ปัณณพร แซ่แพ

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย)

14 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2567 “Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กล่าวรายงานความเป็นมา ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา เดินขบวนพาเหรดในธีม “ผ้าขาวม้า ผ้าครอบจักรวาล” ร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาฟุตบอล 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในพิธีเปิดวงโยธวาทิตบรรเลงเพลงนำขบวนพาเหรดของส่วนงานต่าง ๆ เดินเข้าสู่ลานพิธีตามลำดับ แล้วจึงเริ่มการประกวดขบวนพาเหรดในธีม “Fun with Thai Style […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย) Read More »

Activity Photo

งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: The Food of Love” รับเทศกาลวาเลนไทน์

14 กุมภาพันธ์ 2567 งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนักศึกษานานาชาติ นักวิจัยหลังปริญญาเอก และบุคลากรชาวต่างชาติ จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: The Food of Love” รับเทศกาลวาเลนไทน์ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และสร้างเครือข่ายและความผูกพันระหว่างนักศึกษานานาชาติ ในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยหลังปริญญาเอกและบุคลากรต่างชาติของคณะวิทยาศาสตร์  โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีนักศึกษาตัวแทนนักศึกษาต่างชาติจากประเทศเมียนมา อินโดนีเซีย อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา และไทย จัดอาหารหลากหลายเมนูเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชิมรสชาติอาหาร และร่วมตอบข้อซักถามเกี่ยวกับอาหารดังกล่าวตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรม เพื่อนำไปสู่การรับรู้และความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในวงกว้าง โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา เป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ณ ลานใต้ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในงานเปิดโอกาสให้นักศึกษา และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ได้ลิ้มรสอาหารที่มีความพิเศษและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศต่าง ๆ รวมถึงกรรมวิธีการเตรียม ลักษณะของการคัดเลือกวัตถุดิบต่าง ๆ และขั้นตอนการปรุงรสอาหาร เช่น ข้าวมันฝรั่ง และสลัดใบชาจากประเทศเมียนมา,

งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: The Food of Love” รับเทศกาลวาเลนไทน์ Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล ร่วมกับ International Peace Foundation เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ บรรยายพิเศษในงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.”

13 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับ International Peace Foundation จัดงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.” ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนและส่งเสริมการพัฒนาผ่านการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก Professor Edvard Ingjald Moser นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี ค.ศ. 2014 ผู้ค้นพบเซลล์ประสาทและระบบระบุตำแหน่งในสมองและความจำ ซึ่งช่วยปูทางสู่การหาวิธีรักษาอัลไซเมอร์ มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการวิจัยกับคณาจารย์และนักศึกษา ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 2-3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ ในโอกาสอันดีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ม.มหิดล ร่วมกับ International Peace Foundation เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ บรรยายพิเศษในงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.” Read More »

Activity Photo

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567

2 กุมภาพันธ์ 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 (Thailand Inventor’s Day 2024) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 25 ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนำประเทศ” และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้แทนศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค และคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ เฝ้ารับเสด็จและเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ งานวันนักประดิษฐ์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่ได้สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้นักประดิษฐ์ได้เผยแพร่ ถ่ายทอด

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 13 “PHAYATHAI RETRO” โอ้โห เก๊า เก่า

31 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมพลังบุคลากรในธีม “Science Y2K” ร่วม “การแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 13” ที่ปีนี้จัดขึ้นในธีมหลัก “PHAYATHAI RETRO” โอ้โห เก๊า เก่า ณ สนามข้างตึกเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร 9 ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้แก่ วิทยาลัยการจัดการ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา โดยมีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นเจ้าภาพ ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวเปิดงาน และ ศาสตราจารย์ นพ. บรรยง ภักดีกิจเจริญ ผู้ช่วยคณบดีงานสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณบดีและผู้อำนวยการสถาบันต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 13 “PHAYATHAI RETRO” โอ้โห เก๊า เก่า Read More »

Activity Photo

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Special Seminar แลกเปลี่ยนเทคนิคการวิจัยโรคมะเร็ง และการพัฒนายากับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University

