ข่าวกิจกรรม

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางใจและปัญญา (Heal Jai Festival) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

30 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นผู้แทนคณบดีร่วมพิธีเปิดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางใจและปัญญา (Heal Jai Festival) ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี รองศาสตราจารย์ ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ กล่าวรายงานความเป็นมา Heal Jai Festival เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางใจและปัญญาให้แก่นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ภายในงานมีการจัดกิจกรรม Heal Jai Talk ที่เชิญทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจิต ดารา และศิลปิน มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ แสงสว่างจากความมืด โดยพี่แพท-วงเคลียร์, ความหมายและความสุขของการรับฟัง โดยพี่โกโก้-กกกร และพี่อุ๋ย-บุดดาเบลส, ฮีลใจ ใน Digital Age โดยพี่หมอปอง-นพ.ทีปทัศน์, เครื่องมือดูแลใจ โดยพี่ดุจดาว-SOULSMITH รวมถึงการแสดงดนตรีโดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ลานดอกกันกันภัย อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางใจและปัญญา (Heal Jai Festival) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและทีมงานจาก กฟผ. ในโอกาสเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการพร้อมหารือปูทางสานต่อความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสู่สังคม

28 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และคุณสิรภพ วงษ์เนียม หัวหน้างานวิจัยและนวัตกรรม ให้การต้อนรับผู้บริหารจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำโดย คุณสุพัฒนพงศ์ สิกขาบัณฑิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คุณนพรัตน์ หมื่นไพ หัวหน้ากองบริหารนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา คุณทวีศักดิ์ ศิริสืบ หัวหน้ากองวิจัยและนวัตกรรมธุรกิจใหม่ คุณชนะพันธ์ คงนาม หัวหน้ากองวิจัยและนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า พร้อมด้วยทีมวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ และโครงการวิจัยเพื่อสานต่อความร่วมมือเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้าน Green and Clean Energy, Zero Waste Management, Circular Economy และ Biodiversity ร่วมกัน ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ได้แนะนำห้องปฏิบัติการต่าง ๆ รวมถึงนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมแก่ผู้บริหารและทีมงานจาก

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและทีมงานจาก กฟผ. ในโอกาสเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการพร้อมหารือปูทางสานต่อความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสู่สังคม Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย จัดโครงการค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024)

ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) . ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) . ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) . ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) . ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) .        26 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย จัดโครงการ ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์และพันธุวิศวกรรมจุลินทรีย์ (Molecular Biotechnology and Microbiology)

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย จัดโครงการค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล พร้อมด้วย คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมให้การต้อนรับ สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ

       25 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี, อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสา ปฏิการมณฑล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร และคณาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชื่นจิตต์ บุญเฉิด นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอรศิริ อินตรา จากหน่วยความร่วมมือการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพฯ, รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ประสานงานโครงการ SPACE-F, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) และ อาจารย์ ดร.สุทธิชัย บุญประสพ พร้อมทั้ง

คณะวิทย์ ม.มหิดล พร้อมด้วย คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมให้การต้อนรับ สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมให้การต้อนรับ คณะศึกษาดูงานจากห้องปฏิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการและส่วนต่าง ๆ

       25 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) ร่วมให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก ห้องปฎิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และหัวหน้าห้องปฏิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการและส่วนต่างๆ ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        โดยห้องปฏิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านชุดตรวจวินิจฉัย เพื่อดำเนินการในการสร้างเครือข่าย ห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อการผลิตต้นแบบชีวภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยง ห้องปฏิบัติการที่มีเป้าหมายคล้ายกันในการผลิตและออกแบบนวัตกรรมทางการแพทย์ซึ่งบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมชีวการแพทย์ เภสัชศาสตร์ ฯลฯ เข้าด้วยกัน และมุ่งไปสู่การรับรองมาตรฐานและบูรณาการวิจัยร่วมกัน ซึ่งในการดำเนินการได้กำหนดแผนในการพัฒนาบุคลากรของเครือข่ายข้อหนึ่ง คือ การศึกษาดูงานและเรียนรู้จากความสำเร็จของห้องปฏิบัติการอื่นที่อยู่ภายใต้เครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมให้การต้อนรับ คณะศึกษาดูงานจากห้องปฏิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการและส่วนต่าง ๆ Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับผู้เชี่ยวชาญจาก Bill & Melinda Gates Foundation พร้อมหารือภารกิจรวบรวมและศึกษาพันธุกรรมของกล้วยป่าในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

