ปัณณพร แซ่แพ

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาเอกจาก Sichuan University เรียนรู้การวิจัยวัสดุยางที่ไม่มีโปรตีนก่อภูมิแพ้ และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

24 – 28 มิถุนายน 2567 ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และนักวิจัยประจำกลุ่มวิจัยยาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและถ่ายทอดความรู้ด้านการวิจัยเทคโนโลยียางแก่ Mr. Kong Lingmin และ Mr. Zhang Junqi นักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาเอกจาก the College of Polymer Science and Engineering, Sichuan University สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การดูแลของ Professor Jinrong Wu ในโอกาสเข้าฝึกฝนและเรียนรู้การเตรียมยางที่ไม่มีโปรตีนก่อภูมิแพ้และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องปฏิบัติการ Rubber Research Group อาคารวิทยาศาสตร์ 2 ชั้น 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พร้อมกันนี้ ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ ยังได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาเอกจาก Sichuan University เรียนรู้การวิจัยวัสดุยางที่ไม่มีโปรตีนก่อภูมิแพ้ และการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมใจร่วมงานแสดงมุทิตาจิตและแสดงความขอบคุณอธิการบดีและทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ม.มหิดล ศาลายา

25 มิถุนายน 2567 ผู้บริหารส่วนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ นายคำรณ โชธนะโชติ เลขานุการคณะวิทยาศาสตร์ นายปิยะ โพธิ์สิทธิ์ หัวหน้างานศาลายา คณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา รวมถึงบุคลากรจากคณะและสถาบันต่าง ๆ พร้อมใจร่วมงานแสดงมุทิตาจิตและแสดงความขอบคุณ ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร ในโอกาสครบวาระของการดำรงตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม 2567 อย่างคับคั่ง ณ ห้องบรรยาย ศาสตราจารย์ นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมใจร่วมงานแสดงมุทิตาจิตและแสดงความขอบคุณอธิการบดีและทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก The University of Hong Kong ในโอกาสเยี่ยมชม “ตึกกลม” มรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่โดดเด่นในประเทศไทย

24 มิถุนายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Professor Dr. Anderson Lee, Master of Architecture (Design) Program director, The University of Hong Kong และ Jakub Gardolinskl, adjunct assistant professor in Architecture, The University of Hong Kong พร้อมด้วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 13 คน เข้าชมอาคารปาฐกถา (ตึกกลม) ซึ่งเป็นตัวอย่างของมรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่มีการออกแบบที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ทางวิชาการด้านสถาปัตยกรรม รวมถึงอาคารอื่น ๆ อาทิ โครงสร้างห้องประชุมตึก N และหอเก็บน้ำ โดยมี นำโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย หัวหน้าหน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ และนายอภิชา พรหมแสง

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก The University of Hong Kong ในโอกาสเยี่ยมชม “ตึกกลม” มรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นที่โดดเด่นในประเทศไทย Read More »

Activity Photo

มหาวิยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas และ Massachusetts Institute of Technology จัด Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยเสริมทัพเครือข่ายวิจัยแผนที่เซลล์มนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย

24 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas (HCA) จัดกิจกรรม  2024 HCA Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยในภูมิภาคเอเชีย โดยเชิญนักวิจัยจากสถาบันวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติมาถ่ายทอดทักษะการศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเซลล์ร่างกายมนุษย์ด้วยเทคนิค single-cell RNA sequencing เพื่อทำความเข้าใจเซลล์ทุกชนิดในร่างกายมนุษย์อย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาการวินิจฉัยโรค การพัฒนายา และวิธีการรักษาโรคในอนาคต ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในพิธีเปิดกิจกรรมได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน Dr. John Randell ผู้บริหาร (Chief Alliance Officer) โครงการ Human Cell Atlas (HCA) กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาเซลล์มนุษย์ และการดำเนินการในทั่วโลกของ HCA

มหาวิยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas และ Massachusetts Institute of Technology จัด Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยเสริมทัพเครือข่ายวิจัยแผนที่เซลล์มนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย “โค้ดกับคิดส์ @วิทย์มหิดล” พาน้องท่องโลกโค้ดดิ้งแสนสนุก