24 มกราคม 2567 ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Special Seminar อัปเดตเทคนิคเชิงลึกในการทำวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการพัฒนายารักษา โดยได้รับเกียรติจาก Professor Seiji Okada และ Associate Professor Hiroki Goto 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ ณ ห้อง B301 อาคารชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดย Professor Seiji Okada จาก Division of Hematopoiesis, Joint Research Center for Human Retrovirus Infection, and Graduate School of Medical Sciences, Kumamoto University

ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Special Seminar แลกเปลี่ยนเทคนิคการวิจัยโรคมะเร็ง และการพัฒนายากับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก Kumamoto University Read More »

Activity Photo

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมใจแสดงความกตัญญูกตเวทิตาจัดงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่อาจารย์ใหญ่ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

17 มกราคม 2567 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ รักษาการรองหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์ ร่วมกับนักศึกษาจาก 4 คณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่ออาจารย์ใหญ่จัดงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่อาจารย์ใหญ่ ณ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน อาคาร SC3 ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พร้อมมอบรางวัลเรียนดีแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีจำนวน 12 คน วิชากายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน ถือได้ว่าเป็นวิชาที่เปรียบเสมือนรากฐานของการเรียนในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลรักษาผู้ป่วยในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันวิชากายวิภาคศาสตร์เปิดสอนสำหรับกับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 5 คณะฯ 9 สาขาวิชา ได้แก่ 1) คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ และสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2) คณะเทคนิคการแพทย์ สาขาเทคนิคการแพทย์ และสาขารังสีเทคนิค 3) คณะพยาบาลศาสตร์ 4) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สาขาพยาบาลศาสตร์

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมใจแสดงความกตัญญูกตเวทิตาจัดงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่อาจารย์ใหญ่ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดค่ายทักษะวิทยาศาสตร์ ปั้นนักวิทยาศาสตร์พลเมือง นำความรู้วิทย์แก้ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

13 – 15 มกราคม 2567 หลักสูตรนานาชาติ สาขาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (Bioresources and Environmental Biology) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ “พลังงานและสิ่งแวดล้อม” เปิดโลกการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมเสริมทักษะนักวิทยาศาสตร์พลเมืองให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกว่า 100 คน ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม และอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รักษาการหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับประธาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรนานาชาติทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อาจารย์ ดร.พหล โกสิยจินดา, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล, รองศาสตราจารย์ ดร.พรินท์พิดา สนธิพันธ์, อาจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดค่ายทักษะวิทยาศาสตร์ ปั้นนักวิทยาศาสตร์พลเมือง นำความรู้วิทย์แก้ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับ คณะวิทย์ ม.มหาสารคาม ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากล

18 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และทีมผู้บริหารให้การต้อนรับ คณะศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ประมวล คณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิศาสตร์ โชคเกื้อ รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและภูมิทัศน์ พร้อมด้วยหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี รวมถึงอาจารย์ และบุคลากร จำนวน 15 ท่าน ในโอกาสเยือนคณะวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการยกระดับห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ มุ่งเน้นสู่การจัดการเรียนการสอน การวิจัย อย่างมีคุณภาพ โดยเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล จำนวน 5 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์  ห้องปฏิบัติการชีววิทยา Digital Bioscience Laboratory ห้องปฏิบัติการเคมี ห้องปฏิบัติการหลักสูตรชีวนวัตกรรม (Bioinnovation) ห้องปฏิบัติการหลักสูตรวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (Materials Science) ปิดท้ายด้วยห้อง Learning Space

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับ คณะวิทย์ ม.มหาสารคาม ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากล Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ บริษัท เมอร์ค จำกัด ลงนาม MOU พร้อมเปิดตัว M-LAB เพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต

12 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ บริษัท เมอร์ค จำกัด ผู้นำระดับโลกเรื่องการค้นคว้าทางเวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ของเยอรมนี ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) พร้อมเปิดตัว “M-LAB” Merck Life Science Experience Center ศูนย์รวมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ และบริการเพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศไทย บริษัท เมอร์ค จำกัด (Merck Limited) เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านการค้นคว้าทางเวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ของเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยการร่วมทุนระหว่างบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ ประเทศเยอรมนี และกลุ่ม บีกริม (ประเทศไทย) ปัจจุบันบริษัทดำเนินกิจการนำเข้าเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ จัดจำหน่ายให้กับโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าและยกระดับวงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) ในประเทศไทยให้เกิดคุณค่าสูงสุดต่อวงการวิจัยเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ในประเทศ โดยมีการพัฒนาและนำเสนอสารเคมีสำหรับการใช้งานในห้องปฏิบัติการและอุตสาหกรรมกว่า

