8 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé นำทีม startup ในโครงการ SPACE-F Batch 5 ร่วมงาน Techsauce Global Summit 2024 ‘The World of Tomorrow with AI’ อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีอาหารในอุตสาหกรรมอาหารประเทศไทย เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ และการวางแผนธุรกิจ พร้อมพบปะนักลงทุน ผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน Food Tech อาจารย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายและพัฒนาธุรกิจ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พร้อมด้วยคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ประสานงานโครงการ SPACE-F และศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (MIND Center) นำโดย คุณพชรณัชช์ เอกวุฒิ ผู้จัดการศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ และผู้แทนหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ อาทิ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณธวัช สุธาสินีนนท์ (Director of Global Innovation) Dr. Magnus Bergkvist (Head of Science & Research) Dr. Christopher Aurand (Open Innovation Leader) และนางสาวอนุสรา จิตราธนวัฒน์ (Government Affair), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง (ผู้อำนวยการ) และคุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค (นักพัฒนานวัตกรรม), บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด นำโดย ดร.นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ (Executive Director), บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า นำโดย Ms. Jennica Cruz (Corporate Innovation) บริษัท Lotte Fine Chemical นำโดย Mr. Jaeho Lee (Food and Pharma Development (R&D)) และ Ms. Eunji Lim, และผู้อำนวยการโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 Mr. Sean Mak โดยมีทีมอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเชิงลึกในสาขาต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพ ชีววิทยา เคมี พอลิเมอร์ นวัตกรรมวัสดุ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
Techsauce Global Summit 2024 เป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นในธีม ‘The World of Tomorrow with AI’ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2567 และหนึ่งในธีมงานของวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา คือ FoodTech Summit Stage โดยภายในงานมีวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจและเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติมานำเสนอข้อมูลในหัวข้อต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่จับตามองทั้งจากนักลงทุนและผู้ประกอบการ อาทิ Mr. Paul Teng, Marketing Director and Dean NIE International บรรยายในหัวข้อ Global FoodTech Landscape, ดร.นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ Executive Director บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด บรรยายในหัวข้อ Food Decarbonization Advancing Sustainability in the Food Ecosystem, ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บรรยายในหัวข้อ Nurturing Innovation The Government’s Role in FoodTech Startups
และยังมีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ Revitalizing the Kitchen of the World How Do We Improve for the Future? ซึ่งเชิญผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรในภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล Dr. Christopher Aurand (Open Innovation Leader) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) Mr. Sean Mak (Chief Marketing Officer) Innovate 360 มาร่วมเสวนา โดยมี Mr. Kwon Hyuk Tae (Co-Founder & CEO) Pine Venture Partners เป็นผู้ดำเนินรายการ
และการเสวนาพิเศษในหัวข้อ Leveraging Technology for Food Businesses Collaboration for Future of Food ซึ่งมีผู้แทนภาคเอกชน และผู้ประกอบการเริ่มต้น อาทิ Ms. Jennica Cruz (Corporate Innovation) บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า, Mr. Victor Chen (Founder & CEO) Foodland Ventures, Mr. Felix Collins (Founder) Full Circle Biotechnology, Mr. Tak Phongpetra (Executive Director) Southern Palm 2521 ร่วมเสวนา โดยมี Mr. John Cheng, (CEO) Innovate 360 เป็นผู้ดำเนินรายการ
รวมถึงการนำเสนอนวัตกรรมจาก Startup จากศิษย์เก่าโครงการ SPACE-F รุ่นต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงบริษัท แอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด (Advanced GreenFarm) ที่ก่อตั้งโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ซึ่งพัฒนาระบบเพาะเลี้ยงวูฟเฟีย หรือที่เรียกอีกชื่อว่า ผำ หรือ ไข่น้ำ พืชพื้นเมืองที่พบแถบลุ่มน้ำโขง ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงระดับซูเปอร์ฟู้ด และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์วูฟเฟีย ร่วมนำเสนอผลงานบนเวทีด้วย
นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายซึ่งเปิดโอกาสให้ Startup โปรแกรมเร่งการเติบโต (Accelerator Program) และโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubator Program) ในโครงการ SPACE-F Batch 5 ได้นำเสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมของบริษัท ให้กับนักลงทุนและผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน Food Tech รวมถึงพบปะอาจารย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก ซึ่งมีความพร้อมในการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ เทคนิค และเทคโนโลยีเชิงลึก ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลกมากยิ่งขึ้นในอนาคต
เรียบเรียงโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : รศ. ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ
ภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 8 สิงหาคม 2567