บรรยายพิเศษ

ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ จากหลักสูตรทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาภาวะแวดล้อม (นานาชาติ) หรือ SCBE ร่วมเสวนาพิเศษ ในงานมหกรรมมหิดลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2024 (Mahidol University SDGs Showcase 2024)

       25 มิถุนายน 2567 คุณอินทวัฒน์ อินพุมมา ศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี ภาควิชาชีววิทยา สาขาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ SCBE คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ร่วมเสวนาพิเศษ ในหัวข้อ “Leveraging SDGs in Mahidol University” ใน งานมหกรรมมหิดลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2024 (Mahidol University SDGs Showcase 2024) พร้อมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ร่วมเสวนาท่านอื่น ๆ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.ธันยพร กริชติทายาวุธ Executive Director สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย, คุณนันทพร ตีระพงศ์ไพบูลย์ ศิษย์เก่าวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณดิษยา พูนชัย นักศึกษาวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี […]

ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ จากหลักสูตรทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาภาวะแวดล้อม (นานาชาติ) หรือ SCBE ร่วมเสวนาพิเศษ ในงานมหกรรมมหิดลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2024 (Mahidol University SDGs Showcase 2024) Read More »

Activity Photo

มหาวิยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas และ Massachusetts Institute of Technology จัด Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยเสริมทัพเครือข่ายวิจัยแผนที่เซลล์มนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย

24 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas (HCA) จัดกิจกรรม  2024 HCA Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยในภูมิภาคเอเชีย โดยเชิญนักวิจัยจากสถาบันวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติมาถ่ายทอดทักษะการศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเซลล์ร่างกายมนุษย์ด้วยเทคนิค single-cell RNA sequencing เพื่อทำความเข้าใจเซลล์ทุกชนิดในร่างกายมนุษย์อย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาการวินิจฉัยโรค การพัฒนายา และวิธีการรักษาโรคในอนาคต ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในพิธีเปิดกิจกรรมได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน Dr. John Randell ผู้บริหาร (Chief Alliance Officer) โครงการ Human Cell Atlas (HCA) กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาเซลล์มนุษย์ และการดำเนินการในทั่วโลกของ HCA

มหาวิยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas และ Massachusetts Institute of Technology จัด Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยเสริมทัพเครือข่ายวิจัยแผนที่เซลล์มนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 25 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ผลงานวิจัย และพัฒนาทักษะนำเสนองานวิจัยในระดับสากล

24 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 25 (The 25th Science Project Exhibition) หรือ SciEx2024 เปิดเวทีให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี แสดงศักยภาพการวิจัย และฝึกทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยกว่า 202 โครงงาน เป็นภาษาอังกฤษ ในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ Plenary Talk Short Talk และ Poster Presentation ทั้งยังมีการบรรยายพิเศษ Special Lecture: Beyond the Lab Coat: A Scientist’s Guide to Making a Difference เปิดมุมมองการทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีนักศึกษา นักเรียน และผู้ที่สนใจวิทยาศาสตร์ ลงทะเบียนร่วมงาน ณ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 25 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ผลงานวิจัย และพัฒนาทักษะนำเสนองานวิจัยในระดับสากล Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ปอมท. และ สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “การพิจารณาการของตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในมุมมองของกระทรวง อว.” สร้างความเข้าใจหลักเกณฑ์ ก.พ.อ. 2564

23 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ฝ่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัย ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) และสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “การพิจารณาการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในมุมมองของกระทรวง อว.” สร้างความเข้าใจในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 และขั้นตอนการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการที่เป็นปัจจุบันแก่คณาจารย์มหาวิทยาลัย โดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และออนไลน์ผ่านระบบ WebEx Webinar และ FB Fanpage : MU Faculty Senate ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้เข้าร่วมเสวนาวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล เนสุสินธุ์ ประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ปอมท. และ สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “การพิจารณาการของตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในมุมมองของกระทรวง อว.” สร้างความเข้าใจหลักเกณฑ์ ก.พ.อ. 2564 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งต่อระบบนิเวศและมนุษย์ในวันผึ้งโลก