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ บริษัท เมอร์ค จำกัด ลงนาม MOU พร้อมเปิดตัว M-LAB เพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธมหามงคลเภสัช คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

23 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกพระของขวัญ ในโครงการพระพุทธมหามงคลเภสัชเพื่อการศึกษาในวาระครบรอบ 55 ปี สถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมอบเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้ร่วมบริจาคสนับสนุนพันธกิจด้านการศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ อาทิ ทุนการศึกษา เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนปฏิบัติการ เครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนการสอน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาทีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ให้การต้อนรับ ณ บริเวณลานด้านหน้าหอพระพุทธมหามงคลเภสัช คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ มีความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือทางด้านการศึกษาและวิจัยมาอย่างยาวนาน ซึ่งในงานครบรอบ 55 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมบริจาคเงินสนับสนุนการเรียนการสอนนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จึงได้รับเกียรติเข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธมหามงคลเภสัชในครั้งนี้ด้วย พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธมหามงคลเภสัชได้รับเกียรติจาก พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ (หลวงปู่อู๋) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานในพิธี และได้รับเมตตาจากพระเถระอธิษฐานจิต

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธมหามงคลเภสัช คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรม Training the Trainer เตรียมพร้อมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Biosafety สำหรับ BSL-2

16 พฤศจิกายน 2566 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมอบรม Training the Trainer สำหรับเจ้าหน้าที่ประสานงานความปลอดภัยทางชีวภาพระดับภาควิชา จำนวน 14 คน เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะในการทำงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ และสร้างบุคลากรให้สามารถเป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับห้องปฏิบัติการระดับ BSL-2 ณ ห้องปฏิบัติการอเนกประสงค์ MDL3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณจิตรา ลิ้มทองกุล และคุณชนิตา นภาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คุณอัสนีย์ เหมกระศรี นักวิทยาศาสตร์ ประจำภาควิชาชีววิทยา และคุณวรรณี เทพสิงห์ นักวิทยาศาสตร์ ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นวิทยากร โดยการอบรมแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ภาคบรรยายการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเตรียมฐานปฏิบัติการ เพื่อใช้ในการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ และภาคปฏิบัติเรียนรู้การปฏิบัติการในฐานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความชำนาญในการทำปฏิบัติการมากขึ้น ประกอบด้วย 4 ฐานปฏิบัติการ คือ 1.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรม Training the Trainer เตรียมพร้อมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Biosafety สำหรับ BSL-2 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง

21 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong เชิญ 3 วิทยากร ผู้มีบทบาทในการผลักดันระบบนิเวศผู้ประกอบการเริ่มต้น หรือ Startup ในมหาวิทยาลัย และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล คุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน Founder, SEA Bridge และคุณพนากร เดชธำรงวัฒน์ Head of Investment Promotion, Invest HK บรรยายเกี่ยวกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง โอกาสของ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Merck ร่วมเสริมความแข็งแกร่งในความร่วมมือกันในอนาคต

18 ธันวามคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะกรรมการโครงการ SPACE-F ผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Chris Aurand, Open Innovation Lead และคุณอนุสรา จิตราธนวัฒน์ Government Affair จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และทีมงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก บริษัท เมอร์ค จำกัด นำทีมโดย Dr. Lysander Chrisstoffels Head of Science and Lab Solutions Commercial APAC, Mr. Seoc-Kyu Park Head of Science

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Merck ร่วมเสริมความแข็งแกร่งในความร่วมมือกันในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับผู้แทนจาก Qingdao University of Science and Technology (QUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ณ ม.มหิดล ศาลายา

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำทีมโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี และศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Qingdao University of Science and Technology: QUST) นำโดย Prof. Shen Wenqing, Deputy Secretary of the Party Committee Prof. Zhang Shuhai, Dean of International College Prof. Yan Yehai,

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับผู้แทนจาก Qingdao University of Science and Technology (QUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 20 ปี

