ข่าวทั่วไป

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมนำเสนอความสำเร็จในการเข้าร่วมภารกิจด้านการสำรวจอวกาศ Chang’e-7 และ Chang’e-8 และในฐานะหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ดำเนินการวิจัยด้านชีววิทยาอวกาศในงาน Space Day of China 2025 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้

24 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงาน Space Day of China 2025 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ในฐานะผู้เข้าร่วมภารกิจสำรวจอวกาศ Chang’e-7 และ Chang’e-8 และหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการส่งชุดการทดลองด้าน plant space biology ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ งาน Space Day of China เป็นงานที่จัดขึ้นโดยสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) เพื่อเน้นย้ำความมุ่งมั่นของประเทศจีนต่อภารกิจการสำรวจอวกาศยุคใหม่ ซึ่งจัดในวันที่ 24 เมษายน ของทุกปี โดยในปี 2568 นี้ ตรงกับโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี วันอวกาศแห่งชาติจีน ในโอกาสนี้กลุ่มวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ กลุ่มวิจัยฟิสิกส์อวกาศ นำโดย Professor Dr.David John Ruffolo อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมนำเสนอความสำเร็จในการเข้าร่วมภารกิจด้านการสำรวจอวกาศ Chang’e-7 และ Chang’e-8 และในฐานะหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ดำเนินการวิจัยด้านชีววิทยาอวกาศในงาน Space Day of China 2025 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev และ Nestlé เปิดบ้านต้อนรับ 20 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ เข้าสู่โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6

29 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev และ Nestlé จัดกิจกรรม SPACE-F Batch 6 Orientation Day ต้อนรับ 20 สตาร์ทอัพ ด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ เข้าสู่โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6 พร้อมแนะนำบทบาทของพันธมิตรที่จะช่วยสนับสนุนสตาร์ทอัพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก สร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ธุรกิจระดับโลก และเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน SPACE-F เป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ FoodTech Startup ในการสร้างนวัตกรรมระดับครัวไทยสู่ครัวโลก และช่วยให้สตาร์ทอัพค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก ซึ่งเป็นการสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพให้แข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ Health & Wellness, Alternative proteins, Novel food & Ingredients, Packaging solutions, Biomaterials & Chemicals, Packaging solutions, Smart

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev และ Nestlé เปิดบ้านต้อนรับ 20 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ เข้าสู่โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6 Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 9 พร้อมรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงาน และรางวัลเชิดชูเกียรติในการดำเนินการด้านความปลอดภัย ประจำปี 2567

       28 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทนเข้าร่วมงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 9 พร้อมรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงาน เพื่อเป็นเกียรติและแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดภายในส่วนงานต่อไป พร้อมทั้งเป็นผู้แทนในการรับรางวัลเชิดชูเกียรติในการดำเนินการด้านความปลอดภัย ประจำปี 2567 ซึ่งจัดโดย ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล ณ โถงรับรอง (Foyer) อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กล่าวรายงานเป้าหมายของการจัดงาน ก่อนร่วมกันถ่ายภาพกับคณะผู้บริหารส่วนงาน พร้อมทั้งรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงาน     

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 9 พร้อมรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงาน และรางวัลเชิดชูเกียรติในการดำเนินการด้านความปลอดภัย ประจำปี 2567 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนทุน พสวท. ในพิธีเปิดค่ายวิทยาศาสตร์ ภาคฤดูร้อน สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ “SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน”

28 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ในพิธีเปิดค่ายวิทยาศาสตร์ ภาคฤดูร้อน สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ “SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน” เพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์ตรงทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี และความเข้าใจถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อการพัฒนาประเทศให้แก่นักเรียนที่ร่วมโครงการ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ค่ายวิทยาศาสตร์ ภาคฤดูร้อน สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปีโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับศูนย์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนศูนย์ พสวท. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ตรงทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ มีจิตวิญญาณของการเป็นนักวิจัย มีความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงมีความเข้าใจถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อการพัฒนาประเทศ ในพิธีเปิด “See the Start” ได้รับเกียรติจาก

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนทุน พสวท. ในพิธีเปิดค่ายวิทยาศาสตร์ ภาคฤดูร้อน สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ “SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน” Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พบอาจารย์ที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2567 ครั้งที่ 3