        15 มิถุนายน 2567 กลับมาอีกครั้งกับโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักวิทยาศาสตร์น้อยเข้าร่วมท่องโลกโค้ดดิ้งแสนสนุกผ่านกิจกรรม “โค้ดกับคิดส์ @วิทย์มหิดล”  เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโค้ดอย่างง่าย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทรี อุณหพิพัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร พร้อมด้วยพี่ ๆ นักศึกษาให้ความรู้และดูแลน้อง ๆ ตลอดกิจกรรม ณ อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 พร้อมผู้ปกครองให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 70 คน         โครงการ “มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย “โค้ดกับคิดส์ @วิทย์มหิดล” พาน้องท่องโลกโค้ดดิ้งแสนสนุก Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย iNT และ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดตัวโครงการ SPACE-F Batch 5 และร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนาม MOU ระหว่าง LOTTE และสตาร์ทอัพ MUU

13 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย iNT และ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดตัว 20 สตาร์ทอัพจากนานาชาติ เจ้าของเทคโนโลยีและไอเดียสุดโดดเด่น ที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ในโครงการ SPACE-F Batch 5 โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 5 ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting SPACE-F เป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ FoodTech Startup ในการสร้างนวัตกรรมระดับครัวไทยสู่ครัวโลก และช่วยให้สตาร์ทอัพค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก ซึ่งเป็นการสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพให้แข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ Health & Wellness, Alternative proteins, Novel food &

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย iNT และ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เปิดตัวโครงการ SPACE-F Batch 5 และร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนาม MOU ระหว่าง LOTTE และสตาร์ทอัพ MUU Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “International Day: Getting to Know You: Series I” เปิดโอกาสนักศึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติแชร์ประสบการณ์จัดการความเครียด สร้างสมดุล การทำงาน-การเรียน-การใช้ชีวิต ในรั้วมหาวิทยาลัย

12 มิถุนายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดกิจกรรม “International Day: Getting to Know You: Series I” แบ่งปันเทคนิคการจัดการความเครียด สร้างสมดุลระหว่างการทำงาน การทำวิจัย การเรียน และการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษานานาชาติ ในระดับปริญญาตรี โท เอก และหลังปริญญาเอก รวมถึงบุคลากรจากภาควิชาและหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ นักศึกษานานาชาติ นักวิจัย อาจารย์ชาวต่างชาติ เจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่จากภาควิชา กลุ่มสาขาวิชา และหน่วยวิจัย จำนวนกว่า 37 คน ภายในงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันในหัวข้อ work-study-life balance โดยมี Mr. Ida

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “International Day: Getting to Know You: Series I” เปิดโอกาสนักศึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติแชร์ประสบการณ์จัดการความเครียด สร้างสมดุล การทำงาน-การเรียน-การใช้ชีวิต ในรั้วมหาวิทยาลัย Read More »

Activity Photo

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จัดกิจกรรมส่งท้ายงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12 พร้อมส่งมอบธงเจ้าภาพแก่คณะวิทย์ ม.มหาสารคาม

8 มิถุนายน 2567 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จัดปาฐกถาพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมมอบรางวัลการนำเสนอผลงานแก่ผู้ร่วมงาน และส่งต่อธงเจ้าภาพในพิธีปิดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย หรือ TST ให้แก่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปิดฉากงานประชุมวิชาการ TST ครั้งที่ 12 Biodiversity for Wealth and Sustainability ณ อาคารบรรยายรวม L-01 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท อย่างสวยงาม ในวันสุดท้ายของงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์แห่งประเทศไทย หรือ TST ครั้งที่ 12 ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ราชบัณฑิตและประธานมูลนิธิความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และ ศาสตราจารย์ ดร.ประนอม จันทรโณทัย ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาแสดงปาฐกถาพิเศษ โดยกล่าวถึงการศึกษาวิจัยด้านอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ และความสำคัญของการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จัดกิจกรรมส่งท้ายงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12 พร้อมส่งมอบธงเจ้าภาพแก่คณะวิทย์ ม.มหาสารคาม Read More »