18 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะศิลปศาสตร์ ครบรอบ 20 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และ อาจารย์ ดร.ณัฐนี สัจนวกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายส่งเสริมวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ ก่อนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน จตุปัจจัยไทยธรรม และภัตตาหารเพล ณ ห้องประชุม 217 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ได้มอบเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในเขตอำเภอพุทธมณฑลอีกด้วย เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพ เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 20 ปี Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล จับมือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา

13 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา “โครงการการผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา” เพื่อพัฒนายาฆ่าเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีลงนามในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านมาลาเรียในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานในพิธีลงนาม โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนาม และยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารจากคณะและสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รองศาสตราจารย์

ม.มหิดล จับมือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 54 ปี

15 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ครบรอบ 54 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ให้การต้อนรับ ณ อาคารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในโอกาสนี้คณะวิทยาศาสตร์ได้มอบเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์อีกด้วย เขียนข่าว : รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนาเรียบเรียง : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : ว่าที่ ร.ต.ภัทรพล ตันตระกูลเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 3 สิงหาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 54 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สวทช. และ JAXA ส่งมอบต้นราชพฤกษ์อวกาศให้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด

6 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ในฐานะผู้แทนคณบดี และ อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชา เข้าร่วมกิจกรรมส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศให้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด โดยมี คุณวิเชียร จึงวิโรจน์ กรรมการบริหารและผู้จัดการร่วม บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนรับมอบต้นกล้า และแขกผู้มีเกียรติจากองค์การสำรวจอวกาศประเทศญี่ปุ่น (JAXA) คุณทาเคฮิโระ นากามูระ ผู้อำนวยการ JAXA สำนักงานกรุงเทพฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้ประสานงานโครงการราชพฤกษ์อวกาศจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และ ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ และ คุณปริทัศน์ เทียนทอง ผู้ประสานงานโครงการ รวมถึงผู้สนใจ ร่วมงาน ณ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สวทช. และ JAXA ส่งมอบต้นราชพฤกษ์อวกาศให้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ ม.มหิดล ศาลายา

1 ธันวาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ และสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ดร.ระพี บุญเปลื้อง รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณฯ โดยร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์ ศาลายา จำนวน 30 รูป บริเวณหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดี ต่อด้วยพิธีบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี ณ ห้องบรรยาย ศาสตราจารย์ นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย :

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT ลงนามถ่ายทอด 2 เทคโนโลยีจากผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ และผลงาน ‘สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม’ แก่ภาคเอกชน

28 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิ ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย “กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด” ให้แก่ บริษัท ทีนิตี้ ทีม จำกัด และผลงาน “สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม” ให้แก่ บริษัท เอ็ม เคมิ จำกัด แถลงความสำเร็จของผลงานวิจัย 2 ผลงานจากคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งศักยภาพเป็นที่ยอมรับกับภาคเอกชนสู่การต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ สะท้อนความสำเร็จของการผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อํานวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ผู้คิดค้นผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา จริยาบูรณ์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT ลงนามถ่ายทอด 2 เทคโนโลยีจากผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ และผลงาน ‘สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม’ แก่ภาคเอกชน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023

       28 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ และได้คว้ารางวัล Popular Vote 2 รางวัล ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023 เวทีจัดแสดงผลงานการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อ “ทศวรรษมหกรรมคุณภาพ: ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานมหกรรมคุณภาพ ประจำปี 2566 และ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานคณะกรรมการจัดงานกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน    

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา”เปิดตัว 2 นักวิจัย ม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ผู้ได้รับคัดเลือกไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา

24 พฤศจิกายน 2566 เปิดตัว 2 นักวิจัยไทย นางสาวอัจฉราภรณ์ ผักหวาน นักวิจัยกลุ่มวิจัยรังสีคอสมิกและอนุภาคพลังงานสูง มหาวิทยาลัยมหิดล และ เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์และนักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนนักวิจัยไทยผู้ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา ในงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา” ตามความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด ภายใต้พระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารพระจอมเกล้า (ถนนโยธี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม งานแถลงข่าวในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล หัวหน้าโครงการความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด, เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์และนักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา”เปิดตัว 2 นักวิจัย ม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ผู้ได้รับคัดเลือกไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม ใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566”