20 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล กิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งและระบบนิเวศและมนุษย์ เพื่อสร้างความตระหนักในการร่วมกันปกป้องผึ้งและแมลงผสมเกสรอื่น ๆ จากการถูกคุกคาม ในวันผึ้งโลก (World Bee Day) โดยได้รับเกียรติจากนักพฤกษศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการศึกษาผึ้งในบทบาทของแมลงผสมเกสร (Pollinator) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพืชชนิดต่าง ๆ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อลิสา สจ๊วต ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ และนางสาวพิริยา หัสสา นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ เป็นวิทยากร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการในรูปแบบออนไลน์ วันผึ้งโลก (World Bee Day) ถูกกำหนดขึ้นให้ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของ Anton

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งต่อระบบนิเวศและมนุษย์ในวันผึ้งโลก Read More »

งานพัฒนาระบบฯ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดเสวนา เรื่องการพัฒนาความรู้ทางด้าน ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยวิทยากรจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

       25 เมษายน 2567 งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดเสวนา เรื่องการพัฒนาความรู้ทางด้าน ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในการทำงานและความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ         โดยงานเสวนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และขอบคุณวิทยากร คณะผู้ทำงานที่ทำให้การจัดเสวนาในครั้งนี้เกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก คุณปณิธาน เขินอำนวย ผู้อำนวยการศูนย์มั่นคงความปลอดภัยไซเบอร์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) มาเป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้ความเข้าใจ และชี้แนะแนวทางการป้องกัน เกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้นแก่บุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล        ภาพรวมของการจัดเสวนา ได้ดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น และสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากย้อนมองกลับไป ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางคณะวิทยาศาสตร์

งานพัฒนาระบบฯ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดเสวนา เรื่องการพัฒนาความรู้ทางด้าน ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยวิทยากรจากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) Read More »

งานสื่อสารองค์กร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเสวนาวิทยาศาสตร์ Mahidol Science Café 2024 เรื่อง “สเปรย์ฟิล์มบาง ลดอุณหภูมิ กู้มหันตภัยโลกเดือด”

       25 เมษายน 2567 งานสื่อสารองค์กร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ เสวนาวิทยาศาสตร์ Mahidol Science Café 2024 เรื่อง “สเปรย์ฟิล์มบาง ลดอุณหภูมิ กู้มหันตภัยโลกเดือด” รูปแบบ Hybrid ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์ใน Facebook page : Mahidol University, Faculty of Science        โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ และ นายปฐวี สักกะตะ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มาร่วมเป็นวิทยากรเสวนาให้ถ่ายทอดความรู้ในครั้งนี้ ซึ่งมี

งานสื่อสารองค์กร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเสวนาวิทยาศาสตร์ Mahidol Science Café 2024 เรื่อง “สเปรย์ฟิล์มบาง ลดอุณหภูมิ กู้มหันตภัยโลกเดือด” Read More »

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2024 : Alumni & Career Talk

       24 เมษายน 2567 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา รวมกว่า 60 คน ในโครงการ Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2024 : Alumni & Career Talk ณ ห้อง L03 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำแนวทางในการประกอบอาชีพ ความก้าวหน้าในสายงาน และความสำคัญในการเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษาในยุคปัจจุบันจากศิษย์เก่า และประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (ระดับปริญญาโท-เอก) ของภาควิชา รวมไปถึงประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา และงานวิจัยในสาขาต่างๆ ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของทางภาควิชา และยังเป็นกิจกรรมที่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์เก่า อาจารย์ และศิษย์ปัจจุบันของภาควิชา        โดยในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญารัตน์ พงศ์ทรางกูร ประธานหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2024 : Alumni & Career Talk Read More »

สภาอาจารย์และทีมพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษเนื่องในโอกาสเดือนแห่งวันสตรีสากล