Activity Photo

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จัดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12

6 มิถุนายน 2567 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จัดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย หรือ TST ครั้งที่ 12 Biodiversity for Wealth and Sustainability เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านอนุกรมวิธานและชิสเทมาติคส์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสอันดีนี้ ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติเยี่ยมชมนิทรรศการภายในงานโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ประหยัด โภคฐิติยุกต์ ที่ปรึกษาภาคชีววิทยา และคณาจารย์ภาควิชาชีววิทยาร่วมต้อนรับ และในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Biodiversity’s Impact on Human Health and Well-being” โดยมี

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จัดงานประชุมวิชาการอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย ครั้งที่ 12 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ

31 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพ ด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ (Accelerator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 5 เพื่อยกระดับศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเปิดโอกาสในการเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารร่วมกับพาร์ทเนอร์ธุรกิจระดับโลก ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาและความร่วมมือทางธุรกิจ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับคณะผู้แทนจาก Sichuan University พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และวัสดุใหม่ในอนาคต

30 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และ ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และนักวิจัยประจำกลุ่มวิจัยยาง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่วมให้การต้อนรับและหารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับผู้แทนจาก Sichuan University สาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดย Mr. Zhiqi Qian, Vice Director of the College of Polymer Science and Engineering และ Professor Jinrong Wu, Affiliated with the College of Polymer Science

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับคณะผู้แทนจาก Sichuan University พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และวัสดุใหม่ในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสาธารณสุขศาสตร์ ครบรอบ 77 ปี

25 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีในงานก้าวเข้าสู่ปีที่ 77 วันคล้ายวันสถาปนา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล What’s Next … Thai Public Health สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และร่วมรับฟังการแสดงปาฐกถาพิเศษ “Synergies in Action : Integrating Environment Health, & Climate Change for a Sustainable Future” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการบรรยายพิเศษ “Mahidol Innovation Strategy Perspective on Innovation Ecosystem and Innovation Process” โดย

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสาธารณสุขศาสตร์ ครบรอบ 77 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 25 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ผลงานวิจัย และพัฒนาทักษะนำเสนองานวิจัยในระดับสากล

24 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 25 (The 25th Science Project Exhibition) หรือ SciEx2024 เปิดเวทีให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี แสดงศักยภาพการวิจัย และฝึกทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยกว่า 202 โครงงาน เป็นภาษาอังกฤษ ในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ Plenary Talk Short Talk และ Poster Presentation ทั้งยังมีการบรรยายพิเศษ Special Lecture: Beyond the Lab Coat: A Scientist’s Guide to Making a Difference เปิดมุมมองการทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีนักศึกษา นักเรียน และผู้ที่สนใจวิทยาศาสตร์ ลงทะเบียนร่วมงาน ณ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 25 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ผลงานวิจัย และพัฒนาทักษะนำเสนองานวิจัยในระดับสากล Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ปอมท. และ สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “การพิจารณาการของตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในมุมมองของกระทรวง อว.” สร้างความเข้าใจหลักเกณฑ์ ก.พ.อ. 2564

23 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ฝ่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัย ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) และสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “การพิจารณาการขอตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในมุมมองของกระทรวง อว.” สร้างความเข้าใจในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 และขั้นตอนการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการที่เป็นปัจจุบันแก่คณาจารย์มหาวิทยาลัย โดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และออนไลน์ผ่านระบบ WebEx Webinar และ FB Fanpage : MU Faculty Senate ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้เข้าร่วมเสวนาวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล เนสุสินธุ์ ประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ปอมท. และ สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง “การพิจารณาการของตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในมุมมองของกระทรวง อว.” สร้างความเข้าใจหลักเกณฑ์ ก.พ.อ. 2564 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และคณะผู้แทนจาก University College Dublin พร้อมหารือปูทางสู่ความร่วมมือในอนาคต