       20 – 21 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์, รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาราภรณ์ เตรียมโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี, รองศาสตราจารย์ ดร. กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, รองศาสตราจารย์ กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, เรืออากาศตรี นินาท บุญเปรมปรีดิ์ และ นางสาววาสิฎฐี แจ้งสว่าง ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก        โดยในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม ใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566” Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปลูกต้นราชพฤกษ์อวกาศ สัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ณ มหิดล ศาลายา

17 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ ผู้ช่วยคณบดี คุณปิยะ โพธิ์สิทธิ์ หัวหน้างานศาลายา คุณณัฐพล แนวจำปา หัวหน้างานการศึกษา และเจ้าหน้าที่งานศาลายา ร่วมกันปลูก ‘ต้นราชพฤกษ์อวกาศ’ เพื่อ เป็นสัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้าเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในอนาคต โดยมีวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานที่แข็งแรง และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจด้านอวกาศของมวลมนุษยชาติ ณ บริเวณสวนอาคารบรรยายรวม L2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาต้นราชพฤกษ์อวกาศ เป็นต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดที่เดินทางไปอวกาศภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) Mission II ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านชีววิทยาอวกาศ (Space Biology) โดยความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปลูกต้นราชพฤกษ์อวกาศ สัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ณ มหิดล ศาลายา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย หารือสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย

2 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรคู อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ และหลักสูตรคณิตศาสตร์ประกันภัย (นานาชาติ) ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซียที่ให้บริการด้านการศึกษาและนวัตกรรม ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ตั้งอยู่ในรัฐเปรัค มีวิทยาเขตครอบคลุม 34 แห่ง วิทยาลัยการศึกษา 4 แห่ง คณะต่างๆ จำนวน 14 คณะ รวมไปถึงศูนย์การศึกษา 9 แห่ง ทั่วประเทศมาเลเซีย คณะผู้แทนจาก UiTM นำโดย Associate Professor Dr. Norhafizah Abdul Rahman หัวหน้าภาควิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) วิทยาลัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย หารือสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย.🔖ดูภาพข่าวกิจกรรมและอ่านข่าวต่อได้ที่https://science.mahidol.ac.th/news/nov66-17/ #InnovationandEntrepreneurDay2023#Innovation #IntellecutalProperty #Entrepreneur #Startup #SpinOff#MahidolScience        15 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานพันธกิจพิเศษ ร่วมกับงานวิจัย จัดกิจกรรม Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เพื่อเชิดชูความสำเร็จของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ที่มีผลงานด้านนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) พร้อมเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอและแลกเปลี่ยนมุมมองด้านวิจัย นวัตกรรม

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี”

15 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี” ถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์สู่ประชาชน โดยได้รับเกียรติจาก 2 อาจารย์ที่มีประสบการณ์วิจัยด้านการสังเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมดอท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพล อินสิน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าจากห้องปฏิบัติการของ ศาสตราจารย์มอนจี บาเวนดี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และรับชมทาง Facebook

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล นำเสนอผลงานผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ในการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

10 พฤศจิกายน 2566 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยหัวหน้าหน่วยงาน และบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ ภายในคณะ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และเจ้าหน้าที่กองแผนงาน ใน การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รับฟังผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะจากมหาวิทยาลัย ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ รายงานการดำเนินงาน ตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง ตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ของคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาสากล บ่มเพาะผู้ประกอบการ การวิจัยระดับ World Class

คณะวิทย์ ม.มหิดล นำเสนอผลงานผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ในการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เดินหน้าหารือ University of Technology Sydney (UTS) เครือรัฐออสเตรเลีย สร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน

8 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ และคณาจารย์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย และ อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ ให้การต้อนรับ 2 ผู้แทนจาก University of Technology Sydney (UTS) นำโดย Distinguished Professor Dr. Alaina Ammit , Associate Dean (Research), Faculty of Science และ Mr. Innes Ireland , Deputy Director, UTS International พร้อมแนะนำหน่วยงาน และพูดคุยเกี่ยวกับความสนใจของทั้งสองสถาบันเพื่อหาจุดร่วมปูทางสู่ ความร่วมมือในอนาคต ในด้านวิชาการ กิจการนักศึกษา การวิจัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล เดินหน้าหารือ University of Technology Sydney (UTS) เครือรัฐออสเตรเลีย สร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน Read More »