21 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล รักษาการหัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ ให้การต้อนรับ  Dr. Jim Lorenzen, Senior Agriculture Program Officer จาก Bill and Melinda Gates Foundation (BMGF) ในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อหารือภารกิจความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและรวบรวมพันธุกรรมของกล้วยป่าในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยนำชมห้องปฏิบัติการและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยภายในภาควิชาพฤกษศาสตร์ โครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ Mahidol Science Central Instrument Facilities (CIF) ณ คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท จากนั้นในวันที่

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับผู้เชี่ยวชาญจาก Bill & Melinda Gates Foundation พร้อมหารือภารกิจรวบรวมและศึกษาพันธุกรรมของกล้วยป่าในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล หารือ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล พัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและด้านการศึกษา

       วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและกิจการนักศึกษา หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและด้านการศึกษาร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนำทีมโดย รศ.ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และทีมผู้บริหาร ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล         โดยการหารือในครั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านการวิจัย วิชาการ และการเรียนการสอนของทั้ง 2 ส่วนงาน อาทิ การสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านกิจกรรมนักศึกษาทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติในทุกระดับชั้น แผนการผลักดันให้เกิดศูนย์กลางเรียนรู้ อาคารใหม่บริเวณกระทรวงต่างประเทศเพื่อเปิดเป็นพื้นที่ให้ทุกคณะโดยรอบได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะมีทั้งห้องประชุม ห้องพักสำหรับอาจารย์ที่มาเยี่ยมเยือน หรือพื้นที่อ่านหนังสือสำหรับนักศึกษาเป็นต้น และแผนการปรับปรุงห้องสมุดสตางค์ให้เกิดเป็น Co-working space รองรับบุคลากรบริเวณรอบเขตพญาไท ในด้านการวิจัยรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีได้กล่าวถึงการใช้งานศูนย์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น ศูนย์สัตว์ทดลองที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจาก AAALAC และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล หารือ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล พัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและด้านการศึกษา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรม Mahidol Town Hall: 103A Journey to Real World Impact เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ และเข้าใจทิศทางนโยบายการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

       21 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรม Mahidol Town Hall: 103A Journey to Real World Impact เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ และเข้าใจทิศทางนโยบายการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายการบริหารมหาวิทยาลัยหิดล อีกทั้งเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและผู้บริหารมหาวิทยาลัย และเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด ในการบริหารและดำเนินงานภายในมหาวิทยาลัยของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลวาระใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธาน ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา       ซึ่งภายในงานได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับความก้าวหน้าของทิศทางการบริหาร และเป้าหมายการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ในตลอดระยะเวลา 103 วัน ที่ผ่านมา โดยนับจากกิจกรรม Mahidol Town Hall

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรม Mahidol Town Hall: 103A Journey to Real World Impact เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ และเข้าใจทิศทางนโยบายการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง พร้อมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่น และรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล เชิดชูเกียรติคนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ ฉลองครบรอบ 66 ปี แห่งการสถาปนา

21 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ ครบรอบ 66 ปี พร้อมเชิญ ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล แสดงปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่ 30 “บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการสร้าง Real-World Impact” และมอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติศิษย์เก่าผู้นำเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคม รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง รวมถึงแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล และรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 ณ อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยกิจกรรมภายในงานช่วงเช้าเป็นการพิธีทำบุญถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารแก่พระสงฆ์จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร จำนวน 9 รูป โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สถิตย์ สิริสิงห, รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ ผู้ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2567, อาจารย์เกษียณ, คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้บริหารคณะต่าง

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง พร้อมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่น และรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล เชิดชูเกียรติคนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ ฉลองครบรอบ 66 ปี แห่งการสถาปนา Read More »

Activity photo

นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้ารับทุนการศึกษา และนำเสนอผลงานในมหกรรมทุนการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2567