       20 มีนาคม 2567 สภาอาจารย์และทีมพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ เนื่องในโอกาสเดือนแห่งวันสตรีสากล “International Women’s Day” รูปแบบ Hybrid ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล และเข้าร่วมออนไลน์ ผ่านทางโปรแกรม WebEx        โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชุดา พยุหกฤษ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นประธานกล่าวเปิด และขอบคุณคณะผู้ทำงานที่ทำให้การจัดเสวนาเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ของการจัดเสวนาพิเศษในครั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริม สร้างกำลังใจ และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ เกี่ยวกับบทบาทของสตรีบนเส้นทางสายวิทยาศาสตร์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรสายวิชาการที่สมควรเป็นแบบอย่าง        การเสวนาในครั้งนี้ ได้แบ่งเป็น 2 ช่วง ซึ่งดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ กรรมการสภาอาจารย์ และอาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล

สภาอาจารย์และทีมพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษเนื่องในโอกาสเดือนแห่งวันสตรีสากล Read More »

Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทย์ ม.มหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย พร้อมพาเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก (SPACE-F)

       11 มีนาคม 2567 Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย (Changemaker in Sustainable Food by Deloitte Thailand) ที่จัดร่วมกับ ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศูนย์ SEAMEO STEM-ED) เข้าเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก SPACE-F  ณ ห้องประชุม SPACE-F ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        โครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย

Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทย์ ม.มหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย พร้อมพาเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก (SPACE-F) Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดกิจกรรม “Mahidol Venture Building for SPACE-F Program” เพื่อเตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 5

       8 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรม Mahidol Venture Building for SPACE-F Program ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พญาไท) และช่องทางออนไลน์ผ่าน IPTV และ FB LIVE        โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ อาจารย์ นักวิจัย สตาร์ทอัพ หรือนักศึกษาผู้ที่มีผลงานทางด้าน Food Tech เตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 หรือ Batch

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดกิจกรรม “Mahidol Venture Building for SPACE-F Program” เพื่อเตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 5 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT SCGC PTT และ DIP จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ “Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs” เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา

เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา 28 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ หัวข้อ “กลยุทธ์ในการส่งเสริมธุรกิจด้วยเครื่องมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา: มิติในการคุ้มครองบรรจุภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs)” เผยแพร่ความรู้และแนวคิดในการคุ้มครองและรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property: IP) ด้วยเครื่องมือประเภทต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการประกอบธุรกิจแก่นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยในโอกาสนี้

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT SCGC PTT และ DIP จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ “Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs” เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล ร่วมกับ International Peace Foundation เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ บรรยายพิเศษในงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.”

13 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับ International Peace Foundation จัดงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.” ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนและส่งเสริมการพัฒนาผ่านการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก Professor Edvard Ingjald Moser นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี ค.ศ. 2014 ผู้ค้นพบเซลล์ประสาทและระบบระบุตำแหน่งในสมองและความจำ ซึ่งช่วยปูทางสู่การหาวิธีรักษาอัลไซเมอร์ มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการวิจัยกับคณาจารย์และนักศึกษา ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 2-3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ ในโอกาสอันดีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ม.มหิดล ร่วมกับ International Peace Foundation เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ บรรยายพิเศษในงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด UK roadshow on Science, research and innovation

          ในวันที่ 13  กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 – 15.00 น.  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด กิจกรรม   “UK Roadshow on Science, Research and Innovation” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนวิจัยจากสหราชอาณาจักร และวิธีการสมัครขอรับทุนวิจัยเพื่อสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในสหราชอาณาจักร  ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล           กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณชวิศ อุตตมาชัย ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ  และคุณชยนันต์ บุญมี ผู้จัดการโครงการวิทยาศาสตร์ บริติช เคานซิล เป็นวิทยากร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด UK roadshow on Science, research and innovation Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ เครือข่ายพันธมิตร จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “Protein Biochemistry and Biotechnology” และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Protein Structure Determination by X-ray Crystallography”

