คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
26 ธันวาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทนคณบดี เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ หัวข้อ “ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมบริการสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพของประเทศไทย” จัดโดย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชน ได้รับข้อมูลเรื่องเทคโนโลยี การพัฒนาและการผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูงที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานสอดคล้องกับข้อกำหนดสากล พร้อมทั้งเพื่อเป็นการไ้ะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐทั้งจากหน่วยงานควบคุมกำกับ และ หน่วยงานสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับ ภาคเอกชนทั้งในส่วนของผู้ผลิตและผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ไปจนถึงเป็นเวทีในการพัฒนานโยบายและแนวทางในการควบคุมกำกับการผลิตและการให้บริการผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ที่ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์สมัยใหม่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สุขภาพของประเทศไทย ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี
โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์กรกฤช ลิ้มสมมุติ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการ รักษาพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพ” โดยมี นายแพทย์อัครพล คุรุศาสตรา ผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นผู้กล่าวความเป็นมา ของการจัดการประชุม นอกจากนี้ ยังได้มีการปาฐกถาพิเศษ รวมไปถึงการบรรยายและอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่
การปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง
การบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง
การอภิปราย ในหัวข้อเรื่อง
และในโอกาสนี้ ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย และทีมจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รวมไปถึง คณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา, รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ กังสมัครศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ฤดี เหมสถาปัตย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา ได้ให้เกียรติมาร่วมรับฟัง การปาฐกถาพิเศษ การบรรยายและการอภิปราย ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้อีกด้วย
โดยเทคโนโลยีด้านการแพทย์ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการนำเซลล์ เนื้อเยื่อ และยีน ของมนุษย์มาดัดแปลงมาใช้ในการรักษาโรคของมนุษย์ การรักษาโรคทางการแพทย์จึงก้าวกระโดดข้ามอุปสรรคกีดขวางที่มีอยู่ ทำให้สามารถรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีแบบเดิม โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และ อย. สหรัฐ (USFDA) เรียกหมวดการผลิตภัณฑ์แบบใหม่นี้ว่า Cell, Tissue and Gene Therapy Products และ อย. ยุโรป (EMA) เรียกว่า Advanced Therapy Medicinal Products (ATMPs)
ดังนั้นประเทศไทยที่ซึ่งมีอุตสาหกรรมการบริการ ด้านการรักษาทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับมาตรฐานจากทั่วโลก จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับเทคโนโลยีด้านการแพทย์แบบใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีชนิดนี้ เป็นหมวดผลิตภัณฑ์การรักษาทางการแพทย์หมวดใหม่ของโลก ในระบบสากลได้มีการพัฒนาระบบควบคุมกำกับสำหรับหมวดนี้ ซึ่งหน่วยงานควบคุมกำกับของประเทศไทยเอง ก็ได้มีการเริ่มพัฒนาระบบควบคุมกำกับสำหรับผลิตภัณฑ์การรักษาทางการแพทย์ไปบางส่วนแล้ว รวมไปถึงในในโรงเรียนแพทย์เอง ก็ได้เริ่มมีการพัฒนาการผลิตและการวิจัยในมนุษย์ด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน
ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ทุกท่านจะได้รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ทันสมัย เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนและภาครัฐประสานความร่วมมือ เช่น ทิศทางของตลาดโลก นโยบายของรัฐบาลไทย นโยบายของกระทรวงต่าง ๆ ระบบทุน ววน. (วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีกลุ่มนี้ ระบบควบคุมกำกับสากลสถานการณ์ความต้องการเทคโนโลยีชนิดนี้ในสถานพยาบาลเอกชน ความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรมเพื่อจะได้นำข้อมูลต่าง ๆ ไปพัฒนาประเทศด้านการออกแบบระบบควบคุมกำกับสอดคล้องสากลและส่งเสริม อุตสาหกรรมไทย การวิจัยพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ การยกระดับขัดความสามารถอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์มูลค่าสูงที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับการนำไปใช้บริการ ด้านการรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่ของไทยต่อไป
เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
วันที่ 26 ธันวาคม 2567