19 ตุลาคม 2567 นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับทุนการศึกษาในมหกรรมทุนการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2567 พร้อมพบปะผู้มอบทุนการศึกษา ณ ห้องประชุม 217-218 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในพิธีมอบทุนการศึกษา ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดี บัณฑิตวิทยาลัย เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของการจัดงาน และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและพันธกิจเพื่อสังคม บรรยายพิเศษในหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลกับการขับเคลื่อน SDGs” หลังจากจบการบรรยายผู้บริหารและผู้สนับสนุนทุนการศึกษาได้เยี่ยมชมผลงาน Laminated Paper-Based Analytical Device and Cryogel-Based Material for Analysis

นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้ารับทุนการศึกษา และนำเสนอผลงานในมหกรรมทุนการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2567 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2567

19 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ. ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายาผศ. ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและกิจการนักศึกษา ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และบุคลากรเจ้าหน้าที่ เข้าร่วม พิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช รัชกาลที่ 4 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร7 โดยครั้งหนึ่ง ในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของไทยอีกเรื่อง ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชฯ ทรงควบคุมบัญชาการและอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่เป็นครั้งแรกของโลก ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการ และประสบความสำเร็จฝนตกตามเป้าหมายอย่างแม่นยำ สร้างความประทับใจและยินดีแก่คณะผู้แทนรัฐบาลสิงค์โปร์ และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2567 Read More »

Activity Photo

 2 อาจารย์และนักศึกษาคณะวิทย์ ม.มหิดล เข้ารับรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านวิทยาศาสตร์ และทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2024 จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

18 ตุลาคม 2567 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (Centre of Excellence in Mathematics) และนายญาณิศ ลุนพรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับรางวัลจากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ในพิธีประกาศเกียรติคุณบุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 (Quality Persons of The Year 2024) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลอากาศเอก จอม รุ่งสวาง องคมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ วายุภักดิ์ ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์ประชุมวายุภักดิ์ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี ได้รับรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งมอบให้กับบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต

 2 อาจารย์และนักศึกษาคณะวิทย์ ม.มหิดล เข้ารับรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านวิทยาศาสตร์ และทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2024 จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล นำทีมนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทย ถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องให้กับนักศึกษาผ่านรายวิชา Science Communication

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำทีมนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้องร่วมถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องให้กับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ในรายวิชา วทพฤ 391 การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ (SCPL 391 Science Communication) ประจำปีการศึกษา 2567 รายวิชา SCPL 391 Science Communication เป็นรายวิชาที่ริเริ่มและดำเนินการโดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาสามารถสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทางสถิติ เพื่อถ่ายทอดข้อมูล ความรู้ และแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ได้ พร้อมทั้งสามารถสืบค้นจากฐานข้อมูลสารสนเทศทั้งในและต่างประเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีทักษะการทำงานกลุ่ม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย และที่สำคัญ คือ มีจริยธรรมสื่อมวลชนและจริยธรรมของนักวิทยาศาสตร์ ในปีนี้วิทยากรมีนักสื่อสารวิทยาศาสตร์รางวัล Mahidol Science Communicator Award ได้แก่ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่เทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา นักเขียน และคอลัมนิสต์ประจำมติชนสุดสัปดาห์ รวมถึงอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านสื่อต่าง

คณะวิทย์ ม.มหิดล นำทีมนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทย ถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องให้กับนักศึกษาผ่านรายวิชา Science Communication Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม บรรยายพิเศษ “Decoding the Future with AI” เสริมความรู้ด้าน GenAI สู่การนำไปใช้จริง

16 ตุลาคม 2567 งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ “Decoding the Future with AI” โดย ดร.สรวิศ ช่างภิญโญ Research Scientist จาก Google Deepmind ผู้อยู่เบื้องหลัง Gemini เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหลักคิดของ Generative AI โดยอธิบายถึงการวิจัยโมเดลสร้างภาษาบนข้อมูลสื่อผสมผสาน (Multimodal Large Language Model – MLLM) ให้สามารถเรียนรู้ข้อมูลทั้งตัวหนังสือ รูปภาพ ประมวลผลจนสามารถให้ข้อมูลได้ในหลากหลายมิติ พร้อมแนะแนวทางการเขียน Prompt รวมถึงการใช้งาน Gemini อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบข้อสงสัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเป็นกันเอง ซึ่งการบรรยายในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ กล่าวเปิดกิจกรรม โดยมีนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานกว่า 190 คน ณ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม บรรยายพิเศษ “Decoding the Future with AI” เสริมความรู้ด้าน GenAI สู่การนำไปใช้จริง Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมให้การต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและหารือเพื่อขยายความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการเพิ่มเติม