21 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ และผู้บริหารส่วนงาน ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันโภชนาการ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Pat Bourne เอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยคณะผู้แทนจาก University College Dublin ประเทศไอร์แลนด์ นำโดย Prof. Aoife Ahern, Vice-President for Equality Diversity and Inclusion (EDI) และ Dean of Engineering, UCD College of Engineering and Architecture, College Principal, University College

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับเอกอัครราชทูตไอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และคณะผู้แทนจาก University College Dublin พร้อมหารือปูทางสู่ความร่วมมือในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งต่อระบบนิเวศและมนุษย์ในวันผึ้งโลก

20 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล กิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งและระบบนิเวศและมนุษย์ เพื่อสร้างความตระหนักในการร่วมกันปกป้องผึ้งและแมลงผสมเกสรอื่น ๆ จากการถูกคุกคาม ในวันผึ้งโลก (World Bee Day) โดยได้รับเกียรติจากนักพฤกษศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการศึกษาผึ้งในบทบาทของแมลงผสมเกสร (Pollinator) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพืชชนิดต่าง ๆ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อลิสา สจ๊วต ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ และนางสาวพิริยา หัสสา นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ เป็นวิทยากร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการในรูปแบบออนไลน์ วันผึ้งโลก (World Bee Day) ถูกกำหนดขึ้นให้ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของ Anton

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งต่อระบบนิเวศและมนุษย์ในวันผึ้งโลก Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.มหิดล ครบรอบ 15 ปี

20 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีในงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบ 15 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้การต้อนรับ ณ อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และในโอกาสอันดีนี้ คณะวิทยาศาสตร์ ยังได้ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในครั้งนี้ด้วย เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 20 พฤษภาคม 2567

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.มหิดล ครบรอบ 15 ปี Read More »

Activity Photo

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ 7th IASCBC & AAT46

15 พฤษภาคม 2567 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ 7th International Anatomical Science and Cell Biology Conference และการประชุมวิชาการสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 46 (7th IASCBC & AAT46) เปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนและยกระดับองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์กายวิภาคและชีววิทยาของเซลล์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 10 สาขาวิชา กับเครือข่ายนักวิจัยจากนานาชาติ วิทยาศาสตร์กายวิภาคและชีววิทยาของเซลล์เป็นหนึ่งสาขาที่เก่าแก่ที่สุดในด้านการแพทย์ ซึ่งรวบรวมแก่นแท้และวิวัฒนาการของการดูแลสุขภาพและการแพทย์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์สู่ความเป็นไปได้อันไร้ขอบเขตในอนาคต ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา และรองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณปกรณ์

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการนานาชาติ 7th IASCBC & AAT46 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล ครบรอบ 15 ปี

14 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีในงานวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบ 15 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ให้การต้อนรับ และร่วมฟังปาฐกถาศาสตราจารย์เกียรติคุณสิรินทร์ พิบูลนิยม ครั้งที่ 20 หัวข้อ “Research from Molecular Bioscience to Sustainability Development” โดย ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น จากสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณสิรินทร์ พิบูลนิยม สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการประชุมวิชาการ ประจำปี 2567 หัวข้อ “Maximizing resources through synthetic

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล ครบรอบ 15 ปี Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5

13 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5 เพื่อติวเข้มในการพัฒนาต่อยอดไอเดียสู่ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีของตนเองให้เฉียบคม พร้อมในการระดมเงินทุนในระดับ Series A และ Seed Funding และพร้อมออกสู่ตลาด ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 5 Read More »

Activity Photo

นักศึกษาแพทย์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จัดงานพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 แสดงความกตัญญูกตเวทิตาแด่อาจารย์ใหญ่

