29 เมษายน 2565 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จากคณะวิทยาศาสตร์ 3 สถาบัน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือจัดประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 (The 7th Thailand Undergraduate Research Forum on Plants and Genetics) หรือ TURFPaG#7 และการประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 (The 3rd Thailand Junior Research Forum on Plants and Genetics) หรือ T-JuRFPaG#3 เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ในวงการพืชและพันธุศาสตร์ พบปะแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกัน เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ เสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีนักศึกษาและนักเรียนร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์รวม 19 ผลงาน จาก 7 สถาบันในระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียน และมีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายกว่า 150 คน อีกทั้งมีผู้สนใจเข้าร่วมรับชมการบรรยายและการเสวนาทั้งการรับชมสด และชมย้อนหลังหลายพันคน ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดการประชุมได้ที่ https://plantscience.sc.mahidol.ac.th/turfpag2022/
ในแต่ละปี ภาควิชาพฤกษศาสตร์ทั้งสามสถาบันร่วมกันจัดการประชุมวิชาการ TURFPaG เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้นำเสนอโครงงานวิจัย senior project และ T-JuRFPaG สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งในปีนี้ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพหลัก และเรียนเชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเปิดการประชุม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิสา สจ๊วต อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล และ คุณโยธิน จูประสงค์ ศิษย์เก่าภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ก่อนจะเข้าสู่การบรรยายพิเศษเรื่อง “อิทธิพลของแสงเทียมต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี ศิษย์เก่าภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล และอาจารย์ประจำ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในช่วงเช้า ถ่ายทอดผ่านทาง Facebook page: Plant Science @ Mahidol University ซึ่งสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/cMzfNr9VSv/
ในช่วงบ่าย มีกิจกรรมเสวนา “คลับสามถั่ว” หรือ “TuRFPaG Club: The Three Beans’ Talk” จากรุ่นพี่ 3 สถาบันบอกเล่าประสบการณ์การเรียนพฤกษศาสตร์ และการนำความรู้มาใช้ในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาสินี พงษ์ประยูร ศิษย์เก่าระดับปริญญาตรีจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ จุฬา และระดับปริญญาโท จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล ร่วมด้วย นายยศพล หาญวณิชย์เวช ศิษย์เก่าภาควิชาพฤกษศาสตร์ เกษตร และนางสาวญาณิศา แสงสอดแก้ว ศิษย์เก่าภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล จากภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหิดล ซึ่งถ่ายทอดผ่านทาง Facebook live เช่นกันโดยสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/cMzhGx75KF/
สำหรับการนำเสนอผลงานวิจัยภายในงาน มีการนำเสนอแบบบรรยาย 15 ผลงาน ซึ่งผลงานงานวิจัยโดย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงาน 4 ผลงาน ได้แก่
ผลงานวิจัยเรื่อง “สำรวจความหลากหลายของพืชในอุทยานแห่งชาติน้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี จังหวัดเชียงใหม่” โดยนางสาวพรหมพร นุ่มเออ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ที่ปรึกษา
ผลงานวิจัยเรื่อง “การผลิตเมล็ดเทียมเพื่อการอนุรักษ์ต้นปุดเดือนโดยใช้ส่วนลำต้น” โดยนางสาวพชรวรรณ สอนโยธา นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับ นายโรจนกร เชิงปัญญา นักศึกษาระดับปริญญาเอก และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.งามนิจ ชื่นบุญงาม อาจารย์ที่ปรึกษา
ผลงานวิจัยเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงทางเซลล์พันธุศาสตร์ระหว่างกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืช: กรณีศึกษาในต้นบอนประดับ (Colocasia esculenta (L.) Schott)” โดย นางสาววิภาดา สุขแสนศรี นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 และ รองศาสตราจารย์ ดร. พวงผกา อัมพันธ์จันทร์ อาจารย์ที่ปรึกษา
ผลงานวิจัยเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการของโปรตีนเอฟเฟคเตอร์ของเชื้อไฟทอปธอร่า สาเหตุโรครากเน่าทุเรียน” โดยนายชัยวัฒน์ ทวีไทย นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิษุวัต สงนวล อาจารย์ที่ปรึกษา
นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอผลงานแบบบรรยายโดยนักเรียนระดับมัธยมจากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (1 ผลงาน) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (1 ผลงาน) และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย (2 ผลงาน) กับการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์อีก 4 ผลงาน โดยเป็นผลงานจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ เกษตร 2 ผลงาน โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย 1 ผลงาน และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย 1 ผลงาน อีกด้วย
ในช่วงสุดท้ายเป็นการประกาศรางวัล โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลดังนี้
รางวัลการนำเสนอแบบ pitching จาก มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การผลิตเมล็ดเทียมเพื่อการอนุรักษ์ต้นปุดเดือนโดยใช้ส่วนลำต้น โดย พชรวรรณ สอนโยธา โรจนกร เชิงปัญญา และ งามนิจ ชื่นบุญงาม
รางวัลการนำเสนอแบบ pitching จาก มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การผลิตเมล็ดเทียมเพื่อการอนุรักษ์ต้นปุดเดือนโดยใช้ส่วนลำต้น โดย พชรวรรณ สอนโยธา โรจนกร เชิงปัญญา และ งามนิจ ชื่นบุญงาม
รางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย มีดังนี้
“ระดับดีเด่น” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง อนุกรมวิธานของ Huperzia serrata ชนิดเชิงซ้อนในประเทศไทย โดย ชนชนม์ ชูเชื้อ และ รสริน พลวัฒน์
“ระดับดีเด่น” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง อนุกรมวิธานของ Huperzia serrata ชนิดเชิงซ้อนในประเทศไทย โดย ชนชนม์ ชูเชื้อ และ รสริน พลวัฒน์
“ระดับดีมาก” จากมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การผลิตเมล็ดเทียมเพื่อการอนุรักษ์ต้นปุดเดือนโดยใช้ส่วนลำต้น โดย พชรวรรณ สอนโยธา โรจนกร เชิงปัญญา และ งามนิจ ชื่นบุญงาม
“ระดับดี” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง จุลสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของเนื้อเยื่อผิวของกลีบดอกกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium spp.) โดย วรนาถ วรรณรักษ์ คณิณ รุ่งวัฒนา และ พรสวรรค์ สุทธินนท์
“ระดับดี” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การศึกษาระยะเวลาการเจริญของหลอดเรณูภายในก้านเกสรเพศเมีย ที่ส่งผลต่อการติดผลของทุเรียนพันธุ์ “หมอนทอง” โดย จุติกานต์ อุตตะโมท วีรศิลป์ สอนจรูญ และ คณพล จุฑามณี
“ระดับชมเชย” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างหมู่ไม้และปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องของป่าเสม็ดขาวของสวนพฤกษศาสตร์ระยอง โดย ธัญญลักษณ์ ภูธนะกูล สรัญญา วัชโรทัย และ เอกพันธ์ ไกรจักร์
และ “ระดับชมเชย” จากมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง สำรวจความหลากหลายของพืชในอุทยานแห่งชาติน้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี จังหวัดเชียงใหม่ โดย พรหมพร นุ่มเออ ทยา เจนจิตติกุล และ สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล
รางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยายระดับมัธยมศึกษา ดังนี้
“ระดับดีเด่น” จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ เรื่อง ผลของไมโครพลาสติกต่อการเจริญเติบโตของไข่น้ำ (Wolffia globosa) โดย คณพศ ถิ่นหนองจิก ชวิน คุโรปกรณ์พงษ์ ชคัตตรัย สุขก้องวารี พรรษ วติวุฒิพงศ์ และ พิมพ์ศิริ ด่านพิษณุพันธุ์
