบนิเวศผู้ประกอบการ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี และ อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) ให้การต้อนรับ คุณทรงสุดา

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ Shark Tank Thailand มองหาความเป็นไปได้ในการร่วมมือเฟ้นหา Startup ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านพร้อมสนับสนุน SPACEF Batch 3

7 กุมภาพันธ์ 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, Xpdite ต้อนรับ Startup ผู้เข้าร่วม “SPACE-F Batch 3” หรือ โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting โดย ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม (Group Director, Global Innovation) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 3 ก่อนจะมีการแนะนำบทบาทขององค์กรพันธมิตรที่มีส่วนร่วมปั้น FoodTech startup หน้าใหม่สู่วงการอุตสาหกรรมอาหารโลก โดยสนับสนุนและให้คำแนะนำในการสร้างสรรค์ผลงานของ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านพร้อมสนับสนุน SPACEF Batch 3 Read More »