วันที่ 13-14 ธ.ค. 2565 คณาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยวันแรกของการสัมมนา ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันพระบรมราชชนกและกล่าวเปิดการสัมมนา รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา จากนั้นเป็นการแนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก โดยอาจารย์ พญ.อุษา ศิริบุญฤทธิ์ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ตามด้วยการบรรยายเรื่องหลักการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ Vertical and Horizontal Integration โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ดนัย วังสตุรค ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอภิปรายเรื่องการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท: ความสำเร็จและอุปสรรค โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พญ.วิรงค์รอง เจียรกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ นพ. สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์ ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตามด้วยการอภิปรายเรื่องแนวทางการดูแลพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และระบบอาจารย์ที่ปรึกษา โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.อนุพงษ์ สุธรรมนิรันด์ และ อาจารย์ พญ.สุวิมล ล้วนเส้ง โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ สบช. ปิดท้ายของวันด้วยการบรรยายเรื่องรูปแบบการเขียน มคอ.3 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.ไพโรจน์ บุญลักษณ์ศิริ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่
วันที่สองของการสัมมนา เป็นการเรียนรู้ในเรื่องการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์แนวใหม่ และประสบการณ์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นเป็นการเรียนรู้โดยผ่าน Workshop โดยมีอาจารย์ นพ.สรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ เป็น modulator ให้ทดลองเขียน Learning outcome โดยเน้น subject-based และ transferable skills ที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ 4C for C (Critical thinker, Communicator, Collaborator, Creator, for Community engagement) ของสบช. โดยการเขียนต้อง SMART และการ Design learning activity โดยผ่านหลักคิดของ Receive, Apply และ Reuse พร้อมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากนั้นมีการ Revision & Reflection การเรียนรู้ที่ได้ ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนได้รับความรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเขียน มคอ.3 ต่อไปได้ และกล่าวปิดงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เขียนข่าว : งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา
ภาพข่าวโดย : งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา
เว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณี
วันที่ 16 ธันวาคม 2565