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสว่างควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมด้วยนักศึกษาปริญญาโทและเอก นักศึกษาหลักสูตรกายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ รวมถึงเจ้าหน้าที่งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่ออาจารย์ใหญ่ และน้อมส่งอาจารย์ใหญ่สู่สุขคติในสัมปรายภพ ณ ศาลาทักษิณาประดิษฐ์ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ในการเรียนการสอนวิชาแพทย์ศาสตร์ สาขาวิชาที่จัดว่าเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญวิชาหนึ่ง คือ วิชามหกายวิภาคศาสตร์ หรือ Gross Anatomy ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนนั้น ต้องมีการศึกษาจากร่างของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือ “อาจารย์ใหญ่” ของนักศึกษาแพทย์ทุกคน แม้ปัจจุบันจะมีการเรียนโครงสร้างร่างกายมนุษย์โดยผ่านตำรา หรือใช้การเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็ไม่สามารถทดแทนร่างกายมนุษย์จริงได้ การที่นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้จากร่างกายของอาจารย์ใหญ่ นอกจากจะได้ศึกษาโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงของแต่ละระบบ และอวัยวะแล้ว สิ่งที่อาจารย์ใหญ่ได้สอนและแสดงให้นักศึกษาแพทย์ทุกคนได้เห็นคือความเสียสละ

นักศึกษาแพทย์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท จัดงานพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 แสดงความกตัญญูกตเวทิตาแด่อาจารย์ใหญ่ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง คณะสาธารณสุข ม.มหิดล และกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนายปัญญา วรเพชรายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในโอกาสนี้ อาจารย์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ ในฐานะผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ รวมถึงคณาจารย์ บุคลากรคณะสาธารณสุขศาสตร์ และบุคลากรกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ ณ ห้องเธียเตอร์ อาคารสาธารณสุขวิศิษฏ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 3

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง คณะสาธารณสุข ม.มหิดล และกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับ ผู้อำนวยการหอประวัติ ม.สงขลานครินทร์ และคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข

2 พฤษภาคม 2567 อาจารย์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ และนางสาวเฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ  หัวหน้างานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข พร้อมด้วยบุคลากรภายในงาน ให้การต้อนรับ อาจารย์มนัส กันตวิรุฒ ผู้อำนวยการหอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมบุคลากร จำนวน 4 คน ในโอกาสเข้าเยี่ยมชม หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น (Hall of Fame) มุมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ ตู้จัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์ และรางวัลเกียรติยศที่คณะวิทยาศาสตร์ได้รับ พร้อมกับศึกษาดูงาน พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข และหารือประเด็นการจัดเก็บและแสดงเอกสารจดหมายเหตุ กับคุณอภิชัย อารยะเจริญชัย บรรณารักษ์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) หัวหน้าหน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ผ่านทาง Webex Meetings ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข อาคารฟิสิกส์ ชั้น 2-3 เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา ต่อยอดการดำเนินงานของหอประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดแสดงพระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับ ผู้อำนวยการหอประวัติ ม.สงขลานครินทร์ และคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข Read More »

Activity Photo

14 คณาจารย์ คณะวิทย์ ม.มหิดล รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และ 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

26 เมษายน 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงาน และคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และ 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้องบรรยายศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในพิธีได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.วชิร คชการ รองอธิการบดี กล่าวรายงาน และกล่าวเบิกผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และ 2566 ทั้ง 173 คน โดยมีคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 14 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณภาควิชาสรีรวิทยา ศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร

14 คณาจารย์ คณะวิทย์ ม.มหิดล รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และ 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล รับป้ายรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบด้านความปลอดภัย ประจำปี 2566 ในงาน MU Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 8

26 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนงาน อาจารย์ และบุคลากร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) ภายใต้แนวคิดต้นแบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย “Safety Day: Safety Model” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความสำเร็จในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสู่มาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงรณรงค์ ส่งเสริม และกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ณ โถงรับรอง (Foyer) อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย และรับมอบป้ายรางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่

คณะวิทย์ ม.มหิดล รับป้ายรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบด้านความปลอดภัย ประจำปี 2566 ในงาน MU Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 8 Read More »

Photo activity

กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mat Sci Forum 2024 โชว์ศักยภาพการวิจัยของนักศึกษา ส่งเสริมทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง

24 เมษายน 2567 กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Mat Sci Forum 2024 เปิดเวทีให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก ในกลุ่มสาขาวิชา ได้นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนางานวิจัยให้ดียิ่งขึ้น ณ ห้อง SC2-158, 159 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ภายในงานได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ พร้อมด้วยคณาจารย์ภายในกลุ่มสาขาวิชา อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ รองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งนิตย์ วัฒนวิเชียร มาร่วมรับฟังและให้คำแนะนำในการนำเสนอผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 และ 4 ไปจนถึงนักศึกษาระดับปริญญาโท และเอก

กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mat Sci Forum 2024 โชว์ศักยภาพการวิจัยของนักศึกษา ส่งเสริมทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และผู้แทนมหาวิทยาลัยโครงการ International Academic Partnership Program ในสหรัฐอเมริกา พร้อมหารือปูทางสู่ความร่วมมือในอนาคต

22 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.วชิร คชการ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ผู้บริหารส่วนงาน ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารวิทยาลัยนานาชาติ และสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ร่วมให้การต้อนรับ Dr. Jacqueline Murot, Cultural and Education Attache ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และ 15 ผู้แทนมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ที่เข้าร่วมโครงการ International Academic Partnership Program (IAPP) ผู้แทนจาก Institute of International Education (IIE) และผู้แทนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในโอกาสเยือนมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อริเริ่มและพัฒนากิจกรรมทางวิชาการ อาทิ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และผู้แทนมหาวิทยาลัยโครงการ International Academic Partnership Program ในสหรัฐอเมริกา พร้อมหารือปูทางสู่ความร่วมมือในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล และภาควิชาเคมี ร่วมกับเครือข่ายวิจัยนานาชาติ Strengthening and Expansion of International Research Network on Microfluidic Analytical Technology และพันธมิตร จัดประชุมสัมมนาวิชาการ “IRN Symposium 2024” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัย

22 เมษายน 2567 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ ลั่นฆ้องเปิดงานประชุมนานาชาติ International Research Symposium 2024 (IRN Symposium 2024) โดยมี ผู้อำนวยการศูนย์ความเลิศด้านนวัตกรรมเคมี ศาสตราจารย์ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล รองผู้อำนวยการศูนย์ความเลิศด้านนวัตกรรมเคมี ศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา คูหากาญจน์ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ คุณขวัญศิริ ชนยุทธ และทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี  ผู้แทนจากหลักสูตรปริญญาโท-เอก สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ IRN Symposium 2024 ซึ่งเป็น joint

คณะวิทย์ ม.มหิดล และภาควิชาเคมี ร่วมกับเครือข่ายวิจัยนานาชาติ Strengthening and Expansion of International Research Network on Microfluidic Analytical Technology และพันธมิตร จัดประชุมสัมมนาวิชาการ “IRN Symposium 2024” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสวมยอดพระเกศพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ ทรงยกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ และทรงเปิดหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ ม.มหิดล ศาลายา

19 เมษายน 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสวมยอดพระเกศพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ ทรงยกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ และทรงเปิดหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม อธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ น.พ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี รองศาสตราจารย์ นพ.ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ โดยคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และ ดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสวมยอดพระเกศพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ ทรงยกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ และทรงเปิดหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิดศูนย์วิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมนุษย์ คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล ศาลายา

9 เมษายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี และ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมพิธีเปิดศูนย์วิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมนุษย์ (Research & Innovation Center of Human Movement Sciences: RICHms) ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนอธิการบดีกล่าวเปิดศูนย์วิจัยและนวัตกรรม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตร​ลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กภ.คมศักดิ์​ สินสุรินทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ และกิจกรรมของศูนย์วิจัยและนวัตกรรมฯ ณ ห้องประชุม ศ.นพ.เฟื่อง สัตยสงวน จากนั้นจึงเข้าเยี่ยมชมผลงานนวัตกรรมของศูนย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิดศูนย์วิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมนุษย์ คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล ศาลายา Read More »