Mahidol University

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ครบรอบ 64 ปี

5 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา ในฐานะผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบ 64 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นพ.วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ให้การต้อนรับ และร่วมฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “คิดแบบผู้นำ…การสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืน” โดย คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ณ ห้องประชุมมีเกรท อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองราชสมบัติครบ 60 ปี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 5 เมษายน […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ครบรอบ 64 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยกับ Macquarie University ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

21 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร โอสถจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และนักวิเทศสัมพันธ์ จากงานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ และกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Macquarie University เครือรัฐออสเตรเลีย นำโดย Prof. Lucy Marshall, Executive Dean of the Faculty of Science and Engineering, Dr. Katrina Sealey, Faculty of Science and Engineering Executive Director และ Mr. Matt Monkhouse,

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยกับ Macquarie University ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมเสวนากับทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร

15 มีนาคม 2567 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้การต้อนรับคณะทำงานจากโครงการ U.S. Special Envoy Global Youth ประเทศสหรัฐอเมริกา และร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็น (Roundtable Discussion) ในประเด็นด้านการศึกษาในฐานะนักศึกษาสัญชาติอเมริกันและนักศึกษาผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนหรือศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ Ms. Abby Finkenauer ทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร ณ ห้องประชุม 530 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดล อลัน คอนสแตนซ์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วย นายเตชินท์ เจริญจิตรวัฒนา ศิษย์เก่าของหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (B.Sc. Program in Bioresources and Environmental

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมเสวนากับทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับ 14 นักศึกษา UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

13 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หนึ่งนิตย์ วัฒนวิเชียร รองศาสตราจารย์ ดร. รักชาติ ไตรผล และ อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มสาขาวิชา และเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ให้การต้อนรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 – 4 สังกัด UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) จำนวน 14 คน ในโอกาสเยือนคณะวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาดูงานด้านหลักสูตรการเรียนการสอน โครงการวิจัย และกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรภายใต้สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยนักศึกษาทั้ง 14 คนได้มีโอกาสเยี่ยมชมสิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมภายในห้องปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ของอาจารย์และนักวิจัยที่หลากหลาย อาทิ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ด้าน Advanced

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับ 14 นักศึกษา UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย Bioism 2 เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนจำนวนกว่า 1,375 คน เข้าประลองความรู้ทางชีววิทยา

17 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยนักศึกษาภาควิชาชีววิทยา ในนามสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย (Bioism) ครั้งที่ 2 โดยมีนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศสมัครร่วมกิจกรรมกว่า 1,726 คน และเข้าร่วมแข่งขันประลองความรู้จำนวน 1,375 คน พร้อมร่วมกิจกรรมเรียนรู้ระบบในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและการประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย หรือ Bioism เป็นการทดสอบความรู้ด้านชีววิทยาโดยมีพื้นฐานจากหนังสือเรียน สสวท. ระดับมัธยมปลาย ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมปลายที่สนใจทางด้านชีววิทยาได้มีโอกาสทดสอบทักษะความรู้ทางวิชาการ เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ รวมถึงแนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานร่วมกันของนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย ในปีนี้โครงการจัดขึ้นภายใต้แนวคิดโลกใต้ทะเล โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย Bioism 2 เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนจำนวนกว่า 1,375 คน เข้าประลองความรู้ทางชีววิทยา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ

2 มีนาคม 2567 ในโอกาสครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ และคณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพิธีบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ พร้อมร่วมฟังปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ครั้งที่ 13 เรื่อง “รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกสู่การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อด้วยพิธีมุทิตาจิตผู้อาวุโส ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดพิธีมอบรางวัลเพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่า ประจำปี 2566 ในด้านต่าง

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล ร่วมกับ International Peace Foundation เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ บรรยายพิเศษในงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.”

