Mahidol University

Faculty of Science


International Cooperation Division

2022

#

การประชุมแสวงหาความร่วมมือ ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะจาก Faculty of Mathematics and Natural Sciences, Universitas Gadjah Mada ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 ระหว่างเวลา 09.00-11.00 น.

ที่ประชุมได้มีการหารือความเป็นไปได้ในการสถาปนาความร่วมมือในด้านวิจัยและการศึกษา โดย Faculty of Mathematics and Natural Sciences, Universitas Gadjah Mada ได้แนะนำ กลุ่มวิจัยที่อยู่ภายใต้ภาควิชาต่างๆ ของ 4 ภาควิชา และที่ประชุม ได้หารือความเป็นไปใด้ในการทำความร่วมมือทั้งในด้านการศึกษา การวิจัย และแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร ได้แก่ 1. Students Exchange (Bachelor Student – International Undergraduate Programs in Chemistry, Computer Science, Electronics and Instrumentation) 2. Staffs Exchange (Lecturers and Laboratories’ staffs) 3. Research Collaborations 4. Joint Supervisions 5. Dual or Double Degree Programs 6. Visiting Professor to UGM - The 9th SEAMS UGM 2023, International Conference - Graduates Students Conference 2023 โดยทั้งสองสถาบันเห็นชอบในโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร และการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ

#

การประชุมแสวงหาความร่วมมือ ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะจาก Faculty of Fisheries and Marine, Universitas Airlangga ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 ระหว่างเวลา 09.00-11.30 น.

ที่ประชุม ได้หารือความเป็นไปใด้ในการทำความร่วมมือทั้งในด้านวิจัย และแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร โดยทั้งสองสถาบันยินดีที่จะจัดส่งนักศึกษาเข้าร่วมโครงการฝึกงาน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสามารถสมัครขอรับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับการทำวิจัยร่วมกัน และร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ (Joint Symposium/Joint Conference) ที่ประชุมมีความสนใจที่จะดำเนินการผ่านเครือข่ายการศึกษาประมงอาเซียน ASEAN-FEN (ASEAN Fisheries Education Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นตัวแทนของสถาบันที่มุ่งเน้นด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณา ร่างบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Agreement) ระหว่าง Faculty of Fisheries and Marine, Universitas Airlangga, Indonesia และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากสิ้นสุดการประชุม ผู้แทนจาก Faculty of Fisheries and Marine, Universitas Airlangga, Indonesia ได้เข้าเยี่ยมชมหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศและเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง โดยมีผู้แทนจากหน่วยวิจัยฯ เป็นผู้นำชมและให้การบรรยายแนะนำ

#

การประชุมเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้บริหารจาก Osaka University ประเทศญี่ปุ่น วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างเวลา 09.00-12.30 น.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และรองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) พร้อมด้วยคณาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโอซาก้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บังอรศิริ อินตรา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤพัฒน์ หงษ์ดิลกกุล และ ดร. นิสา ปฏิการมณฑล ได้ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University ประเทศญี่ปุ่น นำโดย Prof. Genta Kawahara, Executive Vice President, Prof. Kiyoshi Fujita, Senior Advisor to the President, Prof. Yoshinori Sumimura, Center for Global Initiatives แ ล ะ Mr. Toshihiko Tsuji, Assistant Head, Department of International Affairs ในโอกาสเดินทางมาประชุมพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Osaka University เมื่อวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้อง K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

#

การประชุมแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Jeremy Simpson, Dean of College of Science, University College Dublin (UCD) ประเทศไอร์แลนด์ วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างเวลา 10.00-11.00 น.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.พลังพล คงเสรี พร้อมด้วย ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และผู้แทนจากภาควิชา ประกอบด้วย รศ.ดร. กัลยา เกตุวงศา และ รศ.ดร. ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ภาควิชาชีวเคมี อ.ดร. นิศามณี เจริญชนม์ ภาควิชาพยาธิชีววิทยา รศ.ดร. มาริสา พลพวก ภาควิชาจุลขีววิทยา อ.ดร. ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ ดร. ณิชกานต์ สมัยนุกุล นายพงษ์ธร กาญจนศิริรัตน์ ผู้แทนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) คณะวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Jeremy Simpson, Dean of College of Science และ Ms. Deirdre Healy, Associate Director, UCD Global, University College Dublin (UCD) ประเทศไอร์แลนด์ ในโอกาสเดินทางมาประชุมพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ College of Science, University College Dublin เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565

#

การต้อนรับ Ms. Lillian Chua, Regional Manager, University of Sussex, United Kingdom วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างเวลา 12.00-14.00 น.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ได้ร่วมให้การต้อนรับ Ms. Lillian Chua, Regional Manager, University of Sussex, United Kingdom ซึ่งเดินทางมาพบและพูดคุยกับนักศึกษาที่สนใจเข้าศึกษาหลักสูตร Double Degree สาขา Biomedical และ Bioinnovation

#

การสัมมนาและหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้แทนจาก University of Bristol, United Kingdom วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างเวลา 16.00-18.00 น.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Charl F J Faul ผู้แทนจาก University of Bristol, UK ซึ่งเดินทางมาร่วมบรรยายพิเศษ และหารือความร่วมมือทางวิชาการ กับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยมหิดล

#

การแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้แทนจาก Universitas Negeri Yogyakarta ประเทศอินโดนีเซีย วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2565 ระหว่างเวลา 09.00-10.30 น.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.พลังพล คงเสรี พร้อมด้วย ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร. กิตตศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ร่วมกับ อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ ผศ.ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และ รศ.ดร. ดวงใจ นาคะปรีชา ผู้แทนหัวหน้าภาควิชาเคมี ได้ร่วมให้การต้อนรับ ผู้แทนจาก Universitas Negeri Yogyakarta (UNY) ประเทศอินโดนีเซีย จานวน 7คน นำโดย Prof. Dr. Ariswan, M.Si, Dean of Mathematics and Natural Sciences และ Dr. Isti Yunita ซึ่งเป็นผู้ประสานงานและดูแลนโยบายด้าน World-Calss University Task Force ของ Universitas Negeri Yogyakarta และเป็นศิษย์เก่าของคณะวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาเอก สาขาเคมี ในโอกาสเดินทางมาพูดคุย ปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Universitas Negeri Yogyakarta เมื่อวันพฤหสบดีที่ 27 ตุลาคม 2565

#

กิจกรรม International Student Activities เนื่องในโอกาสครบรอบ 64 ปี แห่งการสถาปนา ในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565

กิจกรรม International Student Activities เนื่องในโอกาสครบรอบ 64 ปี แห่งการสถาปนา ในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษา บุคลากรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ภายในงานจะมีการแต่งการด้วยชุดประจำชาติ การแสดงดนตรีประจำถิ่น รวมถึงการชิมขนม และอาหารพื้นบ้านของแต่ละประเทศ โดยภายในงานจะมีการแสดงดนตรีโดยใช้เครื่องเล่น Angklung โดยนักศึกษาประเทศอินโดนีเซีย การออกร้านขนมไทยโดยงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ขนมลูกชุป ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมฝอยทอง ขนมชั้น ขนมเม็ดขนุน การออกร้านอาหารปากีสถานโดยนักศึกษาจากประเทศสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน มี 3 เมนู คือ Chicken Biryani, Kheer, Chana Chaat และอาหารจากนักศึกษาจากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในเมนู Tea Leaves Salad

#

การแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัย (ครั้งที่ 2)ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter Weissenmayer,Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 ระหว่างเวลา 13.30 – 06.00 น.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ ร่วมกับ รศ.ดร. ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี โอกาสเข้าร่วมประชุมพูดคุยปรึกษาหารือในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen หลังจากที่ทั้งสองสถาบันได้มีการประชุมพูดคุยและได้ข้อสรุปร่วมกันในขั้นหลักการ ในการสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างกัน เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565

#

การแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter Weissenmayer, Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 ระหว่างเวลา 09.00-11.00 น.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร. พลังพล คงเสรี พร้อมด้วย ศ.ดร. ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร. กิตตศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565
ในโอกาสการให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer ในครั้งนี้ ได้มีอาจารย์ นักวิจัย ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาเคมี และกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เข้าร่วมพูดคุยปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วย เพื่อนำมาซึ่งข้อสรุปในความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยในสาขาวิชาที่สองสถาบันมีความเชี่ยวชาญ

#

กิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ MUSC Caltural Exchange ประจำปี 2565 (การแสดงโขน โดยทีมหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร) วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565 ระหว่างเวลา 13.30-16.00 น.

กิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ MUSC Caltural Exchange (การแสดงโขน โดยทีมหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร) เป็นการจัดกิจกรรมแบบบรรยาย 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควบคู่กัน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประวัติของหุ่นละครเล็ก อธิบายถึงการแต่งกายโขน การฝึกท่าโขน การฝึกแสดงอารมณ์ของโขน การสาธิตและสอนการแสดงอารมณ์ของโขน การสาธิตและการฝึกเชิดหุ่น รวมถึงชมการแสดงชุดจับนางสุพรรณมัจฉา และการแสดงชุดคนเชิดโขน

#

กิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ MUSC Caltural Exchange ประจำปี 2565 (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2565 ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น.

กิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ MUSC Caltural Exchange (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เป็นการจัดกิจกรรมแบบ 1 Day Trip โดยบรรยายภาษาอังกฤษ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาษาและศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยการเยี่ยมชม วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ซึ่งเป็นวัดที่ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมโกธิคและเลียนแบบโบสถ์คริสต์ในการก่อสร้าง วัดไชยวัฒนาราม วัดท่าการ้อง และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านของพ่อ

#

กิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ MUSC Caltural Exchange ประจำปี 2565 (เทคนิคมวยไทย) วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 ระหว่างเวลา 14.00-16.00 น.

กิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ MUSC Caltural Exchange (เทคนิคมวยไทย) เป็นการจัดกิจกรรมแบบบรรยาย 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควบคู่กัน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประวัติและความเป็นมาของมวยไทย การไหว้ครู การร่ายรำมวยไทย และทักษะการป้องกันตัว ซึ่งประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด ศอก เข่า และเท้า โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุพันธ์ ชะใบรัม ครูมวยไทย ให้เกียรติเป็นวิทยากร

#

กิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ MUSC Caltural Exchange ประจำปี 2565 (เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี) วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565 ระหว่างเวลา 9.00-16.00 น.

กิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ MUSC Caltural Exchange (เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี) เป็นการจัดกิจกรรมแบบบรรยาย 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควบคู่กัน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาษาและศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมไทยรามัญอันเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงวัด สิ่งปลูกสร้าง และงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาลายวิจิตร รวมถึงชมวิถีชีวิตของชุมชนมอญเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายมอญ