ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง ได้ให้ข้อมูลในมุมของคนทำแบบจำลองโรคระบาด (disease modeler) ว่า Endemic ในความหมายของคนทำแบบจำลองคือ การระบาดที่มีแนวโน้มคงที่ สามารถคาดการณ์การระบาดได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าการระบาดจะจบลง หรือโรคจะมีความรุนแรงน้อยลง เมื่อเราคำนวณตามเงื่อนไขของการเข้าสู่ Endemic นั่นคือ R0 x S = 1 โดยที่ R0 เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการแพร่เชื้อของไวรัส โดยในกรณีของไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนนั้น R0 มีค่าประมาณ 10 และ S คือสัดส่วนของประชากรที่ยังสามารถติดเชื้อได้ ดังนั้น การระบาดจะเข้าสู่ Endemic ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องมีประชากรที่ยังสามารถติดเชื้อได้เพียง 10% ซึ่งหมายความว่าประชากรอีก 90% จะต้องมีภูมิคุ้มกันต่อโรคแล้ว และจากข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน ที่ถึงแม้ทุกคนจะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือน ประชากรจะมีภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อลดลงเหลือแค่ประมาณ 45% นั่นคือเรายังขาดคนที่มีภูมิคุ้มกันอีก 45% ซึ่งอาจต้องเกิดขึ้นจากการติดเชื้อร่วมด้วย เพื่อให้สุทธิแล้วประชากรมีภูมิคุ้มกันครบ 90% พร้อมเสริมว่าการจบลงของโรคระบาดไม่จำเป็นต้องจบลงด้วย Endemic เสมอไป และการจบการระบาดของโรคที่ดีที่สุดคือการกำจัดโรคให้หมดไปด้วยการควบคุมโรคอย่างรวดเร็วอย่างเช่น กรณีของโรคซาร์ส เป็นต้น
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-34.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-35.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-3.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-5.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-7.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-11.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-14.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-16.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-18.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-19.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-21.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-25.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-27.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-28.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-29.jpg)
![Activity photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-30.jpg)
![Activity Photo](https://science.mahidol.ac.th/news/wp-content/uploads/2022/04/Apr65-08-2.jpg)
เขียนข่าว : นางสาวปัณณพ แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์
รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ
ภาพข่าวโดย: งานสื่อสารองค์กร
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 8 เมษายน 2565