13 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับ International Peace Foundation จัดงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.” ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนและส่งเสริมการพัฒนาผ่านการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก Professor Edvard Ingjald Moser นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี ค.ศ. 2014 ผู้ค้นพบเซลล์ประสาทและระบบระบุตำแหน่งในสมองและความจำ ซึ่งช่วยปูทางสู่การหาวิธีรักษาอัลไซเมอร์ มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการวิจัยกับคณาจารย์และนักศึกษา ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 2-3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ ในโอกาสอันดีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ม.มหิดล ร่วมกับ International Peace Foundation เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ บรรยายพิเศษในงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดค่ายทักษะวิทยาศาสตร์ ปั้นนักวิทยาศาสตร์พลเมือง นำความรู้วิทย์แก้ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

13 – 15 มกราคม 2567 หลักสูตรนานาชาติ สาขาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (Bioresources and Environmental Biology) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ “พลังงานและสิ่งแวดล้อม” เปิดโลกการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมเสริมทักษะนักวิทยาศาสตร์พลเมืองให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกว่า 100 คน ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม และอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รักษาการหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับประธาน และอาจารย์ประจำหลักสูตรนานาชาติทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม ได้แก่ อาจารย์ ดร.พหล โกสิยจินดา, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล, รองศาสตราจารย์ ดร.พรินท์พิดา สนธิพันธ์, อาจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จัดค่ายทักษะวิทยาศาสตร์ ปั้นนักวิทยาศาสตร์พลเมือง นำความรู้วิทย์แก้ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง

21 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong เชิญ 3 วิทยากร ผู้มีบทบาทในการผลักดันระบบนิเวศผู้ประกอบการเริ่มต้น หรือ Startup ในมหาวิทยาลัย และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล คุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน Founder, SEA Bridge และคุณพนากร เดชธำรงวัฒน์ Head of Investment Promotion, Invest HK บรรยายเกี่ยวกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง โอกาสของ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT และ SPACE-F จัดกิจกรรม The Bridge Serise: Building to Scale Exploring New Opportunities in Southeast Asia & Hong Kong แนะโอกาส Startup ไทยบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฮ่องกง Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Merck ร่วมเสริมความแข็งแกร่งในความร่วมมือกันในอนาคต

18 ธันวามคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะกรรมการโครงการ SPACE-F ผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย Dr. Chris Aurand, Open Innovation Lead และคุณอนุสรา จิตราธนวัฒน์ Government Affair จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และทีมงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก บริษัท เมอร์ค จำกัด นำทีมโดย Dr. Lysander Chrisstoffels Head of Science and Lab Solutions Commercial APAC, Mr. Seoc-Kyu Park Head of Science

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ SPACE-F หารือ Merck ร่วมเสริมความแข็งแกร่งในความร่วมมือกันในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับผู้แทนจาก Qingdao University of Science and Technology (QUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ณ ม.มหิดล ศาลายา

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำทีมโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี และศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Qingdao University of Science and Technology: QUST) นำโดย Prof. Shen Wenqing, Deputy Secretary of the Party Committee Prof. Zhang Shuhai, Dean of International College Prof. Yan Yehai,

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมต้อนรับผู้แทนจาก Qingdao University of Science and Technology (QUST) สาธารณรัฐประชาชนจีน หารือความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล จับมือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา

13 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา “โครงการการผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา” เพื่อพัฒนายาฆ่าเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีลงนามในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านมาลาเรียในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานในพิธีลงนาม โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนาม และยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารจากคณะและสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รองศาสตราจารย์

ม.มหิดล จับมือ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันยามาลาเรีย P218 สู่การเป็นยาใหม่ตัวแรกของประเทศที่กำลังพัฒนา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023

       28 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ และได้คว้ารางวัล Popular Vote 2 รางวัล ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023 เวทีจัดแสดงผลงานการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อ “ทศวรรษมหกรรมคุณภาพ: ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานมหกรรมคุณภาพ ประจำปี 2566 และ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานคณะกรรมการจัดงานกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน    

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา”เปิดตัว 2 นักวิจัย ม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ผู้ได้รับคัดเลือกไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา

24 พฤศจิกายน 2566 เปิดตัว 2 นักวิจัยไทย นางสาวอัจฉราภรณ์ ผักหวาน นักวิจัยกลุ่มวิจัยรังสีคอสมิกและอนุภาคพลังงานสูง มหาวิทยาลัยมหิดล และ เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์และนักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนนักวิจัยไทยผู้ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา ในงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา” ตามความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด ภายใต้พระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารพระจอมเกล้า (ถนนโยธี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม งานแถลงข่าวในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล หัวหน้าโครงการความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด, เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์และนักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา”เปิดตัว 2 นักวิจัย ม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ผู้ได้รับคัดเลือกไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือ บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ

27 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมอาจารย์และนักวิจัย ของคณะวิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจและมีความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ ร่วมหารือกับบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) ณ ห้องประชุม K103 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการหารือในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณศุภรัตน์ โชติสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) ศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2562 เป็นผู้ร่วมหารือในครั้งนี้บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) เป็นภาคธุรกิจที่ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรที่มีคุณภาพระดับสากล เป็นผู้นำการให้บริการสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีการให้บริการทั้งหมด 8 ด้าน

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือ บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เยือน Sichuan University ร่วมวิจัยยางธรรมชาติ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ปูทางสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ

14-17 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเชิญจาก Professor Dr. Jinrong Wu อาจารย์ประจำ College of Polymer Science and Engineering, Sichuan University ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสูงของประเทศจีน ในการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสองสถาบัน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ได้เดินทางเยือน Sichuan University อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นครั้งแรกหลังจากได้มีการติดต่อทำงานร่วมกันผ่านช่องทางออนไลน์ โดยได้ร่วมปรึกษาเรื่องการวิจัยยางธรรมชาติ รวมถึงได้รับเชิญบรรยายพิเศษเรื่องยางธรรมชาติให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ College of Polymer Science and Engineering พร้อมทั้งนำเสนองานวิจัยที่กำลังดำเนินการ และแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องยางธรรมชาติ ซึ่งได้สร้างความประทับใจและเปิดโอกาสสำหรับการขยายขอบเขตของความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองสถาบันในอนาคต เขียนข่าว : ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ เรียบเรียง : นางสาวปัณณพร แซ่แพ

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เยือน Sichuan University ร่วมวิจัยยางธรรมชาติ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ปูทางสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ มหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน แลกเปลี่ยนทางวิชาการและการศึกษา ร่วมมือวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียาง

10-13 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เดินทางไปหารือความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Qingdao University of Science and Technology, QUST) พร้อมพบปะนักศึกษาไทยจากครอบครัวชาวสวนยางพาราที่ได้รับทุนการศึกษาจาก QUST ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า (Qingdao University of Science and Technology) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1950 เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของมณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา อาทิ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการ แพทยศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์และครุศาสตร์ และมีความโดดเด่นในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในด้านการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ มีทักษะการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยล้วนได้รับคัดเลือกเข้าทำงานในบริษัทชั้นนำทั่วประเทศจีน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่ายังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีประสบการณ์ในด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพ จนได้รับสมญานามว่า “มหาวิทยาลัยการทหารหวงผู่ของอุตสาหกรรมยางพาราของจีน”

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ มหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน แลกเปลี่ยนทางวิชาการและการศึกษา ร่วมมือวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียาง Read More »

Activity Photo

อาจารย์ภาควิชาเคมี วิจัยกระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด ลดการปล่อยคาร์บอน ต่อการยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2565

6 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2565 เปิดตัวผู้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำรา สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวถึงความเป็นมาของรางวัล และประกาศผลการตัดสินรางวัลโดยในปีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านพอลิเมอร์ โดยเฉพาะเส้นใยธรรมชาติและวัสดุ composite อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ซึ่งมอบให้กับผู้ที่มีผลงานประดิษฐ์คิดค้น ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ ที่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย หรือได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว จากผลงานเรื่อง ‘การพัฒนากระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด’ผลงานนี้เป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หากระบวนการใหม่ในการแยกเส้นใยจาก‘ใบ’ และ ‘ลำต้น’ หรือ ‘เหง้า’ สับปะรดที่เหลือทิ้งมาทำให้เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ตลอดจนทนอุณหภูมิได้สูงขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อทดแทนพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ตลอดจนอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร ปัจจุบัน

อาจารย์ภาควิชาเคมี วิจัยกระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด ลดการปล่อยคาร์บอน ต่อการยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 33 ปี

29 สิงหาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และคุณปิยะ โพธิ์สิทธิ์ รักษาการหัวหน้างานศาลายา ในฐานะผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ครบรอบ 33 ปี สานความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในการดำเนินงานทางด้านวิชาการระหว่าง 2 หน่วยงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร โปสกนิษฐกุล รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และกิจการพิเศษ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ก่อพร พันธุ์ยิ้ม รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิจัย และนวัตกรรม ให้การต้อนรับ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาในโอกาสนี้คณะวิทยาศาสตร์ได้มอบเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนงานด้านวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 2,000 บาท อีกด้วย เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย : ว่าที่ ร.ต.ภัทรพล ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์:

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 33 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี

18 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ Osaka University เปิดตัว Osaka – Mahidol International Office ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดน ความร่วมมือนี้ไม่เพียงบ่งบอกถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเป็นพันธมิตรอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี แต่ยังปูทางไปสู่การขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านการศึกษาและการวิจัยที่ก้าวล้ำอีกด้วยโดยในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร พร้อมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และ Osaka University นำโดย Professor Tanaka

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ iNT ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารขึ้นเวที SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดล้ำในงาน Techsauce Global Summit 2023

16 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ หรือ Incubator Program ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 4 เปิดประตูพบปะนักลงทุน ผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน FoodTech และขึ้นนำเสนอผลงานบนเวที ‘SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day’ โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดสร้างสรรค์ในงาน Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการ และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนำโดย

คณะวิทย์ iNT ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารขึ้นเวที SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดล้ำในงาน Techsauce Global Summit 2023 Read More »

Activity Photo

อาจารย์นักวิจัย ม.มหิดล คว้าทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 มุ่งยกระดับงานวิจัยแนวหน้า พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฝีมือคนไทย

8 สิงหาคม 2566 อาจารย์นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล (Professor Dr. David John Ruffolo) อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ หัวหน้าโครงการวิจัย ‘วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกัมมันตรังสีในอวกาศ’ ผู้ได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 – 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมงาน เปิดตัวนักวิจัยศักยภาพสูงและแถลงงานวิจัย ประจำปี 2565 – 2566 ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ณ ห้อง Lotus Suite โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายสมปรารถนา

อาจารย์นักวิจัย ม.มหิดล คว้าทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 มุ่งยกระดับงานวิจัยแนวหน้า พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฝีมือคนไทย Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล จับมือ พีอาร์ไนน์ ไมโครอินโนเวต สวทช. ขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ

5 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือภาคเอกชน บริษัท พีอาร์ไนน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (PR9 Corporation) ร่วมกับ บริษัท ไมโคร อินโนเวต จำกัด (Microinnovate Co.,Ltd) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ Pediococcus pentosaceus รหัส P7 เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “BM9 Plus Synbiotics” โชว์ศักยภาพอาหารเสริมเทคโนโลยีชีวภาพจากงานวิจัยโดยคนไทยเพื่อคนไทยคว้ารางวัลเหรียญทองระดับโลกในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท พีอาร์ไนน์ คอร์ปอเรชั่น นำโดย ดร.เสกข์สรร ธีระวาณิชย์ ประธานกรรมการ และคุณพงษ์กฤตย์

ม.มหิดล จับมือ พีอาร์ไนน์ ไมโครอินโนเวต สวทช. ขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ Read More »

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยเรื่อง “การพัฒนาพืชสมุนไพร และพืชเสพติด เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์”

       24 กรกฎาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยเรื่อง“การพัฒนาพืชสมุนไพร และพืชเสพติด เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” ระหว่างนายแพทย์ศุภกิจ  ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  พร้อมด้วยนายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนางศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ลงนามกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์  หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล  แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์        นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทหน้าที่หลักเกี่ยวกับการวิจัยและการตรวจชันสูตรด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีการศึกษา

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยเรื่อง “การพัฒนาพืชสมุนไพร และพืชเสพติด เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator 2023 เชิดชูเกียรติคนทำงานวงการศึกษา พัฒนานวัตกรรมการสอนด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ ในงานรำลึกครบรอบ 104 ปี ชาตกาลศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข

14 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีรำลึกครบรอบ 104 ปี ชาตกาลศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เพื่อน้อมรำลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ผู้ก่อตั้งและคณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator 2023 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติคนทำงานในวงการศึกษาที่สร้างประโยชน์แก่สังคมด้านนวัตกรรมการศึกษาด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ เลิศวิริยะนันทกุล และ Musuko Team พร้อมแสดงความยินดีกับคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นในช่วงเช้าผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยทายาทศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ผู้เกษียณอายุงาน ผู้บริหารสมาคมศิษย์เก่า สภาอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ร่วมพิธีวางพวงมาลัยสักการะรูปหล่อ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ณ บริเวณอนุสรณ์สถาน ลานอาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) ต่อด้วยพิธีทำบุญทักษิณานุปทาน อุทิศส่วนกุศลแด่ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator 2023 เชิดชูเกียรติคนทำงานวงการศึกษา พัฒนานวัตกรรมการสอนด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ ในงานรำลึกครบรอบ 104 ปี ชาตกาลศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 8 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหาร โชว์นวัตกรรมสุดล้ำใน SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day

24 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte LOTTE นำ 8 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในโปรแกรมเร่งการเติบโต ภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 4 ร่วมนำเสนอผลงานแก่นักลงทุน และผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน FoodTech บนเวที SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ในงาน Startup x Innovation Thailand Expo 2023 (SITE2023) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 8 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหาร โชว์นวัตกรรมสุดล้ำใน SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าศึกษาดูงานการบริหารเงินอุดหนุนวิจัย เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

          13 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และอาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ พร้อมด้วยหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่จากงานคลังและพัสดุ ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลนำโดย นางสาวนงนุช ช้างแก้วมณี หัวหน้างานสำนักงานคณบดี นางสาวภัทรวดี ผู้มีสัตย์ หัวหน้างานคลังและพัสดุ นางชมพูเนกข์ อิศรางกูล ณ อยุธยา หัวหน้างานทรัพยากรบุคคล และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนการดำเนินงานการบริหารเงินอุดหนุนวิจัย ได้แก่ การเบิกเงินทุนวิจัย รวมถึงรายงานต่าง ๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการดำเนินงาน และรับมอบของที่ระลึก ณ ห้องประชุม K101 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าศึกษาดูงานการบริหารเงินอุดหนุนวิจัย เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Read More »

คณะวิทย์ เปิดบ้านต้อนรับชาวมหิดล พญาไท ร่วมกิจกรรม Meet the President ประชาคมมหิดลพบอธิการบดี ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข

12 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ นำทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย พบปะประชาคมแบบ Hybrid ชี้แจงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ในกิจกรรม Meet the President ประชาคมมหิดลพบอธิการบดี ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะและวิทยาลัยในพื้นที่มหิดล พญาไท ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา และคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านนำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี นำทีมผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมงาน on-site อย่างคับคั่ง เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย : นายนภาศักดิ์

คณะวิทย์ เปิดบ้านต้อนรับชาวมหิดล พญาไท ร่วมกิจกรรม Meet the President ประชาคมมหิดลพบอธิการบดี ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข Read More »

Activity Photo

ภาควิชาสรีรวิทยา จัดกิจกรรม Knowing Startup Business ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup

31 พฤษภาคม 2566 ภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ไชยร้องเดื่อ อาจารย์ ดร.คณิต ภู่ไข่ และ อาจารย์ ดร.เมธนียา ปิลันธนานนท์ พร้อมด้วยนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวมกว่า 20 คน เยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนางานวิจัยจากภาควิชาสรีรวิทยาสู่งานนวัตกรรม ซึ่งสามารถต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup ในอนาคตได้ ซึ่งศาสตร์สรีรวิทยาเป็นเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี ครอบคลุมความรู้ในทุกระดับตั้งแต่ในระดับโมเลกุล ไปจนถึงความรู้ในระดับการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง โดยกิจกรรม Knowing Startup Business กับ SPACE-F ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคุณอนุสรา

ภาควิชาสรีรวิทยา จัดกิจกรรม Knowing Startup Business ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup Read More »

คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ สำหรับนักศึกษานานาชาติในระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอก “International Day: Getting to Know You”

            คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นนานาชาติ สำหรับนักศึกษานานาชาติในระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกของคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้กิจกรรมชื่อ  “International Day: Getting to Know You”  ในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเวลา 11.30 – 13.30 น. โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับนักศึกษา พร้อมกับ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรมด้วย             โดยกิจกรรม

คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ สำหรับนักศึกษานานาชาติในระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอก “International Day: Getting to Know You” Read More »