       ระหว่างวันที่ 22 ถึง 25 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน), มหาวิทยาลัยโอซาก้า (Osaka University) และสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนารา (NAIST) จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “Protein Biochemistry and Biotechnology” และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Protein Structure Determination by X-ray Crystallography” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เกี่ยวกับผลการวิจัย ไปจนถึงเป็นการสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานวิจัยให้เกิดขึ้นระหว่างนักวิจัย สถาบันการศึกษาตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในระดับชาติและนานาชาติ        ทั้งนี้ การจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการและสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้อยู่ในกรอบของการพัฒนาโครงการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโปรตีนเอกซเรย์คริสตัลโลกราฟีอย่างครบวงจร ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ เครือข่ายพันธมิตร จัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “Protein Biochemistry and Biotechnology” และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Protein Structure Determination by X-ray Crystallography” Read More »

Activity Photo

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Special Seminar แลกเปลี่ยนเทคนิคการวิจัยโรคมะเร็ง และการพัฒนายากับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University

24 มกราคม 2567 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Special Seminar อัปเดตเทคนิคเชิงลึกในการทำวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการพัฒนายารักษา โดยได้รับเกียรติจาก Professor Seiji Okada และ Associate Professor Hiroki Goto 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ ณ ห้อง B301 อาคารชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดย Professor Seiji Okada จาก Division of Hematopoiesis, Joint Research Center for Human Retrovirus Infection, and Graduate School of Medical Sciences, Kumamoto University

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Special Seminar แลกเปลี่ยนเทคนิคการวิจัยโรคมะเร็ง และการพัฒนายากับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย.🔖ดูภาพข่าวกิจกรรมและอ่านข่าวต่อได้ที่https://science.mahidol.ac.th/news/nov66-17/ #InnovationandEntrepreneurDay2023#Innovation #IntellecutalProperty #Entrepreneur #Startup #SpinOff#MahidolScience        15 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานพันธกิจพิเศษ ร่วมกับงานวิจัย จัดกิจกรรม Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เพื่อเชิดชูความสำเร็จของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ที่มีผลงานด้านนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) พร้อมเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอและแลกเปลี่ยนมุมมองด้านวิจัย นวัตกรรม

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี”

15 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี” ถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์สู่ประชาชน โดยได้รับเกียรติจาก 2 อาจารย์ที่มีประสบการณ์วิจัยด้านการสังเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมดอท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพล อินสิน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าจากห้องปฏิบัติการของ ศาสตราจารย์มอนจี บาเวนดี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และรับชมทาง Facebook

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี” Read More »

Activity Photo

แพทย์ PI ผู้คว้ารางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 บรรยายพิเศษสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาแพทย์รุ่นน้อง

19 ตุลาคม 2566 งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทย์ศาสตร์ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “ความภาคภูมิใจของการเป็นแพทย์ PI ได้อะไรมากกว่าที่คิด” เพื่อสร้างแรงบันดาลแก่นักศึกษาแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ชั้นปีที่ 2 ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โดยได้รับเกียรติจาก แพทย์หญิงบุษกร พัวเกาศัลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ศิษย์เก่าโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล (PI) รุ่นที่ 3 และศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช รุ่นที่ 1 ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2566 จากสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้อง L04สมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมฯ เป็นประธาน และ รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล

แพทย์ PI ผู้คว้ารางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 บรรยายพิเศษสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาแพทย์รุ่นน้อง Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 29 เรื่อง ‘อาจารย์สตางค์กับการพัฒนาประเทศ’ ในโอกาสครบรอบ 65 ปี การสถาปนาคณะ

20 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 29 เรื่อง ‘อาจารย์สตางค์กับการพัฒนาประเทศ’ ฉลองวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบปีที่ 65 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ กล่าวปาฐกถา ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล พญาไทโดยพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี 2565 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ประเสริฐ โศภน อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง ประจำปีการศึกษา 2565 และผู้บริหารคณะและสถาบันต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารสถาบันวิจัย อาจารย์เกษียณ และทายาทศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เข้าร่วมงาน

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 29 เรื่อง ‘อาจารย์สตางค์กับการพัฒนาประเทศ’ ในโอกาสครบรอบ 65 ปี การสถาปนาคณะ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café 2023 Vol.1 ‘mRNA: เทคโนโลยียุคใหม่ในการป้องกันและรักษาโรค’

12 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดซีรีส์เสวนารางวัลโนเบลประจำปี 2023 จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café 2023 Vol.1 ‘mRNA: เทคโนโลยียุคใหม่ในการป้องกันและรักษาโรค’ ถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์สู่ประชาชน โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์วิจัยและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี mRNA รองศาสตราจารย์ ดร.หวัง หงุ่ยตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ธิติภา ทศพรวิชัย นักวิจัยหลังปริญญาเอก ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และรับชมทาง Facebook live รวมกว่า 70

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café 2023 Vol.1 ‘mRNA: เทคโนโลยียุคใหม่ในการป้องกันและรักษาโรค’ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2: Advanced Functional Materials for the Future” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกับ SCGC สร้างOpen Innovation เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและวัสดุอัจฉริยะ

27 กรกฎาคม 2566 งานวิจัย ร่วมกับงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2” ในหัวข้อ “Advanced Functional Materials for the Future” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกันให้กับประเทศไทยและระดับสากล โดยมีทีมนักวิจัยของทาง SCGC ให้การบรรยายพิเศษ พร้อมเปิดเวทีให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCG ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดรวมกว่า 100 คนในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2: Advanced Functional Materials for the Future” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกับ SCGC สร้างOpen Innovation เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและวัสดุอัจฉริยะ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน“ ส่งท้าย Pride Month

        28 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน แบบ Hybrid พูดคุยแบบสบาย ๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดกิจกรรมนี้เป็นครั้งที่ 2 และมีความตั้งใจที่จะจัดต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างความเข้าใจ เพิ่มการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายในกลุ่ม LGBTQIAN+ สู่ประชาคมเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บรรยาย ณ บริเวณใต้อาคารเรียนรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท         โดยในช่วงเวลา 10:00-10:50 น. เป็นการเสวนาในเรื่องของนโยบายเพื่อความหลากหลายในการทำงานภาคเอกชนและภาครัฐจากมุมผู้บริหาร

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน“ ส่งท้าย Pride Month Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง วิทยาศาสตร์ในโลกปัญญาประดิษฐ์และปัญญาประดิษฐ์ในโลกวิทยาศาสตร์

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์ในโลกปัญญาประดิษฐ์และปัญญาประดิษฐ์ในโลกวิทยาศาสตร์” โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุจินต์ วังสุยะ ภาควิชาฟิสิกส์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัลลภ ฮวบสมบูรณ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิทยากร และ รองศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์และหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Centex Shrimp) มาร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้ AI ในการวิจัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ เป็นผู้ดำเนินรายการ กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวเปิดกิจกรรม และรองศาสตราจารย์พลังพล คงเสรี คณบดี ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาที่มาร่วมกิจกรรม พร้อมกล่าวปิดการบรรยาย ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง วิทยาศาสตร์ในโลกปัญญาประดิษฐ์และปัญญาประดิษฐ์ในโลกวิทยาศาสตร์ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “Low-Cost Intelligent Sensor Interfaces for Food, Healthcare and Agriculture”

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 งานวิจัย ร่วมกับกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อ “Low-Cost Intelligent Sensor Interfaces for Food, Healthcare and Agriculture” โดยได้รับเกียรติจาก Professor Firat Güder จากภาควิชาวิศวกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) เป็นวิทยากรบรรยาย และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ กล่าวเปิดงาน โดยมี อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ บุคคลภายนอกจากภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน Professor

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “Low-Cost Intelligent Sensor Interfaces for Food, Healthcare and Agriculture” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “INDUSTRY TREND & FORESIGHT FOR MATERIAL DEVELOPMENT” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยกับ SCGC เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นอัจฉริยะในอนาคต

