มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย iNT และ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดตัวโครงการ SPACE-F Batch 5 และร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนาม MOU ระหว่าง LOTTE และสตาร์ทอัพ MUU

13 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย iNT และ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดตัว 20 สตาร์ทอัพจากนานาชาติ เจ้าของเทคโนโลยีและไอเดียสุดโดดเด่น ที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ในโครงการ SPACE-F Batch 5 โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 5 ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting

SPACE-F เป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ FoodTech Startup ในการสร้างนวัตกรรมระดับครัวไทยสู่ครัวโลก และช่วยให้สตาร์ทอัพค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก ซึ่งเป็นการสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพให้แข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ Health & Wellness, Alternative proteins, Novel food & Ingredients, Packaging solutions, Biomaterials & Chemicals, Packaging solutions, Smart Manufacturing, Restaurant Tech, Food safety & Quality และ Smart food services

โครงการนี้ก่อตั้งโดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา นำโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแนวหน้าระดับโลก และมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในบทบาทผู้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนสตาร์ทอัพด้วยองค์ความรู้และเทคนิคเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก ก่อนจะขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรวงการธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร และบริษัทให้คำปรึกษาในระดับนานาชาติ อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด หรือ Deloitte LOTTE และ Nestlé ในเวลาต่อมา และล่าสุดได้ร่วมกับ Techsauce ผู้นำด้านการสร้างเครือข่ายและขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านกิจกรรมระดับนานาชาติในรูปแบบที่หลากหลาย

SPACE-F Batch 5 ได้รับความสนใจจากสตาร์ทอัพทั่วโลก โดยมีการเปิดรับสมัครสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปลายปี 2566 ที่ผ่านมา และดำเนินการคัดเลือกสตาร์ทอัพ 20 ทีม ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหารตอบโจทย์ความยั่งยืน ซึ่งทีมที่ได้รับเลือกเข้าร่วมโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubator Program) จำนวน 10 ทีม ได้แก่

  • Full Circle (ไทย)
  • Another Food (สิงคโปร์)
  • Algrow Biosciences (สิงคโปร์)
  • Beijing BangyaBangya (จีน)
  • Niyog Global (สิงคโปร์)
  • Cantrak (ไทย)
  • Nanozeree (ไทย)
  • KronoLife (ไทย)
  • 21 Flavour (ไทย)
  • Anuvi Food Sciences (สิงคโปร์)

โปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Accelerator Program) จำนวน 10 ทีม ได้แก่

  • SEATOBAG PTE LTD (สิงคโปร์)
  • Prefer Pte Ltd (สิงคโปร์)
  • Fattastic Technologies (สิงคโปร์)
  • The Crop Project (สหรัฐอเมริกา)
  • N&E Innovations (สิงคโปร์)
  • BioDefense (สิงคโปร์)
  • UniFAHs (ไทย)
  • MUI Robotics (ไทย)
  • Aquivio (สิงคโปร์)
  • Ingrediome Inc. (อิสราเอล)

โดยทีม MUI Robotics Co., Ltd. ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.วันดี วัฒนกฤษฎิ์ CEO และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Founder และ CTO  ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมพัฒนาเทคโนโลยีสัมผัสประดิษฐ์ (Artificial Sense) และบริการตรวจวัดกลิ่นด้วยเทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการปรับปรุง การควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์รสชาติ และความปลอดภัยของอาหารและเครื่องดื่ม ก็ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Accelerator Program) ของ SPACE-F Batch 5 ด้วยเช่นกัน

ตลอดโครงการสตาร์ทอัพทั้ง 20 ทีม จะได้ร่วมกิจกรรม Workshop พัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทพาร์ทเนอร์ในโครงการ และกิจกรรม Networking สร้างความร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงอาจารย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี พื้นที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นระยะเวลา 4 – 6 เดือน ก่อนจะนำเสนอผลงานสู่สายตานักลงทุนในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดของกิจกรรมได้ที่ https://www.facebook.com/spaceffoodtech

ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการ และกล่าวต้อนรับ 20 สตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ

โดยมีแขกผู้มีเกียรติจากมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายระบบนิเวศนวัตกรรมและผู้ประกอบการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยผู้บริหาร และคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา และผู้แทนศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (MIND Center) นายพชรณัชช์ เอกวุฒิ ผู้จัดการศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์

และผู้แทนหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ อาทิ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย Dr. Christopher Aurand, Open Innovation Leader และนางสาวอนุสรา จิตราธนวัฒน์, Government Affair, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณประทีป ศิริสุขถาวร, บริษัท Lotte Fine Chemical  นำโดย Mr. Doyun Kim, Vice President Mr. Jaeho Lee, Food and Pharma Development (R&D) และ Ms. Eunji Lim, บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า นำโดย คุณโกศล กิจอำนาจสุข, บริษัท เมอร์ค จำกัด นำโดย ดร.สุทธิดารักษ์ ชัยจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์และการตลาด ดร.ทัธชาวรรณ ทิมธรรม และคุณวรารัฏ วิบูลย์ปัทมา และผู้อำนวยการโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 Mr. Sean Mak Mr. John Cheng และคุณรัชชต เศรษฐ์วรเดช มาร่วมต้อนรับทีมสตาร์ทอัพ และยินดีกับการเปิดตัว SPACE-F Batch 5 อย่างคับคั่ง

พร้อมกันนี้ยังมีการบรรยายแนะนำรายละเอียดของโปรแกรม รวมถึงบทบาทของพันธมิตรที่จะคอยสนับสนุนสตาร์ทอัพในโครงการโดย Mr. Sean Mak ผู้อำนวยการโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 และนำสตาร์ทอัพชมพื้นที่สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายใน SPACE-F โดย Dr. Christopher Aurand, Open Innovation Leader บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ต่อด้วย Exclusive Talk ซึ่งผู้บริหารของหน่วยงานพันธมิตร ได้มาพูดคุยแบ่งปันมุมมองและข้อมูลที่สำคัญซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรม รวมถึงแผนธุรกิจของสตาร์ทอัพ เช่น การร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมในภาคเทคโนโลยีการอาหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งรวมของผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชา และพันธมิตรในรูปแบบต่าง ๆ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับการลงทุนและการพัฒนา รวมถึงเป้าหมายความยั่งยืนที่แต่ละบริษัทให้ความสำคัญในการลงทุน การสนับสนุนนวัตกรรมและการสร้างผู้ประกอบการในภาคเทคโนโลยีการอาหารของแต่ละหน่วยงาน แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงอุตสาหกรรมอาหาร และการเกษตรทั่วประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงศักยภาพในการเติบโตหรือการพัฒนาในภาคเทคโนโลยีการอาหารในประเทศไทย

นอกจากนั้นยังมีการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง บริษัท Lotte Fine Chemical จำกัด และบริษัท Regene Bio Pte. จำกัด ศิษย์เก่าโครงการ SPACE-F ในการร่วมมือกันพัฒนาโปรตีนนมในเชิงพาณิชย์ด้วยเทคโนโลยีการหมักที่แม่นยำ ในงานนี้อีกด้วย การลงนามในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก Mr. Doyun Kim, Vice President บริษัท Lotte Fine Chemical จำกัด และ Mr. Chanapol Tantakosol, CEO บริษัท Regene Bio Pte. จำกัด เป็นผู้ลงนาม โดยมีผู้แทนหน่วยงานในโครงการ SPACE-F และสตาร์ทอัพทั้ง 20 ทีม ร่วมเป็นสักขีพยาน

การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการ SPACE-F ในครั้งนี้เป็นการช่วยสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศของผู้ประกอบการทางด้านอุตสาหกรรมอาหารที่ยั่งยืน และสร้าง Food Tech Startup ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรั้วมหาวิทยาลัยในประเทศไทยให้สามารถไปสู่ระดับโลกได้ ผ่านการกระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศ Entrepreneurship ในรั้วมหาลัย และเปิดโอกาสให้ทีมนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ได้สร้างธุรกิจของตนเอง รวมไปถึงมีโอกาสในการฝึกงานหรือร่วมงานกับสตาร์ทอัพต่างๆ ของ SPACE-F ในอนาคต

เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ
ภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 13 มิถุนายน 2567