“ระดับดีเด่น” จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ เรื่อง ผลของไมโครพลาสติกต่อการเจริญเติบโตของไข่น้ำ (Wolffia globosa) โดย คณพศ ถิ่นหนองจิก ชวิน คุโรปกรณ์พงษ์ ชคัตตรัย สุขก้องวารี พรรษ วติวุฒิพงศ์ และ พิมพ์ศิริ ด่านพิษณุพันธุ์
“ระดับดีมาก” จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เรื่อง ประสิทธิภาพของเชื้อรา Chaetomium globosum ในการควบคุมเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora สาเหตุโรคเน่าเละในคะน้า โดย ญาณพิชญ์ ธีรฉัตรวัฒน์ นภัส ธรรมกิจจาธร ณัชชา แสงแก้ว และ อรวรรณ ปิยะบุญ
“ระดับชมเชย” จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย เรื่อง เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตของข้าวไรซ์เบอร์รี่จากนาโนซิงค์ออกไซด์ และการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่จากน้ำหมักชีวภาพ โดย ภัคนันท์ แก้วมณี ก้องตะวัน สงวนวงค์ อนิวรรตน์ ศรีธาราธิคุณ และ จิรวัฒน์ วโรภาษ
และ “ระดับชมเชย” จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย เรื่อง การศึกษาการเจริญเติบโตของไรโซเบียมในขึ้นฉ่าย โดย ฐิติพร โสภณคูณทอง ศิริยาภรณ์ แพงโสดา อัจฉริยา ใจยา และ จิรวัฒน์ วโรภาษ
รางวัลการนำเสนอแบบโปสเตอร์ มีผู้ได้รับรางวัลดังนี้
“ระดับดีเด่น” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของรากไมคอร์ไรซาในกล้วยไม้รองเท้านารีถิ่นใต้ (Paphiopedilum spp.) สองชนิดในประเทศไทย โดย อนวัช ผาดไพบูลย์ คณิณ รุ่งวัฒนา และ พรสวรรค์ สุทธินนท์
“ระดับดีเด่น” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของรากไมคอร์ไรซาในกล้วยไม้รองเท้านารีถิ่นใต้ (Paphiopedilum spp.) สองชนิดในประเทศไทย โดย อนวัช ผาดไพบูลย์ คณิณ รุ่งวัฒนา และ พรสวรรค์ สุทธินนท์
“ระดับดีมาก” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบกายวิภาคศาสตร์และปริมาณสาระสำคัญของบัวบกที่ปลูกในระบบการปลูกพืชไร้ดิน โดย รังสิมันตุ์ ชัยเชียงเอม เบญญา มะโนชัย และ อรอุษา คำสุข ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“ระดับชมเชย” จากโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย เรื่อง การศึกษาการสืบพันธุ์ของบอนในสกุลโคโลคาเซียบางชนิดในประเทศไทย โดย ฐานพัฒน์ แก้วจันทรา และ ลภัสรดา อบสุวรรณ
และ“ระดับชมเชย” จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย เรื่อง การปรับสภาพเส้นใยเซลลูโลสจากกาบมะพร้าวด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์เพื่อการบำบัดน้ำเสียจากกิจกรรมซักผ้า โดย ขวัญนภา อุระแสง และ ณัฐวรา จุละเพชร์
ในพิธีปิดงานประชุมวิชาการ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีและกล่าวปิดการประชุม ชื่นชมความร่วมมือระหว่างภาควิชาพฤกษศาสตร์ทั้งสามสถาบัน และการนำเสนอผลงานคุณภาพที่ได้มาจากการบ่มเพาะความรู้และความมุ่งมั่นตั้งใจของนักศึกษาและนักเรียน ร่วมกับคณาจารย์ ก้าวผ่านอุปสรรคทั้งหลาย รวมทั้งสถาการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ทำให้การเรียนในห้องเรียน และการทำงานในห้องปฏิบัติการติดขัด แต่ทุกคนก็ฝ่าฟันผ่านพ้นมาได้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
นับว่าการประชุม TURFPaG#7 และ T-JuRFPaG#3 ผ่านไปอย่างเข้มข้น อัดแน่นด้วยวิชาการ แต่ก็สนุกสนานแบบเป็นกันเองในกลุ่มนิสิต นักศึกษา นักเรียน คณาจารย์ทั้งจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ 3 สถาบัน และจากสถาบันการศึกษาอื่น รวมทั้งผู้สนใจ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านพืชและพันธุศาสตร์ อันจะนำมาซึ่งองค์ความรู้ทางวิชาการ และความร่วมมือข้ามสถาบันต่อไปในอนาคต สำหรับการประชุมครั้งต่อไป จะจัดขึ้นในราวเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 โดยมี ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ
เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ และ ผศ. ดร.ศศิวิมล แสวงผล
ภาพข่าวโดย: อรชพร ศรีพวาทกุล
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 2 พฤษภาคม 2565
จำนวนคนดู: 341