24 เมษายน 2566 งานวิจัย ร่วมกับงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “INDUSTRY TREND & FORESIGHT FOR MATERIAL DEVELOPMENT” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ระหว่างอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ และบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจีซี (SCGC) อัปเดตความก้าวหน้าเทรนด์อุตสาหกรรมวัสดุและเคมีในปัจจุบันและอนาคตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีอาจารย์และนักวิจัยจากภาควิชาและกลุ่มสาขาวิชาต่าง ๆ อาทิ เคมี ชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ ฟิสิกส์ วัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ สนใจเข้าร่วมกว่า 26 คน ณ ห้องประชุม K 102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทสำหรับครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง “INDUSTRY TREND & FORESIGHT FOR MATERIAL DEVELOPMENT” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยกับ SCGC เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นอัจฉริยะในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ

28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมเปิดกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร คุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ตำแหน่ง นิติกร (ผู้ชำนาญการพิเศษ) หัวหน้างานธรรมาภิบาลและบริหารทั่วไป และคุณจักรกฤษณ์ พางาม ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ผู้ชำนาญการพิเศษ) จากกองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้กับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 65 คนคุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ได้สรุปความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส หลักเกณฑ์การประเมินฯ และวิธีการประเมิน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บุคลากรรับทราบช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ แผนการดำเนินงานประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานรอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือการปฏิบัติงาน และคู่มือการให้บริการกับบุคคลภายนอก ระบบสารสนเทศสำหรับบุคคลภายนอก แผนและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณของคณะฯ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน

9 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 ถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และความสวยงามตามรูปลักษณ์ของพรรณไม้แต่ละชนิด ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมือง และส่งเสริมการปฏิบัติงานรุกขกรอย่างปลอดภัย กับผู้เข้าร่วมอบรมจาก มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 19 คน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ นายธราดล ทันด่วน วิทยากรหลัก ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดโครงการอบรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” ขึ้นด้วยความเชื่อมั่นว่า องค์ความรู้ต้องได้รับการถ่ายทอดต่อไปสู่สังคม ตามปรัชญาของคณะวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นในการเป็น ‘สติของประชา ปัญญาของสังคม’ คณะวิทยาศาสตร์เองในอดีตก็มีเพียงตึกและพื้นที่โล่ง

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน Read More »

Activity Photo

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

8 มีนาคม 2566 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act (TRIUP Act & Technology Commercialization) เปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 รวมไปถึงกฎหมายลำดับรอง และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของ ‘ทรัพย์สินทางปัญญา’ (Intellectual Property) ในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge based economy) ในปัจจุบัน ที่ทุกประเทศพยายามพัฒนานวัตกรรมและสร้างทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อจุดประกายสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษามองถึงโอกาสในการนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประโยชน์ต่อสาธารณชนในครั้งนี้ โครงการอบรมฯ ได้รับเกียรติจาก 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง Read More »

Activity Photo

กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานBookDay@Mahidol Science ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท

1 มีนาคม 2566 กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน“BookDay@Mahidol Science” ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท โดยเชิญสำนักพิมพ์และร้านหนังสือชั้นนำ อาทิ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล ร้านนายอินทร์ Expernet Books ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซีเอ็ด Kinokuniya สำนักพิมพ์สารคดี นานมีบุ๊คส์ My BookStore และ SpringerNature Publishing ร่วมออกบูธจำหน่ายหนังสือ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และจัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “How to เตรียมต้นฉบับอย่างไร เพื่อตีพิมพ์กับ MU PRESS” ณ ห้องประชุม K102 พร้อมถ่ายทอดออนไลน์ผ่าน Facebook Live โดยมีคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมรับฟังทั้งในรูปแบบ Online และ On-site กว่า 172

กลับมาอีกครั้งในรอบ 3 ปี ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานBookDay@Mahidol Science ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ปลุกไฟนักอ่านย่านพญาไท Read More »