       15 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ และ อาจารย์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ พร้อมทั้งหัวหน้าหน่วยงานประจำสำนักงานคณบดี และบุคลากรสายสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรม, งานนวัตกรรมการศึกษาและหลักสูตรนานาชาติ, งานคลังและพัสดุ และงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมให้การต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร จาก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ และหารือเพื่อขยายความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการเพิ่มเติม ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        โดยทาง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมให้การต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและหารือเพื่อขยายความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการเพิ่มเติม Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ในเรื่อง MUSC-SCGC Sustainability Workshop: Green Energy and Energy Storage

       11 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ภายใต้กิจกรรม Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “MUSC-SCGC Sustainability Workshop: Green Energy and Energy Storage” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และอัปเดตแนวโน้มล่าสุดด้านพลังงานสะอาดและการกักเก็บพลังงาน จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว พร้อมร่วมแบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น และร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาโครงการที่สามารถทำได้จริงด้วยความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับภาคีจากภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนของพลังงานไฟฟ้าและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานกับเทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะพลิกโฉมโลกในยุคใหม่ ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ คุณพรชัย แสงรุ่งศรี ผู้จัดการศูนย์ Ideas to Products (i2P) Center, SCGC ให้เกียรติร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม โดยมี ดร.ทศพล คำแน่น, Senior

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ในเรื่อง MUSC-SCGC Sustainability Workshop: Green Energy and Energy Storage Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล พร้อมใจร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม วันนวมินทรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

11 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารคณะ สถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยคณะวิทยาศาสตร์ นำโดยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา พร้อมใจสวมใส่เสื้อโทนสีเหลืองร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม วันนวมินทรมหาราช โดยร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล บริเวณหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดี ต่อด้วยพิธีกล่าวถวายราชสดุดีหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมร่วมร้องเพลง “ต้นไม้ของพ่อ” และเพลง “เดินตามรอยเท้าพ่อ” แสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ ห้องบรรยาย ศาสตราจารย์ นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : ว่าที่

คณะวิทย์ ม.มหิดล พร้อมใจร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม วันนวมินทรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567

11 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ และคณะผู้บริหาร พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร สวมใส่เสื้อโทนสีเหลืองร่วมพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยพร้อมใจรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ และร้องเพลงตามรอยเท้าพ่อ เพื่อแสดงถึงความตั้งใจสืบสานพระราชปณิธานด้วยความจงรักภักดีร่วมกัน ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่อาณาประชาราษฎร์ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการเพื่อความวิวัฒน์พัฒนาของชาติบ้านเมือง ยังความผาสุกร่มเย็นแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นคุณประโยชน์อเนกอนันต์ พระเกียรติคุณเป็นที่ประจักษ์ทั้งแก่ปวงชนชาวไทยและนานาอารยประเทศ แม้การเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จะล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันพสกนิกรทุกหมู่เหล่ายังล้วนคำนึงถึงด้วยความสำนึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างไม่รู้ลืมเลือน เรียบเรียงโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายจิรภัทร เอี่ยมเจริญลาภเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 11 ตุลาคม

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567 Read More »

Activity Photo

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566

8 ตุลาคม 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับเสด็จ โดยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและกิจการนักศึกษา ร่วมขานชื่อบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2567 และพร้อมกันนี้ในช่วงเช้า ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 และในช่วงบ่าย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566 Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé นำทีม Startup SPACE-F Batch 5 สำรวจเทคโนโลยีอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร ณ โรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé นำทีม startup ในโครงการ SPACE-F Batch 5 พร้อมด้วยทีมอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล และ ทีมคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต และทีมนักวิจัยและพัฒนาจากภาคเอกชน เยี่ยมชมโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) เมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย คณะอุตสาหกรรมเกษตร และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Institute of Food Research and Product Development: IFRPD) เพื่อสำรวจเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปอาหารต้นแบบในอุตสาหกรรมไทย ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé นำทีม Startup SPACE-F Batch 5 สำรวจเทคโนโลยีอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร ณ โรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีพิธีมอบครุยวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566

     วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีมอบครุยวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้อง Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในปีการศึกษา 2566 มีผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน  6 ท่าน ได้แก่1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการ)2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคนิคการแพทย์)3. ศาสตราจารย์ ดร. แพทริเซีย เดวิดสัน (Professor Patricia Davidson, Ph.D.) ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ภานุพันธ์ ทรงเจริญ ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์5. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคโนโลยีชีวภาพ)6. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีพิธีมอบครุยวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล พบปะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลและปรึกษากิตติมศักดิ์ หารือแนวทางพัฒนางานวิจัยด้าน ATMP และสารสกัดสมุนไพรสู่การนำไปใช้จริง

3 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้การต้อนรับทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นพ.สุรเดช หงส์อิง รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ และศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ สถิตย์ สิริสิงห ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะวิทยาศาสตร์ ในโอกาสร่วมการประชุมหารือแนวทางพัฒนางานวิจัยด้าน ATMP และสารสกัดสมุนไพร ณ ห้องประชุม K 101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

คณะวิทย์ ม.มหิดล พบปะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลและปรึกษากิตติมศักดิ์ หารือแนวทางพัฒนางานวิจัยด้าน ATMP และสารสกัดสมุนไพรสู่การนำไปใช้จริง Read More »

Activity Photo

2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566

3 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 เปิดตัวผู้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย สาขาการแต่งตำรา สาขาการบริการ และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวถึงความเป็นมาของรางวัล และประกาศผลการตัดสินรางวัล ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยในปีนี้มีอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน ได้รับรางวัล ใน 2 สาขา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย ซึ่งมอบให้กับผู้ที่มีความคิดริเริ่มในการวิจัย เพื่อสนองความต้องการ  แก้ปัญหา  พัฒนา  หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ  ให้แก่สังคม  โดยเป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ จากผลงานวิจัยเรื่อง “Empowering the Fight Against

2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ GISTDA ส่งเมล็ดข้าวสู่อวกาศไปกับดาวเทียมวิจัย Shijian-19 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทดสอบการเติบโตของข้าวในสภาพแวดล้อมรุนแรง เตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ GISTDA ร่วมภารกิจการทดลองด้านชีววิทยาอวกาศภายใต้สภาวะไร้แรงโน้มถ่วงและรังสีคอสมิก ส่งเมล็ดข้าวขึ้นสู่อวกาศกับดาวเทียมวิจัย Shijian-19 (Recoverable Satellite) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เพื่อทดลองการเจริญเติบโตภายใต้สภาวะไร้แรงโน้มถ่วงและสัมผัสกับรังสีคอสมิก อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ อาจารย์และหัวหน้าห้องปฏิบัติการ Plant Biology & Astrobotany (PBA lab) กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับทีม GISTDA ดำเนินโครงการ “Multi-omics analysis of Germinating Rice Seedlings Under Extreme Environmental Conditions” ซึ่งได้รับการเห็นชอบให้เข้าร่วมภารกิจ Shijian-19 (Recoverable Satellite) จากองค์การอวกาศแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน (China National Space Administration, CNSA) ส่งตัวอย่างเมล็ดข้าว จำนวน 35 หลอด ขึ้นสู่อวกาศพร้อมกับภารกิจ Shijian-19 ด้วยจรวดขับเคลื่อน

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ GISTDA ส่งเมล็ดข้าวสู่อวกาศไปกับดาวเทียมวิจัย Shijian-19 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทดสอบการเติบโตของข้าวในสภาพแวดล้อมรุนแรง เตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจอวกาศ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีในงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการจัดการ ครบรอบ 28 ปี

       1 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ เป็นผู้แทนคณบดี ร่วมงาน วันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการจัดการ ครบรอบ 28 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ปรารถนา ปุณณกิติเกษม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ ก่อนร่วมพิธีสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน พร้อมทั้ง กรวดน้ำ พรมน้ำมนต์และรับพร ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์วันที่ 1

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีในงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการจัดการ ครบรอบ 28 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดพิธีปัจฉิมนิเทศบัณฑิตระดับปริญญาตรี และพิธีปัจฉิมนิเทศมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2566 ฉลองความสำเร็จแก่บัณฑิต