9 เมษายน 2568 งานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พบอาจารย์ที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2567 ครั้งที่ 3 เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พบปะพูดคุยเกี่ยวกับการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยกับอาจารย์ที่ปรึกษา ณ ห้อง L2-101 อาคารบรรยายรวม 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โครงการนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พบอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างอาจารย์และนักศึกษา และเพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้เรียนรู้แนวทางการปรับตัวในด้านการเรียนในระดับอุดมศึกษา สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ได้อธิบายเกี่ยวกับการเลือกสาขาวิชาของนักศึกษาหลักสูตรไทย และเปิดโอกาสให้นักศึกษา ถาม-ตอบ เกี่ยวกับสาขาวิชา ก่อนจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเป็นกันเอง เขียนข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : งานการศึกษาเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 25 เมษายน 2568

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมโครงการนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พบอาจารย์ที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2567 ครั้งที่ 3 Read More »

งานสื่อสารองค์กร คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดประชุมคณะกรรมการโครงการเครือข่ายประชาสัมพันธ์ของคณะวิทยาศาสตร์ MUSC PR Connect ประจำปี 2568 เพื่อร่วมพัฒนากระบวนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ให้มีประสิทธิภาพ                 

       25 เมษายน 2568 งานสื่อสารองค์กร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมคณะกรรมการโครงการเครือข่ายประชาสัมพันธ์ของคณะวิทยาศาสตร์ MUSC PR Connect ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อชี้แจง ให้ความรู้แก่คณะกรรมการภายใต้โครงการฯ เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกของคณะฯ เพื่อนำไปเผยแพร่แก่บุคลากรและนักศึกษาให้เกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยทั่วกันอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงไปถึงการสื่อสารเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของคณะวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดีร่วมกัน ตลอดจนชี้แจงในเรื่องของการให้บริการด้านการทำข่าวประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงหน้าที่ความผิดชอบต่าง ๆ ที่ทางงานสื่อสารองค์กรและคณะกรรมการต้องให้ความร่วมมือระหว่างกัน อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่คณะกรรมการชุดใหม่จะได้มีโอกาสทำความรู้จักและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกลุ่มเครือข่ายประชาสัมพันธ์ อันจะส่งผลดีต่อการประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานต่อไป        โดยในช่วงเช้าของการประชุม ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ มาเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คณะกรรมการที่เข้าร่วมได้เข้าใจหลักการพื้นฐานของการสื่อสารองค์กร และตระหนักถึงบทบาทของตนในการเป็นเครือข่ายนักสื่อสาร และในช่วงบ่ายได้มีการร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางด้านกระบวนการสื่อสารภายในและภายนอกของคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำโดย

งานสื่อสารองค์กร คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดประชุมคณะกรรมการโครงการเครือข่ายประชาสัมพันธ์ของคณะวิทยาศาสตร์ MUSC PR Connect ประจำปี 2568 เพื่อร่วมพัฒนากระบวนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ให้มีประสิทธิภาพ                  Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมกิจกรรม Enhancing your capability in Medical Technology Transfer : Learning from best practice จัดโดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล

       23 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมกิจกรรม Enhancing your capability in Medical Technology Transfer : Learning from best practice จัดโดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุมกมลพร โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างทักษะด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาทางการแพทย์การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มนักการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี        โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก  รองศาสตราจารย์ ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพนักจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (AITP) เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังได้รับเกียรติจาก Dr. Anji

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมกิจกรรม Enhancing your capability in Medical Technology Transfer : Learning from best practice จัดโดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมกิจกรรม MU-NSTDA Researcher Visit ประจำปี 2568 ครั้งที่ 2 จัดโดย กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

       22 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมกิจกรรม MU-NSTDA Researcher Visit ประจำปี 2568 ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท จัดโดย กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งได้มีการร่วมกันดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา เรื่อง โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยในรูปแบบ Virtual Research Group หรือ Cluster ในสาขาวิชาต่าง ๆ

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมกิจกรรม MU-NSTDA Researcher Visit ประจำปี 2568 ครั้งที่ 2 จัดโดย กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม สานต่อความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัย

22 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) เข้าหารือเกี่ยวกับการสานต่อความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายด้านการวิจัย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการและสื่อสารภายในองค์กรร่วมกับสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม นำโดย พลโท คม วิริยเวชกุล หัวหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม (Defence Hall Museum) และสถานที่สำคัญภายในสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ณ ศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย เขียนข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม สานต่อความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับภาคีความร่วมมือวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไทย (Thailand Science and Engineering Consortium – TSEC) เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและหารือความร่วมมือ กับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) – NARIT

       18 – 19 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ร่วมกับ ภาคีความร่วมมือวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไทย (Thailand Science and Engineering Consortium – TSEC) ได้แก่ สภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สควทท.) และ สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและหารือความร่วมมือ กับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) – NARIT ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร และหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ จังหวัด เชียงใหม่        โดยในวันที่ 18 เมษายน 2568 ได้รับเกียรติจาก ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนำเสนอพันธกิจและบทบาทด้านการวิจัยและวิศวกรรมขั้นสูงก่อนที่จะร่วมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้แก่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับภาคีความร่วมมือวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไทย (Thailand Science and Engineering Consortium – TSEC) เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและหารือความร่วมมือ กับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) – NARIT Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมกิจกรรม Mahidol Gen S : Together for Sustainability Kick-Off Day เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ แก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

       17 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.นิศามณี เจริญชนม์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษานานาชาติ เข้าร่วมกิจกรรม Mahidol Gen S : Together for Sustainability Kick-Off Day ณ ลานประติมากรรม จากพระเมตตาสู่ปัญญาของแผ่นดิน ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล (MlC) มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ แก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผ่านกระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการและการมีส่วนร่วมในพื้นที่จริง อีกทั้งยังมีการมุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ากับพลังของคนรุ่นใหม่เพื่อนำไปพัฒนาชุมชน พร้อมทั้งเผยแพร่ทางช่อง We Mahidol โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตัวนักศึกษามหิดล Gen ใหม่ หัวใจ SDGs ที่ผ่านกระบวนการอบรมและคัดเลือกมาเป็นตัวแทนในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างความยังยืนให้กับชุมชน ซึ่งมีนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ผ่านการคัดเลือกได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย      

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมกิจกรรม Mahidol Gen S : Together for Sustainability Kick-Off Day เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ แก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ในโอกาสศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินทุนวิจัย

8 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยบุคลากรงานคลังและพัสดุ และบุคลากรงานวิจัยและนวัตกรรม ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.วิชิต โนสูงเนิน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมนึก บุญสุภา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.นันทนา นุชถาวร และคณะศึกษาดูงาน ในโอกาสเยือนคณะวิทยาศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินทุนวิจัย หน่วยเงินทุนวิจัยและทุนการศึกษา งานคลังและพัสดุ สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ทั้งสองส่วนงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยและเงินทุนรับทำวิจัย ด้านการออกระเบียบและแนวปฏิบัติที่ใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัตการ เครื่องมือและโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการบริหารเงินทุนวิจัยและเงินทุนรับทำวิจัย รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาการเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยและเงินรับทำวิจัยไปจนถึงการแก้ปัญหา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการเงินสนับสนุนงานวิจัยในส่วนงาน เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในอนาคต เขียนข่าวโดย

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ในโอกาสศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินทุนวิจัย Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมกิจกรรม MU-NSTDA Researcher Visit ประจำปี 2568 ครั้งที่ 1 ภายใต้ MOU โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

       8 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมกิจกรรม MU-NSTDA Researcher Visit ประจำปี 2568 ครั้งที่ 1 ภายใต้ MOU โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ณ ห้องประชุมบุษกร ชั้น 1 อาคารเนคเทค 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี        โดยมหาวิทยาลัยมหิดลและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มีการร่วมดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา เรื่อง โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบาย แผนงานในการสร้างความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนา สร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและพัฒนาบุคคลากรวิจัยและร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดลกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (MU-NSTDA

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมกิจกรรม MU-NSTDA Researcher Visit ประจำปี 2568 ครั้งที่ 1 ภายใต้ MOU โครงการความร่วมมือเพื่อความเป็นเลิศ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล รับธงเจ้าภาพ Thailand Biology Olympiad ครั้งที่ 23

8 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับธงเจ้าภาพ Thailand Biology Olympiad ครั้งที่ 23 ในพิธีปิดการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 22 ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เป็นผู้รับธงเจ้าภาพจาก รองศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรวิทย์ สิตปรีชา หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา พร้อมด้วยรองหัวหน้าภาควิชา รองศาสตราจารย์ ดร.สุรางค์ ชาญกำแหงเดชา และอาจารย์ ดร.วรุฒ ศิริวุฒิ รวมถึงอาจารย์และบุคลากรภาควิชาชีววิทยา เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีมอบธงเจ้าภาพและพิธีมอบรางวัล ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ หรือ Thailand Biology Olympiad เป็นหนึ่งในโครงการที่ทางมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

คณะวิทย์ ม.มหิดล รับธงเจ้าภาพ Thailand Biology Olympiad ครั้งที่ 23 Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “วิทย์กับ GURU ปะล่ะ” ครั้งที่ 1 ภายใต้ธีม “Medical Science” พร้อมเสริมสร้างประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

       24 มีนาคม – 1 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “วิทย์กับ GURU ปะล่ะ” ครั้งที่ 1 ภายใต้ธีม “Medical Science” พร้อมเสริมสร้างประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้มีโอกาสในการ “สนุกคิด” ผ่านการบรรยายพิเศษจากคณาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญจากคณะวิทยาศาสตร์ และ “สนุกทดลอง” ในห้องปฏิบัติการจริงที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจหลักการทาง ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และ คณิตศาสตร์        อีกทั้งนักเรียนจะได้สัมผัสกับบรรยากาศการเรียนรู้เชิงลึกในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะในสาย “วิทยาศาสตร์การแพทย์” ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับนักเรียนที่มีความสนใจที่จะเข้าศึกษาต่อในสาขาที่เกี่ยวกับ การแพทย์, วิทยาศาสตร์สุขภาพ และ เทคโนโลยีชีวภาพ รวมไปถึงเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบและแข่งขัน เพื่อเข้าสู่การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไปอีกด้วย      

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “วิทย์กับ GURU ปะล่ะ” ครั้งที่ 1 ภายใต้ธีม “Medical Science” พร้อมเสริมสร้างประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Read More »

Activity Photo

8 อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้ารับรางวัล Mahidol University Quality Teaching Awards ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

3 เมษายน 2568 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับรางวัล Mahidol University Quality Teaching Awards โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้มอบรางวัล ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา รางวัล Mahidol University Quality Teaching Awards เป็นรางวัลที่มอบให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูคณาจารย์ที่มีความโดดเด่นในด้านการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Professional Standards Framework: MUPSF) โดยในปีนี้มีอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลถึง 8 ท่าน ได้แก่ รางวัล MUPSF 2 Star Awards  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รู้ธ จ. สกุลคู ภาควิชาคณิตศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิมพ์วรา วัชราทิตย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา

8 อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้ารับรางวัล Mahidol University Quality Teaching Awards ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 6

       1 – 2 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพ ด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ (Accelerator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 6 เพื่อยกระดับศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลกอย่างยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเปิดโอกาสในการเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับพาร์ทเนอร์ธุรกิจระดับโลก        สำหรับโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Accelerator Program) นั้น สตาร์ทอัพจะได้พัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทพาร์ทเนอร์ในโครงการ และสร้างความร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงอาจารย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี พื้นที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นระยะเวลากว่า 4 เดือน        โดยในวันที่ 1 เมษายน 2568

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 6 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงาน Mahidol Science Job Fair 2025 ร่วมขบวน Mahidol University Job Fair 2025 ในพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

2 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมขบวน Mahidol University Job Fair 2025 จัดมหกรรม Job Fair สุดยิ่งใหญ่ในพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เป็นครั้งแรกในชื่อ “Mahidol Science Job Fair 2025” เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา ศิษย์เก่า บุคคลทั่วไปได้เตรียมความพร้อมในการค้นหางานที่ชอบ และสมัครงานกับบริษัทชั้นนำในเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ ณ ลานกิจกรรมบริเวณตึกกลมและทางเดินซุ้มเฟื่องฟ้า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เป็นประธานเปิดงาน และเยี่ยมชมบูธจากบริษัทภาคเอกชนและหน่วยงานจากภาครัฐ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดงานและนำเยี่ยมชมบูธ และยังได้รับเกียรติจากทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยหัวหน้าหน่วยงาน นักศึกษา และผู้ที่สนใจร่วมงานอย่างล้นหลาม โดยภายในงานเต็มไปด้วยบูธแนะนำตำแหน่งงานและรับสมัครงานของบริษัทชั้นนำจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ธนาคารและประกันภัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงาน Mahidol Science Job Fair 2025 ร่วมขบวน Mahidol University Job Fair 2025 ในพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอัจฉริยะ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

       1 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้แทน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอัจฉริยะ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งให้เกียรติเป็นประธานกล่าวถึงที่มาของความร่วมมือ พร้อมทั้งเป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารใบไม้สามใบ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดย โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวโครงการให้เป็นต้นแบบของแหล่งการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางการเกษตรอัจฉริยะที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) ให้กับผู้ประกอบการ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอัจฉริยะ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 20 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 6

28 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 20 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 6 เพื่อติวเข้มในการพัฒนาต่อยอดไอเดียสู่ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเทรนด์ใหม่ ๆ ในตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก และเตรียมความพร้อมในการระดมเงินทุนในระดับ Series A และ Seed Funding เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในระดับสากล ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะกรรมการโครงการ SPACE-F พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 20 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 6 Read More »

Activity Photo

อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมสร้างแรงบันดาลใจในเดือนสตรีสากล ในงาน Dinner Talk

26 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแบ่งปันมุมมองในฐานะผู้หญิงและผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านอาหารและความยั่งยืน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในเดือนสตรีสากล ในงาน Dinner talk: Empowered to Inspire: Women Pioneering Innovation & Sustainability in Food & Nutrition จัดโดยความร่วมมือของ Fi Asia Thailand, Vitafoods Asia และ Women in Nutraceuticals ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม ชั้น 3 โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ ภายในงานได้รับเกียรติจากคุณศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แสดงปาฐกถาหัวข้อ สตรียุคใหม่: จุดประกายนวัตกรรมสู่อนาคตแห่งการเรียนรู้และงานวิจัย

อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมสร้างแรงบันดาลใจในเดือนสตรีสากล ในงาน Dinner Talk Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวความร่วมมือโครงการทางเดินลอยฟ้าราชวิถี Rajavithi Skywalk เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการเดินทางเชื่อมโยงโรงพยาบาล สถาบันการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และการคมนาคมในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง

       28 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เข้าร่วม งานแถลงข่าวเปิดตัวความร่วมมือโครงการทางเดินลอยฟ้าราชวิถี Rajavithi Skywalk เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการเดินทางเชื่อมโยงโรงพยาบาล สถาบันการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และการคมนาคมในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล        โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC – CEUS) เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงานแถลงข่าว        นอกจากนี้

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวความร่วมมือโครงการทางเดินลอยฟ้าราชวิถี Rajavithi Skywalk เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการเดินทางเชื่อมโยงโรงพยาบาล สถาบันการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และการคมนาคมในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น ณ อาคารเคมี เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีการป้องกันเพื่อระงับเหตุอัคคีภัยอย่างถูกต้อง

       26 มีนาคม 2568 งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น ณ อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ในทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีการวางแผนป้องกันเพื่อระงับเหตุอัคคีภัยได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถเอาตัวรอดจากเหตุเพลิงไหม้ผ่านวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงและวิธีการดับเพลิงในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณคณภรณ์ เข็มทอง หัวหน้างานบริหารและธุรการวิทยากร มาเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี พร้อมด้วยบุคลากรจากภาควิชา ให้การต้อนรับและเข้าร่วมการอบรมเป็นอย่างดี        ซึ่งเนื้อหาการจัดอบรมในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย การประเมินความรุนเเรงเบื้องต้นเเละระยะของการเกิดเหตุเพลิงไหม้, การปฏิบัติตามเเผนการรองรับการเกิดอัคคีภัย, การเเจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ, แผนผังความปลอดภัยประจำอาคาร, การตรวจสอบความพร้อมเเละฝึกการใช้งานเครื่องดับเพลิงชนิดมือถือ, การตรวจสอบความพร้อมเเละฝึกการใช้งานสายดับเพลิง fire hose และ การสำรวจความพร้อมของเส้นทางหนีไฟ        โดย การจัดอบรมการดับเพลิงขั้นต้น มาจากนโยบายของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น ณ อาคารเคมี เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีการป้องกันเพื่อระงับเหตุอัคคีภัยอย่างถูกต้อง Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับวิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล ในโอกาสการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 39

26 มีนาคม 2568 อาจารย์ ดร.นิศามณี เจริญชนม์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษานานาชาติ เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 39 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัสริณ รอดโพธิ์ทอง วงศ์กำแหง รองคณบดีฝ่ายการวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาคุณภาพ วิทยาลัยนานาชาติ ให้การต้อนรับ พร้อมร่วมพิธีสงฆ์และถวายเครื่องสังฆทาน ณ ชั้น 1 ลานอเนกประสงค์ อาคาร 1 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 26 มีนาคม 2568

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับวิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล ในโอกาสการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 39 Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม โครงการวิทย์กับ GURU ปะล่ะ ในธีม Medical Science เปิดโอกาสให้นักเรียนม.ปลาย ได้สนุกคิด สนุกทดลอง ค้นหาตนเองผ่านการลงมือทำจริง

24 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม โครงการวิทย์กับ GURU ปะล่ะ ในธีม Medical Science เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ค้นหาความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตนเองผ่านการลงมือทำจริง และเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันเพื่อเข้าสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษากับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา กล่าวต้อนรับนักเรียนและเปิดโครงการ ณ ห้อง L01 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในโครงการน้อง ๆ นักเรียนจะได้รับความรู้ในสาขาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการเรียนในห้อง และการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ในวันแรกของโครงการเริ่มต้นด้วยกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ โดยมีทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาคณิตศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ อาจารย์ ดร.วิชานนท์ แซ่เจีย และ อาจารย์ ดร.พิชญ์กิตติ บรรณางกูร อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม โครงการวิทย์กับ GURU ปะล่ะ ในธีม Medical Science เปิดโอกาสให้นักเรียนม.ปลาย ได้สนุกคิด สนุกทดลอง ค้นหาตนเองผ่านการลงมือทำจริง Read More »

Activity Photo

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “BT Knock the Door: Exploring Research Together 2025” เปิดโอกาสนักศึกษาทำความรู้จักคณาจารย์ และงานวิจัยที่ตอบโจทย์การใช้งานจริง พร้อมแนะแนวเส้นทางอาชีพในอนาคต

19 มีนาคม 2568 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพจัดกิจกรรม “BT Knock the Door: Exploring Research Together 2025″ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกับอาจารย์ในภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และงานวิจัยในปัจจุบัน รวมถึงงานวิจัยที่ตอบโจทย์ทั้งภาคสังคมและภาคเอกชนของอาจารย์แต่ละท่าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกแก่นักศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ กล่าวเปิดกิจกรรม ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในงานอาจารย์ประจำกลุ่มวิจัยและห้องปฏิบัติการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้นำเสนอผลงานของตนเองบนเวทีกลาง และร่วมกับสมาชิกในห้องปฏิบัติการจัดแสดงผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ พร้อมแสดงอย่างผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์สำหรับงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นใหม่ให้นักศึกษาได้เยี่ยมชมอย่างเต็มที่ และร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากนักศึกษาจะได้รู้ถึงความเชี่ยวชาญของอาจารย์แต่ละท่าน และได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาและสร้างเส้นทางนักเทคโนโลยีชีวภาพในแบบของตนเองแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง อาจารย์และลูกศิษย์ ซึ่งจะเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มวิจัยและเครือข่ายนักเทคโนโลยีชีวภาพของคณะวิทยาศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย เขียนข่าวโดย : อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ เล้าหเกียรติ์,ดร.ณิชยา เอกธาราวงศ์เรียบเรียงโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “BT Knock the Door: Exploring Research Together 2025” เปิดโอกาสนักศึกษาทำความรู้จักคณาจารย์ และงานวิจัยที่ตอบโจทย์การใช้งานจริง พร้อมแนะแนวเส้นทางอาชีพในอนาคต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 14 “Chrono Olympus : โอลิมปิกข้ามกาลเวลา”

       19 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมพลังบุคลากรในธีม “Dark Olympic เล่นแพ้ ตุยเย่” ร่วม การแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 14” ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในธีมหลักที่ชื่อ “Chrono Olympus : โอลิมปิกข้ามกาลเวลา” ณ สนามข้างตึกเคมี คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร 9 ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน, คณะเภสัชศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ คณะวิทยาศาสตร์ โดยในปีนี้ มีเจ้าภาพในการร่วมจัดงานทั้งหมด 3 ส่วนงาน ได้แก่ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และ วิทยาลัยการจัดการ        ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 14 “Chrono Olympus : โอลิมปิกข้ามกาลเวลา” Read More »

Activity photo

คณะผู้บริหาร คณะวิทย์ ม.มหิดล พบปะประชาคมในกิจกรรม Meet the Dean EP.2 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือภายในองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่คณะวิทยาศาสตร์ระดับโลก

18 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และทีมผู้บริหาร ร่วมพบปะประชาคมในกิจกรรม Meet the Dean EP.2 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับฟังนโยบายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบริหารจัดการองค์กรร่วมกับทีมผู้บริหาร ณ  ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยกิจกรรมในครั้งได้รับความสนใจจากบุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมงานจำนวนกว่า 300 คน ภายในงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ได้นำเสนอผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาของทีมบริหารเพื่อนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย To be a World Class Faculty of Science with Social Impact ด้วยยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน ได้แก่ วิจัยและนวัตกรรมคุณภาพสากล นวัตกรรมการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ที่แท้จริง บริการวิชาการเข้มแข็งและผลักดันงานวิชาการสู่ระดับนโยบาย องค์กรยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้

คณะผู้บริหาร คณะวิทย์ ม.มหิดล พบปะประชาคมในกิจกรรม Meet the Dean EP.2 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือภายในองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่คณะวิทยาศาสตร์ระดับโลก Read More »

Activity photo

หน่วยวิจัยพลังงานยั่งยืนและวัสดุสีเขียว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Special Workshop Everyone Can Dock, Everyone Can Do: A Practical Guide to Molecular Docking for All ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา

5 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย จากหน่วยวิจัยพลังงานยั่งยืนและวัสดุสีเขียว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Centre of Sustainable Energy and Green Materials) ร่วมกับห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จัดกิจกรรม Special workshop Everyone Can Dock, Everyone Can Do: A Practical Guide to Molecular Docking for All เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมทักษะการใช้ซอฟต์แวร์จำลองการจับกันของโมเลกุล (Molecular docking) แก่อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยวัสดุที่มีคุณสมบัติใหม่ รวมถึงการค้นหายาที่มีฤทธิ์และประสิทธิภาพการรักษาที่ดียิ่งขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โกวิท เฮงประสาทพร University of Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา จำนวนกว่า

หน่วยวิจัยพลังงานยั่งยืนและวัสดุสีเขียว คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Special Workshop Everyone Can Dock, Everyone Can Do: A Practical Guide to Molecular Docking for All ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนา Connecting Expertise: Collaborative Innovations in Materials and Energy Science พร้อมรวมนักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ และพลังงานมาแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน

       17 มีนาคม 2568 งานวิจัยและนวัตกรรม และ งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาภายใต้ชื่อ Connecting Expertise: Collaborative Innovations in Materials and Energy Science ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และพลังงานมาร่วมแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต          ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติมาเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้บรรยาย โดยมี อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นการบรรยาย 3 ช่วง โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก 7

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนา Connecting Expertise: Collaborative Innovations in Materials and Energy Science พร้อมรวมนักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ และพลังงานมาแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน Read More »