29 กันยายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีปัจฉิมนิเทศบัณฑิตระดับปริญญาตรี และพิธีปัจฉิมนิเทศมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2566 ฉลองความสำเร็จแก่บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ ณ อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยในพิธีปัจฉิมนิเทศมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2566 เปิดงานด้วยวีดิทัศน์ภาพมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี กล่าวปัจฉิมโอวาทและแสดงความยินดีแก่มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภริณดา ทยานุกูล ผู้แทนนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุและอาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา ร่วมกล่าวแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาในปีนี้ด้วย จากนั้นผู้แทนผู้สำเร็จการศึกษากล่าวขอบคุณและอาลาสถาบัน รับมอบของที่ระลึกจากผู้บริหาร แล้วจึงเดินลอดซุ้มดอกไม้ผ่านเส้นทางแห่งความยินดีท่ามกลางเสียงปรบมือของผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรงานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา ภาควิชาและกลุ่มสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อถ่ายภาพระหว่างคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้สำเร็จการศึกษาร่วมกัน ณ บริเวณลานตึกกลม ด้านพิธีปัจฉิมนิเทศบัณฑิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2566 เริ่มขึ้นหลังจากการฝึกซ้อมรับปริญญาภายในส่วนงานโดย

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดพิธีปัจฉิมนิเทศบัณฑิตระดับปริญญาตรี และพิธีปัจฉิมนิเทศมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2566 ฉลองความสำเร็จแก่บัณฑิต Read More »

Activity Photo

คณาจารย์ คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมสุดล้ำในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 (TRIUP Fair 2024)” พร้อมคว้ารางวัล TRIUP AWARDS 2024: RESEARCH UTILIZATION WITH HIGH IMPACT ระดับดีเด่น

24-26 กันยายน 2567 คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการต่อยอดงานวิจัยในห้องปฏิบัติการสู่งานวิจัยเชิงพาณิชย์ในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 (TRIUP Fair 2024)” ภายใต้แนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand” ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ในมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 นี้ มีคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และทีมวิจัยได้รับคัดเลือกให้ร่วมแสดงผลงานถึง 2 ทีม ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และศูนย์นาโนเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมวิจัย ซึ่งเข้าร่วมแสดงผลงานเทคโนโลยี IoT เซนเซอร์สำหรับตรวจวัดกลิ่นในโรงงานสีเขียวและสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างศูนย์นาโนเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท จมูกอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสัมผัสประดิษฐ์ (Artificial Sense) ตรวจวัดกลิ่น

คณาจารย์ คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมสุดล้ำในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 (TRIUP Fair 2024)” พร้อมคว้ารางวัล TRIUP AWARDS 2024: RESEARCH UTILIZATION WITH HIGH IMPACT ระดับดีเด่น Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2567

       27 กันยายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงานเกษียณอายุผู้ปฏิบัติงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2567 สร้างความทรงจำที่ดีร่วมกัน ส่งท้ายการทำงานในรั้วคณะวิทยาศาสตร์         โดยภายในงานมีการจัด พิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ผู้เกษียณอายุงานในช่วงเช้า โดยมีผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2567 พร้อมด้วยผู้เกษียณรุ่นพี่ รวมถึงบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมฟังพระสงฆ์ 9 รูป จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เจริญชัยมงคลคาถา และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารเพล ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท         และมีการจัด พิธีแสดงกตเวทิตาจิต แสดงความขอบคุณผู้เกษียณอายุงาน ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2567 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA) ประจำปีงบประมาณ 2568 ในที่ประชุมกรรมการประจำ มหาวิทยาลัยมหิดล

25 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมพิธีลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA) ประจำปีงบประมาณ 2568 ในที่ประชุมกรรมการประจำ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 18/2567 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยการลงนามในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล “BE THE LEADING HEALTH SCIENCE RESEARCH AND HOLISTIC IN GLOBAL LANDSCAPE” ที่มุ่งเน้นการต่อยอดการศึกษาและวิจัยไปสู่ผลสำเร็จใน Real World Impact ในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม (Holistic well-being) ในระดับโลก เรียบเรียงโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย :

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA) ประจำปีงบประมาณ 2568 ในที่ประชุมกรรมการประจำ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

     26 กันยายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา ในฐานะผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ร่วมแสดงความยินดีในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ครบรอบ 51 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 หน่วยงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ให้การต้อนรับ ก่อนร่วมพิธีสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหาร สังฆทาน และปัจจัยไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ พระสงฆ์ 5 รูป ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : ว่าที่ ร.ต.ภัทรพล  ตันตระกูลเว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 26 กันยายน 2567

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »